ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves) เมืองออรังกาบาด รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย...ได้ชื่อว่าเป็น วัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก สร้างเมื่อ พ.ศ.๓๕๐ โดยพระภิกษุในสมัยนั้นได้ค้นพบสถานที่แห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมกรรมฐานเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เจาะภูเขาเพื่อสร้างเป็นกุฏิ โบสถ์ วิหาร ฯลฯ เพื่ออาศัยอยู่อย่างสันโดษ เนื่องจากเป็นสถานที่ห่างไกลผู้คน ทำให้ประวัติศาสตร์หน้าต่อมาของ ศาสนาพุทธในอินเดีย ได้ปรากฏขึ้นในหมู่ถ้ำบริเวณฝั่งตะวันตกของที่ราบสูงเดกกัน เมืองออรังกาบาด รัฐมหาราษฎร์ แห่งนี้
ต่อมาเรื่องราวของ ถ้ำอชันตา ได้หายเงียบไป กลายเป็นถ้ำร้างที่ถูกปกคลุมด้วยเถาวัลย์และต้นไม้ปิดปากถ้ำ...จนถึง พ.ศ.๒๓๖๒ จอห์น สมิธ นายทหารชาวอังกฤษได้เข้าป่าเพื่อล่าสัตว์ จนมาถึงบริเวณเทือกเขาแห่งหนึ่งบริเวณหมู่บ้านอชันตา และได้ค้นพบถ้ำแห่งนี้ด้วยความบังเอิญ
ถ้ำเหล่านี้ถูกเจาะลึกเข้าไปในภูเขาเพื่อสร้างเป็นวัด มีวิหารขนาดใหญ่ ภายในเต็มไปด้วยงานแกะสลักหิน เป็นองค์เจดีย์ เป็นพระพุทธรูป และภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ เล่าเรื่องราวต่างๆ ในพุทธประวัติและชาดก และที่น่าแปลกใจ คือ ถ้ำเหล่านี้ซุกซ่อนตัวอยู่ที่นี่มานานถึงกว่า ๑,๕๐๐ ปี โดยไม่ถูกรุกล้ำจากผู้คนทั้งหลาย นับตั้งแต่จากวันที่ถูกทอดทิ้งให้รกร้างตลอดมา
การค้นพบ หมู่ถ้ำอชันตา ในครั้งนั้นทำให้โลกต้องตื่นตะลึงกับความมหัศจรรย์ของศิลปะภายในวัดถ้ำ ที่ไม่มีใครเคยพบเห็น หรือรู้เรื่องมาก่อน ขณะเดียวกันก็ทำให้นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี สามารถปะติดปะต่อเรื่องราวของ ศาสนาพุทธ ในอินเดียได้อย่างชัดเจนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ด้วยการศึกษาจากภาพแกะสลักหินภายในถ้ำ ที่ยังคงอยู่อย่างสมบูรณ์ ไม่ผุกร่อนพังทลายไปเหมือนพุทธสถานอื่นๆ เพราะทุกอย่างที่นี่ สลักขึ้นจากภูเขาทั้งลูก นับเป็นสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่สุดในโลกก็ว่าได้
ถ้ำเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ เป็นวัด เป็นวิหาร โดยใช้วิธีเจาะภูเขาทั้งลูกเข้าไป บางถ้ำมีถึง ๓ ชั้น มีทางเดินเชื่อมถึงกันตลอด
ถ้ำที่ก่อสร้างในยุคแรกๆ เป็น วัดถ้ำของพุทธฝ่ายเถรวาท พระสงฆ์ในยุคนั้นได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยอย่างเรียบง่าย โดยเจาะหินเข้าไปเป็นห้องโถง เปิดโล่ง ใช้เป็นที่นั่งสนทนาธรรม ส่วนผนังทั้งสามด้านก็สกัดหิน เจาะเข้าไปเป็นห้องนอน ภายในมีเตียงหิน ห้องละ ๒ หลัง
วัดของพุทธฝ่ายเถรวาท หลายถ้ำสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นห้องบูชา ด้วยฝีมือการแกะสลักของช่างในยุคนั้น โดยได้สกัดหินจากด้านนอกเข้าไป และสกัดจากเพดานถ้ำลงมา จนได้ห้องโถงขนาดใหญ่ มีระเบียงทางเดินอยู่ด้านข้าง มีเจดีย์อยู่ในสุดของห้อง
มีการสร้าง พระสถูปเจดีย์ ไว้เพื่อสักการบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้า เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเช่นเดียวกับการสร้าง พระสถูปเจดีย์ ที่สืบทอดมาจากชาวพุทธทางอินเดียตอนเหนือ...ด้วยเหตุนี้ ถ้ำอชันตา ในยุคแรกจึงยังไม่มีการแกะสลักเป็นองค์ พระพุทธรูป ให้พบเห็นมาก่อนหน้านี้
ถ้ำหมายเลข ๑๐ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่ถ้ำอชันตา สร้างเป็น หอสวดมนต์บูชาพระเจดีย์ เมื่อครั้งที่ "จอห์น สมิธ" ได้เข้าไปพบเห็นเป็นครั้งแรก ตอนที่เข้าไปในในถ้ำนั้น ดินโคลนได้ทับถมสูงขึ้นไปจากพื้นถ้ำกว่าครึ่ง
"จอห์น สมิธ" ได้จารึกชื่อไว้บนเสาหิน พร้อมลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๓๖๒ ซึ่งเป็นวันที่ ถ้ำอชันตา ได้ปรากฏสู่สายตาชาวโลก
นอกจากนี้ยังมีรอยจารึกสำคัญที่พบในถ้ำเดียวกันนี้ ได้ระบุชื่อของกษัตริย์พระองค์หนึ่งในราชวงศ์สาตวาหนะ ทำให้นักประวัติศาสตร์ได้รู้ว่าวัดถ้ำที่อชันตาได้รับการอุปถัมภ์อย่างต่อเนื่องจากพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่การสร้างวัดถ้ำในยุคแรกๆ
ลักษณะของหมู่วัดถ้ำอชันตา นั้นพบว่ามีถ้ำมากกว่า ๓๐ ถ้ำ เรียงตัวต่อเนื่องกันยาวหลายร้อยเมตร บนเชิงเขาสูง ลักษณะเป็นวงโค้งรูปพระจันทร์เสี้ยว
บริเวณหน้าถ้ำแต่ละแห่งสร้างเป็นบันไดทอดยาวลงไปยังแม่น้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลดเลี้ยวไปตามหุบเขาเบื้องล่าง แม่น้ำสายนี้คือ "แม่น้ำวโฆระ" ซึ่งจะมีระดับน้ำขึ้นสูงในช่วงฤดูฝน
ถ้ำพุทธฝ่ายเถรวาท ที่ "อชันตา" เจริญรุ่งเรืองอยู่ต่อมาอีกราว ๒๐๐ ปี จนถึง พ.ศ.๕๕๐ ก็หยุดชะงัก ไม่ปรากฏร่องรอยการสร้างวัดถ้ำของพุทธฝ่ายเถรวาทที่นี่อีกต่อไป นานถึง ๔๐๐ ปี จึงกลับมาสร้างต่ออีกครั้งในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐
แม้จะยังไม่มีคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นกับพุทธสถานที่ถ้ำอชันตาในช่วง ๔๐๐ ปี ที่เว้นว่างไป แต่ในช่วงเวลานั้นเองก็ได้เกิดความเคลื่อนไหวสำคัญที่พลิกโฉมศาสนาพุทธในอินเดียไปอย่างสิ้นเชิง
สิ่งแรก คือ การเกิดขึ้นของ พระพุทธรูป สิ่งที่สองคือ ศาสนาพุทธ สายมหายาน ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างเต็มตัว
การสร้าง วัดถ้ำ ที่ "อชันตา" ระยะที่ ๒ เริ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากศาสนาพุทธในอินเดียได้เข้าสู่ยุคของมหายานไปแล้วถึง ๔๐๐ ปี
ในบรรดาวัดถ้ำทั้งหมดพบว่ามีวัดถ้ำในแบบพุทธมหายานถึง ๒๔ ถ้ำ ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใน สมัยคุปตะ ซึ่งเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย พระภิกษุฝ่ายมหายานได้เข้ามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก และปรับเปลี่ยนถ้ำให้เหมาะสมกับพิธีกรรมที่ทำขึ้น
จากวิหารแบบเรียบง่ายที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธฝ่ายเถรวาท ถูกเปลี่ยนไปเป็นห้องโถงใหญ่โตโอ่อ่า สลักหินเป็นเสาสูงมากมาย ที่หัวเสาแกะสลักเป็นลวดลายงดงามทั่วทั้งคูหาถ้ำ ผนังด้านในทั้งสองด้านแกะสลักเป็น พระพุทธรูป และ พระโพธิสัตว์ ขนาดใหญ่ ที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือช่างประติมากรรมชั้นสูงในการแกะสลักหินออกมาได้อย่างอ่อนช้อยและสวยงาม
สำหรับถ้ำหมายเลข ๑ เป็น ถ้ำพุทธมหายาน ที่ได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลกว่า มีภาพเขียนสีที่งดงามมากที่สุด แม้เวลาจะผ่านมานานถึงกว่า ๑,๕๐๐ ปี ภาพก็ยังคงสีสันและลายเส้นที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากอย่างไม่น่าเชื่อ
ถ้ำอชันตา อยู่ห่างจาก เมืองออรังกาบาด ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๑๐๔ กม. อยู่ในรัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย
เครดิต รูปภาพและข้อมูลจากอินเตอร์เนต
สุดมหัศจรรย์ถ้ำอชันต้า ครั้งหนึ่งในชีวิตชาวพุทธต้องไปเยือน
ต่อมาเรื่องราวของ ถ้ำอชันตา ได้หายเงียบไป กลายเป็นถ้ำร้างที่ถูกปกคลุมด้วยเถาวัลย์และต้นไม้ปิดปากถ้ำ...จนถึง พ.ศ.๒๓๖๒ จอห์น สมิธ นายทหารชาวอังกฤษได้เข้าป่าเพื่อล่าสัตว์ จนมาถึงบริเวณเทือกเขาแห่งหนึ่งบริเวณหมู่บ้านอชันตา และได้ค้นพบถ้ำแห่งนี้ด้วยความบังเอิญ
ถ้ำเหล่านี้ถูกเจาะลึกเข้าไปในภูเขาเพื่อสร้างเป็นวัด มีวิหารขนาดใหญ่ ภายในเต็มไปด้วยงานแกะสลักหิน เป็นองค์เจดีย์ เป็นพระพุทธรูป และภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ เล่าเรื่องราวต่างๆ ในพุทธประวัติและชาดก และที่น่าแปลกใจ คือ ถ้ำเหล่านี้ซุกซ่อนตัวอยู่ที่นี่มานานถึงกว่า ๑,๕๐๐ ปี โดยไม่ถูกรุกล้ำจากผู้คนทั้งหลาย นับตั้งแต่จากวันที่ถูกทอดทิ้งให้รกร้างตลอดมา
การค้นพบ หมู่ถ้ำอชันตา ในครั้งนั้นทำให้โลกต้องตื่นตะลึงกับความมหัศจรรย์ของศิลปะภายในวัดถ้ำ ที่ไม่มีใครเคยพบเห็น หรือรู้เรื่องมาก่อน ขณะเดียวกันก็ทำให้นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี สามารถปะติดปะต่อเรื่องราวของ ศาสนาพุทธ ในอินเดียได้อย่างชัดเจนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ด้วยการศึกษาจากภาพแกะสลักหินภายในถ้ำ ที่ยังคงอยู่อย่างสมบูรณ์ ไม่ผุกร่อนพังทลายไปเหมือนพุทธสถานอื่นๆ เพราะทุกอย่างที่นี่ สลักขึ้นจากภูเขาทั้งลูก นับเป็นสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่สุดในโลกก็ว่าได้
ถ้ำเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ เป็นวัด เป็นวิหาร โดยใช้วิธีเจาะภูเขาทั้งลูกเข้าไป บางถ้ำมีถึง ๓ ชั้น มีทางเดินเชื่อมถึงกันตลอด
ถ้ำที่ก่อสร้างในยุคแรกๆ เป็น วัดถ้ำของพุทธฝ่ายเถรวาท พระสงฆ์ในยุคนั้นได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยอย่างเรียบง่าย โดยเจาะหินเข้าไปเป็นห้องโถง เปิดโล่ง ใช้เป็นที่นั่งสนทนาธรรม ส่วนผนังทั้งสามด้านก็สกัดหิน เจาะเข้าไปเป็นห้องนอน ภายในมีเตียงหิน ห้องละ ๒ หลัง
วัดของพุทธฝ่ายเถรวาท หลายถ้ำสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นห้องบูชา ด้วยฝีมือการแกะสลักของช่างในยุคนั้น โดยได้สกัดหินจากด้านนอกเข้าไป และสกัดจากเพดานถ้ำลงมา จนได้ห้องโถงขนาดใหญ่ มีระเบียงทางเดินอยู่ด้านข้าง มีเจดีย์อยู่ในสุดของห้อง
มีการสร้าง พระสถูปเจดีย์ ไว้เพื่อสักการบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้า เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเช่นเดียวกับการสร้าง พระสถูปเจดีย์ ที่สืบทอดมาจากชาวพุทธทางอินเดียตอนเหนือ...ด้วยเหตุนี้ ถ้ำอชันตา ในยุคแรกจึงยังไม่มีการแกะสลักเป็นองค์ พระพุทธรูป ให้พบเห็นมาก่อนหน้านี้
ถ้ำหมายเลข ๑๐ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่ถ้ำอชันตา สร้างเป็น หอสวดมนต์บูชาพระเจดีย์ เมื่อครั้งที่ "จอห์น สมิธ" ได้เข้าไปพบเห็นเป็นครั้งแรก ตอนที่เข้าไปในในถ้ำนั้น ดินโคลนได้ทับถมสูงขึ้นไปจากพื้นถ้ำกว่าครึ่ง
"จอห์น สมิธ" ได้จารึกชื่อไว้บนเสาหิน พร้อมลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๓๖๒ ซึ่งเป็นวันที่ ถ้ำอชันตา ได้ปรากฏสู่สายตาชาวโลก
นอกจากนี้ยังมีรอยจารึกสำคัญที่พบในถ้ำเดียวกันนี้ ได้ระบุชื่อของกษัตริย์พระองค์หนึ่งในราชวงศ์สาตวาหนะ ทำให้นักประวัติศาสตร์ได้รู้ว่าวัดถ้ำที่อชันตาได้รับการอุปถัมภ์อย่างต่อเนื่องจากพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่การสร้างวัดถ้ำในยุคแรกๆ
ลักษณะของหมู่วัดถ้ำอชันตา นั้นพบว่ามีถ้ำมากกว่า ๓๐ ถ้ำ เรียงตัวต่อเนื่องกันยาวหลายร้อยเมตร บนเชิงเขาสูง ลักษณะเป็นวงโค้งรูปพระจันทร์เสี้ยว
บริเวณหน้าถ้ำแต่ละแห่งสร้างเป็นบันไดทอดยาวลงไปยังแม่น้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลดเลี้ยวไปตามหุบเขาเบื้องล่าง แม่น้ำสายนี้คือ "แม่น้ำวโฆระ" ซึ่งจะมีระดับน้ำขึ้นสูงในช่วงฤดูฝน
ถ้ำพุทธฝ่ายเถรวาท ที่ "อชันตา" เจริญรุ่งเรืองอยู่ต่อมาอีกราว ๒๐๐ ปี จนถึง พ.ศ.๕๕๐ ก็หยุดชะงัก ไม่ปรากฏร่องรอยการสร้างวัดถ้ำของพุทธฝ่ายเถรวาทที่นี่อีกต่อไป นานถึง ๔๐๐ ปี จึงกลับมาสร้างต่ออีกครั้งในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐
แม้จะยังไม่มีคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นกับพุทธสถานที่ถ้ำอชันตาในช่วง ๔๐๐ ปี ที่เว้นว่างไป แต่ในช่วงเวลานั้นเองก็ได้เกิดความเคลื่อนไหวสำคัญที่พลิกโฉมศาสนาพุทธในอินเดียไปอย่างสิ้นเชิง
สิ่งแรก คือ การเกิดขึ้นของ พระพุทธรูป สิ่งที่สองคือ ศาสนาพุทธ สายมหายาน ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างเต็มตัว
การสร้าง วัดถ้ำ ที่ "อชันตา" ระยะที่ ๒ เริ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากศาสนาพุทธในอินเดียได้เข้าสู่ยุคของมหายานไปแล้วถึง ๔๐๐ ปี
ในบรรดาวัดถ้ำทั้งหมดพบว่ามีวัดถ้ำในแบบพุทธมหายานถึง ๒๔ ถ้ำ ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใน สมัยคุปตะ ซึ่งเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย พระภิกษุฝ่ายมหายานได้เข้ามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก และปรับเปลี่ยนถ้ำให้เหมาะสมกับพิธีกรรมที่ทำขึ้น
จากวิหารแบบเรียบง่ายที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธฝ่ายเถรวาท ถูกเปลี่ยนไปเป็นห้องโถงใหญ่โตโอ่อ่า สลักหินเป็นเสาสูงมากมาย ที่หัวเสาแกะสลักเป็นลวดลายงดงามทั่วทั้งคูหาถ้ำ ผนังด้านในทั้งสองด้านแกะสลักเป็น พระพุทธรูป และ พระโพธิสัตว์ ขนาดใหญ่ ที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือช่างประติมากรรมชั้นสูงในการแกะสลักหินออกมาได้อย่างอ่อนช้อยและสวยงาม
สำหรับถ้ำหมายเลข ๑ เป็น ถ้ำพุทธมหายาน ที่ได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลกว่า มีภาพเขียนสีที่งดงามมากที่สุด แม้เวลาจะผ่านมานานถึงกว่า ๑,๕๐๐ ปี ภาพก็ยังคงสีสันและลายเส้นที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากอย่างไม่น่าเชื่อ
ถ้ำอชันตา อยู่ห่างจาก เมืองออรังกาบาด ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๑๐๔ กม. อยู่ในรัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย
เครดิต รูปภาพและข้อมูลจากอินเตอร์เนต