การเลือกตั้งที่ดุเดือดเข้มข้นนั้น สุดท้ายผลที่ออกมาช็อคโลกเมื่อมหาเศรษฐีฝ่ายขวาจัดได้ก้าวเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอเมริกา โดย Lewis Nielsen ได้อธิบายเหตุผลต่างๆว่าเพราะอะไรทรัมป์ถึงชนะการเลือกตั้ง
ชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤศจิกายนถือเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนที่สุดทางการเมือง ผู้คนทั่วโลกถึงกับช็อคและรู้สึกรังเกียจที่มหาเศรษฐีที่มีความคิดเหยียดเชื้อชาติตอนนี้กำลังเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ ทั้งคำพูดของทรัมป์กับการกระทำในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งก็มีข้อครหาต่างๆมากมาย ผู้คนส่วนใหญ่ต่างรู้สึกหวาดกลัวมากขึ้น เขาได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากผู้ที่มีแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ สีผิว อีกทั้งมีแนวคิดต่อต้านการทำแท้งและมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้กระหายทำสงคราม (เรื่องนี้ไม่ได้พาดพึงถึงคนในสมาชิกครอบครัวของเขาไปทั้งหมด)
มีการกระตุ้นให้เกิดแนวคิดฝ่ายขวามากขึ้น โดยมีการปลุกแนวคิดขึ้นมาโดย Richard Spencer ที่มีนโยบายชาตินิยมสุดโต่ง ห่างออกไปจากทำเนียบขาวก็มีประชาชนแห่ร้องสรรเสริญและตะโกนคำว่า “Hail Trump” แต่การประเมินนี้ได้หักปากกาเซียนจากการทำทรัมป์ได้รับชัยชนะ หลังจากที่เขาได้รับชัยชนะแล้ว ตลาดหุ้นทั่วโลกก็ถูกเทขาย มีการเปิดเผยว่าทั้งนายธนาคารกับบุคคลระดับสูงต่างไม่พอใจกับผลลัพธ์การเลือกตั้งที่เกิดขึ้น พวกเขาอาจวางท่าทีเป็นกลาง แต่ชัยชนะที่คาดไม่ถึงของทรัมป์ก็ทำให้ทาง Financial Times ได้อธิบายถึงชัยชนะครั้งนี้ว่าเป็น “ชัยชนะที่ระเบิดฆ่าตัวตายกลางกรุงวอชิงตัน” แม้ว่าพวกเราจับตาดูพิธีรับสาบานตนเป็นประธานาธิบดีวันที่ 20 มกราคม ปี 2017 จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักสังคมนิยมจะต้องอธิบายว่า เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรและพวกเรามีปฎิกิริยากับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง
ผลที่ตามมา
ในแต่ละสัปดาห์ช่วงที่มีการเลือกตั้งก็มีการหยิบยกประเด็นอธิบายต่างๆมากมาย หลังจากที่คลินตันได้เจอกับกรณีสอบสวนของ FBI เกี่ยวกับการใช้อีเมล์ส่วนตัวถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลพลิกล็อค แม้ว่าจะมีการพยายามกล่าวโทษคนที่โหวตให้กับพรรคกรีนซึ่งมีตัวแทนลงสมัครอย่าง Jill Stein ที่ส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นการหั่นคะแนนเสียงกันเอง อย่างเช่นในรัฐฟลอริด้า
มีข้ออธิบายที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากจาก Paul Mason ที่ได้อธิบายเอาไว้ใน The Guardian หลังจากที่รู้ผลคะแนนเลือกตั้งแล้ว Mason ได้เขียนว่า ทรัมป์ชนะ “ก็เพราะว่าชนชั้นกลางหลายล้านคนและชาวอเมริกาที่มีการศึกษาถูกครอบงำทางความคิดและซึมซับแนวคิดของทรัมป์เรื่อยๆ อย่างไรก็ตามแนวคิดต่างๆก็ได้ถูกเผยแพร่เป็นวงกว้าง จึงทำให้เกิดแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ เหยียดสีผิวขึ้นมา” ทุกๆคนที่ได้อ่านข้อมูลข่าวสารผ่านยัง Facebook ในแต่ละสัปดาห์หลังจากที่รู้ผลการเลือกตั้งแล้ว ก็จะมีประเด็นข้อโต้แย้งไปในทางลักษณะเดียวกันก็คือ ผู้คนต่างหวาดกลัวกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เชื่อว่าชัยชนะของทรัมป์จะนำไปสู่ “การเหยียดสีผิวในชนชั้นแรงงาน” เรื่องนี้ได้มีการเปิดเผยโดยกลุ่มคนที่เหยียดสีผิว
อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ผลคะแนนที่ออกมาก็แสดงให้เห็นว่า มีการวิเคราะห์คาดการณ์ผลคะแนนไม่แม่นยำหรือไม่สามารถวิเคราะห์ผลคะแนนได้อย่างเป็นวงกว้างได้ว่า เพราะอะไรทรัมป์ถึงชนะ ไม่ใช่เพราะกระแสพรรครีพับลีกันมาแรงจึงชนะเลือกตั้ง แต่เป็นเพราะความตกต่ำของพรรคเดโมแครตเอง จริงๆทรัมป์ได้คะแนนน้อยกว่าคนอื่นและได้คะแนนจากคนผิวขาวน้อยเมื่อเทียบกับตัวแทนลงสมัครอย่าง Mitt Romney ในปี 2012 ซึ่ง Romney ได้คะแนนจากคนผิวขาวถึง 59 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่โอบาม่าได้คะแนน 39 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทรัมป์ได้คะแนน 58 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่คลินตันได้ 37 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนั้นคนพื้นเมืองอยากให้โอบาม่าเข้าทำเนียบขาวอีกเป็นสมัยที่สอง แต่น่าประหลาดใจที่คราวนี้พวกเขา 1 ใน 3 กลับพลิกขั้วสนับสนุนทรัมป์ ทำให้ทรัมป์ได้รับคะแนนเสียงมากขึ้นในปี 2016 ซึ่งถือเป็นคะแนนที่มากกว่าประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของอเมริกา การเหยียดสีผิว เชื้อชาติเป็นเงื่อนไขปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทรัมป์ได้รับชัยชนะ แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะทำให้คะแนนนิยมของพรรคสูงขึ้นหรือไม่
พวกเราจึงไม่ควรที่จะประเมินแนวคิดการเหยียดสีผิว เชื้อชาติต่ำเกินไปหรือการเล่นเกมสร้างความหวาดกลัวชาวต่างชาติ ระหว่างที่ทรัมป์รณรงค์หาเสียงก็ได้สนับสนุนแนวคิดการขับไล่คนผิวสี คนที่มีเชื้อชาติต่างกัน โดยเหมารวมว่าชาวเม็กซิกันเป็นพวกนักข่มขืนและให้คำมั่นว่าจะแบนมุสลิมในประเทศอเมริกา เป็นที่แน่ชัดว่าแนวคิดการเหยียดสีผิว เชื้อชาติเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผู้คนหันมาสนับสนุนเขา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคู คลักซ์ แคลน ก็ได้ยอมรับทรัมป์ และไม่ต้องสงสัยเลยว่การเหยียดสีผิว เชื้อชาติทั่วโลกเป็นแนวคิดที่ทำให้ทรัมป์ได้รับชัยชนะ
48 ชั่วโมงหลังจากที่ผลคะแนนออกมาแล้ว ในสังคมออนไลน์ถือเป็นกรณีตัวอย่างดีที่พบว่า การแบ่งแยกทางเชื้อชาติในอเมริกามีส่วนที่ทำให้ทรัมป์ได้รับชัยนะ ซึ่งจะเห็นได้จากการวาดสัญลักษณ์สวัสติกะ ในกลุ่ม KKK ก็ได้แห่ร้องสรรเสริญในนอร์ทแคลิฟอเนีย ทางด้าน Marine Le Pen ผู้นำแนวคิดฟาสซิสต์ในฝรั่งเศสก็ได้ส่งสารยินดีว่า “โลกใบใหม่กำลังถูกสร้างขึ้นแล้ว” และกล่าวว่าชัยชนะของทรัมป์จะทำให้เธอมีโอกาสได้รับชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในครั้งต่อไป
การเหยียดสีผิว เชื้อชาตินี้ก็จะรวมไปถึงการใช้ความรุนแรงทางเพศด้วย เนื่องจากเบื้องหลังของเขามักจะแสดงความเห็นไปในเชิงคุกคามทางเพศกับผู้หญิง ทางด้านนักเคลื่อนไหวในอเมริกาก็ได้ชี้ว่า ชัยชนะของเขาก็ทำให้การคุกคามผู้หญิงเป็นเรื่องที่เห็นดีเห็นชอบ
อย่างไรก็ตามการกล่าวโทษไปยังผู้คนที่เหยียดสีผิว เชื้อชาติ แบ่งแยกเพศหรือหัวรุนแรงเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น เนื่องจากข้อแรกไม่สามารถหาเหตุผลได้ว่า ทำไมชาวลาติน 29 เปอร์เซ็นต์กับผู้หญิง 42 เปอร์เซ็นต์ถึงลงคะแนนให้ทรัมป์ ข้อสองก็คือ เมื่อมีการประเมินถึงจุดนี้แล้ว ก็ไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้ เนื่องจาก Mason เห็นว่าลึกๆแล้วชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีแนวคิดเหยียดสีผิว เชื้อชาติหรือหัวรุนแรง
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกตั้งก็คือ ทำให้มองเห็นรากฐานความคิดจริงๆเป็นวงกว้าง ทรัมป์จึงเป็นตัวเลือกที่สำคัญของพรรครีพับลิกัน แต่เขาก็สามารถโน้มน้าวให้ชนชั้นแรงงานชาวอเมริกันหลายคนหันมาโหวตเขาได้ด้วยวิธีการที่ทำให้ประชาชนคิดว่า นักการเมืองระดับสูงไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรให้กับพวกเขาได้
มลรัฐที่ขึ้นสนิม
มลรัฐที่ขึ้นสนิมอย่างเช่นมิชิแกนกับเพนซิวาเนีย ซึ่งถือเป็นฐานเสียงที่แข็งแกร่งของพรรคเดโมแครต แต่พรรครีพับริกันก็สามารถเอาชนะได้ ในประวัติศาสตร์นั้น ผู้ที่ลงคะแนนให้กับพรรคเดโมแครตมักจะเลือกที่อยู่กับบ้านหรือแม้แต่คนที่โหวตให้ทรัมป์ก็ไม่พอใจกับแนวทางของคลินตัน เหตุผลที่ทำไมถึงเกิดความไม่พอใจในตัวคลินตันหรือคิดว่าตัวเธอไม่ดีนั้นก็เป็นที่เข้าใจได้ ไม่แปลกใจเลยที่ชาวอเมริกันหลายคนรู้สึกผิดหวังกับผลการเลือกตั้งที่ออกมา
ความฝันชาวอเมริกัน (ซึ่งคลินตันมักจะใช้เรื่องนี้ในการรณรงค์หาเสียง) ที่จะเจริญรุ่งโรจน์นั้น ไม่ว่าจะเป็นอาชีพการงานหรือความมั่นคงปลอดภัยก็ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้ โดยเฉลี่ยแล้ว อัตราค่าจ้างแรงงานของชาวอเมริกันต่ำกว่าในปี 1972 มาก ซึ่งก็รวมไปถึงสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นด้วย ในช่วงแรกคนรุ่นปัจจุบันมีการดำรงชีวิตที่ต่ำกว่ามาตรฐานกว่าคนรุ่นก่อน ช่วงอายุของชีวิตจริงๆแล้วต่ำมากในประเทศอเมริกาและประเมินได้ว่า ชาวอเมริกัน 60 เปอร์เซ็นต์ไม่มีเงิน $ 500 ในการซื้อของจำเป็นจนถึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะไปหาหมอ
แม้ว่าสื่อกระแสหลักอเมริกาจะยอมรับว่า การที่ทรัมป์ชนะจะมีแรงต่อต้านจากชนชั้นสูงขึ้นมา ซึ่งปกติพวกเขาเหล่านี้ก็ไม่เคยมองเห็นชนชั้นแรงงานอยู่แล้ว แต่พวกเขาให้ “ชนชั้นกลางเป็นผู้ตัดสินใจลงคะแนน” ในการกำหนดทิศทางประเทศแทน แม้ว่าผลคะแนนที่ออกมาหลังจากนั้นก็มีผู้รายงานข่าวได้สอบถามแรงงานว่า เพราะอะไรพวกเขาถึงลงคะแนนให้ทรัมป์
แน่นอนว่าประธานาธิบดีคนใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งคนหนึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นมหาเศรษฐีที่มีแนวคิดกดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำและเลี่ยงภาษี อย่างไรก็ตามสโลแกนของเขาที่ว่า “ชำระปัญหาต่างๆ” ก็เป็นสิ่งที่นักการเมืองหลายคนในกรุงวอชิงตันใช้หาเสียงกับผู้ลงคะแนนที่คิดว่าพวกเขาถูกหักหลังโดยชนชั้นสูงของพรรคเดโมแครตที่ได้อุ้มช่วยเหลือนายธนาคารหลายคนและบุคคลระดับสูงจากวิกฤตทางการเงิน
ในช่วงที่ผู้คนรู้สึกโกรธเคืองกับ Wall Street กับสถาบันทางการเมืองนั้น แล้วแบบนี้พรรคเดโมแครตจะทำอย่างไร? พวกเขาเลือกที่จะเอาผู้สมัครที่เห็นต่างกับพรรคการเมืองหรือเปล่า วลีที่ทรัมป์มักจะพูดก็คือ “Make America Great Again” ถือเป็นการดึงคะแนนเสียงจากคนอเมริกันได้จำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงิน ซึ่งคลินตันก็ได้โต้ตอบไปว่าอเมริกาดีอยู่แล้ว ปัญหาต่างๆได้ก้าวข้ามและไม่มีแนวคิดที่จะเอารากฐานดีๆนี้ออกไป
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
ทีมงานคลินตันอาจจะหลอกตัวเองว่าแพ้เลือกตั้งเพราะเรื่องอีเมล แต่ปัญหาจริงๆมีมากกว่านั้น จริงๆแล้วธุรกิจยักษ์ใหญ่กับสถาบันทางการเมืองก็ไม่ได้ค้ำจุนหนุนเธอดีมากพอ คลินตันถูกต่อต้านจากบุคคลระดับสูงที่มีแนวคิดเสรีนิยมใหม่ กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดนั้น แม้ว่าเธอจะถูกฝ่ายตรงข้ามแสดงความเห็นไปในเชิงรุนแรงทางเพศ แต่คลินตันก็ได้รับคะแนนเสียงจากผู้หญิงเพียงแค่ 54 เปอร์เซ็นต์ การปราศรัยของเธอน้อยมากที่จะกล่าวถึงชนชั้นแรงงานหญิงที่ถูกกดค่าแรงขั้นต่ำเอาไว้ อีกทั้งไม่ได้ให้ความสนใจต้นทุนค่าเลี้ยงดูลูกที่สูงมากขึ้นกับการสาธารณสุขที่แย่
แม้ว่าหลายฝ่ายจะโฟกัสว่าทรัมป์ชนะการเลือกตั้งได้อย่างไร ซึ่งอาจบอกได้เต็มปากเต็มคำได้ว่าคลินตันแพ้อย่างหมดรูป คะแนนเสียงของพรรคเดโมแครตในแต่ละมลรัฐถือเป็นปัจจัยชี้ขาดที่สำคัญที่ทำให้แพ้การเลือกตั้ง คลินตันได้คะแนนเสียงเกือบๆ 6.5 ล้านซึ่งถือว่าน้อยกว่าโอบาม่าที่ทำเอาไว้ในปี 2008 สิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าเธอไม่ได้รับความนิยม แต่มาจากการบริหารที่ขมขื่นของรัฐบาลโอบาม่าตลอด 8 ปีที่ผ่านมาที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยน ตัวของโอบาม่าเองก็สูญเสียคะแนนเสียงไปมากกว่า 3.5 ล้านระหว่างปี 2008 กับ 2012
แหล่งข้อมูลที่ถือเป็นตัวชี้วัดทางสถิติที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งก็มาจากการเปิดเผยของ Michael Moore จาก NBC หลังจากที่รู้ผลคะแนนเลือกตั้งแล้ว เขาได้กล่าวว่า ในมิชิแกนนั้น ทรัมป์เอาชนะคลินตันเพียงแค่ 12000 คะแนน ผู้คนมากกว่า 9 หมื่นคนโหวตลงคะแนนด้วยวิธีการกาบัตรลงคะแนน ซึ่งก็รวมไปถึงสำนักงานพื้นที่และการทำประชามติ เว้นแต่ตัวประธานาธิบดีไม่ได้ให้ความสนใจกับประเด็นต่างๆเหล่านี้ ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้โหวตให้ทรัมป์ แต่พวกเขาไม่สามารถโหวตให้กับตัวแทนพรรคเดโมแครตด้วยระบบที่ซับซ้อนที่ถือเป็นการละทิ้งผู้คนลงคะแนนไป ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของมลรัฐที่ขึ้นสนิม
การเผชิญกับคู่แข่งอย่างเบอร์นี แซนเดอร์ส ซึ่งเป็นคนที่มีแนวคิดทัศนคติไปในทางต่อต้านสถาบันทางการเมืองในรูปแบบสังคมนิยมนั้น ก็ทำให้คณะกรรมการของพรรคเดโมแครตได้หนุนหลังคลินตัน จึงมอบหมายให้ทีมงานใช้เล่ห์กลสกปรกไม่ให้แซนเดอร์สเข้ามาเป็นตัวแทนผู้สมัครดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในช่วงเวลาที่สภาวะทางการเมืองรวมศูนย์และอยู่ในสถานะที่มั่นคงนั้น ทางด้านนักการเมืองหลายคนก็ล้มเหลวในการโต้ตอบกับผู้ที่มีแนวคิดฝ่ายขวา สถาบันพรรคการเมืองอย่างพรรคเดโมแครตก็พยายามที่จะใช้กลยุทธ์แบบเดียวกันกับก่อนหน้านี้โดยยึดติดกับการรวมศูนย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้คนไม่ได้นิยมแนวคิดเหมือนกับเมื่อก่อนแล้ว
ทรัมป์ชนะ จะโทษใครดี?
การเลือกตั้งที่ดุเดือดเข้มข้นนั้น สุดท้ายผลที่ออกมาช็อคโลกเมื่อมหาเศรษฐีฝ่ายขวาจัดได้ก้าวเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอเมริกา โดย Lewis Nielsen ได้อธิบายเหตุผลต่างๆว่าเพราะอะไรทรัมป์ถึงชนะการเลือกตั้ง
ชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤศจิกายนถือเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนที่สุดทางการเมือง ผู้คนทั่วโลกถึงกับช็อคและรู้สึกรังเกียจที่มหาเศรษฐีที่มีความคิดเหยียดเชื้อชาติตอนนี้กำลังเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ ทั้งคำพูดของทรัมป์กับการกระทำในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งก็มีข้อครหาต่างๆมากมาย ผู้คนส่วนใหญ่ต่างรู้สึกหวาดกลัวมากขึ้น เขาได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากผู้ที่มีแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ สีผิว อีกทั้งมีแนวคิดต่อต้านการทำแท้งและมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้กระหายทำสงคราม (เรื่องนี้ไม่ได้พาดพึงถึงคนในสมาชิกครอบครัวของเขาไปทั้งหมด)
มีการกระตุ้นให้เกิดแนวคิดฝ่ายขวามากขึ้น โดยมีการปลุกแนวคิดขึ้นมาโดย Richard Spencer ที่มีนโยบายชาตินิยมสุดโต่ง ห่างออกไปจากทำเนียบขาวก็มีประชาชนแห่ร้องสรรเสริญและตะโกนคำว่า “Hail Trump” แต่การประเมินนี้ได้หักปากกาเซียนจากการทำทรัมป์ได้รับชัยชนะ หลังจากที่เขาได้รับชัยชนะแล้ว ตลาดหุ้นทั่วโลกก็ถูกเทขาย มีการเปิดเผยว่าทั้งนายธนาคารกับบุคคลระดับสูงต่างไม่พอใจกับผลลัพธ์การเลือกตั้งที่เกิดขึ้น พวกเขาอาจวางท่าทีเป็นกลาง แต่ชัยชนะที่คาดไม่ถึงของทรัมป์ก็ทำให้ทาง Financial Times ได้อธิบายถึงชัยชนะครั้งนี้ว่าเป็น “ชัยชนะที่ระเบิดฆ่าตัวตายกลางกรุงวอชิงตัน” แม้ว่าพวกเราจับตาดูพิธีรับสาบานตนเป็นประธานาธิบดีวันที่ 20 มกราคม ปี 2017 จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักสังคมนิยมจะต้องอธิบายว่า เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรและพวกเรามีปฎิกิริยากับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง
ผลที่ตามมา
ในแต่ละสัปดาห์ช่วงที่มีการเลือกตั้งก็มีการหยิบยกประเด็นอธิบายต่างๆมากมาย หลังจากที่คลินตันได้เจอกับกรณีสอบสวนของ FBI เกี่ยวกับการใช้อีเมล์ส่วนตัวถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลพลิกล็อค แม้ว่าจะมีการพยายามกล่าวโทษคนที่โหวตให้กับพรรคกรีนซึ่งมีตัวแทนลงสมัครอย่าง Jill Stein ที่ส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นการหั่นคะแนนเสียงกันเอง อย่างเช่นในรัฐฟลอริด้า
มีข้ออธิบายที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากจาก Paul Mason ที่ได้อธิบายเอาไว้ใน The Guardian หลังจากที่รู้ผลคะแนนเลือกตั้งแล้ว Mason ได้เขียนว่า ทรัมป์ชนะ “ก็เพราะว่าชนชั้นกลางหลายล้านคนและชาวอเมริกาที่มีการศึกษาถูกครอบงำทางความคิดและซึมซับแนวคิดของทรัมป์เรื่อยๆ อย่างไรก็ตามแนวคิดต่างๆก็ได้ถูกเผยแพร่เป็นวงกว้าง จึงทำให้เกิดแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ เหยียดสีผิวขึ้นมา” ทุกๆคนที่ได้อ่านข้อมูลข่าวสารผ่านยัง Facebook ในแต่ละสัปดาห์หลังจากที่รู้ผลการเลือกตั้งแล้ว ก็จะมีประเด็นข้อโต้แย้งไปในทางลักษณะเดียวกันก็คือ ผู้คนต่างหวาดกลัวกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เชื่อว่าชัยชนะของทรัมป์จะนำไปสู่ “การเหยียดสีผิวในชนชั้นแรงงาน” เรื่องนี้ได้มีการเปิดเผยโดยกลุ่มคนที่เหยียดสีผิว
อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ผลคะแนนที่ออกมาก็แสดงให้เห็นว่า มีการวิเคราะห์คาดการณ์ผลคะแนนไม่แม่นยำหรือไม่สามารถวิเคราะห์ผลคะแนนได้อย่างเป็นวงกว้างได้ว่า เพราะอะไรทรัมป์ถึงชนะ ไม่ใช่เพราะกระแสพรรครีพับลีกันมาแรงจึงชนะเลือกตั้ง แต่เป็นเพราะความตกต่ำของพรรคเดโมแครตเอง จริงๆทรัมป์ได้คะแนนน้อยกว่าคนอื่นและได้คะแนนจากคนผิวขาวน้อยเมื่อเทียบกับตัวแทนลงสมัครอย่าง Mitt Romney ในปี 2012 ซึ่ง Romney ได้คะแนนจากคนผิวขาวถึง 59 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่โอบาม่าได้คะแนน 39 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทรัมป์ได้คะแนน 58 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่คลินตันได้ 37 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนั้นคนพื้นเมืองอยากให้โอบาม่าเข้าทำเนียบขาวอีกเป็นสมัยที่สอง แต่น่าประหลาดใจที่คราวนี้พวกเขา 1 ใน 3 กลับพลิกขั้วสนับสนุนทรัมป์ ทำให้ทรัมป์ได้รับคะแนนเสียงมากขึ้นในปี 2016 ซึ่งถือเป็นคะแนนที่มากกว่าประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของอเมริกา การเหยียดสีผิว เชื้อชาติเป็นเงื่อนไขปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทรัมป์ได้รับชัยชนะ แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะทำให้คะแนนนิยมของพรรคสูงขึ้นหรือไม่
พวกเราจึงไม่ควรที่จะประเมินแนวคิดการเหยียดสีผิว เชื้อชาติต่ำเกินไปหรือการเล่นเกมสร้างความหวาดกลัวชาวต่างชาติ ระหว่างที่ทรัมป์รณรงค์หาเสียงก็ได้สนับสนุนแนวคิดการขับไล่คนผิวสี คนที่มีเชื้อชาติต่างกัน โดยเหมารวมว่าชาวเม็กซิกันเป็นพวกนักข่มขืนและให้คำมั่นว่าจะแบนมุสลิมในประเทศอเมริกา เป็นที่แน่ชัดว่าแนวคิดการเหยียดสีผิว เชื้อชาติเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผู้คนหันมาสนับสนุนเขา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคู คลักซ์ แคลน ก็ได้ยอมรับทรัมป์ และไม่ต้องสงสัยเลยว่การเหยียดสีผิว เชื้อชาติทั่วโลกเป็นแนวคิดที่ทำให้ทรัมป์ได้รับชัยชนะ
48 ชั่วโมงหลังจากที่ผลคะแนนออกมาแล้ว ในสังคมออนไลน์ถือเป็นกรณีตัวอย่างดีที่พบว่า การแบ่งแยกทางเชื้อชาติในอเมริกามีส่วนที่ทำให้ทรัมป์ได้รับชัยนะ ซึ่งจะเห็นได้จากการวาดสัญลักษณ์สวัสติกะ ในกลุ่ม KKK ก็ได้แห่ร้องสรรเสริญในนอร์ทแคลิฟอเนีย ทางด้าน Marine Le Pen ผู้นำแนวคิดฟาสซิสต์ในฝรั่งเศสก็ได้ส่งสารยินดีว่า “โลกใบใหม่กำลังถูกสร้างขึ้นแล้ว” และกล่าวว่าชัยชนะของทรัมป์จะทำให้เธอมีโอกาสได้รับชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในครั้งต่อไป
การเหยียดสีผิว เชื้อชาตินี้ก็จะรวมไปถึงการใช้ความรุนแรงทางเพศด้วย เนื่องจากเบื้องหลังของเขามักจะแสดงความเห็นไปในเชิงคุกคามทางเพศกับผู้หญิง ทางด้านนักเคลื่อนไหวในอเมริกาก็ได้ชี้ว่า ชัยชนะของเขาก็ทำให้การคุกคามผู้หญิงเป็นเรื่องที่เห็นดีเห็นชอบ
อย่างไรก็ตามการกล่าวโทษไปยังผู้คนที่เหยียดสีผิว เชื้อชาติ แบ่งแยกเพศหรือหัวรุนแรงเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น เนื่องจากข้อแรกไม่สามารถหาเหตุผลได้ว่า ทำไมชาวลาติน 29 เปอร์เซ็นต์กับผู้หญิง 42 เปอร์เซ็นต์ถึงลงคะแนนให้ทรัมป์ ข้อสองก็คือ เมื่อมีการประเมินถึงจุดนี้แล้ว ก็ไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้ เนื่องจาก Mason เห็นว่าลึกๆแล้วชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีแนวคิดเหยียดสีผิว เชื้อชาติหรือหัวรุนแรง
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกตั้งก็คือ ทำให้มองเห็นรากฐานความคิดจริงๆเป็นวงกว้าง ทรัมป์จึงเป็นตัวเลือกที่สำคัญของพรรครีพับลิกัน แต่เขาก็สามารถโน้มน้าวให้ชนชั้นแรงงานชาวอเมริกันหลายคนหันมาโหวตเขาได้ด้วยวิธีการที่ทำให้ประชาชนคิดว่า นักการเมืองระดับสูงไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรให้กับพวกเขาได้
มลรัฐที่ขึ้นสนิม
มลรัฐที่ขึ้นสนิมอย่างเช่นมิชิแกนกับเพนซิวาเนีย ซึ่งถือเป็นฐานเสียงที่แข็งแกร่งของพรรคเดโมแครต แต่พรรครีพับริกันก็สามารถเอาชนะได้ ในประวัติศาสตร์นั้น ผู้ที่ลงคะแนนให้กับพรรคเดโมแครตมักจะเลือกที่อยู่กับบ้านหรือแม้แต่คนที่โหวตให้ทรัมป์ก็ไม่พอใจกับแนวทางของคลินตัน เหตุผลที่ทำไมถึงเกิดความไม่พอใจในตัวคลินตันหรือคิดว่าตัวเธอไม่ดีนั้นก็เป็นที่เข้าใจได้ ไม่แปลกใจเลยที่ชาวอเมริกันหลายคนรู้สึกผิดหวังกับผลการเลือกตั้งที่ออกมา
ความฝันชาวอเมริกัน (ซึ่งคลินตันมักจะใช้เรื่องนี้ในการรณรงค์หาเสียง) ที่จะเจริญรุ่งโรจน์นั้น ไม่ว่าจะเป็นอาชีพการงานหรือความมั่นคงปลอดภัยก็ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้ โดยเฉลี่ยแล้ว อัตราค่าจ้างแรงงานของชาวอเมริกันต่ำกว่าในปี 1972 มาก ซึ่งก็รวมไปถึงสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นด้วย ในช่วงแรกคนรุ่นปัจจุบันมีการดำรงชีวิตที่ต่ำกว่ามาตรฐานกว่าคนรุ่นก่อน ช่วงอายุของชีวิตจริงๆแล้วต่ำมากในประเทศอเมริกาและประเมินได้ว่า ชาวอเมริกัน 60 เปอร์เซ็นต์ไม่มีเงิน $ 500 ในการซื้อของจำเป็นจนถึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะไปหาหมอ
แม้ว่าสื่อกระแสหลักอเมริกาจะยอมรับว่า การที่ทรัมป์ชนะจะมีแรงต่อต้านจากชนชั้นสูงขึ้นมา ซึ่งปกติพวกเขาเหล่านี้ก็ไม่เคยมองเห็นชนชั้นแรงงานอยู่แล้ว แต่พวกเขาให้ “ชนชั้นกลางเป็นผู้ตัดสินใจลงคะแนน” ในการกำหนดทิศทางประเทศแทน แม้ว่าผลคะแนนที่ออกมาหลังจากนั้นก็มีผู้รายงานข่าวได้สอบถามแรงงานว่า เพราะอะไรพวกเขาถึงลงคะแนนให้ทรัมป์
แน่นอนว่าประธานาธิบดีคนใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งคนหนึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นมหาเศรษฐีที่มีแนวคิดกดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำและเลี่ยงภาษี อย่างไรก็ตามสโลแกนของเขาที่ว่า “ชำระปัญหาต่างๆ” ก็เป็นสิ่งที่นักการเมืองหลายคนในกรุงวอชิงตันใช้หาเสียงกับผู้ลงคะแนนที่คิดว่าพวกเขาถูกหักหลังโดยชนชั้นสูงของพรรคเดโมแครตที่ได้อุ้มช่วยเหลือนายธนาคารหลายคนและบุคคลระดับสูงจากวิกฤตทางการเงิน
ในช่วงที่ผู้คนรู้สึกโกรธเคืองกับ Wall Street กับสถาบันทางการเมืองนั้น แล้วแบบนี้พรรคเดโมแครตจะทำอย่างไร? พวกเขาเลือกที่จะเอาผู้สมัครที่เห็นต่างกับพรรคการเมืองหรือเปล่า วลีที่ทรัมป์มักจะพูดก็คือ “Make America Great Again” ถือเป็นการดึงคะแนนเสียงจากคนอเมริกันได้จำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงิน ซึ่งคลินตันก็ได้โต้ตอบไปว่าอเมริกาดีอยู่แล้ว ปัญหาต่างๆได้ก้าวข้ามและไม่มีแนวคิดที่จะเอารากฐานดีๆนี้ออกไป
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
ทีมงานคลินตันอาจจะหลอกตัวเองว่าแพ้เลือกตั้งเพราะเรื่องอีเมล แต่ปัญหาจริงๆมีมากกว่านั้น จริงๆแล้วธุรกิจยักษ์ใหญ่กับสถาบันทางการเมืองก็ไม่ได้ค้ำจุนหนุนเธอดีมากพอ คลินตันถูกต่อต้านจากบุคคลระดับสูงที่มีแนวคิดเสรีนิยมใหม่ กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดนั้น แม้ว่าเธอจะถูกฝ่ายตรงข้ามแสดงความเห็นไปในเชิงรุนแรงทางเพศ แต่คลินตันก็ได้รับคะแนนเสียงจากผู้หญิงเพียงแค่ 54 เปอร์เซ็นต์ การปราศรัยของเธอน้อยมากที่จะกล่าวถึงชนชั้นแรงงานหญิงที่ถูกกดค่าแรงขั้นต่ำเอาไว้ อีกทั้งไม่ได้ให้ความสนใจต้นทุนค่าเลี้ยงดูลูกที่สูงมากขึ้นกับการสาธารณสุขที่แย่
แม้ว่าหลายฝ่ายจะโฟกัสว่าทรัมป์ชนะการเลือกตั้งได้อย่างไร ซึ่งอาจบอกได้เต็มปากเต็มคำได้ว่าคลินตันแพ้อย่างหมดรูป คะแนนเสียงของพรรคเดโมแครตในแต่ละมลรัฐถือเป็นปัจจัยชี้ขาดที่สำคัญที่ทำให้แพ้การเลือกตั้ง คลินตันได้คะแนนเสียงเกือบๆ 6.5 ล้านซึ่งถือว่าน้อยกว่าโอบาม่าที่ทำเอาไว้ในปี 2008 สิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าเธอไม่ได้รับความนิยม แต่มาจากการบริหารที่ขมขื่นของรัฐบาลโอบาม่าตลอด 8 ปีที่ผ่านมาที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยน ตัวของโอบาม่าเองก็สูญเสียคะแนนเสียงไปมากกว่า 3.5 ล้านระหว่างปี 2008 กับ 2012
แหล่งข้อมูลที่ถือเป็นตัวชี้วัดทางสถิติที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งก็มาจากการเปิดเผยของ Michael Moore จาก NBC หลังจากที่รู้ผลคะแนนเลือกตั้งแล้ว เขาได้กล่าวว่า ในมิชิแกนนั้น ทรัมป์เอาชนะคลินตันเพียงแค่ 12000 คะแนน ผู้คนมากกว่า 9 หมื่นคนโหวตลงคะแนนด้วยวิธีการกาบัตรลงคะแนน ซึ่งก็รวมไปถึงสำนักงานพื้นที่และการทำประชามติ เว้นแต่ตัวประธานาธิบดีไม่ได้ให้ความสนใจกับประเด็นต่างๆเหล่านี้ ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้โหวตให้ทรัมป์ แต่พวกเขาไม่สามารถโหวตให้กับตัวแทนพรรคเดโมแครตด้วยระบบที่ซับซ้อนที่ถือเป็นการละทิ้งผู้คนลงคะแนนไป ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของมลรัฐที่ขึ้นสนิม
การเผชิญกับคู่แข่งอย่างเบอร์นี แซนเดอร์ส ซึ่งเป็นคนที่มีแนวคิดทัศนคติไปในทางต่อต้านสถาบันทางการเมืองในรูปแบบสังคมนิยมนั้น ก็ทำให้คณะกรรมการของพรรคเดโมแครตได้หนุนหลังคลินตัน จึงมอบหมายให้ทีมงานใช้เล่ห์กลสกปรกไม่ให้แซนเดอร์สเข้ามาเป็นตัวแทนผู้สมัครดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในช่วงเวลาที่สภาวะทางการเมืองรวมศูนย์และอยู่ในสถานะที่มั่นคงนั้น ทางด้านนักการเมืองหลายคนก็ล้มเหลวในการโต้ตอบกับผู้ที่มีแนวคิดฝ่ายขวา สถาบันพรรคการเมืองอย่างพรรคเดโมแครตก็พยายามที่จะใช้กลยุทธ์แบบเดียวกันกับก่อนหน้านี้โดยยึดติดกับการรวมศูนย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้คนไม่ได้นิยมแนวคิดเหมือนกับเมื่อก่อนแล้ว