Scheduling สำคัญกับการผลิตอย่างไร?


Scheduling การจัดลำดับงานและตารางการผลิตเครื่องจักร
Scheduling คือ การจัดลำดับงานและตารางการผลิต โดยทั่วๆไปมักมีปัญหาเรื่องการจัดลำดับงานและตารางการผลิต หากไม่มีโปรแกรมมาช่วยจึงมักจะใช้วิธีหรือหลักเกณฑ์การจัดลำดับงานและตารางการผลิตง่ายๆ คือ เรียงตามลำดับงานที่เข้ามาหรือไม่ก็ตามกำหนดส่งหรือวันที่ต้องการใช้สินค้า โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดในการจัดตารางการผลิต

ผลหรือประโยชน์ที่จะได้รับจากจาก Scheduling

1. ช่วยให้การวางแผนการผลิตสอดคล้องหรือเป็นไปตามลักษณะของกระบวนการผลิตบางประเภท เช่น
– กระบวนการผลิตที่มีลักษณะผลิตแบบแบท (Batch Production) ขั้นตอนการผลิตที่สามารถผลิต สินค้าหลายๆ รายการ พร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกันโดยอาจมีการกำหนดปริมาณขั้นต่ำในการสั่งผลิต เช่น เครื่องอบที่สามารถอบสินค้าหลายๆรายการพร้อมกันโดยที่ต้องมีปริมาณสินค้าจำนวนหนึ่งที่มากพอถึงจะให้เปิดเครื่องอบได้
– กระบวนการผลิตที่มีการคิดเวลาในการตั้งเครื่องเปลี่ยนแบบ (Setup Time) แปรผันไปตามลำดับสินค้าที่จะผลิตถัดไป ดังตัวอย่างตามตารางในรูป

“ตารางความสัมพันธ์เวลาในการเปลี่ยนแบบตั้งเครื่องจักร”

– กระบวนการผลิตที่มีการคิดเวลาในการตั้งเครื่องที่แปรผันตามคุณลักษณะของสินค้า เช่น ขั้นตอนการพ่นสี โดยที่สินค้า A มีสีแดง สินค้า B มีสีแดง และสินค้า C มีสีน้า เงิน ซึ่งหากลำดับผลิต ผลิต A แล้วผลิต B ต่อกรณีนี้เวลาในการตั้งเครื่องเปลี่ยนแบบก็จะเท่ากับ 0 แต่หาก ผลิต A และตามด้วย C อาจมีเวลาการตั้งเครื่อง 60 นาที

2. ช่วยให้เพิ่มการใช้ทรัพยากรด้านเครื่องจักรและเวลาสำหรับการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและช่วยลดเวลาสูญเสียการผลิตจากการรอคอยในกระบวนการผลิตดังตัวอย่างในรูป

“รูปที่ 2.1 แสดงแผนลำดับการผลิตของแต่ละเครื่องจักร (Resource)โดยไม่มีการ Scheduling”

“รูปที่ 2.2 แสดงแผนลำดับการผลิตของแต่ละเครื่องจักร (Resource) โดยการ Scheduling”


ซึ่งแสดงแผนลำดับการผลิตของแต่ละเครื่องจักร(Resource) โดยที่แท่งสีเขียวคืองานที่ต้องผลิต ส่วนพื้นที่สีเทาคือเวลาที่เครื่องว่างไม่มีงาน เมื่อพิจารณา รูปที่ 2.1 และ รูปที่ 2.2 จะเห็นว่า การ Scheduling จะช่วยให้แต่ละเครื่องมีการผลิตที่ต่อเนื่องมากขึ้น เวลาว่างน้อยลง (พื้นที่สีเทา) ซึ่งก็หมายความว่าใช้ประโยชน์เครื่องจกัรได้สูงมากขึ้น

3. ช่วยลดเวลาสูญเสียอันเนื่องจากการตั้งเครื่องเปลี่ยนแบบและลดระยะเวลางานอยู่ในระบบให้น้อยลง เมื่อพิจารณาดังตัวอย่างในรูป

“รูปที่ 3.1 แสดงลำดับการผลิตของเครื่องจักร (Resource) โดยไม่มีการ Scheduling”
“รูปที่ 3.2 แสดงลำดับการผลิตของเครื่องจักร (Resource) โดยการ Scheduling”


เมื่อพิจารณารูปที่ 3.1 และ 3.2 จะเห็นว่า การ Scheduling จะช่วยให้ลดเวลาสูญเสียในการเปลี่ยนแบบตั้งเครื่อง ซึ่งหมายความว่าเครื่องจักรมีเวลาสำหรับผลิตสนิค้ามากขึ้นนอกจากนั้นยังลดระยะเวลางานให้น้อยลง ช่วยให้สามารถผลิตเสร็จทันตามกำหนดมากขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่