สืบเนื่องมาจากกระทู้นี้
https://ppantip.com/topic/35706736
มีผู้เข้ามาแสดงความเห็นว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงใช้น่าจะเป็นรุ่นอะไร
ซึ่งผมก็สงสัยเช่นกัน
วันนี้บังเอิญได้อ่านงานวิจัยชื้นหนึ่งที่อ่านค้างไว้จากเมื่อวาน
งานวิจัยชิ้นนี้ตกมาถึงมือผมนานเป็นปีแล้ว แต่ก็ไม่ได้อ่านเสียที
เมื่อวานนึกอะไรไม่รู้หยิบมาอ่าน แต่ก็อ่านไม่จบเพราะมีอะไรหลายอย่างต้องทำ
แต่เมื่ออ่านแล้ว กลับพบว่าได้ความรู้ในเรื่องที่ไม่รู้มากมาย
โดยเฉพาะด้านพระปรีชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
ชื่อของงานวิจัยครับ
"พระราชอัจฉริยปรีชญาแห่งพระมหากษัตริย์ไทยในการสร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม"
โดย ผศ. ดร. ชำนาญ รอดเหตุภัย.
สำหรับผู้สนใจดาวโหลดงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถกดลิงค์ได้เลยครับ
http://www.jarnjai.com/research/book1.pdf
ผู้เขียนขอกราบของพระคุณผู้วิจัยไว้ ณ ที่นี้
จริงๆ งานวิจัยชิ้นนี้มีเรื่องน่าสนใจหลายเรื่อง แต่ผมสนใจสามเรื่อง
เรื่องแรก คือเรื่อง คอมพิวเตอร์ที่รัชกาลที่ ๙ ทรงใช้
เรื่องที่สอง การประดิษฐ์อักษร
และเรื่องที่ สาม สคส. พระราชทาน
จากงานวิจัยนี้ ทำให้เราทราบว่า รัชกาลที่ ๙ ทรงเริ่มใช้เครื่องคณิตกรณ์
ตามคำกราบบังคมทูลของ ม.ล. อัศนี ปราโมช และท่านเองก็เป็นผู้จัดหาคอมพิวเตอร์มาถวาย
ซึ่งสาเหตุก็ถือ ท่านเห็นในหลวงร.๙ ทรงคัดลอกโน้ตดนตรีด้วยพระหัตถ์พระองค์เองเพื่อแจกนักดนตรี
ผมเคยคิดมาตลอดว่าจะมีผู้ทำหน้าที่ตรงนี้ถวาย แต่พระองค์ทรงลอกด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง!
ที่มา
ชำนาญ รอดเหตุภัย.(2545). พระราชอัจฉริยปรีชญาแห่งพระมหากษัตริย์ไทยในการสร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม. สืบค้นจาก
http://www.jarnjai.com/research/book1.pdf
จากวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อนำมาบันทึกโน้ต พระองค์ได้ทรงนำไปต่อยอดนั่นคือ
ทรงดัดแปลง font
พอจะเห็นเค้าลางๆ ได้ว่าพระองค์ทรงดัดแปลงตัวอักษรเอง
แต่เรื่องนี้ก็มีความกระจ่างในระดับหนึ่งจากลิงค์ในกระทู้เก่าแล้ว
แต่คำถามที่มีคนสงสัยคือ พระองค์ทรงใช้โปรแกรมอะไรประดิษฐ์ สคส. พระราชทาน
สำหรับคำตอบตรงนี้ก็ไม่ได้คำตอบเช่นกัน ผู้วิจัยเพียงแต่ระบุว่าเป็นเครื่องคณิตกรณ์
ที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวายในภายหลัง แต่จะใช้เครื่อง IBM PC compatible หรือเปล่านั่นไม่อาจยืนยันได้
แต่ จากตัวอย่างอักษรเทวนาครี ที่พระองค์ทรงนำออกแสดงในงานจุฬาวิชาการปี ๒๕๓๐
CU Writer มีบทบาทพอสมควร ซึ่งผมก็ทันได้เรียนและใข้ประโยชน์สมัยมัธยมต้น
สรุป ผมก็ยังไม่ได้คำตอบอยู่ดี แต่มีข้อมูลเพิ่มขึ้นเท่านั้น
สำหรับวัตถุประสงค์ของกระทู้นี้ ไม่มีอะไรมากครับ
ผมแค่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ ผนวกกับได้ทราบข้อมูลบางอย่าง เลยอยากนำมาแบ่งปัน
แก้ตัวสะกดนามสกุล ปราโมช ครับ
จากคัดลอกโน้ตเพลง สู่ สคส. พระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ ๙
https://ppantip.com/topic/35706736
มีผู้เข้ามาแสดงความเห็นว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงใช้น่าจะเป็นรุ่นอะไร
ซึ่งผมก็สงสัยเช่นกัน
วันนี้บังเอิญได้อ่านงานวิจัยชื้นหนึ่งที่อ่านค้างไว้จากเมื่อวาน
งานวิจัยชิ้นนี้ตกมาถึงมือผมนานเป็นปีแล้ว แต่ก็ไม่ได้อ่านเสียที
เมื่อวานนึกอะไรไม่รู้หยิบมาอ่าน แต่ก็อ่านไม่จบเพราะมีอะไรหลายอย่างต้องทำ
แต่เมื่ออ่านแล้ว กลับพบว่าได้ความรู้ในเรื่องที่ไม่รู้มากมาย
โดยเฉพาะด้านพระปรีชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
ชื่อของงานวิจัยครับ
"พระราชอัจฉริยปรีชญาแห่งพระมหากษัตริย์ไทยในการสร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม"
โดย ผศ. ดร. ชำนาญ รอดเหตุภัย.
สำหรับผู้สนใจดาวโหลดงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถกดลิงค์ได้เลยครับ
http://www.jarnjai.com/research/book1.pdf
ผู้เขียนขอกราบของพระคุณผู้วิจัยไว้ ณ ที่นี้
จริงๆ งานวิจัยชิ้นนี้มีเรื่องน่าสนใจหลายเรื่อง แต่ผมสนใจสามเรื่อง
เรื่องแรก คือเรื่อง คอมพิวเตอร์ที่รัชกาลที่ ๙ ทรงใช้
เรื่องที่สอง การประดิษฐ์อักษร
และเรื่องที่ สาม สคส. พระราชทาน
จากงานวิจัยนี้ ทำให้เราทราบว่า รัชกาลที่ ๙ ทรงเริ่มใช้เครื่องคณิตกรณ์
ตามคำกราบบังคมทูลของ ม.ล. อัศนี ปราโมช และท่านเองก็เป็นผู้จัดหาคอมพิวเตอร์มาถวาย
ซึ่งสาเหตุก็ถือ ท่านเห็นในหลวงร.๙ ทรงคัดลอกโน้ตดนตรีด้วยพระหัตถ์พระองค์เองเพื่อแจกนักดนตรี
ผมเคยคิดมาตลอดว่าจะมีผู้ทำหน้าที่ตรงนี้ถวาย แต่พระองค์ทรงลอกด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง!
ที่มา
ชำนาญ รอดเหตุภัย.(2545). พระราชอัจฉริยปรีชญาแห่งพระมหากษัตริย์ไทยในการสร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม. สืบค้นจาก http://www.jarnjai.com/research/book1.pdf
จากวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อนำมาบันทึกโน้ต พระองค์ได้ทรงนำไปต่อยอดนั่นคือ
ทรงดัดแปลง font
พอจะเห็นเค้าลางๆ ได้ว่าพระองค์ทรงดัดแปลงตัวอักษรเอง
แต่เรื่องนี้ก็มีความกระจ่างในระดับหนึ่งจากลิงค์ในกระทู้เก่าแล้ว
แต่คำถามที่มีคนสงสัยคือ พระองค์ทรงใช้โปรแกรมอะไรประดิษฐ์ สคส. พระราชทาน
สำหรับคำตอบตรงนี้ก็ไม่ได้คำตอบเช่นกัน ผู้วิจัยเพียงแต่ระบุว่าเป็นเครื่องคณิตกรณ์
ที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวายในภายหลัง แต่จะใช้เครื่อง IBM PC compatible หรือเปล่านั่นไม่อาจยืนยันได้
แต่ จากตัวอย่างอักษรเทวนาครี ที่พระองค์ทรงนำออกแสดงในงานจุฬาวิชาการปี ๒๕๓๐
CU Writer มีบทบาทพอสมควร ซึ่งผมก็ทันได้เรียนและใข้ประโยชน์สมัยมัธยมต้น
สรุป ผมก็ยังไม่ได้คำตอบอยู่ดี แต่มีข้อมูลเพิ่มขึ้นเท่านั้น
สำหรับวัตถุประสงค์ของกระทู้นี้ ไม่มีอะไรมากครับ
ผมแค่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ ผนวกกับได้ทราบข้อมูลบางอย่าง เลยอยากนำมาแบ่งปัน
แก้ตัวสะกดนามสกุล ปราโมช ครับ