มะเร็งปอด เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุหลอดลมภายในปอด หลายคนเลือกการสูบบุหรี่เพื่อคลายเครียด แต่บุหรี่ไม่สามารถคลายเครียดได้กลับทำให้เพิ่มความเครียดมากขึ้น เพราะการสูบ
บุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็น โรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมากและพบในผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ พบว่ามะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงและเป็นสาเหตุการตายจากมะเร็งที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น
'มะเร็งปอด' เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุหลอดลมภายในปอด ซึ่งมักได้รับการระคายเคืองเป็นเวลานานๆ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ ทำให้มีการเพิ่มจำนวนเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านั้นอย่างไม่หยุดยั้ง กลายเป็นก้อนมะเร็งที่ลุกลามและแพร่กระจายได้ในที่สุด
สาเหตุส่วนใหญ่ของมะเร็งปอดมากกว่าร้อยละ 90 ได้แก่การสูบบุหรี่ ซึ่งการสูบบุหรี่นั้นยังเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปากมดลูก ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ถุงลมโป่งพองและโรคของหลอดเลือดสมองอีกด้วย
ในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดโรคหนึ่งเช่นเดียวกัน แนวโน้มของมะเร็งปอดในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะมะเร็งปอดในผู้หญิงและผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆมีข้อมูลสนับสนุนว่า ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่ายกว่าผู้ชายแม้ว่าสูบบุหรี่ในปริมาณเท่าๆ กัน
การป้องกันมะเร็งปอดที่ง่ายที่สุดคือการไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดน้อยมาก ผู้ที่เคยสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงน้อยลงเรื่อยๆ ตามจำนวนปีที่หยุดสูบ ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่หรือทำงานในที่ๆ มีควันบุหรี่มากจะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดเช่นกัน ดังนั้นการไม่สูบบุหรี่จึงเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน แม้จะมีการพูดถึงกันมากแต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นมาตรฐานในการตรวจคัดกรองในบุคคลทั่วไป ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอาจจะได้ประโยชน์จากการตรวจคัดกรองด้วยวิธีดังกล่าว แต่จะต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยทั่วไปแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่จัด ผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย
มะเร็งปอดอาจแบ่งได้เป็นสองชนิดคือมะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็ก(Small cell lung cancer) และมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก(Non-small cell lung cancer) ชนิดเซลล์ตัวเล็กจะมีลักษณะของโรคที่รุนแรงและรวดเร็วกว่า แต่ก็ตอบสนองต่อการรักษาได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ชนิดเซลล์ไม่เล็กพบบ่อยกว่า แม้มีการดำเนินโรคช้ากว่า แต่ก็นับว่าเป็นโรคมี่มีความรุนแรงสูงเช่นกัน
รู้เท่าทัน 'มะเร็งปอดง' น่ากลัวจัง คนไทยต้องระวัง
บุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็น โรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมากและพบในผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ พบว่ามะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงและเป็นสาเหตุการตายจากมะเร็งที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น
'มะเร็งปอด' เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุหลอดลมภายในปอด ซึ่งมักได้รับการระคายเคืองเป็นเวลานานๆ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ ทำให้มีการเพิ่มจำนวนเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านั้นอย่างไม่หยุดยั้ง กลายเป็นก้อนมะเร็งที่ลุกลามและแพร่กระจายได้ในที่สุด
สาเหตุส่วนใหญ่ของมะเร็งปอดมากกว่าร้อยละ 90 ได้แก่การสูบบุหรี่ ซึ่งการสูบบุหรี่นั้นยังเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปากมดลูก ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ถุงลมโป่งพองและโรคของหลอดเลือดสมองอีกด้วย
ในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดโรคหนึ่งเช่นเดียวกัน แนวโน้มของมะเร็งปอดในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะมะเร็งปอดในผู้หญิงและผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆมีข้อมูลสนับสนุนว่า ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่ายกว่าผู้ชายแม้ว่าสูบบุหรี่ในปริมาณเท่าๆ กัน
การป้องกันมะเร็งปอดที่ง่ายที่สุดคือการไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดน้อยมาก ผู้ที่เคยสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงน้อยลงเรื่อยๆ ตามจำนวนปีที่หยุดสูบ ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่หรือทำงานในที่ๆ มีควันบุหรี่มากจะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดเช่นกัน ดังนั้นการไม่สูบบุหรี่จึงเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน แม้จะมีการพูดถึงกันมากแต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นมาตรฐานในการตรวจคัดกรองในบุคคลทั่วไป ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอาจจะได้ประโยชน์จากการตรวจคัดกรองด้วยวิธีดังกล่าว แต่จะต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยทั่วไปแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่จัด ผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย
มะเร็งปอดอาจแบ่งได้เป็นสองชนิดคือมะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็ก(Small cell lung cancer) และมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก(Non-small cell lung cancer) ชนิดเซลล์ตัวเล็กจะมีลักษณะของโรคที่รุนแรงและรวดเร็วกว่า แต่ก็ตอบสนองต่อการรักษาได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ชนิดเซลล์ไม่เล็กพบบ่อยกว่า แม้มีการดำเนินโรคช้ากว่า แต่ก็นับว่าเป็นโรคมี่มีความรุนแรงสูงเช่นกัน