คุณคงเคยเห็นข่าวการอพยพหนีภัยสงคราม ในซีเรีย ลิเบีย อิรัก หรือพื้นที่ทีภัยคุกคามจากการก่อการร้าย ข้ามน้ำข้ามทะเล ไปตายเอาดาบหน้าในแผ่นดินยุโรป สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง
แต่อะไรที่ทำให้ผู้คนจากแอฟริกา เอเชียใต้บางกลุ่มต้องอพยพหนีตายจากไฟสงคราม ความยากจนข้นแค้น ชีวิตที่ลำเค็ญ มุ่งหน้าสู่การเดินทางอันยาวไกลที่หลายคนอาจต้องแลกด้วยชีวิตเพื่อไปแสวงหาชีวิตข้างหน้าที่ดีกว่า
แถมเส้นทางที่พวกเขาเลือกนั้นไม่ใช่ยุโรปที่เดินทางไม่ยากนั้น แต่กลับเป็น แผ่นดินในอเมริกาใต้.......... ใช่ครับ อเมริกาใต้ ฟังดูแปลกๆที่นั่นมีอะไรทำไมคนพวกนี้ถึงเลือกมายังที่แห่งนี้ ..
Darian gap มันเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ห่างไกลผู้คนมากที่สุดในโลกเป็นพรมแดนทางธรรมชาติที่กินพื้นระหว่างปานามาและโคลัมเบีย มีแนวป่าฝนขนาดใหญ่ และหนองน้ำที่ทุรกันดาร ห่างไกลความเจริญ มาอาณาเขตกว่า 100- 160 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นจุดที่แผ่นดินอเมริกากลางและอเมริกาใต้มาบรรจบกัน
ถนนสาย pan american highway ทอดตัวยาวตั้งแต่อลาสกา อเมริกา จนมาสิ้นสุดที่ Yavizaในปานามา ซึ่งทำให้การเดินทางทางรถยนต์ไม่สามารถไปต่อได้ เนื่องจากความทุรกันดารและห่างไกล ทำให้การตัดถนนผ่านไม่สามารถทำได้ และยังมีราคาแพงมหาศาลซึ่งทางรัฐบาลปามานาไม่เห็นด้วยในการลงทุนที่จะก่อสร้างทางออกไปอีก กว่า 100 กม. มีเรื่องผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้นมาเกี่ยวข้อง ทำให้ถนนสิ้นสุดลงตรงนี้
ด้วยระยะทางที่สิ้นสุดลงเกิดเป็นพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ ทำให้สถานที่แห่งนี้ถูกเรียกว่าDarian gap (Darienคือชื่อจังหวัดครับ)
เส้นทางสายนี้ถูกเว้นช่วงในการก่อสร้างและไปเริ่มใหม่ที่ฝั่งโคลัมเบียอีกครั้ง ที่เมืองท่า Turbo และเริ่มเส้น Pan American Highway อีกทอดหนึ่ง ต่อไปจนสุดทางใต้ของอเมริกาใต้ การจะข้ามไปไปมาระหว่างทั้งสองภูมิภาค นี้ทำได้โดยการเดินเท้า ล่องเรือไปตามลำน้ำ และเดินป่า เรือเฟอรี่ไปยังปานามาหรือทางเครื่องบิน
ที่นี่คือเส้นทางที่พวกเขาต้องใช้ผ่านไปยังปานามา นิคารากัว เอกวาดอร์ คอสตาริกา ต่อไปยังเม็กซิโกและลักลอบเข้าไปยังอเมริกาดินแดนแห่งความหวังและเสรีภาพ
ความสุดขั้วหลายประการที่ทำให้การเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้เติมไปด้วยความอันตรายอย่างยิ่ง ทั้งสัตว์ป่ามีพิษทั้งหลาย ไข้ป่า มาลาเรีย ปรสิตต่างๆ กบพิษ งูพิษ อุปสรรคทางธรรมชาติที่สร้างความยากลำบากในการเดินทาง
อันตรายจากการลักพาตัว ปล้นจี้ โดยกลุ่มกบฏต่างๆในโคลัมเบียที่เอาสถานที่แห่งนี้เป็นจุดที่ตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐบาล อย่างกลุ่ม FARC ที่ยึดเป็นฐานที่มั่น เคยมีนักท่องเที่ยวแบ็คแพ็คขาลุยทั้งหลายโดยจับตัวไปเรียกค่าไถ่ หลายราย สถิติคนที่เคยถูกจับตัวไปนานที่สุดคือ เกือบ 14 ปีก่อนได้รับอิสรภาพ หลายคนหายสาบสูญไปในป่าแห่งนี้และถูกพบเหลือแต่โครงกระดูกหลังจากนั้นหลายปี
ที่นี่ไม่มีทหาร ไม่มีตำรวจ กฎหมายไม่มีความหมายสำหรับพื้นที่นี้ ไม่มีป้ายบอกทาง สัญลักษณ์ใดๆ ทางเดียวที่จะผ่านไปได้คือบุกป่าฝ่าดงไปเท่านั้น คำเตือนถึงสถานที่แห่งนี้ในคู่มือนำเที่ยวมีเพียงอย่างเดียวคือ “อย่าไป”
ภาพจำลองจากสารคดีnational geographic การลักพาตัวนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษโดยกฏบFARC
Darien Gap Dangerous Road บุกป่า ปานามา ฝ่ามฤตยู สู่ USA ดินแดนความหวังและเสรีภาพ
คุณคงเคยเห็นข่าวการอพยพหนีภัยสงคราม ในซีเรีย ลิเบีย อิรัก หรือพื้นที่ทีภัยคุกคามจากการก่อการร้าย ข้ามน้ำข้ามทะเล ไปตายเอาดาบหน้าในแผ่นดินยุโรป สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง
แต่อะไรที่ทำให้ผู้คนจากแอฟริกา เอเชียใต้บางกลุ่มต้องอพยพหนีตายจากไฟสงคราม ความยากจนข้นแค้น ชีวิตที่ลำเค็ญ มุ่งหน้าสู่การเดินทางอันยาวไกลที่หลายคนอาจต้องแลกด้วยชีวิตเพื่อไปแสวงหาชีวิตข้างหน้าที่ดีกว่า
แถมเส้นทางที่พวกเขาเลือกนั้นไม่ใช่ยุโรปที่เดินทางไม่ยากนั้น แต่กลับเป็น แผ่นดินในอเมริกาใต้.......... ใช่ครับ อเมริกาใต้ ฟังดูแปลกๆที่นั่นมีอะไรทำไมคนพวกนี้ถึงเลือกมายังที่แห่งนี้ ..
Darian gap มันเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ห่างไกลผู้คนมากที่สุดในโลกเป็นพรมแดนทางธรรมชาติที่กินพื้นระหว่างปานามาและโคลัมเบีย มีแนวป่าฝนขนาดใหญ่ และหนองน้ำที่ทุรกันดาร ห่างไกลความเจริญ มาอาณาเขตกว่า 100- 160 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นจุดที่แผ่นดินอเมริกากลางและอเมริกาใต้มาบรรจบกัน
ถนนสาย pan american highway ทอดตัวยาวตั้งแต่อลาสกา อเมริกา จนมาสิ้นสุดที่ Yavizaในปานามา ซึ่งทำให้การเดินทางทางรถยนต์ไม่สามารถไปต่อได้ เนื่องจากความทุรกันดารและห่างไกล ทำให้การตัดถนนผ่านไม่สามารถทำได้ และยังมีราคาแพงมหาศาลซึ่งทางรัฐบาลปามานาไม่เห็นด้วยในการลงทุนที่จะก่อสร้างทางออกไปอีก กว่า 100 กม. มีเรื่องผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้นมาเกี่ยวข้อง ทำให้ถนนสิ้นสุดลงตรงนี้
ด้วยระยะทางที่สิ้นสุดลงเกิดเป็นพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ ทำให้สถานที่แห่งนี้ถูกเรียกว่าDarian gap (Darienคือชื่อจังหวัดครับ)
เส้นทางสายนี้ถูกเว้นช่วงในการก่อสร้างและไปเริ่มใหม่ที่ฝั่งโคลัมเบียอีกครั้ง ที่เมืองท่า Turbo และเริ่มเส้น Pan American Highway อีกทอดหนึ่ง ต่อไปจนสุดทางใต้ของอเมริกาใต้ การจะข้ามไปไปมาระหว่างทั้งสองภูมิภาค นี้ทำได้โดยการเดินเท้า ล่องเรือไปตามลำน้ำ และเดินป่า เรือเฟอรี่ไปยังปานามาหรือทางเครื่องบิน
ที่นี่คือเส้นทางที่พวกเขาต้องใช้ผ่านไปยังปานามา นิคารากัว เอกวาดอร์ คอสตาริกา ต่อไปยังเม็กซิโกและลักลอบเข้าไปยังอเมริกาดินแดนแห่งความหวังและเสรีภาพ
ความสุดขั้วหลายประการที่ทำให้การเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้เติมไปด้วยความอันตรายอย่างยิ่ง ทั้งสัตว์ป่ามีพิษทั้งหลาย ไข้ป่า มาลาเรีย ปรสิตต่างๆ กบพิษ งูพิษ อุปสรรคทางธรรมชาติที่สร้างความยากลำบากในการเดินทาง
อันตรายจากการลักพาตัว ปล้นจี้ โดยกลุ่มกบฏต่างๆในโคลัมเบียที่เอาสถานที่แห่งนี้เป็นจุดที่ตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐบาล อย่างกลุ่ม FARC ที่ยึดเป็นฐานที่มั่น เคยมีนักท่องเที่ยวแบ็คแพ็คขาลุยทั้งหลายโดยจับตัวไปเรียกค่าไถ่ หลายราย สถิติคนที่เคยถูกจับตัวไปนานที่สุดคือ เกือบ 14 ปีก่อนได้รับอิสรภาพ หลายคนหายสาบสูญไปในป่าแห่งนี้และถูกพบเหลือแต่โครงกระดูกหลังจากนั้นหลายปี
ที่นี่ไม่มีทหาร ไม่มีตำรวจ กฎหมายไม่มีความหมายสำหรับพื้นที่นี้ ไม่มีป้ายบอกทาง สัญลักษณ์ใดๆ ทางเดียวที่จะผ่านไปได้คือบุกป่าฝ่าดงไปเท่านั้น คำเตือนถึงสถานที่แห่งนี้ในคู่มือนำเที่ยวมีเพียงอย่างเดียวคือ “อย่าไป”