:: ทำไมเงินบาท แพงกว่าเงินเยน ทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นขนาดใหญ่กว่าไทยมหาศาล ::

*** ขอแก้ไขหัวกระทู้จาก "เศรษฐกิจญี่ปุ่นดีกว่าไทยมหาศาล" เป็น "เศรษฐกิจญี่ปุ่นขนาดใหญ่กว่าไทยมหาศาล" นะครับ ***


จากกระทู้ ทำไม 1 บาท ไม่เท่ากับ 1 ดอลล่า มีหลายความเห็นอธิบายว่าที่เงินดอลล่าร์ แพงกว่าเงินบาท เพราะสหรัฐ ผลิตสินค้าที่หาทดแทนไม่ได้ หรือหาทดแทนได้ยาก ค่าเงินดอลล่าร์เลยแข็งแกร่ง

พออ่านแล้วก็นึกถึงญี่ปุ่น ซึ่งผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากมาย GDP ก็ถึงขั้นอันดับ 3 ของโลก ทำไมเงินเยนกลับถูกกว่าเงินไทยซะอีก

ค่าครองชีพที่ญี่ปุ่นเองก็แพงติดอันดับโลก ทำให้คนญี่ปุ่นต้องใช้เงินกันเป็นตัวเลขที่สูง

ญี่ปุ่นไม่มีแนวคิดที่จะปรับค่าเงินใหม่บ้างเหรอครับ ประเภท 100 เยนแบบเก่า แลกได้ 1 เยนแบบใหม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เงินเยนมีค่าราวๆ 5 เยน เท่ากับ 1 เหรียญสหรัฐ ครับ ซึ่งค่าเงินเยนรูดมหาราชลงไปไกลโขในช่วงก่อนสิ้นสุดสงคราม

แต่พอจบสงครามโลกครั้งที่ 2 และญี่ปุ่นต้องดำเนินการตามแผนฟื้นฟูของสหรัฐ ก็มีการกำหนดค่าเงินเยนกันใหม่ มาอยู่ที่ราวๆ 360 เยน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ครับ และญี่ปุ่นก็ใช้ระบบตระกร้าเงิน คงอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนเอาไว้ที่เท่านี้เกือบ 20 ปี จนถึงยุค 1970 ที่ญี่ปุ่นค่อยๆลดการแทรกแซงค่าเงินเยนลง ยอมปล่อยให้ขึ้นลงตามตลาดได้บ้าง

ประมาณปลายยุค 70 ญี่ปุ่นก็ปล่อยค่าเงินเยนให้เคลื่อนขึ้นลงได้อิสระมากขึ้น และด้วยเศรษฐกิจที่ดีมากของญี่ปุ่น ค่าเงินเยนก็แข็งขึ้นอย่างรวดเร็วตลอดยุค 80 ถึง กลางยุค 90 โดยเคยแข็งค่าที่สุดอยู่ที่ ต่ำกว่า 100 เยน แลกได้ 1 เหรียญสหรัฐ ครับ
แต่พอองสบู่ของญี่ปุ่นแตกในช่วงยุค 90 ค่าเงินเยนก็ค่อยๆรูดลง จากต่ำกว่า 100 หรือช่วง 100 เยนต้นๆ มาเป็นราวๆ 100 กลางๆ แลกได้ 1 เหรียญ สหรัฐครับ

ส่วนทำไม ค่าเงินของไทยเรา ถึงสูงกว่าค่าเงินเยนของญี่ปุ่น ด้วยตัวเลขเดียวกัน ก็ต้องแจ้งว่า ค่าเงินไทยเรานั้นเคยถูกผูกด้วยระบบตระกร้าเงินมายาวนานมาก โดยอาศัยการปกป้องการไหลเข้าและออกของเงินบาท และมีการแทรกแซงค่าเงินมาตลอด ประกอบกับเศรษฐกิจของเราซบเซา เงินบาทไม่ค่อยได้ไหลออกไปนอกประเทศมากนัก ทำให้ค่าเงินของเราไม่ค่อยไปไหน และธนาคารกลางของไทยยุคก่อนเศรษฐกิจเฟื่องฟู ก็ไม่ค่อยปล่อยกู้เท่าไหร่

ระบบตระกร้าเงินของเราอยู่ได้ เพราะเงินทุนจากข้างนอกไหลเข้ามาน้อยและเงินบาทไหลออกไปน้อย เพื่อไม่มี demand ในการสะสมเงินบาทในตลาดโลก ค่าเงินก็ไม่ค่อยขึ้น และพอไม่มีการสะสม การเทขายก็ไม่มี ทำให้ค่าเงินไม่ค่อยอ่อนตัว ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังเลยปกป้องค่าเงินบาทได้ตลอดมา

แต่พอยุคป๋าชาติชาย ที่ธนาคารปล่อยกู้กันระนาว มีการไหลเข้าออกของเงินบาทอย่างมหาศาลน ตามมาด้วยการผ่อนคลายทางการเงิน ที่ทำให้เงินบาทถูกนำไปเก็งกำไรได้ เงินคงคลังที่มีก็เอามาพยุงค่าเงินไม่ไหว เราเลยต้องทิ้งระบบตระกร้าเงินในที่สุด
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
สกุลเงินในโลกนี้ ใช้หน่วยแตกต่างกัน
เหมือนกะ กิโลเมตร-ไมล์ ,เซลเซียส-ฟาเรนไฮต์ ฯลฯ
มันเป็นหน่วยวัดเฉยๆครับ "จะตั้งยังไงก็ได้"

เวลาจะเทียบคนละหน่วย ต้องมาแปลงค่าก่อน
เหมือนแปลง กิโลเมตร-ไมล์ ,เซลเซียส-ฟาเรนไฮต์ ฯลฯ
ระบบการศึกษาทั้งหมดในโลกนี้ สอนแบบนี้ทั้งนั้น

เมื่อมันเป็นหน่วยวัดเฉยๆ จะตั้งยังไงก็ได้
จะตั้ง 1000 บาทแบบเก่า แลกได้ 1 บาทแบบใหม่ก็ได้
แล้ว 1 บาทแบบใหม่ ก็จะแลกได้ 28 ยูเอสดอลล่า

แล้วเดิมใครเงินเดือน 15000 บาทแบบเก่า
ก็จะมีเงินเดือน 15 บาทแบบใหม่
เป็นแบบนี้ ยังคิดว่าเงิน 1 บาทแลกได้ 28 ยูเอสดอลล่า คือการได้เปรียบมั้ยครับ

ประเด็นกระทู้นั้น ไม่ใช่เรื่องค่าเงินอ่อนหรือแข็ง
แต่เป็นเรื่องจับแพะชนแกะ
แต่ก็เห็นบางคน จับประเด็นถูก ไม่โดนหลอกนะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่