โรคมะเร็งปอด หนึ่งในสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ สำหรับประเทศไทยนับว่าเป็น 1 ใน 5 ของโรคมะเร็งที่พบมากที่สุด
และยังมีจำนวนผู้ป่วยใหม่ด้วยโรคมะเร็งปอดในแต่ละปีสูงมาก ผู้ป่วยส่วนมากจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ของโรค
เนื่องจากผู้ป้วยบางรายที่เป็นระยะแรกของมะเร็งปอดอาจจะไม่มีอาการผิดปกติได้
สาเหตุของมะเร็งปอด เกิดจากอะไร
เกิดจากการแบ่งตัวแบบผิดปกติของเซลล์ภายในปอดอย่างไม่สามารถควบคุมได้ เซลล์ที่เสียหายเกิดจากการกลายพันธุ์ (Mutation)
พัฒนาเป็นมวลหรือก้อนเนื้อร้ายที่ไปขัดขวางกระบวนการการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดจะเริ่มเกิดขึ้นเป็นจุดเล็ก ๆ ที่ปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณถุงลมขนาดเล็กภายในปอด
แล้วจึงลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ โดยรอบ
ระยะของมะเร็งปอดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง โดยกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง
เซลล์และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย ซึ่งระยะของมะเร็งนั้นมีความสำคัญต่อการรักษา
เพราะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษา และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม
ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะจำกัด (Limited Stage) พบเซลล์มะเร็งอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวเท่านั้น
ระยะที่ 2 ระยะลุกลาม (Extensive Stage) เซลล์มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือกระจายสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่พบว่ามีก้อนบางอย่างอยู่ในปอด ในระยะแรกนี้ผู้ป่วยมักไม่มีการแสดงความผิดปกติออกมา
ระยะที่ 2 พบมะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด โดยในระยะที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกจากร่างกาย
ระยะที่ 3 พบมะเร็งแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่นๆ หรือลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้นๆ
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งกระจายตัวไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น
มะเร็งปอดมีอาการอย่างไร
มะเร็งปอดในระยะแรกเริ่มจะไม่แสดงออกซึ่งอาการใด ๆ อาการบางอย่าง เช่น ไอ เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า อาจเกิดขึ้นได้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน
ผู้ป่วยจำนวนมากจึงชะลอการตรวจคัดกรองเบื้องต้น จนกระทั่งมะเร็งได้พัฒนาเข้าสู่ระยะลุกลาม
สัญญาณและอาการของโรคมะเร็งปอด ได้แก่ ไอเรื้อรัง เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ยาวนาน ไอเป็นเลือด หายใจหอบถี่
เสียงแหบ หายใจเสียงหวีด ปวดศีรษะ เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า มีอาการเจ็บที่บริเวณหน้าอก หรือเจ็บบริเวณหน้าอกส่วนบน
รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดบริเวณไหล่ ปวดกระดูก มีอาการบวมที่บริเวณใบหน้า ลำคอ และแขน
วิธีการดูแลรักษาตนเองให้ห่างไกลจาก โรคมะเร็งปอด
งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่จากผู้ที่สูบบุหรี่ ดูแลและสังเกตอาการผิดปกติของตนเองเป็นประจำ มีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกสุขลักษณะและสารอาหารครบ 5 หมู่
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การดูแลสังเกตอาการผิดปกติของตนเองอย่างสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะเป็นส่วนช่วยให้ห่างไกลจากการเป็นโรคมะเร็งปอดได้มากขึ้น
และหากพบความผิดปกติใด ๆ ในร่างกาย ให้รีบปรึกษาแพทย์
โรคมะเร็งปอด เป็นโรคที่หากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และรีบรักษาจะทำให้ผลลัพธ์ในการรักษาดีขึ้น
อย่ากลัวกับคำว่า “มะเร็งปอด” อย่ากลัวกับคำว่า “ยาเคมีบำบัด”
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/PK_CA_Lung_Screening_By_CT_Scan_2023.html
อาการ ของโรคมะเร็งปอด
และยังมีจำนวนผู้ป่วยใหม่ด้วยโรคมะเร็งปอดในแต่ละปีสูงมาก ผู้ป่วยส่วนมากจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ของโรค
เนื่องจากผู้ป้วยบางรายที่เป็นระยะแรกของมะเร็งปอดอาจจะไม่มีอาการผิดปกติได้
สาเหตุของมะเร็งปอด เกิดจากอะไร
เกิดจากการแบ่งตัวแบบผิดปกติของเซลล์ภายในปอดอย่างไม่สามารถควบคุมได้ เซลล์ที่เสียหายเกิดจากการกลายพันธุ์ (Mutation)
พัฒนาเป็นมวลหรือก้อนเนื้อร้ายที่ไปขัดขวางกระบวนการการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดจะเริ่มเกิดขึ้นเป็นจุดเล็ก ๆ ที่ปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณถุงลมขนาดเล็กภายในปอด
แล้วจึงลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ โดยรอบ
ระยะของมะเร็งปอดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง โดยกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง
เซลล์และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย ซึ่งระยะของมะเร็งนั้นมีความสำคัญต่อการรักษา
เพราะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษา และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม
ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะจำกัด (Limited Stage) พบเซลล์มะเร็งอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวเท่านั้น
ระยะที่ 2 ระยะลุกลาม (Extensive Stage) เซลล์มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือกระจายสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่พบว่ามีก้อนบางอย่างอยู่ในปอด ในระยะแรกนี้ผู้ป่วยมักไม่มีการแสดงความผิดปกติออกมา
ระยะที่ 2 พบมะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด โดยในระยะที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกจากร่างกาย
ระยะที่ 3 พบมะเร็งแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่นๆ หรือลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้นๆ
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งกระจายตัวไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น
มะเร็งปอดมีอาการอย่างไร
มะเร็งปอดในระยะแรกเริ่มจะไม่แสดงออกซึ่งอาการใด ๆ อาการบางอย่าง เช่น ไอ เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า อาจเกิดขึ้นได้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน
ผู้ป่วยจำนวนมากจึงชะลอการตรวจคัดกรองเบื้องต้น จนกระทั่งมะเร็งได้พัฒนาเข้าสู่ระยะลุกลาม
สัญญาณและอาการของโรคมะเร็งปอด ได้แก่ ไอเรื้อรัง เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ยาวนาน ไอเป็นเลือด หายใจหอบถี่
เสียงแหบ หายใจเสียงหวีด ปวดศีรษะ เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า มีอาการเจ็บที่บริเวณหน้าอก หรือเจ็บบริเวณหน้าอกส่วนบน
รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดบริเวณไหล่ ปวดกระดูก มีอาการบวมที่บริเวณใบหน้า ลำคอ และแขน
วิธีการดูแลรักษาตนเองให้ห่างไกลจาก โรคมะเร็งปอด
งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่จากผู้ที่สูบบุหรี่ ดูแลและสังเกตอาการผิดปกติของตนเองเป็นประจำ มีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกสุขลักษณะและสารอาหารครบ 5 หมู่
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การดูแลสังเกตอาการผิดปกติของตนเองอย่างสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะเป็นส่วนช่วยให้ห่างไกลจากการเป็นโรคมะเร็งปอดได้มากขึ้น
และหากพบความผิดปกติใด ๆ ในร่างกาย ให้รีบปรึกษาแพทย์
โรคมะเร็งปอด เป็นโรคที่หากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และรีบรักษาจะทำให้ผลลัพธ์ในการรักษาดีขึ้น
อย่ากลัวกับคำว่า “มะเร็งปอด” อย่ากลัวกับคำว่า “ยาเคมีบำบัด”
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/PK_CA_Lung_Screening_By_CT_Scan_2023.html