คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
โดยอธิบายว่าจักขุคือตาชื่อว่าอินทรีย์เพราะเป็นใหญ่ในการดูการเห็นรูป โสตะคือหูชื่อว่าอินทรีย์เพราะเป็นใหญ่ในการฟังในการได้ยินเสียง ฆานะคือจมูกได้ชื่อว่าอินทรีย์เพราะเป็นใหญ่ในการสูดดมหรือทราบกลิ่น ชิวหาคือลิ้นชื่อว่าอินทรีย์เพราะเป็นใหญ่ในการได้ลิ้มหรือได้ทราบรส กายได้ชื่อว่าอินทรีย์เพราะเป็นใหญ่ในการถูกต้องหรือได้ทราบโผฏฐัพพะคือสิ่งที่กายถูกต้อง มโนหรือมนะคือใจได้ชื่อว่าอินทรีย์เพราะเป็นใหญ่ในการได้รู้ธรรมะคือเรื่องราว ดั่งนี้
อินทรียสังวรความสำรวมอินทรีย์ก็คือสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ นี้ สำรวมตา สำรวมหู สำรวมจมูก สำรวมลิ้น สำรวมกาย สำรวมมนะคือใจ สำรวมอย่างไรก็คือว่ามีความสำรวมคือความป้องกัน ความระมัดระวังด้วยสติ ในทุกเวลาที่ตากับรูปได้ประจวบกัน หูกับเสียงได้ประจวบกัน จมูกกับกลิ่นได้ประจวบกัน ลิ้นกับรสได้ประจวบกัน กายและสิ่งที่กายถูกต้องได้ประจวบกัน มโนคือใจและธรรมะคือเรื่องราวได้ประจวบกัน
พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ทุกข้อว่าให้พิจารณาโดยแยบคาย สำรวมอินทรีย์คือตา ก็คือในขณะที่ตากับรูปประจวบกัน หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าตาเห็นรูป ก็มีสติคอยสำรวมระวังเอาไว้ มิให้ยึดถือสิ่งที่ตาเห็นนั้นเกิดความยินดีเกิดความยินร้าย อันเรียกว่านำกิเลสให้ไหลเข้ามาท่วมจิตใจสู่จิตใจ คือระมัดระวังมิให้เป็นอารมณ์ ที่นำความยินดีความยินร้ายไหลเข้ามาสู่จิตใจ ท่วมจิตใจ
อันความยินดีความยินร้ายที่ไหลเข้ามาท่วมจิตใจทางตานี้แหละ ได้ชื่อว่าเป็นอาสวะอย่างหนึ่ง ตามที่ได้กล่าวแล้วว่าอาสวะคือกิเลสที่ดองจิตใจ หรือดองจิตสันดาน ก็ไหลเข้ามาทางตานี้นั้นเอง โดยที่ยึดถือเป็นอารมณ์ เกิดความยินดีเกิดความยินร้ายขึ้นในจิต ท่วมจิตใจ
ซึ่งเรียกว่าดองก็เพราะเหตุว่าทำให้จิตใจนี้แปรปรวน เหมือนอย่างน้ำดองของเมา เดิมก็เป็นน้ำธรรมดา และเมื่อมามีเชื้อแห่งความเมาผสมในน้ำนั้น อันเรียกว่าดอง ก็คือว่าผสมอยู่นานๆ ก็ทำให้น้ำที่เป็นน้ำธรรมดานั้นกลายเป็นน้ำเมาขึ้นมา ดังที่เราเรียกกันว่าน้ำดองของเมา ซึ่งเป็นลักษณะของสิ่งที่เรียกว่าเมรัย แต่เมื่อมีการกลั่นให้เป็นของเมาขึ้นมาด้วยความร้อน ก็เรียกว่าน้ำกลั่นก็คือสุรา น้ำเมาที่เป็นน้ำกลั่นเรียกว่าสุรา น้ำเมาที่เป็นน้ำดองเรียกว่าเมรัย สุรานั้นคือน้ำกลั่นที่เป็นน้ำเมาก็เป็นสุราทั่วๆ ไป น้ำดองที่เป็นน้ำเมานั้นก็เช่นน้ำกระแช่
อ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่ http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-057.htm
อินทรียสังวรความสำรวมอินทรีย์ก็คือสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ นี้ สำรวมตา สำรวมหู สำรวมจมูก สำรวมลิ้น สำรวมกาย สำรวมมนะคือใจ สำรวมอย่างไรก็คือว่ามีความสำรวมคือความป้องกัน ความระมัดระวังด้วยสติ ในทุกเวลาที่ตากับรูปได้ประจวบกัน หูกับเสียงได้ประจวบกัน จมูกกับกลิ่นได้ประจวบกัน ลิ้นกับรสได้ประจวบกัน กายและสิ่งที่กายถูกต้องได้ประจวบกัน มโนคือใจและธรรมะคือเรื่องราวได้ประจวบกัน
พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ทุกข้อว่าให้พิจารณาโดยแยบคาย สำรวมอินทรีย์คือตา ก็คือในขณะที่ตากับรูปประจวบกัน หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าตาเห็นรูป ก็มีสติคอยสำรวมระวังเอาไว้ มิให้ยึดถือสิ่งที่ตาเห็นนั้นเกิดความยินดีเกิดความยินร้าย อันเรียกว่านำกิเลสให้ไหลเข้ามาท่วมจิตใจสู่จิตใจ คือระมัดระวังมิให้เป็นอารมณ์ ที่นำความยินดีความยินร้ายไหลเข้ามาสู่จิตใจ ท่วมจิตใจ
อันความยินดีความยินร้ายที่ไหลเข้ามาท่วมจิตใจทางตานี้แหละ ได้ชื่อว่าเป็นอาสวะอย่างหนึ่ง ตามที่ได้กล่าวแล้วว่าอาสวะคือกิเลสที่ดองจิตใจ หรือดองจิตสันดาน ก็ไหลเข้ามาทางตานี้นั้นเอง โดยที่ยึดถือเป็นอารมณ์ เกิดความยินดีเกิดความยินร้ายขึ้นในจิต ท่วมจิตใจ
ซึ่งเรียกว่าดองก็เพราะเหตุว่าทำให้จิตใจนี้แปรปรวน เหมือนอย่างน้ำดองของเมา เดิมก็เป็นน้ำธรรมดา และเมื่อมามีเชื้อแห่งความเมาผสมในน้ำนั้น อันเรียกว่าดอง ก็คือว่าผสมอยู่นานๆ ก็ทำให้น้ำที่เป็นน้ำธรรมดานั้นกลายเป็นน้ำเมาขึ้นมา ดังที่เราเรียกกันว่าน้ำดองของเมา ซึ่งเป็นลักษณะของสิ่งที่เรียกว่าเมรัย แต่เมื่อมีการกลั่นให้เป็นของเมาขึ้นมาด้วยความร้อน ก็เรียกว่าน้ำกลั่นก็คือสุรา น้ำเมาที่เป็นน้ำกลั่นเรียกว่าสุรา น้ำเมาที่เป็นน้ำดองเรียกว่าเมรัย สุรานั้นคือน้ำกลั่นที่เป็นน้ำเมาก็เป็นสุราทั่วๆ ไป น้ำดองที่เป็นน้ำเมานั้นก็เช่นน้ำกระแช่
อ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่ http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-057.htm
แสดงความคิดเห็น
### เห็นรูปด้วยตา แต่เราไม่ปล่อยให้ราคะกำเริบ ใช่อินทรีย์สังวรณ์หรือเปล่าครับ ###
เวลาเห็นรูปจะตั้งสติตามดูจิตอยู่ตลอด จะรู้ว่า เห็นด้วยสติกับเผลอสติเป็นอย่างไร ใช่อินทรีย์สังวรณ์หรือเปล่าครับ ??