6 การเลือกตั้งประธานาธิบดี ดราม่าที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดระหว่างนายโจ ไบเดน กับ โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นหนึ่งในการเลือกตั้งที่สูสีและยุ่งเหยิงมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
ในอดีตที่ผ่านมา สหรัฐฯ เคยมีการเลือกตั้งอย่างน้อย 6 ครั้งที่เป็นข้อถกเถียงมากที่สุด และบางครั้งก็ไปจบลงที่คำตัดสินของศาล
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งที่ 59 ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ กับ โจ ไบเดน กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในการเลือกตั้งที่มีข้อถกเถียงเรื่องผลเลือกตั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ โดยผลการนับคะแนนชี้ว่า ผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครต มีคะแนนนำในหลายรัฐสำคัญ และคาดว่าจะคว้าคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง หรือ electoral vote ถึง 270 คะแนนได้ก่อน ซึ่งจะทำให้เขาเป็นผู้ชนะ
แต่มีหรือที่ประธานาธิบดีทรัมป์ จะยอมง่ายๆ เขาสั่งให้ทีมหาเสียงยื่นฟ้องร้องต่อศาลในรัฐสวิงสเตทสำคัญอย่าง เพนซิลเวเนีย, มิชิแกน และ จอร์เจีย เพื่อขอให้หยุดการนับคะแนนเสียง เนื่องจากไบเดนมีคะแนนตีตื้นเขาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ขณะที่ยื่นคำร้องขอให้มีการนับคะแนนใหม่ที่รัฐวิสคอนซิน ที่เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งคราวก่อน แต่ครั้งนี้ชาววิสคอนซินส่วนใหญ่เลือกฝั่งเดโมแครต
ถ้าในท้ายที่สุด นายทรัมป์เป็นผู้ชนะ การเลือกตั้งครั้งนี้ก็คงจะจบลงไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากนัก แต่หากนายไบเดนเป็นผู้ชนะขึ้นมา มั่นใจได้เลยว่าฝั่งนายทรัมป์จะดำเนินการฟ้องร้องขนานใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องบัตรเลือกตั้งที่ส่งผ่านทางไปรษณีย์ ซึ่งเขากล่าวหามาตลอดช่วงการหาเสียงว่า การเลือกตั้งแบบนี้เสี่ยงต่อการโกง และในปีนี้มีผู้ใช้สิทธิ์ล่วงหน้าด้วยวิธีนี้หลายสิบล้านคน เพราะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วย
การฟ้องร้องของนายทรัมป์ อาจทำให้เกิดการนับคะแนนใหม่ อาจทำให้บัตรเลือกตั้งทางไปรษณีย์ส่งมาถึงหน่วยเลือกตั้งหลังวันที่ 3 พ.ย. ไม่ถูกนับรวมไปด้วย ทำให้การนับคะแนนซับซ้อนยิ่งขึ้น และหากผลคะแนนพลิกกลับเข้าหานายทรัมป์ ฝั่งนายไบเดนซึ่งควรจะเป็นผู้ชนะก็คงไม่ยอมอยู่เฉยๆ จนเกิดการฟ้องร้องตอบโต้กันไปมา จนสุดท้ายอาจไปจบที่ศาลสูงสุด
แน่นอนว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยุ่งเหยิงวุ่นวายขนาดนี้ ตลอดประวัติศาสตร์กว่า 200 ปีที่ผ่านมาของสหรัฐฯ พวกเขาเผชิญการเลือกตั้งที่เป็นข้อถกเถียงที่สุดมาแล้วอย่างน้อย 6 ครั้ง ดังต่อไปนี้
โธมัส เจฟเฟอร์สัน ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐฯ
ค.ศ.1800 ความขัดแย้งครั้งแรก
ก่อนการแก้รัฐธรรมนูญครั้งที่ 12 สมาชิกคณะผู้เลือกตั้งมีคนละ 2 คะแนนสำหรับเลือกประธานาธิบดี ใครก็ตามที่ได้รับคะแนน electoral vote มากที่สุดจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่วนอันดับ 2 จะได้เป็นรองประธานาธิบดี แต่ในปี 1800 โธมัส เจฟเฟอร์สัน ได้คะแนน electoral vote 73 คะแนนเท่ากับ แอรอน เบอร์ กลายเป็นความขัดแย้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญยุคนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นผู้โหวตเลือกว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สภาเริ่มโหวตในเดือนกุมภาพันธ์ 1801 แต่ไม่มีใครได้รับการสนับสนุนเกิน 8 จากทั้งหมด 16 รัฐในเวลานั้นเลย เหล่าส.ส.ใช้เวลานับสัปดาห์ จัดการลงมติถึง 35 ครั้ง ก็ยังไม่ได้ผู้ชนะ กระทั่งในครั้งที่ 36 นายเจฟเฟอร์สันก็ได้รับการสนับสนุนครบ 10 รัฐ กลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของประเทศ
ผลจากการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 12 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีคะแนน electoral vote เสมอกันอีก ในปี 1804 และกำหนดให้มีการโหวตเลือกรองประธานาธิบดีแยกต่างหาก ทำให้เกิดระบบพรรค และบัตรลงคะแนนเสียงรวมทั้งประธานาธิบดีและรองขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา
จอห์น ควินซี อดัมส์ ประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสหรัฐ
ค.ศ. 1824 การต่อรองทุจริต
ในการเลือกตั้งปี 1824 นายแอนดรูว์ แจ็คสัน ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชน หรือป๊อปปูลาร์โหวต มากที่สุด และได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งมากที่สุด ที่ 99 คะแนนเหนือกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ อีก 3 คน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น ควินซี อดัมส์ ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 ที่ 84 คะแนน ตามด้วย วิลเลียม ครอว์ฟอร์ด 41 คะแนน และ เฮนรี เคลย์ 37 คะแนน
แต่ในยุคนั้นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีจำเป็นต้องได้รับเสียงข้างมาก ซึ่งไม่มีใครบรรลุเงื่อนไขดังกล่าวได้ สภาผู้แทนราษฎรจึงต้องเข้ามาตัดสิน โดยตัดอันดับสุดท้ายอย่างนายเคลย์ออกไป ขณะที่นายครอว์ฟอร์ดล้มป่วยจนต้องถอนตัว นายแจ็คสันซึ่งได้ทั้งคะแนน ป๊อปปูลาร์โหวต และ electoral vote เป็นอันดับ 1 คิดว่าตนเองจะเป็นผู้ชนะแน่แล้ว แต่เหตุไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น
ด้วยอิทธิพลของนายเคลย์ ซึ่งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ฝ่ายที่สนับสนุนเขาในสภาที่เรียกว่ากลุ่ม ‘Whig’ ซึ่งไม่ถูกกับนายแจ็คสันอยู่แล้ว เลือกเข้าข้างนายอดัมส์ ทำให้นายอดัมส์ได้รับชัยชนะในการลงมติ เป็นประธานาธิบดีคนต่อไปของสหรัฐฯ และอดัมส์ตอบแทนเคลย์ด้วยการแต่งตั้งเขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ทำให้นายแจ็คสันประณามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
กลายเป็นคำพูดอมตะที่ว่า "corrupt bargain" หรือ "การต่อรองทุจริต" ก่อนจะลาออกจากตำแหน่ง ส.ว.
อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐฯ
ค.ศ. 1860 เลือกตั้งแยกประเทศ
การเลือกตั้งปี 1860 เกิดขึ้นท่ามกลางการแบ่งแยกอย่างหนักระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ของสหรัฐฯ ในเรื่องการเป็นทาส ไม่เพียงเป็นการเลือกตั้งที่ยุ่งเหยิงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ แต่ยังแบ่งสหรัฐฯ เป็น 2 ประเทศด้วย โดยผู้ชนะอย่างลินคอล์น ซึ่งเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันมีจุดยืนต่อการมีทาสในดินแดนใหม่ทางตะวันตกของสหรัฐฯ ไม่มีชื่อในบัตรเลือกตั้งในรัฐทางใต้ส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ
ขณะที่เดโมแครตส่ง ส.ว. สตีเฟน ดั๊กลาส เป็นตัวแทน ส่วนพรรคเดโมแครตฝ่ายใต้เลือกรองประธานาธิบดี จอห์น จอห์น เบรกคินริดจ์ เป็นตัวแทน ขณะที่ส.ว. จอห์น เบล์ จากเทนเนสซี เป็นตัวแทนพรรคใหม่อย่าง สหภาพรัฐธรรมนูญ
ในท้ายที่สุด
นายลินคอล์นเป็นผู้ชนะ ได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งในภาคเหนือทั้งหมด แม้ได้ป๊อปปูลาร์ โหวต เพียง 40% ไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น ความกังวลว่าชัยชนะของรีพับลิกันจะทำให้เกิดการเลิกทาส ทำให้ฝ่ายใต้ตัดสินใจแยกตัว เริ่มจากรัฐเซาท์ แคโรไลนา ตามด้วยอีก 6 รัฐ ก่อตั้งเป็น สมาพันธรัฐอเมริกา ในปี 1861 มีนายเจฟเฟอร์สัน เดวิส เป็นประธานาธิบดี นำไปสู่สงครามกลางเมือง
รุทเธอร์ฟอร์ด บี. เฮย์ส ประธานาธิบดีคนที่ 19 ของสหรัฐฯ
ค.ศ. 1876 สมประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย
ภายหลังสงครามกลางเมืองดังกล่าว ฝ่ายใต้พ่ายแพ้และถูกปกครองโดยรัฐบาลกลางรีพับลิกัน ซึ่งพยายามจะสร้างระบบการเมืองและเศรษฐกิจในแดนใต้ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่เคยสำเร็จเพราะความแตกแยกระหว่างกลุ่มคนขาวฝ่ายใต้สายกลางและหัวรุนแรง ขณะที่เรื่องอื้อฉาวคดีคอร์รัปชันในรัฐบาลรีพับลิกัน ก็ทำให้เดโมแครตชนะเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรในปี 1874 นับเป็นครั้งแรกหลังสงครามกลางเมือง
ต่อมาในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 1876 ซามูเอล ทิลเดน จากเดโมแครต เอาชนะคู่แข่งอย่าง รุทเธอร์ฟอร์ด บี. เฮย์ส จากรีพับลิกัน ไปได้อย่างง่ายดายโดย electoral vote นำอยู่ 19 คะแนน แต่เขาขาดไปเพียง 1 คะแนน เท่านั้นจะถึงเป้าหมายที่ 185 เพื่อคว้าตำแหน่งประธานาธิบดี
ในเวลานั้น 4 รัฐทางใต้ซึ่งมี electoral vote ถึง 20 คะแนน ไม่ได้ส่งคะแนนเข้าร่วมเพราะยังขัดแย้งในเรื่องผลการนับคะแนน ท่ามกลางข้อกล่าวหาเรื่องการโกง ทำให้สภาคองเกรสเข้ามาแก้ปัญหา ด้วยการตั้งคณะกรรมการ 15 คนในปี 1877 ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของนาย เฮย์ส เป็นประธานาธิบดีคนที่ 19 ของสหรัฐฯ
แต่หลังฉาก
ผู้นำฝ่ายใต้แอบไปทำข้อตกลงกับผู้สนับสนุนนายเฮย์สไว้แล้ว และมอบคะแนนของ 3 ใน 4 รัฐปัญหาดังกล่าวให้นายเฮย์ส แบกเขาไปสู่ชัยชนะ โดยประธานาธิบดีคนใหม่ตกลงถอนกำลังทหารรัฐบาลกลางที่ประจำการอยู่ในอดีตสมาพันธรัฐฯ และฟื้นฟูการปกครองตนเองของดินแดนทางใต้กลับมา
อัล กอร์ กับ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
ค.ศ. 2000 ใช้บริการศาลสูงสุดครั้งแรก
ปี 2000 เป็นครั้งแรกี่ศาลสูงสุดต้องเป็นผู้ตัดสินผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลังจากการชิงชัยกันระหว่าง จอร์จ ดับเบิลยู. บุช จากรีพับลิกัน และรองประธานาธิบดี อัล กอร์ จากฝั่งเดโมแครต ต้องมาวัดกันที่ใครจะได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 25 เสียงที่รัฐฟลอริดา
ในช่วงแรก
สื่อต่างๆ ประกาศให้อัล กอร์ ชนะหลังปิดหีบ แต่ในคืนวันเลือกตั้ง สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปเมื่อคะแนนของบุชเพิ่มสูงขึ้น ต่อมาในช่วงเช้า ผลการนับคะแนนกลับพบว่า บุช พลิกขึ้นนำ อัล กอร์ ไม่กี่พันคะแนน ทำให้รองประธานาธิบดีเรียกร้องให้มีการนับคะแนนใน 4 เขตใหญ่ของฟลอริดาใหม่ โดยใช้ระบบมือ ซึ่งกินเวลานานหลายสัปดาห์
หลังจากวันเลือกตั้ง
ผ่านไป 3 สัปดาห์ ในขณะที่การนับคะแนนใหม่กำลังดำเนินต่อไป จู่ๆ รัฐฟลอริดาก็ประกาศให้บุชชนะในวันที่ 26 พ.ย. โดยคะแนนห่างกันแค่ 537 โหวต ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยที่นายอัล กอร์ ยื่นฟ้องร้องต่อศาลฟลอริดา เรียกร้องให้นับคะแนนต่อ ซึ่งศาลสูงสุดฟลอริดาตัดสินให้ตามนั้น ทำให้บุชไปยื่นฟ้องศาลสูงสุดของรัฐบาลกลาง เพื่อขอให้กลับคำตัดสินของศาลฟลอริดา
ในวันที่ 12 ธ.ค. ศาลสูงสุดมีคำสั่งให้ฟลอริดาหยุดนับคะแนนเลือกตั้ง โดยตัดสินว่า การนับบัตรเลือกตั้งด้วยวิธีที่แตกต่างกันจากเขตอื่นๆ เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งอัล กอร์ ยอมรับคำตัดสิน และประกาศยอมแพ้ให้นายบุชเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ผู้มีคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตน้อยกว่า ชนะเลือกตั้ง
โดนัลด์ ทรัมป์ กับ ฮิลลารี คลินตัน
ค.ศ. 2016 ทรัมป์ชนะเฉย!
เมื่อมีครั้งแรกก็ย่อมมีครั้งที่ 2 การชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ มหาเศรษฐีฝีปากกล้า ตัวแทนฝ่ายเดโมแครต และ ฮิลลารี คลินตัน อดีตสุภาพสตรีหมายเลข 1 และรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลโอบามา ในปี 2016 ก็จบลงโดยที่ผู้ชนะมีคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตน้อยกว่าเช่นกัน
การเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนมากมาย เช่น นายทรัมป์ ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน เดินหน้าหาเสียงด้วยนโยบายประชานิยมอย่างหนัก ถึงขั้นเรียกร้องให้ห้ามชาวมุสลิมเข้าประเทศ และบอกว่าชาวเม็กซิกันเป็นพวกข่มขืน เขายังถูกคลิปเสียงแฉว่า พูดอวดเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิงในปี 2005 จนแม้แต่พรรครีพับลิกันซึ่งอยู่ฝ่ายเดียวกัน ยังออกมาประณาม
ตลอดเส้นทางหาเสียงไปจนถึงวันเลือกตั้ง นายทรัมป์มีคะแนนในผลสำรวจทั่วประเทศตามหลังนางคลินตันมาตลอด แต่ในท้ายที่สุดทรัมป์กลับคว้าชัยชนะในรัฐสมรภูมิสำคัญในภูมิภาคมิดเวสต์ได้ ทำให้เขามีคะแนน electoral vote ถึง 270 คะแนนก่อน ส่งผลให้เขาเป็นผู้ชนะ ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของประเทศ
ความวุ่นวายในการเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่จบแค่นั้น หลังจากนายทรัมป์สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ 20 ม.ค. 2017 ได้เพียงวันเดียว ประชาชนจำนวนมากกว่า 5 ล้านคน ก็ออกมาเดินขบวนประท้วงทั่วประเทศ โดยใช้ชื่อว่า ‘Women’ March’ และตลอดการบริหาร 4 ปีที่ผ่านมา ทีมหาเสียงของนายทรัมป์หลายคนตกเป็นผู้ต้องสงสัยสมรู้ร่วมคิดกัน
ผู้เขียน: H2O
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1970495
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่การเลือกตั้ง.. เมกาวุ่นวาย ก็เคยมีสงครามกลางเมือง
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดระหว่างนายโจ ไบเดน กับ โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นหนึ่งในการเลือกตั้งที่สูสีและยุ่งเหยิงมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
ในอดีตที่ผ่านมา สหรัฐฯ เคยมีการเลือกตั้งอย่างน้อย 6 ครั้งที่เป็นข้อถกเถียงมากที่สุด และบางครั้งก็ไปจบลงที่คำตัดสินของศาล
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งที่ 59 ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ กับ โจ ไบเดน กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในการเลือกตั้งที่มีข้อถกเถียงเรื่องผลเลือกตั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ โดยผลการนับคะแนนชี้ว่า ผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครต มีคะแนนนำในหลายรัฐสำคัญ และคาดว่าจะคว้าคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง หรือ electoral vote ถึง 270 คะแนนได้ก่อน ซึ่งจะทำให้เขาเป็นผู้ชนะ
แต่มีหรือที่ประธานาธิบดีทรัมป์ จะยอมง่ายๆ เขาสั่งให้ทีมหาเสียงยื่นฟ้องร้องต่อศาลในรัฐสวิงสเตทสำคัญอย่าง เพนซิลเวเนีย, มิชิแกน และ จอร์เจีย เพื่อขอให้หยุดการนับคะแนนเสียง เนื่องจากไบเดนมีคะแนนตีตื้นเขาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ขณะที่ยื่นคำร้องขอให้มีการนับคะแนนใหม่ที่รัฐวิสคอนซิน ที่เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งคราวก่อน แต่ครั้งนี้ชาววิสคอนซินส่วนใหญ่เลือกฝั่งเดโมแครต
ถ้าในท้ายที่สุด นายทรัมป์เป็นผู้ชนะ การเลือกตั้งครั้งนี้ก็คงจะจบลงไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากนัก แต่หากนายไบเดนเป็นผู้ชนะขึ้นมา มั่นใจได้เลยว่าฝั่งนายทรัมป์จะดำเนินการฟ้องร้องขนานใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องบัตรเลือกตั้งที่ส่งผ่านทางไปรษณีย์ ซึ่งเขากล่าวหามาตลอดช่วงการหาเสียงว่า การเลือกตั้งแบบนี้เสี่ยงต่อการโกง และในปีนี้มีผู้ใช้สิทธิ์ล่วงหน้าด้วยวิธีนี้หลายสิบล้านคน เพราะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วย
การฟ้องร้องของนายทรัมป์ อาจทำให้เกิดการนับคะแนนใหม่ อาจทำให้บัตรเลือกตั้งทางไปรษณีย์ส่งมาถึงหน่วยเลือกตั้งหลังวันที่ 3 พ.ย. ไม่ถูกนับรวมไปด้วย ทำให้การนับคะแนนซับซ้อนยิ่งขึ้น และหากผลคะแนนพลิกกลับเข้าหานายทรัมป์ ฝั่งนายไบเดนซึ่งควรจะเป็นผู้ชนะก็คงไม่ยอมอยู่เฉยๆ จนเกิดการฟ้องร้องตอบโต้กันไปมา จนสุดท้ายอาจไปจบที่ศาลสูงสุด
แน่นอนว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยุ่งเหยิงวุ่นวายขนาดนี้ ตลอดประวัติศาสตร์กว่า 200 ปีที่ผ่านมาของสหรัฐฯ พวกเขาเผชิญการเลือกตั้งที่เป็นข้อถกเถียงที่สุดมาแล้วอย่างน้อย 6 ครั้ง ดังต่อไปนี้
โธมัส เจฟเฟอร์สัน ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐฯ
ค.ศ.1800 ความขัดแย้งครั้งแรก
ก่อนการแก้รัฐธรรมนูญครั้งที่ 12 สมาชิกคณะผู้เลือกตั้งมีคนละ 2 คะแนนสำหรับเลือกประธานาธิบดี ใครก็ตามที่ได้รับคะแนน electoral vote มากที่สุดจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่วนอันดับ 2 จะได้เป็นรองประธานาธิบดี แต่ในปี 1800 โธมัส เจฟเฟอร์สัน ได้คะแนน electoral vote 73 คะแนนเท่ากับ แอรอน เบอร์ กลายเป็นความขัดแย้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญยุคนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นผู้โหวตเลือกว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สภาเริ่มโหวตในเดือนกุมภาพันธ์ 1801 แต่ไม่มีใครได้รับการสนับสนุนเกิน 8 จากทั้งหมด 16 รัฐในเวลานั้นเลย เหล่าส.ส.ใช้เวลานับสัปดาห์ จัดการลงมติถึง 35 ครั้ง ก็ยังไม่ได้ผู้ชนะ กระทั่งในครั้งที่ 36 นายเจฟเฟอร์สันก็ได้รับการสนับสนุนครบ 10 รัฐ กลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของประเทศ
ผลจากการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 12 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีคะแนน electoral vote เสมอกันอีก ในปี 1804 และกำหนดให้มีการโหวตเลือกรองประธานาธิบดีแยกต่างหาก ทำให้เกิดระบบพรรค และบัตรลงคะแนนเสียงรวมทั้งประธานาธิบดีและรองขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา
จอห์น ควินซี อดัมส์ ประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสหรัฐ
ค.ศ. 1824 การต่อรองทุจริต
ในการเลือกตั้งปี 1824 นายแอนดรูว์ แจ็คสัน ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชน หรือป๊อปปูลาร์โหวต มากที่สุด และได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งมากที่สุด ที่ 99 คะแนนเหนือกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ อีก 3 คน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น ควินซี อดัมส์ ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 ที่ 84 คะแนน ตามด้วย วิลเลียม ครอว์ฟอร์ด 41 คะแนน และ เฮนรี เคลย์ 37 คะแนน
แต่ในยุคนั้นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีจำเป็นต้องได้รับเสียงข้างมาก ซึ่งไม่มีใครบรรลุเงื่อนไขดังกล่าวได้ สภาผู้แทนราษฎรจึงต้องเข้ามาตัดสิน โดยตัดอันดับสุดท้ายอย่างนายเคลย์ออกไป ขณะที่นายครอว์ฟอร์ดล้มป่วยจนต้องถอนตัว นายแจ็คสันซึ่งได้ทั้งคะแนน ป๊อปปูลาร์โหวต และ electoral vote เป็นอันดับ 1 คิดว่าตนเองจะเป็นผู้ชนะแน่แล้ว แต่เหตุไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น
ด้วยอิทธิพลของนายเคลย์ ซึ่งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ฝ่ายที่สนับสนุนเขาในสภาที่เรียกว่ากลุ่ม ‘Whig’ ซึ่งไม่ถูกกับนายแจ็คสันอยู่แล้ว เลือกเข้าข้างนายอดัมส์ ทำให้นายอดัมส์ได้รับชัยชนะในการลงมติ เป็นประธานาธิบดีคนต่อไปของสหรัฐฯ และอดัมส์ตอบแทนเคลย์ด้วยการแต่งตั้งเขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ทำให้นายแจ็คสันประณามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กลายเป็นคำพูดอมตะที่ว่า "corrupt bargain" หรือ "การต่อรองทุจริต" ก่อนจะลาออกจากตำแหน่ง ส.ว.
อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐฯ
ค.ศ. 1860 เลือกตั้งแยกประเทศ
การเลือกตั้งปี 1860 เกิดขึ้นท่ามกลางการแบ่งแยกอย่างหนักระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ของสหรัฐฯ ในเรื่องการเป็นทาส ไม่เพียงเป็นการเลือกตั้งที่ยุ่งเหยิงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ แต่ยังแบ่งสหรัฐฯ เป็น 2 ประเทศด้วย โดยผู้ชนะอย่างลินคอล์น ซึ่งเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันมีจุดยืนต่อการมีทาสในดินแดนใหม่ทางตะวันตกของสหรัฐฯ ไม่มีชื่อในบัตรเลือกตั้งในรัฐทางใต้ส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ
ขณะที่เดโมแครตส่ง ส.ว. สตีเฟน ดั๊กลาส เป็นตัวแทน ส่วนพรรคเดโมแครตฝ่ายใต้เลือกรองประธานาธิบดี จอห์น จอห์น เบรกคินริดจ์ เป็นตัวแทน ขณะที่ส.ว. จอห์น เบล์ จากเทนเนสซี เป็นตัวแทนพรรคใหม่อย่าง สหภาพรัฐธรรมนูญ
ในท้ายที่สุด นายลินคอล์นเป็นผู้ชนะ ได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งในภาคเหนือทั้งหมด แม้ได้ป๊อปปูลาร์ โหวต เพียง 40% ไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น ความกังวลว่าชัยชนะของรีพับลิกันจะทำให้เกิดการเลิกทาส ทำให้ฝ่ายใต้ตัดสินใจแยกตัว เริ่มจากรัฐเซาท์ แคโรไลนา ตามด้วยอีก 6 รัฐ ก่อตั้งเป็น สมาพันธรัฐอเมริกา ในปี 1861 มีนายเจฟเฟอร์สัน เดวิส เป็นประธานาธิบดี นำไปสู่สงครามกลางเมือง
รุทเธอร์ฟอร์ด บี. เฮย์ส ประธานาธิบดีคนที่ 19 ของสหรัฐฯ
ค.ศ. 1876 สมประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย
ภายหลังสงครามกลางเมืองดังกล่าว ฝ่ายใต้พ่ายแพ้และถูกปกครองโดยรัฐบาลกลางรีพับลิกัน ซึ่งพยายามจะสร้างระบบการเมืองและเศรษฐกิจในแดนใต้ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่เคยสำเร็จเพราะความแตกแยกระหว่างกลุ่มคนขาวฝ่ายใต้สายกลางและหัวรุนแรง ขณะที่เรื่องอื้อฉาวคดีคอร์รัปชันในรัฐบาลรีพับลิกัน ก็ทำให้เดโมแครตชนะเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรในปี 1874 นับเป็นครั้งแรกหลังสงครามกลางเมือง
ต่อมาในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 1876 ซามูเอล ทิลเดน จากเดโมแครต เอาชนะคู่แข่งอย่าง รุทเธอร์ฟอร์ด บี. เฮย์ส จากรีพับลิกัน ไปได้อย่างง่ายดายโดย electoral vote นำอยู่ 19 คะแนน แต่เขาขาดไปเพียง 1 คะแนน เท่านั้นจะถึงเป้าหมายที่ 185 เพื่อคว้าตำแหน่งประธานาธิบดี
ในเวลานั้น 4 รัฐทางใต้ซึ่งมี electoral vote ถึง 20 คะแนน ไม่ได้ส่งคะแนนเข้าร่วมเพราะยังขัดแย้งในเรื่องผลการนับคะแนน ท่ามกลางข้อกล่าวหาเรื่องการโกง ทำให้สภาคองเกรสเข้ามาแก้ปัญหา ด้วยการตั้งคณะกรรมการ 15 คนในปี 1877 ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของนาย เฮย์ส เป็นประธานาธิบดีคนที่ 19 ของสหรัฐฯ
แต่หลังฉาก ผู้นำฝ่ายใต้แอบไปทำข้อตกลงกับผู้สนับสนุนนายเฮย์สไว้แล้ว และมอบคะแนนของ 3 ใน 4 รัฐปัญหาดังกล่าวให้นายเฮย์ส แบกเขาไปสู่ชัยชนะ โดยประธานาธิบดีคนใหม่ตกลงถอนกำลังทหารรัฐบาลกลางที่ประจำการอยู่ในอดีตสมาพันธรัฐฯ และฟื้นฟูการปกครองตนเองของดินแดนทางใต้กลับมา
อัล กอร์ กับ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
ค.ศ. 2000 ใช้บริการศาลสูงสุดครั้งแรก
ปี 2000 เป็นครั้งแรกี่ศาลสูงสุดต้องเป็นผู้ตัดสินผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลังจากการชิงชัยกันระหว่าง จอร์จ ดับเบิลยู. บุช จากรีพับลิกัน และรองประธานาธิบดี อัล กอร์ จากฝั่งเดโมแครต ต้องมาวัดกันที่ใครจะได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 25 เสียงที่รัฐฟลอริดา
ในช่วงแรก สื่อต่างๆ ประกาศให้อัล กอร์ ชนะหลังปิดหีบ แต่ในคืนวันเลือกตั้ง สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปเมื่อคะแนนของบุชเพิ่มสูงขึ้น ต่อมาในช่วงเช้า ผลการนับคะแนนกลับพบว่า บุช พลิกขึ้นนำ อัล กอร์ ไม่กี่พันคะแนน ทำให้รองประธานาธิบดีเรียกร้องให้มีการนับคะแนนใน 4 เขตใหญ่ของฟลอริดาใหม่ โดยใช้ระบบมือ ซึ่งกินเวลานานหลายสัปดาห์
หลังจากวันเลือกตั้ง ผ่านไป 3 สัปดาห์ ในขณะที่การนับคะแนนใหม่กำลังดำเนินต่อไป จู่ๆ รัฐฟลอริดาก็ประกาศให้บุชชนะในวันที่ 26 พ.ย. โดยคะแนนห่างกันแค่ 537 โหวต ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยที่นายอัล กอร์ ยื่นฟ้องร้องต่อศาลฟลอริดา เรียกร้องให้นับคะแนนต่อ ซึ่งศาลสูงสุดฟลอริดาตัดสินให้ตามนั้น ทำให้บุชไปยื่นฟ้องศาลสูงสุดของรัฐบาลกลาง เพื่อขอให้กลับคำตัดสินของศาลฟลอริดา
ในวันที่ 12 ธ.ค. ศาลสูงสุดมีคำสั่งให้ฟลอริดาหยุดนับคะแนนเลือกตั้ง โดยตัดสินว่า การนับบัตรเลือกตั้งด้วยวิธีที่แตกต่างกันจากเขตอื่นๆ เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งอัล กอร์ ยอมรับคำตัดสิน และประกาศยอมแพ้ให้นายบุชเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ผู้มีคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตน้อยกว่า ชนะเลือกตั้ง
โดนัลด์ ทรัมป์ กับ ฮิลลารี คลินตัน
ค.ศ. 2016 ทรัมป์ชนะเฉย!
เมื่อมีครั้งแรกก็ย่อมมีครั้งที่ 2 การชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ มหาเศรษฐีฝีปากกล้า ตัวแทนฝ่ายเดโมแครต และ ฮิลลารี คลินตัน อดีตสุภาพสตรีหมายเลข 1 และรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลโอบามา ในปี 2016 ก็จบลงโดยที่ผู้ชนะมีคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตน้อยกว่าเช่นกัน
การเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนมากมาย เช่น นายทรัมป์ ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน เดินหน้าหาเสียงด้วยนโยบายประชานิยมอย่างหนัก ถึงขั้นเรียกร้องให้ห้ามชาวมุสลิมเข้าประเทศ และบอกว่าชาวเม็กซิกันเป็นพวกข่มขืน เขายังถูกคลิปเสียงแฉว่า พูดอวดเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิงในปี 2005 จนแม้แต่พรรครีพับลิกันซึ่งอยู่ฝ่ายเดียวกัน ยังออกมาประณาม
ตลอดเส้นทางหาเสียงไปจนถึงวันเลือกตั้ง นายทรัมป์มีคะแนนในผลสำรวจทั่วประเทศตามหลังนางคลินตันมาตลอด แต่ในท้ายที่สุดทรัมป์กลับคว้าชัยชนะในรัฐสมรภูมิสำคัญในภูมิภาคมิดเวสต์ได้ ทำให้เขามีคะแนน electoral vote ถึง 270 คะแนนก่อน ส่งผลให้เขาเป็นผู้ชนะ ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของประเทศ
ความวุ่นวายในการเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่จบแค่นั้น หลังจากนายทรัมป์สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ 20 ม.ค. 2017 ได้เพียงวันเดียว ประชาชนจำนวนมากกว่า 5 ล้านคน ก็ออกมาเดินขบวนประท้วงทั่วประเทศ โดยใช้ชื่อว่า ‘Women’ March’ และตลอดการบริหาร 4 ปีที่ผ่านมา ทีมหาเสียงของนายทรัมป์หลายคนตกเป็นผู้ต้องสงสัยสมรู้ร่วมคิดกัน
ผู้เขียน: H2O https://www.thairath.co.th/news/foreign/1970495