เอามาจากเฟสของทนายเกิดผล แก้วเกิดครับ
"เคยมีข่าวกรณีที่มีประชาชน ถูกบริษัทประกันชีวิต ไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือค่าสินไหมทดแทนในกรณีเจ็บป่วย โดยอ้างว่า ผู้เอาประกัน ไม่แจ้ง หรือ ปกปิดคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ ว่า เคยมีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัว หรือเคยรักษาโรค ในระหว่างทำประกันสุขภาพ
ประมาณว่า ไม่ถงไม่ถามสุขภาพซ๊ากคำ...!!!
ความจริงแล้ว ผู้ทำประกันอาจเคยแจ้งต่อผู้ขาย ซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวแทนของบริษัทประกันไปแล้ว...
ส่วนคนขาย จะจดแจ้งตามที่บอกหรือไม่ก็ไม่ทราบ
คดีนี้ โจทก์เป็นผู้ทำประกันสุขภาพ โดยมีจำเลยเป็นบริษัทประกันฯ
หลังโจทก์ทำประกันก็ล้มป่วย จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าประกันสุขภาพให้ โดยอ้างว่า โจทก์ปิดบังเกี่ยวกับสุขภาพ ว่าเคยเป็นโรคตับอักเสบ
โจทก์ต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้ปิดบัง และเคยเข้ารับการรักษาตัว ตัวแทนของจำเลย (คนขายประกัน) ก็เคยมาเยี่ยมโจทก์ และทราบดีว่า โจทก์ป่วยเพราะตับอักเสบ
จำเลยต่อสู้ว่า คนขายประกันให้โจทก์ เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต ไม่ใช่ตัวแทนประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ผูกพันจำเลย
จำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญา และคืนเบี้ยประกันให้โจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าสินไหมทดแทนใดๆ
สู้กันไปถึงศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท
คดีนี้ คนขายประกันไม่ใช่ตัวแทนจำเลยเพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือตั้งตัวแทน จึงมีฐานะเป็นเพียง นายหน้าประกันชีวิต นิติกรรมจึงไม่ผูกพันธ์จำเลย
จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาได้
#หมายเหตุ ผมไม่เห็นพ้องด้วยกับฎีกานี้นะครับ ชาวบ้านจะรู้อย่างไร ใครเป็นตัวแทน ใครเป็นนายหน้า หนังสือมอบอำนาจ ก็เป็นเรื่องระหว่างตัวแทนกับบริษัท เมื่อบริษัท รับเงินเบี้ยประกันไปแล้ว จนออกกรมธรรม์ให้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ย่อมเข้าใจว่า สัญญาย่อมถูกต้องทั้งหมด
ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทประกันภัยถึงหัวหมอตลอด
ผมนำตัวอย่างบัตรตัวแทน และ บัตรนายหน้ามาให้ดูครับ
ซื้อประกันกับนายหน้า ศาลไม่คุ้มครองนะครับ
ฎีกาที่ 1333/2551
ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่า ช. เป็นตัวแทนประกันชีวิตผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำสัญญาประกันชีวิตในนามของจำเลยได้ เช่นนี้ ช. จึงเป็นเพียงตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. การที่ ช. ได้ทราบหรือควรทราบข้อเท็จจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อ. จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าหลังจาก ส. เสียชีวิตจำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานและประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของ ส. ทราบผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 ว่า ส. ปกปิดข้อความจริงว่าเคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบ หากจำเลยทราบความจริงจำเลยจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตกับ ส. โดยโจทก์ไม่นำสืบหักล้าง ดังนั้น การที่ ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น ย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 จึงเป็นการบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้ว"
Credit :
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=258361111241659&id=100012033163351
สรุปว่าถ้าทำประกันนายหน้านี่มีปัญหามาศาลจะไม่คุ้มครองนะครับ...เพราะไม่ได้ซื้อกับตัวแทนโดยตรง...ต่อไปนี้จะซื้อประกันต้องเรียกดูบัตรตัวแทนกันล่ะ
แล้วชาวบ้านทั่วไปเค้าจะรู้ไหมเนี่ย
ซื้อประกันผ่านนายหน้า (ไม่ใช่ตัวแทน) ระวังมีปัญหา!!!
"เคยมีข่าวกรณีที่มีประชาชน ถูกบริษัทประกันชีวิต ไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือค่าสินไหมทดแทนในกรณีเจ็บป่วย โดยอ้างว่า ผู้เอาประกัน ไม่แจ้ง หรือ ปกปิดคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ ว่า เคยมีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัว หรือเคยรักษาโรค ในระหว่างทำประกันสุขภาพ
ประมาณว่า ไม่ถงไม่ถามสุขภาพซ๊ากคำ...!!!
ความจริงแล้ว ผู้ทำประกันอาจเคยแจ้งต่อผู้ขาย ซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวแทนของบริษัทประกันไปแล้ว...
ส่วนคนขาย จะจดแจ้งตามที่บอกหรือไม่ก็ไม่ทราบ
คดีนี้ โจทก์เป็นผู้ทำประกันสุขภาพ โดยมีจำเลยเป็นบริษัทประกันฯ
หลังโจทก์ทำประกันก็ล้มป่วย จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าประกันสุขภาพให้ โดยอ้างว่า โจทก์ปิดบังเกี่ยวกับสุขภาพ ว่าเคยเป็นโรคตับอักเสบ
โจทก์ต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้ปิดบัง และเคยเข้ารับการรักษาตัว ตัวแทนของจำเลย (คนขายประกัน) ก็เคยมาเยี่ยมโจทก์ และทราบดีว่า โจทก์ป่วยเพราะตับอักเสบ
จำเลยต่อสู้ว่า คนขายประกันให้โจทก์ เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต ไม่ใช่ตัวแทนประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ผูกพันจำเลย
จำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญา และคืนเบี้ยประกันให้โจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าสินไหมทดแทนใดๆ
สู้กันไปถึงศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท
คดีนี้ คนขายประกันไม่ใช่ตัวแทนจำเลยเพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือตั้งตัวแทน จึงมีฐานะเป็นเพียง นายหน้าประกันชีวิต นิติกรรมจึงไม่ผูกพันธ์จำเลย
จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาได้
#หมายเหตุ ผมไม่เห็นพ้องด้วยกับฎีกานี้นะครับ ชาวบ้านจะรู้อย่างไร ใครเป็นตัวแทน ใครเป็นนายหน้า หนังสือมอบอำนาจ ก็เป็นเรื่องระหว่างตัวแทนกับบริษัท เมื่อบริษัท รับเงินเบี้ยประกันไปแล้ว จนออกกรมธรรม์ให้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ย่อมเข้าใจว่า สัญญาย่อมถูกต้องทั้งหมด
ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทประกันภัยถึงหัวหมอตลอด
ผมนำตัวอย่างบัตรตัวแทน และ บัตรนายหน้ามาให้ดูครับ
ซื้อประกันกับนายหน้า ศาลไม่คุ้มครองนะครับ
ฎีกาที่ 1333/2551
ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่า ช. เป็นตัวแทนประกันชีวิตผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำสัญญาประกันชีวิตในนามของจำเลยได้ เช่นนี้ ช. จึงเป็นเพียงตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. การที่ ช. ได้ทราบหรือควรทราบข้อเท็จจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อ. จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าหลังจาก ส. เสียชีวิตจำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานและประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของ ส. ทราบผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 ว่า ส. ปกปิดข้อความจริงว่าเคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบ หากจำเลยทราบความจริงจำเลยจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตกับ ส. โดยโจทก์ไม่นำสืบหักล้าง ดังนั้น การที่ ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น ย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 จึงเป็นการบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้ว"
Credit : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=258361111241659&id=100012033163351
สรุปว่าถ้าทำประกันนายหน้านี่มีปัญหามาศาลจะไม่คุ้มครองนะครับ...เพราะไม่ได้ซื้อกับตัวแทนโดยตรง...ต่อไปนี้จะซื้อประกันต้องเรียกดูบัตรตัวแทนกันล่ะ
แล้วชาวบ้านทั่วไปเค้าจะรู้ไหมเนี่ย