ทำไมต้องสอนเด็กแบบชี้นำมากกว่าสอนให้ใช้เหตุผล

ครูให้ลูกเตรียมบทความเพื่อพูดในวันงานโรงเรียน เกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ภรรยาผมเลยเล่าเรื่องพระมหาชนกให้เผื่อลูกจะชอบพระราชนิพนธ์ โดยเน้นเรื่องราวความเพียร แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วย หากจะศรัทธาในตัวท่านควรพูดเกี่ยวกับโครงการๆ เล็ก หรือ ที่เด็กเข้าใจง่ายๆ เช่น โครงการฝนหลวง, โครงการ ฯลฯ
เหตุผลที่ผมไม่เห็นด้วยการพูดถึง บทพระราชนิพนธ์
1. ในเนื้อเรื่องเหมือนชี้นำไว้แล้วว่า พระมหาชนก คือ คนที่มีความพิเศษกว่าคนอื่น
2. ความเพียรไม่โดดเด่นเท่าไหร่ เริ่มเรื่องตอนเรือจะล่ม เหมือนจะสอนให้มีสติ เตรียมตัวเอง (แต่กลับไม่เตือนผู้อื่น)
3. มีอภินิหาร หรือ ความพิเศษ เกิดขี้นตอนหลัง หลายอย่าง เช่น ปูยัก และนางมณีเมขลา >> เป็นเรื่องของศรัทธา(ความเชื่อ)มากเกินไป
4. สรุป เรื่องนี้ควรอยู่ในหมวดของ พุทธประวัติ(ที่นำมาพระราชนิพนธ์ใหม่)

จริงอยู่ที่ว่าเป็นเหมือนนิทานสอนเด็ก เหมือนนิทานอิสปที่ต่างชาติเขาก็มี แต่แตกต่างตรงนี้คือ
อีสป เป็นเรื่องแต่ง 100% แต่ พระมหาชนก กลับบอกว่าเป็นเค้าโครงจากพุทธประวัติ (มีจริง)
อีสป ตัวเอกมีทั้งเก่งและ ไม่เก่ง ควรทำตาม และไม่ควรทำตาม พระมหาชนก ทำทุกอย่างถูกโดยบางครั้งตรรกะไม่สอดคล้อง ถ้าเป็นผมจะสอนให้ลูกรู้จักย้อนแย้ง หัดใช้ความคิด และไม่ควรตำหนิความคิดของเด็กๆ ต้องแตะต้องได้ ถึงจะเรียกว่าการสื่อสาร 2 ทาง มีข้อโต้แย้ง

ไม่เห็นด้วยที่ใช้ศรัทนำเหตุผลตั้งแต่เด็ก หากใครมีศรัทธาใหนเรื่องใดก็ตามเมื่อเขาจะโตเป็นผู้ใหญ่ เขาก็จะกลับมาเชื่อในแบบที่เขาต้องการจะเชื่ออยู่ดีไม่ว่าเราจะพยายพาเขาไปเชื่อแบบที่เราเชื่อนานแค่ไหนก็ตาม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่