ฉันได้มีโอกาสไปเยือนดินแดนที่ติดอันดับโลกด้านความสุข เพราะเขามุ่งพัฒนาประเทศด้วยการยึด "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" (Gross National Happiness หรือ GNH) เป็นสำคัญมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970
ใช่แล้วค่ะ ที่นี่คือ ราชอาณาจักรภูฏาน
การเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย - ภูฏาน ทำให้คนไทยได้รับสิทธิพิเศษสามารถไปเยือนภูฏานได้โดยไม่ต้องเสีย
ค่าเหยียบแผ่นดิน ซึ่งเป็นจำนวนเงิน US$ 200 - 250
ต่อวัน แพงมากใช่ไหมคะ พอคนไทยได้รับสิทธิ์นี้ทำให้ราคาทัวร์ลดลงกว่าครึ่ง พวกเราที่ออฟฟิศรวมตัวกันได้ 19 คน ก็แห่ไปเที่ยวภูฏานกันครึกครื้น เพราะโอกาสเช่นนี้ไม่มีผ่านมาง่ายๆ
ทันทีที่ก้าวลงจากเครื่องบิน อากาศเย็นสดชื่นรอบตัวและทิวทัศน์ของขุนเขาโอบล้อมสนามบินที่เจือด้วยสายหมอกบางนั้น ก็ทำให้ผู้มาเยือนทุกคนอุทานออกมาอย่างชื่นชม
แค่เพียงก้าวแรก ฉันก็ได้สัมผัสความสุขอย่างแรกที่ประเทศนี้มอบให้ฉัน คือความสุขทางกาย
อาคารที่ทำการสนามบินเป็นเพียงตึกสองชั้นขนาดเท่าบ้านหลังใหญ่ของเศรษฐีเมืองไทย ทำให้พวกเราแปลกใจ เพราะคุ้นเคยกับสนามบินนานาชาติอันแสนอลังการของไทยและของประเทศอื่นๆ ในโลก
ถึงแม้จะเล็ก แต่สถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และสีสันที่วาดระบายอยู่ตามกรอบประตูหน้าต่าง ช่างสวยงามเป็นสิ่งดึงดูดใจให้ทุกคนพากันถ่ายรูป โดยเฉพาะภาพของกษัตริย์และพระราชินีซึ่งถูกจัดทำเป็นบิลบอร์ดขนาดใหญ่ เป็นฉากหลังให้นักท่องเที่ยวพากันมะรุมมะตุ้มถ่ายรูปกันไม่เลิก
นักท่องเที่ยวที่มากันเต็มลำเครื่องบินต่างเดินกันเกะกะอยู่ที่ลานจอดเครื่องบิน ซึ่งเป็นภาพที่ไม่อาจเกิดขึ้นที่สนามบินใดๆ ในโลกเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัยหากมีใครเดินหนีหายไปเฉยๆ โดยไม่ผ่านการตรวจคนเข้าเมือง
ทุกคนมัวแต่ถ่ายรูป ไม่มีใครสนใจจะเดินเข้าไปในอาคารเพื่อตรวจลงตราตามกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง ฉันมองความเป็นไปเหล่านั้นอย่างนึกขำแปลกๆ
พวกเรารับกระเป๋าแล้วออกมารอรถที่ลานจอด กว่ารถจะมารับ ใช้เวลานานมากเพราะเครื่องบินลงก่อนกำหนด ฉันจึงใช้เวลาพิจารณาคนท้องถิ่นทั้งชายหญิง ต่างแต่งชุดประจำชาติ ที่ฉันเรียนรู้ภายหลังว่า ชุดของสตรี เรียกว่า
คีร่า ที่มีลักษณะคล้ายผ้าซิ่นบ้านเราแต่มีวิธีการนุ่งแบบพันรอบตัว ไม่ต้องมีการตัดเย็บใดๆ เป็นการนุ่งผ้าซิ่นที่ฉันมองว่าสวยมีเสน่ห์โดยเฉพาะเวลาเดิน ผ้าซิ่นจะพลิ้วแหวกไปทางด้านหลังแต่ไม่โป๊
ส่วนชุดของผู้ชายเรียก
โกะ แรกๆ อาจจะดูแปลกดีที่เห็นผู้ชายนุ่งกระโปรงสั้นและใส่ถุงเท้ายาวสีดำสูงถึงเข่ากับรองเท้าหนังสีดำ แต่ฉันมารู้ทีหลังว่านั่นไม่ใช่กระโปรงสั้นแต่เป็นชุดยาวที่ดึงขึ้นไปเหน็บไว้ที่เอวเพื่อไม่ให้รุ่มร่าม เดินสะดวก
พอมองไปนานๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่คนใส่ชุดประจำชาติแบบนี้ ก็เริ่มไม่เห็นว่าแปลก แต่เป็นความน่าชื่นชม
คณะของเรา เริ่มออกเดินทางจากหุบเขาเมืองพาโร เมืองที่เป็นที่ราบแคบๆ พอให้เครื่องบินลงจอดได้ น่าจะเป็นทำเลแห่งเดียวในประเทศที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสร้างสนามบิน
รถทัวร์ขนาดกลาง 25 ที่นั่งพาพวกเราไต่ภูเขาไปบนถนนแคบๆ ผ่านบ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์เหมือนกันหมด คือเป็นตึกสีขาวสองชั้น ตามประตู หน้าต่าง ถูกตกแต่งด้วยการวาดลวดลายตามคติความเชื่อทางศาสนาด้วยสีสันที่งดงาม หลังคาบ้าน วัด หรือแม้แต่สถานที่สำคัญเช่นที่ทำการรัฐบาล หรือแม้แต่พระราชวัง จะมุงด้วยสังกะสีทั้งสิ้น ไม่ใช้กระเบื้อง และวิธียึดโยงหลังคาสังกะสีไม่ให้ปลิวสำหรับบ้านพักโดยทั่วไปก็มักจะใช้แผ่นไม้วางพาดและทับด้วยก้อนหินอีกที ดูแล้วทำให้นึกว่าที่นี่คงหาตะปูยากหรืออย่างไร แล้วทำไมต้องเป็นสังกะสี ทำไมไม่เป็นกระเบื้อง
ฉันหาคำตอบจากไกด์ท้องถิ่น (จะมีทั้งไกด์ไทยและไกด์ท้องถิ่นประจำทุกกรุ๊ปทัวร์) ทราบมาว่าของเดิมก็เคยเป็นกระเบื้อง แต่มันแตกจึงเปลี่ยนมาเป็นสังกะสี
แล้วกระเบื้องที่แข็งแรงกว่าของเดิมไม่มีหรือยังไง แต่ฉันก็ไม่อยากเซ้าซี้ เขาอาจจะมีเหตุผลด้านโครงสร้างที่ไม่สามารถรับน้ำหนักกระเบื้องที่แข็งแรงแต่หนักได้
ระหว่างทางที่ผ่าน แทบทุกบ้านปลูกแอปเปิ้ล คงเหมือนกับบ้านคนไทยที่ปลูกมะม่วง บางบ้านมีเพียง 2-3 ต้น บางบ้านปลูกเป็นสวน กว่า 10 ต้น ลูกสีเขียวสีแดงของแอปเปิ้ล ทำให้สมาชิกในรถต่างกรี๊ดกราดด้วยความตื่นเต้น
“แอปเปิ้ล ! ”
“ดูนั่น ต้นแอปเปิ้ล”
“ลูกดกจังเลย”
คนขับรถต้องจอดให้เราลงไปถ่ายรูป ทุกคนต่างคว้ากล้องมาถ่ายรูปแอปเปิ้ลที่อัดแน่นอยู่ตามกิ่ง บางต้นมีแต่ลูก แทบไม่มีใบ ความดกของมันทำให้กิ่งลู่ต่ำลง ต้นไหนที่อยู่ริมถนนก็จะมีฝุ่นเกาะบ้าง
คนไทย ยังไงก็ยังตื่นเต้นกับแอปเปิ้ล และติดภาพลักษณ์ว่าเป็นผลไม้มาจากต่างประเทศ เป็นของดีราคาแพง
รถเริ่มพาเราไต่ภูเขาสูงขึ้น เรากำลังจะไปเที่ยวสถานที่สำคัญตามกำหนดการทัวร์ แต่ความอยากลองลิ้มชิมรสแอปเปิ้ลยังติดอยู่ในใจของทุกคน ก็มาถึงที่ที่มีแอปเปิ้ลสดๆ ให้เห็นอยู่เต็มต้นเช่นนี้ ทำไมจะไม่อยากกิน โดยเฉพาะคนที่ชอบกินผลไม้อย่างฉัน
สถานที่ท่องเที่ยวแห่งแรกของเราคือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเมืองพาโร และป้อมทาซอง คำว่า ซอง (Dzong) คือป้อมปราการหรือหอสังเกตการณ์ หรือ Fort ในภาษาอังกฤษ ชวนให้จินตนาการถึงสมัยโบราณที่ยังมีการรบพุ่งรุกรานกัน ป้อมปราการจะเป็นสถานที่หลบภัยของชาวบ้าน เป็นที่มั่นในการต่อสู้ศึกศัตรู ดังนั้นสถานที่เที่ยวหลักของประเทศนี้คือ ซอง ต่างๆ ที่มีความงดงาม ความเก่าแก่และความสำคัญต่างๆ กันไป
ในเมื่อซองเป็นศูนย์รวมของประชาชนเช่นนี้ จึงผนวกเอาศาสนาสถาน (monastery) ไว้ด้วย ฉันได้เห็นพระลามะห่มจีวรสีแดงคอยอยู่ประจำดูแลศาสนสถานตามซองต่างๆ
ชาวภูฏานเกือบทั้งประเทศนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ก็เป็นมหายานที่เคร่งครัด ไม่เหมือนมหายานในจีน ญี่ปุ่น หรือประเทศอื่น และความเชื่อถือเคารพศรัทธาในศาสนานี้เองที่ทำให้วิถีของชาวภูฏานมีความสุขจากความเรียบง่าย การไม่เบียดเบียน อีกทั้งความเคร่งครัดในขบธรรมเนียมประเพณีสร้างมนต์เสน่ห์ให้แก่ผู้มาเยือน
จากเมืองพาโรซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามบิน ฉันกับคณะต้องเดินทางข้ามภูเขาไปยังเมืองหลวง คือ เมืองทิมพู มันทำให้ฉันเริ่มเข้าใจภูมิศาสตร์ของประเทศนี้ว่า การที่เป็นภูเขาสูง ไม่ใช่ที่ราบแบบนี้ จะมีชุมชนเมืองที่ประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในหุบเขา สามเมืองหลักๆ ที่ฉันไปเที่ยวล้วนอยู่ในหุบเขาที่เราต้องใช้เวลาเดินทางกันหลายๆ ชั่วโมงข้ามภูเขาสูง มันทำให้ฉันอดนึกถึงกษัตริย์ผู้รวบรวมประเทศนี้ไม่ได้
จะยากเย็นเพียงไหนกับการเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองดินแดนที่เป็นขุนเขา
ท่านจะต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะเพียงใดที่จะรวบรวมผู้คนที่อยู่ตามภูเขา และดินแดนทุรกันดารให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ และประชาชนคงต้องรักกษัตริย์ของเขามาก จึงสามารถเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนได้เพียงนี้
ฉันยังคงเฝ้าถามตัวเองต่อไปว่า ประชาชนที่อยู่ในที่ห่างไกล...ห่างไกลจากสื่อเกือบทุกชนิด เขาจะเข้าถึงพระองค์หรือ เขาจะรับรู้ได้อย่างไรกับสิ่งที่ผู้นำของเขาทำเพื่อประเทศนี้
มันคงต้องเป็นความเชื่อ ความรักและศรัทธาที่ถูกปลูกฝังถ่ายทอดกันมา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนาที่ยึดมั่นกันอย่างมอบกายถวายชีวิต ทำให้คนเหล่านี้รักและเทิดทูนผู้นำของเขา ใช่หรือไม่
คงเป็นเพราะเป็นสังคมปิดกระมัง ที่สามารถรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ได้
และในยุคโลกาภิวัฒน์ที่อิทธิพลของตะวันตกกำลังครอบงำชาวโลก ประเทศนี้จะต้านทานได้ไหม ความจงรักษ์ภักดีต่อระบอบกษัตริย์จะจืดจางลงหรือไม่
ฉันก็ได้แต่เป็นห่วงแทนเขา เพราะตัวอย่างก็มีให้เห็นอยู่ในบางประเทศ แม้แต่ประเทศของฉันเอง !
สัจจธรรมจากแอปเปิ้ล โดย ดรัสวันต์
ใช่แล้วค่ะ ที่นี่คือ ราชอาณาจักรภูฏาน
การเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย - ภูฏาน ทำให้คนไทยได้รับสิทธิพิเศษสามารถไปเยือนภูฏานได้โดยไม่ต้องเสียค่าเหยียบแผ่นดิน ซึ่งเป็นจำนวนเงิน US$ 200 - 250 ต่อวัน แพงมากใช่ไหมคะ พอคนไทยได้รับสิทธิ์นี้ทำให้ราคาทัวร์ลดลงกว่าครึ่ง พวกเราที่ออฟฟิศรวมตัวกันได้ 19 คน ก็แห่ไปเที่ยวภูฏานกันครึกครื้น เพราะโอกาสเช่นนี้ไม่มีผ่านมาง่ายๆ
ทันทีที่ก้าวลงจากเครื่องบิน อากาศเย็นสดชื่นรอบตัวและทิวทัศน์ของขุนเขาโอบล้อมสนามบินที่เจือด้วยสายหมอกบางนั้น ก็ทำให้ผู้มาเยือนทุกคนอุทานออกมาอย่างชื่นชม
แค่เพียงก้าวแรก ฉันก็ได้สัมผัสความสุขอย่างแรกที่ประเทศนี้มอบให้ฉัน คือความสุขทางกาย
อาคารที่ทำการสนามบินเป็นเพียงตึกสองชั้นขนาดเท่าบ้านหลังใหญ่ของเศรษฐีเมืองไทย ทำให้พวกเราแปลกใจ เพราะคุ้นเคยกับสนามบินนานาชาติอันแสนอลังการของไทยและของประเทศอื่นๆ ในโลก
ถึงแม้จะเล็ก แต่สถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และสีสันที่วาดระบายอยู่ตามกรอบประตูหน้าต่าง ช่างสวยงามเป็นสิ่งดึงดูดใจให้ทุกคนพากันถ่ายรูป โดยเฉพาะภาพของกษัตริย์และพระราชินีซึ่งถูกจัดทำเป็นบิลบอร์ดขนาดใหญ่ เป็นฉากหลังให้นักท่องเที่ยวพากันมะรุมมะตุ้มถ่ายรูปกันไม่เลิก
นักท่องเที่ยวที่มากันเต็มลำเครื่องบินต่างเดินกันเกะกะอยู่ที่ลานจอดเครื่องบิน ซึ่งเป็นภาพที่ไม่อาจเกิดขึ้นที่สนามบินใดๆ ในโลกเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัยหากมีใครเดินหนีหายไปเฉยๆ โดยไม่ผ่านการตรวจคนเข้าเมือง
ทุกคนมัวแต่ถ่ายรูป ไม่มีใครสนใจจะเดินเข้าไปในอาคารเพื่อตรวจลงตราตามกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง ฉันมองความเป็นไปเหล่านั้นอย่างนึกขำแปลกๆ
พวกเรารับกระเป๋าแล้วออกมารอรถที่ลานจอด กว่ารถจะมารับ ใช้เวลานานมากเพราะเครื่องบินลงก่อนกำหนด ฉันจึงใช้เวลาพิจารณาคนท้องถิ่นทั้งชายหญิง ต่างแต่งชุดประจำชาติ ที่ฉันเรียนรู้ภายหลังว่า ชุดของสตรี เรียกว่า คีร่า ที่มีลักษณะคล้ายผ้าซิ่นบ้านเราแต่มีวิธีการนุ่งแบบพันรอบตัว ไม่ต้องมีการตัดเย็บใดๆ เป็นการนุ่งผ้าซิ่นที่ฉันมองว่าสวยมีเสน่ห์โดยเฉพาะเวลาเดิน ผ้าซิ่นจะพลิ้วแหวกไปทางด้านหลังแต่ไม่โป๊
ส่วนชุดของผู้ชายเรียก โกะ แรกๆ อาจจะดูแปลกดีที่เห็นผู้ชายนุ่งกระโปรงสั้นและใส่ถุงเท้ายาวสีดำสูงถึงเข่ากับรองเท้าหนังสีดำ แต่ฉันมารู้ทีหลังว่านั่นไม่ใช่กระโปรงสั้นแต่เป็นชุดยาวที่ดึงขึ้นไปเหน็บไว้ที่เอวเพื่อไม่ให้รุ่มร่าม เดินสะดวก
พอมองไปนานๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่คนใส่ชุดประจำชาติแบบนี้ ก็เริ่มไม่เห็นว่าแปลก แต่เป็นความน่าชื่นชม
คณะของเรา เริ่มออกเดินทางจากหุบเขาเมืองพาโร เมืองที่เป็นที่ราบแคบๆ พอให้เครื่องบินลงจอดได้ น่าจะเป็นทำเลแห่งเดียวในประเทศที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสร้างสนามบิน
รถทัวร์ขนาดกลาง 25 ที่นั่งพาพวกเราไต่ภูเขาไปบนถนนแคบๆ ผ่านบ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์เหมือนกันหมด คือเป็นตึกสีขาวสองชั้น ตามประตู หน้าต่าง ถูกตกแต่งด้วยการวาดลวดลายตามคติความเชื่อทางศาสนาด้วยสีสันที่งดงาม หลังคาบ้าน วัด หรือแม้แต่สถานที่สำคัญเช่นที่ทำการรัฐบาล หรือแม้แต่พระราชวัง จะมุงด้วยสังกะสีทั้งสิ้น ไม่ใช้กระเบื้อง และวิธียึดโยงหลังคาสังกะสีไม่ให้ปลิวสำหรับบ้านพักโดยทั่วไปก็มักจะใช้แผ่นไม้วางพาดและทับด้วยก้อนหินอีกที ดูแล้วทำให้นึกว่าที่นี่คงหาตะปูยากหรืออย่างไร แล้วทำไมต้องเป็นสังกะสี ทำไมไม่เป็นกระเบื้อง
ฉันหาคำตอบจากไกด์ท้องถิ่น (จะมีทั้งไกด์ไทยและไกด์ท้องถิ่นประจำทุกกรุ๊ปทัวร์) ทราบมาว่าของเดิมก็เคยเป็นกระเบื้อง แต่มันแตกจึงเปลี่ยนมาเป็นสังกะสี
แล้วกระเบื้องที่แข็งแรงกว่าของเดิมไม่มีหรือยังไง แต่ฉันก็ไม่อยากเซ้าซี้ เขาอาจจะมีเหตุผลด้านโครงสร้างที่ไม่สามารถรับน้ำหนักกระเบื้องที่แข็งแรงแต่หนักได้
ระหว่างทางที่ผ่าน แทบทุกบ้านปลูกแอปเปิ้ล คงเหมือนกับบ้านคนไทยที่ปลูกมะม่วง บางบ้านมีเพียง 2-3 ต้น บางบ้านปลูกเป็นสวน กว่า 10 ต้น ลูกสีเขียวสีแดงของแอปเปิ้ล ทำให้สมาชิกในรถต่างกรี๊ดกราดด้วยความตื่นเต้น
“แอปเปิ้ล ! ”
“ดูนั่น ต้นแอปเปิ้ล”
“ลูกดกจังเลย”
คนขับรถต้องจอดให้เราลงไปถ่ายรูป ทุกคนต่างคว้ากล้องมาถ่ายรูปแอปเปิ้ลที่อัดแน่นอยู่ตามกิ่ง บางต้นมีแต่ลูก แทบไม่มีใบ ความดกของมันทำให้กิ่งลู่ต่ำลง ต้นไหนที่อยู่ริมถนนก็จะมีฝุ่นเกาะบ้าง
คนไทย ยังไงก็ยังตื่นเต้นกับแอปเปิ้ล และติดภาพลักษณ์ว่าเป็นผลไม้มาจากต่างประเทศ เป็นของดีราคาแพง
รถเริ่มพาเราไต่ภูเขาสูงขึ้น เรากำลังจะไปเที่ยวสถานที่สำคัญตามกำหนดการทัวร์ แต่ความอยากลองลิ้มชิมรสแอปเปิ้ลยังติดอยู่ในใจของทุกคน ก็มาถึงที่ที่มีแอปเปิ้ลสดๆ ให้เห็นอยู่เต็มต้นเช่นนี้ ทำไมจะไม่อยากกิน โดยเฉพาะคนที่ชอบกินผลไม้อย่างฉัน
สถานที่ท่องเที่ยวแห่งแรกของเราคือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเมืองพาโร และป้อมทาซอง คำว่า ซอง (Dzong) คือป้อมปราการหรือหอสังเกตการณ์ หรือ Fort ในภาษาอังกฤษ ชวนให้จินตนาการถึงสมัยโบราณที่ยังมีการรบพุ่งรุกรานกัน ป้อมปราการจะเป็นสถานที่หลบภัยของชาวบ้าน เป็นที่มั่นในการต่อสู้ศึกศัตรู ดังนั้นสถานที่เที่ยวหลักของประเทศนี้คือ ซอง ต่างๆ ที่มีความงดงาม ความเก่าแก่และความสำคัญต่างๆ กันไป
ในเมื่อซองเป็นศูนย์รวมของประชาชนเช่นนี้ จึงผนวกเอาศาสนาสถาน (monastery) ไว้ด้วย ฉันได้เห็นพระลามะห่มจีวรสีแดงคอยอยู่ประจำดูแลศาสนสถานตามซองต่างๆ
ชาวภูฏานเกือบทั้งประเทศนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ก็เป็นมหายานที่เคร่งครัด ไม่เหมือนมหายานในจีน ญี่ปุ่น หรือประเทศอื่น และความเชื่อถือเคารพศรัทธาในศาสนานี้เองที่ทำให้วิถีของชาวภูฏานมีความสุขจากความเรียบง่าย การไม่เบียดเบียน อีกทั้งความเคร่งครัดในขบธรรมเนียมประเพณีสร้างมนต์เสน่ห์ให้แก่ผู้มาเยือน
จากเมืองพาโรซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามบิน ฉันกับคณะต้องเดินทางข้ามภูเขาไปยังเมืองหลวง คือ เมืองทิมพู มันทำให้ฉันเริ่มเข้าใจภูมิศาสตร์ของประเทศนี้ว่า การที่เป็นภูเขาสูง ไม่ใช่ที่ราบแบบนี้ จะมีชุมชนเมืองที่ประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในหุบเขา สามเมืองหลักๆ ที่ฉันไปเที่ยวล้วนอยู่ในหุบเขาที่เราต้องใช้เวลาเดินทางกันหลายๆ ชั่วโมงข้ามภูเขาสูง มันทำให้ฉันอดนึกถึงกษัตริย์ผู้รวบรวมประเทศนี้ไม่ได้
จะยากเย็นเพียงไหนกับการเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองดินแดนที่เป็นขุนเขา
ท่านจะต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะเพียงใดที่จะรวบรวมผู้คนที่อยู่ตามภูเขา และดินแดนทุรกันดารให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ และประชาชนคงต้องรักกษัตริย์ของเขามาก จึงสามารถเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนได้เพียงนี้
ฉันยังคงเฝ้าถามตัวเองต่อไปว่า ประชาชนที่อยู่ในที่ห่างไกล...ห่างไกลจากสื่อเกือบทุกชนิด เขาจะเข้าถึงพระองค์หรือ เขาจะรับรู้ได้อย่างไรกับสิ่งที่ผู้นำของเขาทำเพื่อประเทศนี้
มันคงต้องเป็นความเชื่อ ความรักและศรัทธาที่ถูกปลูกฝังถ่ายทอดกันมา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนาที่ยึดมั่นกันอย่างมอบกายถวายชีวิต ทำให้คนเหล่านี้รักและเทิดทูนผู้นำของเขา ใช่หรือไม่
คงเป็นเพราะเป็นสังคมปิดกระมัง ที่สามารถรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ได้
และในยุคโลกาภิวัฒน์ที่อิทธิพลของตะวันตกกำลังครอบงำชาวโลก ประเทศนี้จะต้านทานได้ไหม ความจงรักษ์ภักดีต่อระบอบกษัตริย์จะจืดจางลงหรือไม่
ฉันก็ได้แต่เป็นห่วงแทนเขา เพราะตัวอย่างก็มีให้เห็นอยู่ในบางประเทศ แม้แต่ประเทศของฉันเอง !