กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับบขส. ทหาร ตำรวจ และส่วนท้องถิ่น ร่วมตรวจความพร้อมเข้มข้นรถโดยสารสาธารณะทุกคัน คนขับทุกคน ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารทั่วประเทศ ต่อเนื่องถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์และตลอดปี เฉพาะสถานีขนส่งผู้โดยสารทั้ง 4 แห่งใน กทม. ตั้งแต่ 4 - 14 ม.ค. 60 พบความผิดรวม 368 ราย หากพบบกพร่องเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุสั่ง “ห้ามใช้” ทันที
นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยถึงมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยรถตู้โดยสารสาธารณะที่สถานีขนส่งผู้โดยสารทั่วประเทศอย่างเข้มข้น เด็ดขาด จริงจัง ทันที ตามมาตรฐานความปลอดภัยของตัวรถ (Checklist) และตรวจความพร้อมของพนักงานขับรถ ต้องปราศจากแอลกอฮอล์และสารเสพติด ตรวจสอบชั่วโมงการขับรถจากสมุดประจำรถ โดยจะเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่าง กรมการขนส่งทางบก บริษัท ขนส่ง จำกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานท้องถิ่น ตรวจเข้มสถานีขนส่งผู้โดยสารทุกแห่งทั่วประเทศ ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 จนถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงดำเนินการตามมาตรการตรวจความพร้อมเข้มข้นในทุกๆ เทศกาลหยุดยาวที่มีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจ ในระบบรถโดยสารสาธารณะปลอดภัยสูงสุดตลอดทั้งปี โดยในกรุงเทพฯ จัดเจ้าหน้าที่ตรวจการขนส่งทางบกลงพื้นที่ตรวจสอบที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ทั้ง 4 แห่ง (หมอชิต เอกมัย สายใต้ปิ่นเกล้า และสายใต้บรมราชชนนี) ตั้งแต่วันที่ 4-14 มกราคม 2560 พบการกระทำความผิดทั้งสิ้น 368 ราย ส่วนใหญ่ติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบไม่ครบถ้วนตามที่กรมการขนส่งทางบก เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น เฉพาะวันที่ 13-14 มกราคม 2560 พบการกระทำผิดทั้งสิ้น 37 ราย ได้แก่ สภาพตัวรถไม่มั่นคงแข็งแรงอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุหากนำไปใช้งาน สั่งห้ามใช้รถทันที 1 ราย เพิ่มที่เบาะนั่งเกินโดยไม่ได้รับอนุญาต 2 ราย ติดตั้งเบาะที่นั่งกีดขวางทางฉุกเฉิน 9 ราย และอีก 24 ราย เป็นความผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ส่วนควบไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนพนักงานขับรถไม่พบการใช้สารเสพติดและแอลกอฮอล์ แต่มีผู้ฝ่าฝืนไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ 1 ราย ซึ่งทุกกรณีความผิดดำเนินการเปรียบเทียบปรับและบันทึกประวัติการกระทำความผิดไว้ที่ศูนย์ข้อมูลประวัติผู้ขับรถแล้วทุกราย หากพบความผิดซ้ำพิจารณามาตรการลงโทษพักใช้ เพิกถอนใบอนุญาตขับรถ ส่วนกรณีตรวจพบรถโดยสารมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง อาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุหากนำไปใช้งาน นอกจากดำเนินการเปรียบเทียบปรับขั้นสูงสุดแล้ว ได้ดำเนินการพ่นข้อความที่ตัวรถ “ห้ามใช้” เพื่อระงับการใช้งานและให้แก้ไขข้อบกพร่องให้เรียบร้อย โดยต้องนำรถเข้าตรวจสภาพก่อนจึงจะนำกลับมาใช้อีกครั้ง
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการตรวจสอบจับกุมผู้กระทำความผิดอย่างจริงจังแล้ว ยังได้กำชับให้สำนักงานขนส่งจังหวัดลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกให้ช่วยกันระมัดระวังป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่การตรวจสอบดูแลสภาพรถ การให้บริการด้วยความปลอดภัย ห้ามบรรทุกผู้โดยสารเกินกฎหมายกำหนด และกำชับให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากพบว่ามีการฝ่าฝืน จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายขั้นเด็ดขาด ทั้งพนักงานขับรถและผู้ประกอบการ ในทุกประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยในการทางเดินทางของประชาชน พร้อมแจ้งเตือนให้ผู้ประกอบการเร่งดำเนินการติดตั้ง GPS Tracking และเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2560 เพื่อสร้างระบบการติดตามพฤติกรรมการขับขี่แบบเรียลไทม์ และการควบคุมแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนผ่านแอพพลิเคชั่น DLT GPS ซึ่งจะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการขับรถด้วยความปลอดภัย ไม่ใช้ความเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงอาจเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่โดยสารรถตู้โดยสารสาธารณะ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่ใช้บริการ หากประชาชนพบรถโดยสารไม่ปลอดภัยแจ้งสายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในที่สุด
กรมการขนส่งฯ ตรวจความพร้อมเข้มข้น!!
นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยถึงมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยรถตู้โดยสารสาธารณะที่สถานีขนส่งผู้โดยสารทั่วประเทศอย่างเข้มข้น เด็ดขาด จริงจัง ทันที ตามมาตรฐานความปลอดภัยของตัวรถ (Checklist) และตรวจความพร้อมของพนักงานขับรถ ต้องปราศจากแอลกอฮอล์และสารเสพติด ตรวจสอบชั่วโมงการขับรถจากสมุดประจำรถ โดยจะเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่าง กรมการขนส่งทางบก บริษัท ขนส่ง จำกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานท้องถิ่น ตรวจเข้มสถานีขนส่งผู้โดยสารทุกแห่งทั่วประเทศ ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 จนถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงดำเนินการตามมาตรการตรวจความพร้อมเข้มข้นในทุกๆ เทศกาลหยุดยาวที่มีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจ ในระบบรถโดยสารสาธารณะปลอดภัยสูงสุดตลอดทั้งปี โดยในกรุงเทพฯ จัดเจ้าหน้าที่ตรวจการขนส่งทางบกลงพื้นที่ตรวจสอบที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ทั้ง 4 แห่ง (หมอชิต เอกมัย สายใต้ปิ่นเกล้า และสายใต้บรมราชชนนี) ตั้งแต่วันที่ 4-14 มกราคม 2560 พบการกระทำความผิดทั้งสิ้น 368 ราย ส่วนใหญ่ติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบไม่ครบถ้วนตามที่กรมการขนส่งทางบก เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น เฉพาะวันที่ 13-14 มกราคม 2560 พบการกระทำผิดทั้งสิ้น 37 ราย ได้แก่ สภาพตัวรถไม่มั่นคงแข็งแรงอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุหากนำไปใช้งาน สั่งห้ามใช้รถทันที 1 ราย เพิ่มที่เบาะนั่งเกินโดยไม่ได้รับอนุญาต 2 ราย ติดตั้งเบาะที่นั่งกีดขวางทางฉุกเฉิน 9 ราย และอีก 24 ราย เป็นความผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ส่วนควบไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนพนักงานขับรถไม่พบการใช้สารเสพติดและแอลกอฮอล์ แต่มีผู้ฝ่าฝืนไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ 1 ราย ซึ่งทุกกรณีความผิดดำเนินการเปรียบเทียบปรับและบันทึกประวัติการกระทำความผิดไว้ที่ศูนย์ข้อมูลประวัติผู้ขับรถแล้วทุกราย หากพบความผิดซ้ำพิจารณามาตรการลงโทษพักใช้ เพิกถอนใบอนุญาตขับรถ ส่วนกรณีตรวจพบรถโดยสารมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง อาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุหากนำไปใช้งาน นอกจากดำเนินการเปรียบเทียบปรับขั้นสูงสุดแล้ว ได้ดำเนินการพ่นข้อความที่ตัวรถ “ห้ามใช้” เพื่อระงับการใช้งานและให้แก้ไขข้อบกพร่องให้เรียบร้อย โดยต้องนำรถเข้าตรวจสภาพก่อนจึงจะนำกลับมาใช้อีกครั้ง
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการตรวจสอบจับกุมผู้กระทำความผิดอย่างจริงจังแล้ว ยังได้กำชับให้สำนักงานขนส่งจังหวัดลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกให้ช่วยกันระมัดระวังป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่การตรวจสอบดูแลสภาพรถ การให้บริการด้วยความปลอดภัย ห้ามบรรทุกผู้โดยสารเกินกฎหมายกำหนด และกำชับให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากพบว่ามีการฝ่าฝืน จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายขั้นเด็ดขาด ทั้งพนักงานขับรถและผู้ประกอบการ ในทุกประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยในการทางเดินทางของประชาชน พร้อมแจ้งเตือนให้ผู้ประกอบการเร่งดำเนินการติดตั้ง GPS Tracking และเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2560 เพื่อสร้างระบบการติดตามพฤติกรรมการขับขี่แบบเรียลไทม์ และการควบคุมแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนผ่านแอพพลิเคชั่น DLT GPS ซึ่งจะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการขับรถด้วยความปลอดภัย ไม่ใช้ความเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงอาจเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่โดยสารรถตู้โดยสารสาธารณะ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่ใช้บริการ หากประชาชนพบรถโดยสารไม่ปลอดภัยแจ้งสายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในที่สุด