ท่องไปในดินแดนแห่งความสุข


หากเอ่ยชื่อ "ภูฏาน" ในปัจจุบัน น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะประเทศนี้โด่งดังจากการปรากฏพระองค์ของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเพียงมกุฏราชกุมาร) ที่เสด็จทรงร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2549 โดยทรงเป็นพระราชอาคันตุกะที่พระชนมายุน้อยที่สุด และที่สำคัญทรงมีความอ่อนน้อมถ่อมตน จนกลายเป็นที่ประทับใจของคนไทย พระองค์จึงกลายเป็นทูตสันถวไมตรีให้กับภูฏานได้เป็นอย่างดี และทำให้คนไทยหันไปให้ความสนใจประเทศเล็กๆ ที่แทรกตัวอยู่ท่ามกลางเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้มากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ภูฏานเป็นจุดหมายปลายทางในฝันของใครหลายๆ คน รวมทั้งผมด้วย

เพราะอย่างที่ทราบประเทศเล็กๆ แห่งนี้ ขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติที่งดงาม วิถีชีวิตของผู้คนรวมถึงวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมที่ยังบริสุทธิ์มากๆ แทบจะไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ไม่นับแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม รุ่มรวยด้วยวัดวาอารามที่มีอยู่อย่างมากมาย เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ที่หลายคนตั้งปณิธานต้องมาเยือนให้ได้สักครั้งในชีวิต

นอกจากนี้ประเทศเล็กๆ แห่งนี้ ได้ชื่อว่า เป็น "The Land of Happiness" เพราะที่นี่เค้าใช้ GNH (Gross National Happiness) "ดัชนีความสุข" วัดการพัฒนาแทนการใช้  GDP  (Gross Domestic Products) เหมือนกับประเทศอื่นๆ

แต่กระนั้นการจะเดินทางเข้าภูฏานไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวในแต่ละปีไม่เกิน 20,000 คน แต่ก็ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะปัจจุบันมีบริษัททัวร์จำนวนมากในบ้านเราที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลภูฏาน โดยกำหนดให้บริษัททัวร์เหล่านี้เรียกเก็บค่าบริการจากนักท่องเที่ยววันละ 250 ดอลลาร์/คน โดยประมาณ ซึ่งเป็นราคารวมทุกอย่างแล้ว

สำหรับผมและเพื่อนรวม 4 ชีวิต เราเลือกเดินทางแบบ Exclusive แพ็กเกจ 5 วัน 4 คืน รวมค่าเครื่องบิน (ชั้นธุรกิจ) +ที่พัก โรงแรม3-5 ดาว)+คนขับรถ และไกด์ท้องถิ่น โดยเลือกเดินทางช่วงวันที่ 20-24 กันยายน ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลท่องเที่ยว เพราะอากาศกำลังเย็นสบาย ไม่หนาวมาก แต่ทว่าจากการตรวจเช็คสภาพอากาศเบื้องต้นทำให้เราเริ่มชักใจไม่ค่อยดี ตุ้มๆ ต่อมๆ กันเลยทีเดียว เพราะว่าช่วงเวลาดังกล่าวยังมีฝนตกอยู่ ในเว็บไซต์ที่ตรวจเช็คสภาพอากาศมันบอกว่า "ฝนตกซู่ เลยต้องลุ้นๆ เอาวะ! จ่ายเงินไปแล้ว ไปตายเอาดาบหน้าแล้วกัน  ฮ่าๆ

จากการตรวจสอบข้อมูลจากเพื่อนพ้องน้องพี่ที่เคยมาเที่ยวที่นี่บอกว่าอาหารที่ภูฏานรสชาติไม่ถูกปากคนไทย จนถึงขั้นกินไม่ได้ จึงแนะนำว่าให้เตรียมอาหาร อย่าง มาม่า ปลากระป๋อง น้ำพริก ฯลฯ ตุนไว้เยอะๆ

แน่นอนครับเมื่อมีข้อแนะนำเช่นนี้มีหรือจะพลาด เพราะอย่างที่ทราบสำหรับ "แก๊งลูกหมู" อย่างพวกกระผม เรื่องกินเรื่องหญ่าย อิอิ

***วันที่ 20 กันยายน

เวลา 04.30 น. ลูกทัวร์พร้อมที่สุวรรณภูมิ เพื่อเช็คอิน จัดการเรื่องเอกสารและพิธีการตรวจคนเข้าเมือง โดยเราเดินทางสายการบิน "ภูฏานแอร์ไลน์" สายการบินน้องใหม่ (ประเทศนี้มีเพียง 2 สายการบิน อีกแห่งคือ ดรุ๊กแอร์ สายการบินแห่งชาติ ) และเนื่องจากพวกเราเดินทางชั้นธุรกิจ จึงมีเลาจน์บริการ มีอาหารเครื่องดื่ม ให้เลือกพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่าพวกเราไม่หิวเลย จริง...จริ๊งงง (เสียงสูง)


หลังจากรับประทานของว่างก็ถึงเวลาขึ้นเครื่องเพื่อเตรียมออกเดินทางกัน โดยเครื่องออกเวลา 05.30 น. ตรงเวลาเป๊ะไม่มีด


อันนี้พี่ใหญ่ ดรุ๊กแอร์ ส่วนภูฏานแอร์ไลน์ถ่ายไม่ทันครับ 555



ขึ้นเครื่องปุ๊บเจอ อาจุมม่า เอ๊ย แอร์โฮสเตสรุ่นลายครามครับ แต่เธออัธยาศัยดีมากๆ ยิ้มตลอดเลย



เข้าไปห้องโดยสารก็เจอที่นั่งชั้นธุรกิจมีเพียง 8 ที่นั่งเท่านั้น แบ่งเป็น 2 แถว ซึ่งวันที่ไปมีเพียงพวกเรา 4 ที่นั่ง



พอนั่งปุ๊บ! แอร์อาจุมม่าเสิร์ฟน้ำผลไม้อารมณ์ประมาณน้ำส้มผสมน้ำมะม่วง อร่อยแบบแปลกๆ บอกไม่ถูก



ที่นั่งก็กว้างสบายดีครับ ยืดขาได้ยาวๆ หนุ่มขายาวชะลูดอย่างผมจึงไม่มีปัญหาแต่ประการใด นอกจากนี้มีบริการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์กับหนังสือพิมพ์ของภูฏาน และถึงแม้จะเป็นชั้นธุรกิจก็ไม่มีอุปกรณ์ให้ความบันเทิงใดๆ อาจเป็นเพราะระยะเวลาเดินทางที่สั้นเพียง 4 ชั่วโมงกว่าก็เป็นได้



อันนี้ก็คู่มือความปลอดภัยก็เหมือนสายการบินทั่วๆ ไป



ก่อนเครื่องจะเทคออฟแอร์คนสวยก็เริ่มสาธิตการใช้อุปกรณ์ต่างๆ



เธอยิ้มเล็กน้อยแต่พองาม เพราะรู้ว่าผมแอบถ่ายรูปเธออยู่ 555
                                        

พอเครื่องเทคออฟจนได้ระดับก็เริ่มเสิร์ฟอาหารกันครับ รายการอาหารมีให้เลือก 2-3 อย่าง ผมฟังไม่ค่อยรู้เรื่องหรอก แต่พอจับใจความได้ว่าอีกอย่างเป็นอาหารอินเดีย ซึ่งคงต้องขอบาย ส่วนผเลือกเป็นออมเลต ข้างในเป็นเห็ด กับครัวซอง มัฟฟิน พุดดิ้งหวานๆ ละก็ผลไม้ โดยภาพรวมพอกินได้ครับ แต่ไม่ถึงกับอร่อย โดยเครื่องของเราจะแวะส่งโดยสารที่กัลกัตตา ประเทศอินเดียครับ



หลังกินเสร็จก็ได้เวลาปลดปล่อย เข้าห้องน้ำกันครับ



เข้าห้องน้ำเสร็จ หลังเครื่องเทคออฟอีกครั้งจากกัลกัตตา ก็ได้เวลาของว่าง เป็นแซนวิชไส้อะไรไม่รู้เปรี้ยวๆ ไม่อร่อย กะ มัฟฟิน ช็อคโกแล็ตอินเดีย


พอเข้าใกล้ภูฏานท้องฟ้าก็มีเมฆขาวๆ หนาทึบ ทันใดนั้นกัปตันก็ประกาศให้ผู้โดยสารทางด้านซ้ายสังเกตดูยอดเขาเอเวอเรสต์ที่โผล่มาเหนือม่านเมฆ







หลังจากนั้นไม่นานเครื่องเริ่มลดระดับผ่านช่องเขามองเห็นบ้านเรือนอยู่บนเนินเขาอย่างชัดเจน ก่อนลงสู่สนามบินพาโร  นักบินที่ทำการบินมาลงที่นี่ต้องมีความชำนาญมาก และมีเพียงแค่ 10 คนเท่านั้น

ถึงแล้วโดยสวัสดิภาพ



สนามบินพาโร สนามบินนานาชาติเพียงแห่งเดียว


ระหว่างรอผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งตม.ไม่ได้ถามอะไรพวกเราเลยแม้แต่คำเดียว




เคาน์เตอร์แลกเงินที่สนามบิน ตอนที่เราไปอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 ดอลลาร์=56 งุลดรัม (สกุลเงินท้องถิ่น)

    
ในภาพ : คุณโรจาร์ ในชุดประจำชาติ
ออกมาจากสนามบินพบกลุ่มชายแต่งชุดประจำชาติดูภูมิฐานมากเลยทีเดียว ซึ่งอนุมานได้ว่าน่าจะเป็นบรรดาไกด์และคนขับรถมายืนรอรับนักท่องเที่ยว ไฟลท์ที่เราไปผู้โดยสารที่มาลงที่ภูฏานไม่เกิน 20 คนเห็นจะได้ เราก็สอบถามหาไกด์ และก็ได้พบกับ "โรจาร์" ซี่งตรงเข้ามาทักทายพวกเรา สังเกตจากภายนอกดูเป็นมิตร และช่างคุยเอาซะมากๆ  ซึ่งคุณโรจาร์บอกว่าชุดประจำชาติเนี่ยคนภูฏานจะใส่กันทั่วไป โดยเฉพาะเวลาทำงาน คล้ายกับชุดสูทอะไรประมาณนั้น โดยหลังจากทักทายแนะนำตัวกันเรียบร้อย คุณโรจาร์ก็จะพาพวกเราพร้อมสัมภาระ ขึ้นรถ SUV ยี่ห้อฮุนได เพื่อเดินทางไปทิมพู เมืองหลวงของภูฏาน และจะเข้าเช็คอินที่โรงแรมดรุ๊ก ซึ่งเป็นโรงแรมระดับ 4 ดาวของที่นี่

คุณไกด์แนะนำว่า "ภูฏาน" เป็นประเทศเล็กๆ อยู่ท่ามกลางเทือกเขาหิมาลัยทิศใต้ติดกับอินเดียทิศตะวันตกติดกับสิกขิมของอินเดีย ทิศเหนือติดกับทิเบต  มีประชากร 6 แสนกว่าๆ มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เหมือนบ้านเราแต่คนละนิกาย ที่นี่นิกายวัชรยาน พระบ้านเขาแต่งงานมีครอบครัวได้ ไม่เหมือนบ้านเรา อาชีพหลักคือเกษตรกรรม ปลูกข้าว (ข้าวภูฏานเป็นสีแดง) แต่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคต้องนำเข้าจากอินเดีย นอกจากนั้นก็เลี้ยงสัตว์ ส่วนรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว

ประเทศนี้ไม่มีการฆ่าสัตว์ในประเทศต้องนำเข้าเนื้อสัตว์จากอินเดียเช่นเดียวกัน ภูฏานมีแม่น้ำหลายสาย โดยน้ำจะใสบริสุทธิ์ เพราะไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัย เป็นน้ำแร่ธรรมชาติ (Spring water) ตักดื่มได้สดๆ เลย เขาว่าอย่างนั้น ส่วนในแม่น้ำลำธารต่างๆ จะมีปลาเทราต์อยู่มาก แต่ไม่มีใครจับกิน เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าเขาไม่ฆ่าสัตว์กันประเทศนี้ นอกจากนี้คุณโรจาร์ ยังสอนประโยคง่ายๆ ในภาษาซองกา อาทิ คู ซู ซัง โป ลา (Kou Sou Zang Po La) แปลว่า "สวัสดี" คัดรินเซ (Kardinche)แปลว่า "ขอบคุณ"









วิวทิวทัศน์ 2 ข้างทางระหว่างเดินทางผ่านถนนหลวงซึ่งตัดลัดเลาะผ่านหุบเขาจากพาโรไปสู่ทิมพู

                                        


วัดซึ่งสร้างโดยพระจากทิเบต ซึ่งไกด์ให้ข้อมูลว่าวิธีสังเกตว่าอาคารใดเป็นวัดหรือศาสนสถาน ให้ดูว่าเป็นอาคารที่ทาด้วยสีขาว คาดด้วยสีแดง ส่วนสถานที่ราชการตัวอาคารเป็นสีขาวหลังคาสีแดง







ระหว่างทางคุณไกด์ได้พาแวะหมู่บ้านที่กำลังจัดพิธีการเต้นระบำหน้ากาก ท่ามกลางสายฝน






ทางเดินเข้าหมู่บ้านรถเข้าไม่ได้ ระหว่างทางคุณไกด์ชี้ให้ดูต้นกัญชาซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไป ที่นี่ไม่ได้ใช้เป็นสารเสพติด แต่ชาวบ้านใช้สำหรับเลี้ยงหมู เพื่อให้หมูกินแล้วนอนหลับสบายจะได้อ้วนๆ แต่ตอนหลังเริ่มมีกลุ่มวัยรุ่นเอามาสูบ ทางการเขาเริ่มเข้ามาควบคุมดูแลแล้ว




ริมถนนหลวง บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านมีสาวน้อยมานั่งขายผลผลิตจากไร่นา แต่เราไม่ได้ถามราคา เพราะยังไม่สนใจจะประกอบอาหารกินเอง



เราใช้เวลาราว 2 ชม.ก็มาถึงทิมพูในวันที่ไม่มีแดด (เพราะฝนเพิ่งตกไปหมาดๆ) โดยโรงแรมของเราตั้งอยู่ในย่านดาวน์ทาวน์ ที่ไฮโซมากๆ ไกด์ว่าอย่างนั้น











ด้านหน้าโรงแรมดรุ๊ก










สภาพภายในโรงแรมห้องค่อนข้างกว้าง และดูวินเทจมากๆ สะอาดสะอ้าน โอ่โถงดีครับ ในห้องก็มีมีชา กาแฟ มีผลไม้ (กล้วยไข่ สาลี่ แอปเปิ้ล) และน้ำแร่ยี่ห้อดัง ยี่ห้อเดียวของภูฏานบริการฟรี ขออภัยที่ถ่ายภาพมาไม่สวยของจริงสวยดีครับ อิอิ



                                            



                                          



สำหรับอาหารมื้อแรก คุณโรจาร์ พาไปร้านอาหารท้องถิ่น ซึ่งถือว่าป๊อบปูล่า มากๆ สำหรับคนที่นี่ ตอนที่เราเข้าไปในร้านก็มีลูกค้ามาใช้บริการจนเต็มแทบทุกโต๊ะ (ร้านมีประมาณ 10 โต๊ะเห็นจะได้) โดยอาหารสไตล์เนปาลผสมทิเบต คุณโรจาร์เค้าว่าอย่างนั้น ซึ่งบนโต๊ะที่สั่งมาก็มีข้าวผัดร่วนๆ มันๆ รสชาติเค็มๆ เส้นหมี่ผัดก็มันๆ เค็ม แล้วก็มีโมโม่ ไส้เนื้อกะไส้ชีส เป็นแบบนึ่งกับแบบทอด (อันนี้น่าจะเป็นอาหารของเนปาล เพราะชาวเนปาลีที่นี่เยอะมาก ไกด์บอก) และซุปนู้ดเดิ้ล เรียก "ทักปา" อารมณ์ประมาณก๋วยเตี๋ยวน้ำมีไก่กะผัก ซึ่งจืดสนิท คุณโรจาร์จึงแนะนำว่าให้ใส่ซอสพริกลงไปจะได้รสมากขึ้น โดยซอสพริกอันนี้คนภูฏานนิยมใส่ลงในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ แต่โดยส่วนตัวผมชิมแล้วไม่ไหวครับ สักแต่ว่าเผ็ด ไม่มีความกลมกล่อมอะไรเลย (อันนี้ส่วนตัวล้วนๆ 555 )

                                                  
ภาพพระพุทธรูปบริเวณทางเข้าพิพิธภัณฑ์ผ้า ภายในห้ามถ่ายภาพครับ

                                  
                                  
                                          
อันนี้ร้านขายชีสแข็งที่ผลิตจากนมของจามรี แล้วมาทำให้แห้ง
                                          
อันนี้ร้านขายเห็ดสดๆ จำพวกเห็ดป่าชนิดต่างๆ ซึ่งเห็ดของที่นี่ขึ้นชื่อมากครับ
                                          
หลังชมพิพิธภัณฑ์ผ้าก็มาเดินตลาดกัน ประมาณตลาดสดเทศบาลบ้านเรา ซึ่งที่นี่จะแยกเป็นแผนกต่างๆ เช่น ผัก เนื้อ เครื่องเทศ ส่วนในภาพยังมีการใช้ตาชั่งแบบพื้นเมืองอยู่ทั่วไป





อันนี้เป็นร้านขายหมากพลู เรียกว่า "โดมา" เพราะคนที่นี่นิยมเคี้ยวหมากกันครับ ทั้งวัยรุ่น วัยกลางคน จนถึงคนแก่ก็เคี้ยวหมากกัน ในเมืองเท่าที่สังเกตก็เห็นร่องรอยของการบ้วนน้ำหมากบนพื้นอยู่ทั่วไป ไปไหนมาไหนก็จะได้กลิ่นหมาก โดยหมากที่นี่จะเป็นหมากดองครับ ไม่มีหมากสด แน่นอนว่าพวกเราไม่ได้ซื้ออะไร จึงเดินทางกลับที่พัก



หลังจากเสร็จภารกิจพระยาน้อยชมตลาดก็กลับมาพักผ่อนอิริยาบถที โรงแรม ระหว่างนี้เราก็อัพรูปลงเฟซบุ๊ก เพราะที่โรงแรมมีบริการฟรีไวไฟ แต่ก็นะ ช่างเป็นไวไฟที่ระโหยโรยแรงมาก ติดๆ ดับๆ จากนั้นก็ถึงเวลาอาหารเย็น โดยไกด์พาเราไปร้านอาหารใกล้กับโรงแรมท่ามกลางสายฝนโปรยปราย แม้เวลาจะประมาณ 2 ทุ่มกว่าประกอบกับฝนที่ตกอย่างหนัก ในเมืองทิมพูก็ยังมีคนออกมาเดินพลุกพล่านพอสมควร ถนนหนทางยังมีรถราวิ่งอยู่ อย่างที่ทราบที่เมืองหลวงแห่งนี้ไม่มีไฟแดง มีแต่ป้อมตำรวจจราจร

            
เช้าวันที่ 21 กันยายน เราเริ่มสตาร์ทวันดีๆ โดยการเติมพลังด้วยอาหารเช้าของโรงแรม ซึ่งก็เป็นมาตรฐานของโรงแรมทั่วไป แต่วันนี้เราอาจจะเน้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่