=== รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของทริป 10 วัน 10 จังหวัด ตะลุย Central Japan 2017 ช่วงปีใหม่ ซึ่งคนเขียนคงไม่เขียนรีวิวทั้งหมดเพราะไม่มีเวลาและเนื้อหาเยอะมาก จึงขอตัดส่วนที่เป็นเนื้อหาย่อยที่คิดว่ามีส่วนสำคัญมานำเสนอดูทีละจุด ถ้าหากใครสนใจอยากสอบถามข้อมูลทริป 10 วัน 10 จังหวัดช่วงปีใหม่เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ในภายหลังนะจ้ะ ===
รีวิวเรื่องที่ 1 - การใช้ Osaka Amazing Pass/KTP ไป Naniwa no Yu โดยไม่ต้องเดินไกลด้วยรถบัสสาย 34
รีวิวเรื่องที่ 2 - การใช้ Japan Rail Pass (Wide Nation) นั่ง JR Local Bus ในเมืองคานาซาว่า (Kanazawa)
รีวิวเรื่องที่ 4 - รีวิวทริป นั่งเรือจากท่าเรือฮิโนเดะ (Hinode) ไปงาน C91 ที่โตเกียวบิ๊กไซด์บนเกาะโอไดบะ
รีวิวเรื่องที่ 5 - เที่ยวฟูจิตะวันตกที่จังหวัดชิสุโอกะในวันปีใหม่ (เมืองฟูจิโนมิยะกับศาลเจ้าใหญ่) [1/2]
รีวิวเรื่องที่ 6 - เที่ยวฟูจิตะวันตกที่จังหวัดชิสุโอกะในวันปีใหม่ (ทัวร์โกริกิคุงที่ฟูจิโนมิยะ) [2/2]
<<ทริปวันที่ 9 ของการเดินทางของเจ้าของกระทู้ : วันที่ 7 มกราคม 2017 - โตเกียว>>
IC Card - คนที่เคยไปญี่ปุ่น หรือศึกษาข้อมูลมาดีคงจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว ในฐานะบัตรเติมเงินแสนสะดวกที่ใช้ขึ้น-ลงรถไฟ ได้ในหลายขบวนโดยไม่ต้องต่อคิวซื้อตั๋ว หนำซ้ำยังใช้กับร้านสะดวกซื้อ ตู้ขายของอัตโนมัติ ตู้ล็อกเกอร์และอื่นๆได้อีกมากมาย **ถ้าหากลงทะเบียนเพิ่มเติมแล้ว ตัวบัตรจะมีการสลักชื่อที่เราลงทะเบียนไว้ กรณีบัตรหายแล้วมีเงินเหลือในบัตรเยอะ ก็สามารถไปยื่นเรื่องขอเงินในบัตรคืนได้ด้วย**
ในบทนี้เราจะมารีวิวในอีกประโยชน์หนึ่งของการใช้ IC Card [Suica / Pasmo] นั่นคือการซื้อตั๋วที่นั่งพิเศษแบบ Green Seat บนรถไฟ JR Local ธรรมดาเที่ยวสุดท้ายสำหรับกลับสนามบินนาริตะ ซึ่งใช้จ่ายซื้อค่าที่นั่งในราคา 780 เยน [ค่าใช้จ่ายแยกกับค่าระยะทาง ดังนั้น ต้องจ่ายเงินค่าระยะทางเพิ่ม แต่วันนั้น JR Pass เรายังมีอายุการใช้งานอยู่ เลยสามารถใช้ผ่านเข้าออกชานชะลาได้เลย แล้วใช้ IC Card ซื้อที่นั่ง Green Seat อย่างเดียว]
***บัตร IC Card สามารถตรวจสอบประวัติและยอดเงินคงเหลือได้จากโทรศัพท์มือถือที่มีสามารถเปิดระบบ NFC (Near Filed Communication : เทคโนโลยีเชื่อมต่อข้อมูลระยะสั้น - หลักการเดียวกับที่ IC Card ทำงาน) และมีแอพในการตรวจสอบได้ ภาพข้างบนนั้นคือแอพ Suikakeibo**
*** หมายเหตุ ***
- วันนั้นเรายังมี JR Pass (แบบธรรมดา...ต้องจ่ายเพิ่ม แบบกรีน ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม) ที่ยังมีอายุการใช้งานวันสุดท้ายอยู่ คำถามคือ ทำไมไม่นั่ง Narita Express ที่แสนสะดวกสบายฟรีๆไปเลยล่ะ..? คำตอบก็คือ Narita Express ขบวนสุดท้ายมันหมดแค่ 2 ทุ่มเท่านั้น เป้าหมายคือ เราต้องการนั่งรถไฟ JR เที่ยวสุดท้ายสำหรับกลับสนามบินที่นาริตะ ซึ่งวันนั้นตรงกับวันหยุด และรถไฟเที่ยวสุดท้ายของวันนั้นก็คือรอบ 3 ทุ่ม 25 นาที ซึ่งทำให้เรามีเวลาเพิ่มในการเดินเที่ยวในเมืองโตเกียวเพิ่มอีกตั้งชั่วโมง
- ถ้างั้นทำไมไปนั่งกรีนคาร์ล่ะ นั่งธรรมดาก็ได้..? เปลืองตัง ต้องจ่าย 780 เยน... คำตอบคือ ซื้อประสบการณ์.. สำหรับเราให้ค่าความสำคัญกับประสบการณ์การท่องเที่ยวมากกว่าเงิน ถ้าใครอยากไม่อยากเสียเงินมากกว่า ก็นั่งส่วนที่นั่งธรรมดาไปได้ เวลาเดินทางเหมือนกัน แถมกรีนคาร์บนขบวนรถไฟ Local ก็ไม่ได้เพอร์เฟ็คเหมือนขบวนชินคันเซ็นหรือลิมิเตดเอกเพรสเท่าไหร่ แต่สำหรับเราได้เพิ่มคือ ความสงบและการได้พักระหว่างการเดินทางตั้งชั่วโมงกว่าๆ กว่าจะไปถึง และไม่ต้องมาคอยพะวงเรื่องอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ตรงที่ทุกครั้งที่เปิดประตูจะรับลมหนาวและมีคนวิ่งผ่านเข้าออกไปมาตลอดเวลา ซึ่งขบวนกรีนคาร์จะเงียบสงบ มีเวลาพักฟื้นเต็มที่ ก็แล้วแต่คนจะเลือกอ่ะนะ แต่มารีวิวนี่คือ เผื่อใครสนใจ
- ก่อนหน้านั้นก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เคยช่วยตอบคำถามการดำเนินการรีวิวนี้ให้เรา
ในกระทู้นี้ ทุกท่าน...ทำให้เราสามารถนำมาปฏิบัติจริงและใช้งานจริงได้
=======================================================
ขั้นตอนแรก สำหรับเราคือการหาข้อมูลรถไฟ JR สำหรับกลับสนามบินนาริตะเที่ยวสุดท้าย ถ้าหากใครไม่มีเน็ตสำหรับค้นหาใย Hyperdia ที่สถานีโตเกียวก็มีเครื่องอำนวยความสะดวก อย่างเครื่องค้นหาเส้นทาง (Route Finder) ที่สามารถแสดงตารางการเดินรถเช่นเดียวกับ Hyperdia ได้ แถมยังปริ้นท์ออกมาได้ด้วย (เราปริ้นท์เก็บไว้ดูเลย จะได้ไม่ต้องจำเวลาบ่อย)
**ลูกศรสีเทาขีดๆ ตรงที่ต่อไปสถานีชิบะ (Chiba) อันนั้นหมายถึง นั่งอยู่บนขบวนรถไฟเหมือนเดิม รถไฟก็จะเปลี่ยนรางวิ่งบนทางใหม่**
ต่อมามองหาเส้นทางไปยังชานชะลาเป้าหมาย แน่นอนก็ต้องเป็นสาย Sobu Line และเป็นชานชะลาเดียวกับของ Narita Express
ตรวจสอบตารางเวลาและเป้าหมายที่แน่ชัดจากบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์อีกที ซึ่งถ้าใครกังวลว่า ดูจาก Route Finder มันจอดที่สถานีชิบะ (Chiba) แล้วอยู่บนขบวนเดิม มันจะไปสนามบินนาริตะโดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนแน่เหรอ? ให้ดูที่ประกาศสถานีปลายทางของขบวนที่วิ่งได้เลย เพราะนั่นคือ เป้าหมายสุดท้ายที่รถไฟขบวนนั้นจะวิ่งไปถึง (ขบวนที่ออกเวลา 21.25 นาฬิกาเท่านั้นที่วิ่งไปถึงสนามบินนาริตะ ถ้าเป็นขบวนก่อนหน้านั้น ถึงจะอยู่รางเดียวกันแต่ก็วิ่งไปไม่ถึง)
- รถไฟขบวนธรรมดา Local/Rapid ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมี Green Car ทุกขบวน จะมีเฉพาะขบวนสำคัญๆ เช่น ขบวนที่ไป-กลับ สนามบินนาริตะ เท่านั้น
เมื่อไปที่ชานชะลาก็จะเห็นตู้สำหรับขายที่นั่ง Green Seat ที่ต้องจ่ายด้วยบัตร IC Card
อ่านข้อจำกัดการใช้งานให้ดีเพราะ มี IC Card 4 ใบเท่านั้นที่ใช้ได้ ซึ่งก็คือ
1. Suica (ออกโดย JR East ซื้อในสถานีที่ JR East ดูแลทั้งหมด ตั้งแต่ภูมิภาคคันโตยันภูมิภาคโทโฮคุ)
2. Pasmo (ออกโดย Tokyo Metro ซื้อได้ในสถานีเอกชนต่างๆในเขตโตเกียว เช่น เคย์เซย์ หรือ รถไฟใต้ดิน)
3. Kitaca (ออกโดย JR Hokkaido ต้องซื้อที่สถานีรถไฟบนเกาะ Hokkaido เท่านั้น)
4. Toica (ออกโดย JR Central ต้องซื้อแถวสถานีแถบภูมิภาคจูบุ (เขตทคไค) ที่ JR Central ดูแลเท่านั้น) เท่านั้น
นอกนั้นยังไม่สามารถใช้งานได้
วิธีการใช้งานก็ง่ายๆ (ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากจนถ่ายไม่ทัน)
1. เสียบ IC Card [Suica/Pasmo/Kitaca/Toica] ที่จะใช้จ่ายเงิน
2. กดปุ่มเลือกสถานีปลายทาง (ชื่อเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้วไม่ต้องกังวล) | สนามบินนาริตะ (เทอร์มินอล 2) 780 เยน
3. ถ้าเงินพอก็คือจบ+รับใบเสร็จ ถ้าไม่พอก็เติมแบงค์พันเยนเพิ่มเข้าไป
***เราจะรู้ได้ไงว่า มีที่นั่ง Green Seat เหลืออยู่บนรถไฟขบวนนั้น ทั้งๆที่ไม่มีให้กดเลือกที่นั่ง คือ ก็ง่ายๆนะ...
ถ้ามันเอาเงินในบัตรเราไป ก็เท่ากับมีที่นั่งอย่างน้อยพอดีสำหรับเรา ถ้ามันเต็ม มันก็คงแจ้งเตือนคนซื้อแล้วว่าที่นั่งเต็ม***
ขั้นตอนต่อไปคือ การขึ้นไปบนขบวนที่นั่ง Green Seat โดยจะมีขบวนพิเศษอยู่ด้านใน (ถ้าขึ้นรถไฟถูกขบวนนะ)
เป็นประตูไม้เลื่อน เข้าไปในโซนที่เป็นที่นั่งแบบรถทัวร์สงบๆ กว่าด้านนอก
ที่นั่งเป็นแบบเอนได้ นอนสบายดี
มีที่วางกระเป๋าด้านบน (ก็คล้ายแบบขบวนปกตินั่นล่ะ)
มีป้ายบอกสถานีที่กำลังจะถึงชัดเจน (พร้อมเสียงพากย์)
ต่อไปคือการยืนยันที่นั่ง..เราสามารถนั่งตรงที่ว่างตรงไหนก็ได้ ถ้าไฟที่อยู่เหนือที่นั่งนั้นเป็นสีแดง
ความหมายของไฟเหนือที่นั่งก็คือ...
สีแดง...ไม่มีคนนั่ง
สีเขียว...มีคนซื้อตั๋วจองที่นั่งตรงนี้ไปแล้ว
สิ่งที่เราต้องทำคือ นำบัตร IC Card ที่เราซื้อตั๋วที่นั่ง Green Seat ไปสัมผัสกับตรงที่เขาให้แตะบัตรซะ ไฟสีแดง ก็จะกลายเป็นไฟสีเขียวแล้วเราก็จะสามารถนั่งที่นั่งนั้นได้ โดยที่พนักงานตรวจไม่มารบกวน
***ในกรณีที่ใช้ JR Pass แบบ Green Car เราแค่โชว์พาสให้พนักงานตรวจดู เขาจะดำเนินการเอาบัตรของเขาแตะไฟเหนือที่นั่งให้เป็นสีเขียวให้***
***ถ้าไม่มี IC Card แต่อยากนั่ง Green Seat จะทำยังไง คำตอบคือ ก็จ่ายเงินกับพนักงานที่เดินมาตรวจที่นั่ง Green Seat คนนั้นนั่นแหละ***
***ไฟเหนือหัวนี้ จะเป็นจุดตรวจของพนักงานตรวจขบวนรถนี่แหละ ว่ามีใครนั่งเนียนมาหรือไม่ ไฟแดงไม่ควรมีคนมานั่ง****
เสร็จแล้วก็นั่งหลับไปยาวๆจนถึงสถานีที่หมาย
จบการรีวิวเพียงเท่านี้ สวัสดี.....
[CR] [เทคนิคจากทริป 10 วัน 10 จังหวัด] การใช้ Suica ชำระเงินซื้อที่นั่ง Green Seat ในรถไฟ JR ธรรมดาจากโตเกียวไปสนามบินนาริตะ
รีวิวเรื่องที่ 1 - การใช้ Osaka Amazing Pass/KTP ไป Naniwa no Yu โดยไม่ต้องเดินไกลด้วยรถบัสสาย 34
รีวิวเรื่องที่ 2 - การใช้ Japan Rail Pass (Wide Nation) นั่ง JR Local Bus ในเมืองคานาซาว่า (Kanazawa)
รีวิวเรื่องที่ 4 - รีวิวทริป นั่งเรือจากท่าเรือฮิโนเดะ (Hinode) ไปงาน C91 ที่โตเกียวบิ๊กไซด์บนเกาะโอไดบะ
รีวิวเรื่องที่ 5 - เที่ยวฟูจิตะวันตกที่จังหวัดชิสุโอกะในวันปีใหม่ (เมืองฟูจิโนมิยะกับศาลเจ้าใหญ่) [1/2]
รีวิวเรื่องที่ 6 - เที่ยวฟูจิตะวันตกที่จังหวัดชิสุโอกะในวันปีใหม่ (ทัวร์โกริกิคุงที่ฟูจิโนมิยะ) [2/2]
<<ทริปวันที่ 9 ของการเดินทางของเจ้าของกระทู้ : วันที่ 7 มกราคม 2017 - โตเกียว>>
IC Card - คนที่เคยไปญี่ปุ่น หรือศึกษาข้อมูลมาดีคงจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว ในฐานะบัตรเติมเงินแสนสะดวกที่ใช้ขึ้น-ลงรถไฟ ได้ในหลายขบวนโดยไม่ต้องต่อคิวซื้อตั๋ว หนำซ้ำยังใช้กับร้านสะดวกซื้อ ตู้ขายของอัตโนมัติ ตู้ล็อกเกอร์และอื่นๆได้อีกมากมาย **ถ้าหากลงทะเบียนเพิ่มเติมแล้ว ตัวบัตรจะมีการสลักชื่อที่เราลงทะเบียนไว้ กรณีบัตรหายแล้วมีเงินเหลือในบัตรเยอะ ก็สามารถไปยื่นเรื่องขอเงินในบัตรคืนได้ด้วย**
ในบทนี้เราจะมารีวิวในอีกประโยชน์หนึ่งของการใช้ IC Card [Suica / Pasmo] นั่นคือการซื้อตั๋วที่นั่งพิเศษแบบ Green Seat บนรถไฟ JR Local ธรรมดาเที่ยวสุดท้ายสำหรับกลับสนามบินนาริตะ ซึ่งใช้จ่ายซื้อค่าที่นั่งในราคา 780 เยน [ค่าใช้จ่ายแยกกับค่าระยะทาง ดังนั้น ต้องจ่ายเงินค่าระยะทางเพิ่ม แต่วันนั้น JR Pass เรายังมีอายุการใช้งานอยู่ เลยสามารถใช้ผ่านเข้าออกชานชะลาได้เลย แล้วใช้ IC Card ซื้อที่นั่ง Green Seat อย่างเดียว]
***บัตร IC Card สามารถตรวจสอบประวัติและยอดเงินคงเหลือได้จากโทรศัพท์มือถือที่มีสามารถเปิดระบบ NFC (Near Filed Communication : เทคโนโลยีเชื่อมต่อข้อมูลระยะสั้น - หลักการเดียวกับที่ IC Card ทำงาน) และมีแอพในการตรวจสอบได้ ภาพข้างบนนั้นคือแอพ Suikakeibo**
*** หมายเหตุ ***
- วันนั้นเรายังมี JR Pass (แบบธรรมดา...ต้องจ่ายเพิ่ม แบบกรีน ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม) ที่ยังมีอายุการใช้งานวันสุดท้ายอยู่ คำถามคือ ทำไมไม่นั่ง Narita Express ที่แสนสะดวกสบายฟรีๆไปเลยล่ะ..? คำตอบก็คือ Narita Express ขบวนสุดท้ายมันหมดแค่ 2 ทุ่มเท่านั้น เป้าหมายคือ เราต้องการนั่งรถไฟ JR เที่ยวสุดท้ายสำหรับกลับสนามบินที่นาริตะ ซึ่งวันนั้นตรงกับวันหยุด และรถไฟเที่ยวสุดท้ายของวันนั้นก็คือรอบ 3 ทุ่ม 25 นาที ซึ่งทำให้เรามีเวลาเพิ่มในการเดินเที่ยวในเมืองโตเกียวเพิ่มอีกตั้งชั่วโมง
- ถ้างั้นทำไมไปนั่งกรีนคาร์ล่ะ นั่งธรรมดาก็ได้..? เปลืองตัง ต้องจ่าย 780 เยน... คำตอบคือ ซื้อประสบการณ์.. สำหรับเราให้ค่าความสำคัญกับประสบการณ์การท่องเที่ยวมากกว่าเงิน ถ้าใครอยากไม่อยากเสียเงินมากกว่า ก็นั่งส่วนที่นั่งธรรมดาไปได้ เวลาเดินทางเหมือนกัน แถมกรีนคาร์บนขบวนรถไฟ Local ก็ไม่ได้เพอร์เฟ็คเหมือนขบวนชินคันเซ็นหรือลิมิเตดเอกเพรสเท่าไหร่ แต่สำหรับเราได้เพิ่มคือ ความสงบและการได้พักระหว่างการเดินทางตั้งชั่วโมงกว่าๆ กว่าจะไปถึง และไม่ต้องมาคอยพะวงเรื่องอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ตรงที่ทุกครั้งที่เปิดประตูจะรับลมหนาวและมีคนวิ่งผ่านเข้าออกไปมาตลอดเวลา ซึ่งขบวนกรีนคาร์จะเงียบสงบ มีเวลาพักฟื้นเต็มที่ ก็แล้วแต่คนจะเลือกอ่ะนะ แต่มารีวิวนี่คือ เผื่อใครสนใจ
- ก่อนหน้านั้นก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เคยช่วยตอบคำถามการดำเนินการรีวิวนี้ให้เรา ในกระทู้นี้ ทุกท่าน...ทำให้เราสามารถนำมาปฏิบัติจริงและใช้งานจริงได้
=======================================================
ขั้นตอนแรก สำหรับเราคือการหาข้อมูลรถไฟ JR สำหรับกลับสนามบินนาริตะเที่ยวสุดท้าย ถ้าหากใครไม่มีเน็ตสำหรับค้นหาใย Hyperdia ที่สถานีโตเกียวก็มีเครื่องอำนวยความสะดวก อย่างเครื่องค้นหาเส้นทาง (Route Finder) ที่สามารถแสดงตารางการเดินรถเช่นเดียวกับ Hyperdia ได้ แถมยังปริ้นท์ออกมาได้ด้วย (เราปริ้นท์เก็บไว้ดูเลย จะได้ไม่ต้องจำเวลาบ่อย)
**ลูกศรสีเทาขีดๆ ตรงที่ต่อไปสถานีชิบะ (Chiba) อันนั้นหมายถึง นั่งอยู่บนขบวนรถไฟเหมือนเดิม รถไฟก็จะเปลี่ยนรางวิ่งบนทางใหม่**
ต่อมามองหาเส้นทางไปยังชานชะลาเป้าหมาย แน่นอนก็ต้องเป็นสาย Sobu Line และเป็นชานชะลาเดียวกับของ Narita Express
ตรวจสอบตารางเวลาและเป้าหมายที่แน่ชัดจากบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์อีกที ซึ่งถ้าใครกังวลว่า ดูจาก Route Finder มันจอดที่สถานีชิบะ (Chiba) แล้วอยู่บนขบวนเดิม มันจะไปสนามบินนาริตะโดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนแน่เหรอ? ให้ดูที่ประกาศสถานีปลายทางของขบวนที่วิ่งได้เลย เพราะนั่นคือ เป้าหมายสุดท้ายที่รถไฟขบวนนั้นจะวิ่งไปถึง (ขบวนที่ออกเวลา 21.25 นาฬิกาเท่านั้นที่วิ่งไปถึงสนามบินนาริตะ ถ้าเป็นขบวนก่อนหน้านั้น ถึงจะอยู่รางเดียวกันแต่ก็วิ่งไปไม่ถึง)
- รถไฟขบวนธรรมดา Local/Rapid ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมี Green Car ทุกขบวน จะมีเฉพาะขบวนสำคัญๆ เช่น ขบวนที่ไป-กลับ สนามบินนาริตะ เท่านั้น
เมื่อไปที่ชานชะลาก็จะเห็นตู้สำหรับขายที่นั่ง Green Seat ที่ต้องจ่ายด้วยบัตร IC Card
อ่านข้อจำกัดการใช้งานให้ดีเพราะ มี IC Card 4 ใบเท่านั้นที่ใช้ได้ ซึ่งก็คือ
1. Suica (ออกโดย JR East ซื้อในสถานีที่ JR East ดูแลทั้งหมด ตั้งแต่ภูมิภาคคันโตยันภูมิภาคโทโฮคุ)
2. Pasmo (ออกโดย Tokyo Metro ซื้อได้ในสถานีเอกชนต่างๆในเขตโตเกียว เช่น เคย์เซย์ หรือ รถไฟใต้ดิน)
3. Kitaca (ออกโดย JR Hokkaido ต้องซื้อที่สถานีรถไฟบนเกาะ Hokkaido เท่านั้น)
4. Toica (ออกโดย JR Central ต้องซื้อแถวสถานีแถบภูมิภาคจูบุ (เขตทคไค) ที่ JR Central ดูแลเท่านั้น) เท่านั้น
นอกนั้นยังไม่สามารถใช้งานได้
วิธีการใช้งานก็ง่ายๆ (ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากจนถ่ายไม่ทัน)
1. เสียบ IC Card [Suica/Pasmo/Kitaca/Toica] ที่จะใช้จ่ายเงิน
2. กดปุ่มเลือกสถานีปลายทาง (ชื่อเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้วไม่ต้องกังวล) | สนามบินนาริตะ (เทอร์มินอล 2) 780 เยน
3. ถ้าเงินพอก็คือจบ+รับใบเสร็จ ถ้าไม่พอก็เติมแบงค์พันเยนเพิ่มเข้าไป
***เราจะรู้ได้ไงว่า มีที่นั่ง Green Seat เหลืออยู่บนรถไฟขบวนนั้น ทั้งๆที่ไม่มีให้กดเลือกที่นั่ง คือ ก็ง่ายๆนะ...
ถ้ามันเอาเงินในบัตรเราไป ก็เท่ากับมีที่นั่งอย่างน้อยพอดีสำหรับเรา ถ้ามันเต็ม มันก็คงแจ้งเตือนคนซื้อแล้วว่าที่นั่งเต็ม***
ขั้นตอนต่อไปคือ การขึ้นไปบนขบวนที่นั่ง Green Seat โดยจะมีขบวนพิเศษอยู่ด้านใน (ถ้าขึ้นรถไฟถูกขบวนนะ)
เป็นประตูไม้เลื่อน เข้าไปในโซนที่เป็นที่นั่งแบบรถทัวร์สงบๆ กว่าด้านนอก
ที่นั่งเป็นแบบเอนได้ นอนสบายดี
มีที่วางกระเป๋าด้านบน (ก็คล้ายแบบขบวนปกตินั่นล่ะ)
มีป้ายบอกสถานีที่กำลังจะถึงชัดเจน (พร้อมเสียงพากย์)
ต่อไปคือการยืนยันที่นั่ง..เราสามารถนั่งตรงที่ว่างตรงไหนก็ได้ ถ้าไฟที่อยู่เหนือที่นั่งนั้นเป็นสีแดง
ความหมายของไฟเหนือที่นั่งก็คือ...
สีแดง...ไม่มีคนนั่ง
สีเขียว...มีคนซื้อตั๋วจองที่นั่งตรงนี้ไปแล้ว
สิ่งที่เราต้องทำคือ นำบัตร IC Card ที่เราซื้อตั๋วที่นั่ง Green Seat ไปสัมผัสกับตรงที่เขาให้แตะบัตรซะ ไฟสีแดง ก็จะกลายเป็นไฟสีเขียวแล้วเราก็จะสามารถนั่งที่นั่งนั้นได้ โดยที่พนักงานตรวจไม่มารบกวน
***ในกรณีที่ใช้ JR Pass แบบ Green Car เราแค่โชว์พาสให้พนักงานตรวจดู เขาจะดำเนินการเอาบัตรของเขาแตะไฟเหนือที่นั่งให้เป็นสีเขียวให้***
***ถ้าไม่มี IC Card แต่อยากนั่ง Green Seat จะทำยังไง คำตอบคือ ก็จ่ายเงินกับพนักงานที่เดินมาตรวจที่นั่ง Green Seat คนนั้นนั่นแหละ***
***ไฟเหนือหัวนี้ จะเป็นจุดตรวจของพนักงานตรวจขบวนรถนี่แหละ ว่ามีใครนั่งเนียนมาหรือไม่ ไฟแดงไม่ควรมีคนมานั่ง****
เสร็จแล้วก็นั่งหลับไปยาวๆจนถึงสถานีที่หมาย
จบการรีวิวเพียงเท่านี้ สวัสดี.....
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น