คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
วิธีตรวจเช็คและแยกส่วนที่มีปัญหา
1 จดค่า PF เก่าไว้ ของคุณได้ = 0.75
2 ดูว่า CAP BANK ที่ใช้กี่สเต็ป ( สามารถดูได้จากแมกเนติกคอนแท็กเตอร์ว่ามีกี่ตัว สมมติมี 6 ตัว ก็คือ 6 สเต็ป )
3 ดูว่าแม็กเนติกทำงานครบทุกสเต็ปหรือไม่ ถ้าทำงานครบทุกสเต็ปให้ทำการเช็คต่อที่หัวข้อที่ 6 แต่ถ้าแม็กเนติกทำงานไม่ครบทุกสเต็ปให้เช็คตามหัวข้อที่ 4
4 ปรับชุดควบคุม CAP BANK เป็นแบบเมนวล เพื่อสั่ง ON ให้แม็กเนติกตัวที่ไม่ทำงาน ทำงานเสียก่อน ( ทีละตัวแล้วสังเกตุค่า PF )
5 ถ้าสั่ง ON ให้แม็กเนติกตัวที่ไม่ทำงาน ทำงานแล้วปรากฎว่าค่า PF สูงขึ้น แสดงว่าชุดควบคุมมีปัญหา ( ตั้ง AUTO แล้วไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ) ถ้าสั่ง ON ให้แม็กเนติกตัวที่ไม่ทำงาน ทำงานแล้วปรากฎว่าค่า PF ยังต่ำเหมือนเดิมให้เช็คต่อตามข้อ 6
ถ้าแม็กเนติกทำงานครบทุกสเต็ปแล้ว แต่ค่า PF ยังสูงอยู่ ( กรณีนี้คือเมื่อก่อนทำงานได้ปกติแต่ตอนนี้ทำงานไม่ได้นะ ไม่ใช่ค่าไม่ได้ตั้งแต่ต้น ถ้าเป็นแบบนี้ต้องคำนวนค่า CAP BANK ใหม่ )
6 ถ้าแม็กเนติกทำงานครบทุกสเต็ปแล้ว แต่ค่า PF ยังสูงอยู่ให้ทำการวัดกระแสที่จ่ายให้ CAP BANK ดูว่าเท่ากันทุกตัวหรือไม่ ถ้าวัดแล้วมีตัวใดตัวหนึ่งกินกระแสมากกว่าตัวอื่น แสดงว่าค่า CAP ลดค่า หรือ ความเป็นฉนวนเริ่มต่ำ ถ้าจะตรวจสอบให้ชัวร์ก็ต้องดับไฟแล้ววัดดูว่า CAP ประจุลดลงหรือไม่
7 ถ้าทำการวัดกระแสที่จ่ายให้ CAP BANK ดูแล้วว่าเท่ากันทุกตัวหรือแตกต่างกันไม่มาก และวัดค่า CAP ดูแล้วปกติ แต่ค่า PF ยังสูงอยู่ก็เป็นไปได้ว่าอาจเกิดฮาร์โมนิคในระบบของท่านมากเกินไป ( ซึ่งอยากให้พิจารณาข้อนี้เป็นข้อสุดท้าย เพราะมีโอกาศเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ใช่เป็นหัวข้อหลัก ) ถ้าคิดว่าเป็นกรณีแนะนำให้จ้างบริษัทที่จัดการด้านฮาร์โมนิคโดยเฉพาะมาดูแลให้ครับ ซึ่งส่วนมากก็บริษัทที่ผลิตตู้ให้หรือเจ้าของสินค้านั้นแหละครับ
ลองดู ไม่น่ายาก
1 จดค่า PF เก่าไว้ ของคุณได้ = 0.75
2 ดูว่า CAP BANK ที่ใช้กี่สเต็ป ( สามารถดูได้จากแมกเนติกคอนแท็กเตอร์ว่ามีกี่ตัว สมมติมี 6 ตัว ก็คือ 6 สเต็ป )
3 ดูว่าแม็กเนติกทำงานครบทุกสเต็ปหรือไม่ ถ้าทำงานครบทุกสเต็ปให้ทำการเช็คต่อที่หัวข้อที่ 6 แต่ถ้าแม็กเนติกทำงานไม่ครบทุกสเต็ปให้เช็คตามหัวข้อที่ 4
4 ปรับชุดควบคุม CAP BANK เป็นแบบเมนวล เพื่อสั่ง ON ให้แม็กเนติกตัวที่ไม่ทำงาน ทำงานเสียก่อน ( ทีละตัวแล้วสังเกตุค่า PF )
5 ถ้าสั่ง ON ให้แม็กเนติกตัวที่ไม่ทำงาน ทำงานแล้วปรากฎว่าค่า PF สูงขึ้น แสดงว่าชุดควบคุมมีปัญหา ( ตั้ง AUTO แล้วไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ) ถ้าสั่ง ON ให้แม็กเนติกตัวที่ไม่ทำงาน ทำงานแล้วปรากฎว่าค่า PF ยังต่ำเหมือนเดิมให้เช็คต่อตามข้อ 6
ถ้าแม็กเนติกทำงานครบทุกสเต็ปแล้ว แต่ค่า PF ยังสูงอยู่ ( กรณีนี้คือเมื่อก่อนทำงานได้ปกติแต่ตอนนี้ทำงานไม่ได้นะ ไม่ใช่ค่าไม่ได้ตั้งแต่ต้น ถ้าเป็นแบบนี้ต้องคำนวนค่า CAP BANK ใหม่ )
6 ถ้าแม็กเนติกทำงานครบทุกสเต็ปแล้ว แต่ค่า PF ยังสูงอยู่ให้ทำการวัดกระแสที่จ่ายให้ CAP BANK ดูว่าเท่ากันทุกตัวหรือไม่ ถ้าวัดแล้วมีตัวใดตัวหนึ่งกินกระแสมากกว่าตัวอื่น แสดงว่าค่า CAP ลดค่า หรือ ความเป็นฉนวนเริ่มต่ำ ถ้าจะตรวจสอบให้ชัวร์ก็ต้องดับไฟแล้ววัดดูว่า CAP ประจุลดลงหรือไม่
7 ถ้าทำการวัดกระแสที่จ่ายให้ CAP BANK ดูแล้วว่าเท่ากันทุกตัวหรือแตกต่างกันไม่มาก และวัดค่า CAP ดูแล้วปกติ แต่ค่า PF ยังสูงอยู่ก็เป็นไปได้ว่าอาจเกิดฮาร์โมนิคในระบบของท่านมากเกินไป ( ซึ่งอยากให้พิจารณาข้อนี้เป็นข้อสุดท้าย เพราะมีโอกาศเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ใช่เป็นหัวข้อหลัก ) ถ้าคิดว่าเป็นกรณีแนะนำให้จ้างบริษัทที่จัดการด้านฮาร์โมนิคโดยเฉพาะมาดูแลให้ครับ ซึ่งส่วนมากก็บริษัทที่ผลิตตู้ให้หรือเจ้าของสินค้านั้นแหละครับ
ลองดู ไม่น่ายาก
แสดงความคิดเห็น
ค่า PF ที่โรงงานต่ำมาก 0.6-0.75 และแกว่งตลอด