คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
สัญญาจ้างนั้น ต่างจากสัญญาประเภทอื่นที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำหนังสือสัญญาหรือจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน แต่กรณีของสัญญาจ้างนั้น กฎหมายดูพฤติกรรมการจ้างงานของนายจ้างลูกจ้างเป็นหลัก หากนายจ้างตกปากรับคำเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างให้ และลูกจ้างยินยอมทำงานให้และรับค่าจ้าง ถือว่านิติกรรมการเกิดสัญญาจ้างเกิดขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์ หนังสือสัญญาจ้างเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น ดังนั้นแล้ว จากประสบการณ์ของผมนั้น หนังสือสัญญาจ้างไม่จำเป็นขาดที่ว่าต้องมีทุกกรณี แต่เวลาสืบพยานความเป็นนายจ้างลูกจ้างนั้น ศาลพิเคราะห์จากองค์ประกอบการจ้างงานเป็นหลัก
กรณีท่านเจ้าของกระทู้นั้น ในเมื่อสัญญาจ้างงานเกิดขึ้นอย่างเรียบร้อยแล้วนั้น ต้องแยกเรื่องการลาออกกับการได้รับค่าจ้างออกจากกัน ในเรื่องการได้รับค่าจ้างนั้น ลูกจ้างทำงานไปจริงเท่าใด ก็ชอบที่จะได้รับค่าจ้างตาที่ตนเองได้ทำงานไปจริง นายจ้างจะหาเหตุการไม่เขียนหนังสือลาออกมาอ้างไม่จ่ายค่าจ้างมิได้
แต่อีกนัยหนึ่งนั้น ผมก็ให้ความเห็นเชิงตำหนิว่า การลาออก ควรแจ้งกันให้ทราบเป็นเรื่องเป็นราว เป็นไปตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับ การละทิ้งหน้าที่ไปเฉยๆนั้น เป็นมารยาทการทำงานที่ไม่ควรกระทำ ถึงแม้ท่านเจ้าของกระทู้จะมีเหตุผลส่วนตัว แต่ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่บอกกล่าวกันได้ เวลาสมัครงาน ยังสามารถเดินทางมาหามาสัมภาษณ์ได้ พอจะไป ก็ควรไปลามาไหว้ ถึงจะถือว่ามีมารยาททางสังคมที่น่าเคารพ
ดังนั้นแล้ว ในมุมมองผม ผมให้ความเห็นตรงไปตรงมาว่า
กรณีค่าจ้างนั้น นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเท่าที่ทำงานไปจริง ส่วนกรณีลาออกไม่แจ้งล่วงหน้า ท่านเจ้าของกระทู้ก็ทำไม่ถูก ดังนั้นแล้ว หากสองฝ่ายต่างเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน ก็จะไม่ละเมิดกันไปละเมิดกันมาเช่นนี้ครับ
กรณีท่านเจ้าของกระทู้นั้น ในเมื่อสัญญาจ้างงานเกิดขึ้นอย่างเรียบร้อยแล้วนั้น ต้องแยกเรื่องการลาออกกับการได้รับค่าจ้างออกจากกัน ในเรื่องการได้รับค่าจ้างนั้น ลูกจ้างทำงานไปจริงเท่าใด ก็ชอบที่จะได้รับค่าจ้างตาที่ตนเองได้ทำงานไปจริง นายจ้างจะหาเหตุการไม่เขียนหนังสือลาออกมาอ้างไม่จ่ายค่าจ้างมิได้
แต่อีกนัยหนึ่งนั้น ผมก็ให้ความเห็นเชิงตำหนิว่า การลาออก ควรแจ้งกันให้ทราบเป็นเรื่องเป็นราว เป็นไปตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับ การละทิ้งหน้าที่ไปเฉยๆนั้น เป็นมารยาทการทำงานที่ไม่ควรกระทำ ถึงแม้ท่านเจ้าของกระทู้จะมีเหตุผลส่วนตัว แต่ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่บอกกล่าวกันได้ เวลาสมัครงาน ยังสามารถเดินทางมาหามาสัมภาษณ์ได้ พอจะไป ก็ควรไปลามาไหว้ ถึงจะถือว่ามีมารยาททางสังคมที่น่าเคารพ
ดังนั้นแล้ว ในมุมมองผม ผมให้ความเห็นตรงไปตรงมาว่า
กรณีค่าจ้างนั้น นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเท่าที่ทำงานไปจริง ส่วนกรณีลาออกไม่แจ้งล่วงหน้า ท่านเจ้าของกระทู้ก็ทำไม่ถูก ดังนั้นแล้ว หากสองฝ่ายต่างเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน ก็จะไม่ละเมิดกันไปละเมิดกันมาเช่นนี้ครับ
แสดงความคิดเห็น
ลาออกหลังจากทำงานได้ประมาณ 10 วัน บริษัทแจ้งว่าไม่ได้เงินเดือนเพราะไม่เขียนใบลาออก
1. การที่ผมไม่ได้รับเงินเดือนในลักษณะนี้ ถือว่าผมโดนเอาเปรียบหรือเปล่าครับ
2. ทางบริษัทมีสิทธิ์ที่จะไม่จ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานที่ไม่เขียนใบลาออก อันนี้สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายแรงงานใช่หรือไม่ครับ
3. ถ้าเกิดว่าไม่ผิดกฎหมาย ครั้งหน้า ผมควรจะปกป้องสิทธิของตัวเองแบบไหนบ้างครับ สำหรับการไปเริ่มงานที่ใหม่
รบกวนเพื่อนๆ ช่วยให้คำตอบผมด้วยนะครับว่าผมควรจะทำอย่างไรดีครับ ขอบคุณครับ