กระทู้นี้อาจจะเป็นกระทู้ที่ขัดใจคนส่วนใหญ่สักนิดนึง เพราะอันนี้เป็นไอเดียที่ฉีกกระแสที่คนไทย หรือคนทั่วโลกที่จะให้ความสำคัญกับการตั้ง New Year's Resolution เพื่อเป็นการบอกกับตัวเองว่าในปีนี้เราจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราจะต้องเป็นคนใหม่ให้ได้ ! แต่รู้มั้ยว่าจริงๆแล้ว เราอาจจะไม่จำเป็นต้องตั้ง New Year’s Resolution กันเลยก็ได้ ตามความเห็นของเว็บไซต์ SavingAdvice.com เพราะเหตุนี้ครับ ...
1. เป็นข้ออ้างการไม่เริ่มทำอะไร
ทุกๆปีพอช่วง ตุลาคม ถึง ธันวาคม จะเป็นช่วงที่ตัวขี้เกียจเกาะหลังกันแน่ๆ ทำเลยทำให้เกิดนิสัย “พลัดวันประกันพรุ่ง” ขึ้นมา ในช่วงปลายปีเป็นช่วงที่เราไม่ทำอะไร ก็เอาแต่คิดว่าเดี๋ยวปีใหม่แล้วเรามาเริ่มต้นกัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเราอยากจะเปลี่ยนอะไร ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ เดี๋ยวนี้ ตอนนี้ต่างหากละ !!
2. มีโอกาสที่จะล้มเลิกง่ายเกินไป
ไม่มีใครเปลี่ยนตัวเองได้เมื่อเราเปลี่ยนปีแน่นอน คนเรานิสัยเป็นแบบไหนแนวโน้มในอนาคตก็จะกลับมาที่เดิม แต่ถ้าเราอยากเปลี่ยนอะไรต้องเริ่มจากค่อยๆลงมือเปลี่ยนไปเรื่อยๆต่างหาก เช่น อยู่ดีๆเราติดกาแฟ ติดของหวานมากๆ แล้วปีใหม่มาจะให้เลิกทันที ก็คงยากมากเลยนะ แต่สิ่งที่เราควรทำก็คือ ค่อยๆลดปริมาณลงไปเรื่อยๆ จนเราไม่อยากกินมันต่างหาก
3. เราจะขาดการวางแผนที่ดี
เวลาที่อยากจะเปลี่ยนอะไรสักอย่างหรือตั้งใจทำอะไรสักอย่าง ควรมีการเตรียมตัวให้ดีเสมอ ตัวอย่างเช่น เราจะลดน้ำหนักให้ได้ เค้าเชื่อว่ามากกว่า 50% ต้องมีข้อนี้อยู่ในลิสต์แน่ๆ การลดน้ำหนักแบบผิดวิธีจะทำให้เราเหนื่อยฟรี และไม่เห็นผลอย่างที่เราต้องการแน่นอน การลดน้ำหนักไม่ใช่การลดปริมาณอาหารที่กินเข้าไป แต่เป็นการควบคุมสิ่งที่เรากินเข้าไปและใช้ออกให้มากกว่าที่กินเข้าไปอย่างเหมาะสม ค่อยๆลดในระยะยาว แต่ถ้าเราไม่มีการเตรียมตัวศึกษาขั้นตอนการทำอย่างถูกต้อง บอกได้เลยว่าเราได้ยกไปทำอีกทีปีหน้าแน่ๆ
4. เป็นเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้
เวลาที่เราไฟแรงๆ โดยเฉพาะตอนมีอารมณ์อยากตั้งเป้าหมาย เราจะตั้งกันสูงมากจนบางทีเรียกว่า “เป็นไปไม่ได้” เลยก็ว่าได้ เราควรกลับมามองว่าเป็นจริงด้วยว่าอะไรคือความเหมาะสมและเป็นไปได้ เพราะอย่าลืมว่าการเดินเริ่มต้นที่ก้าวแรก ไม่ใช่อยู่ๆก็กระโดดไปจุดหมายได้เลย เช่น ตั้งเป้าว่าปีนี้จะโปะบ้านให้หมด !! ทั้งๆที่ในสัญญาเค้าห้ามโปะภายใน 3 ปี แล้วเราเพิ่งกู้มาปีที่แล้ว คำถามก็คือให้ตายเราก็โปะไม่ได้นั้นแหละ !!
5. แผนที่ดีต้องยืดหยุ่นได้
อย่าลืมว่าการวางแผน ไม่ใช่ใครวางแผนแล้วผลออกมาเป๊ะ 100% เลยนะ ถ้าทำได้แบบนั้นแนะนำให้ทำอาชีพเป็นหมอดูกันเถอะะะ 555 แต่สิ่งที่เค้าแนะนำก็คือ วางแผนให้มีช่องว่างของความผิดพลาดและเข้าใจมันบ้าง เช่น เราต้องใจจะลดน้ำหนักให้ได้เดือนละ 1 กิโลกรัมก็ไม่ใช่ว่าเดือนนี้ได้ 1 กิโลจริงๆ แล้วเดือนหน้าผลออกมาได้ 0.5 กิโล ก็ไปร้องไห้ฟูมฟายว่าเราไม่ได้เรื่องนะ ถ้าเป็นแบบนี้เดือนต่อไปเราก็ต้องพยายามให้มากขึ้นเพื่อชดเชย เป็นต้น แต่การลดน้ำหนักดูเป็นจำนวนกิโลเค้าก็ไม่แนะนำนะ เดี๋ยวนี้เราควรจะต้องวัดหุ่น เช่น รอบเอว รอบแขนดีกว่าาา
6. เป็นเป้าหมายที่เราไม่อยากได้จริงๆ
เป้าหมายที่ดีต้องเป็นเป้าหมายที่เราอยากได้จริงๆ ไม่ใช่เป้าหมายตามกระแสสังคมหรือเป็นเป้าหมายที่คนอื่นตั้งให้เรา เพราะช่วงปีใหม่บน New Feeds ก็เห็นคนประกาศ “New Year’s Resolution” ออกมากันเต็มไปหมด หลายๆอันก็เป็นเป้าหมายที่ใช้คำว่า “น่าลอก” ได้เลยนะ แต่พอมานั่งคิดๆ เราไม่ได้อยากได้จริงๆนี่หว่า แล้วพอเราไม่อยากได้จริงๆ หรือไม่อยากมีจริงๆ สุดท้ายก็พับโปรเจคล้มเลิกไปในที่สุดแหละ
7. เป้าหมายเยอะไป๊
อย่าลืมว่าคนเรามี 1 สมอง 2 เท้า 2 มือ และความสามารถในการโฟกัสของน้อยชิ้น การที่เป้าหมายเราเยอะเกินไป สุดท้าย “New Year’s Resolution 2017” ทั้งหมดก็มีโอกาสที่มียกไป “New Year’s Resolution 2018” เหมือนที่ “New Year’s Resolution 2016” ยกมา 2017 การมีเป้าหมายเยอะๆเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นสิ่งที่ดี แต่การมีมากจนเกินไปไม่เคยเป็นผลดีกับใครจะเท่าไหร่
8. อย่าลืมว่าทุกอย่างมีทั้งเป้ากระทบเชิงบวกและ “ผลกระทบเชิงลบ”
เวลาที่อยากทำอะไรเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าต้องมีอะไรที่น้อยลง เพราะเราจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นมากขึ้น ดังนั้นหน้าที่ของเราก็คือต้องสร้าง “สมดุล” ที่เหมาะสมให้ได้ ส่วนตัวอันนี้เคยอ่านเจอมาเค้าบอกว่าเราไม่สามารถทำ 3 อย่างนี้พร้อมกันได้คือ
1. สุขภาพ
2. ครอบครัว
3. หน้าที่การงาน
เราจะทำได้ให้สุดยอดได้เพียง 2 อย่างเท่านั้น และอีก 1 อย่าง เราจะไม่ได้สามารถทำได้หรืออย่างแย่ที่สุดคือเราจะทิ้งมันเลย ส่วนตัวก็แอบเชื่อนิดๆเหมือนกันนะว่าเป็นแบบนั้น เพราะเวลามีจำกัด เราต้องบริหารให้ดี จะทำยังไงให้เกิดสมดุลให้ได้
9. เป้าหมายที่ไม่มีบทลงโทษ ไม่มีวันสำเร็จ
เพราะส่วนใหญ่เวลาที่เราตั้ง “New Year’s Resolution” ไว้เราจะไม่ได้กำหนดบทลงโทษไว้ด้วยว่าถ้าเราทำไม่ได้จะเป็นยังไง ? พอไม่มีบทลงโทษที่รุนแรงพอ พอถึงเวลาที่เรากำลังคิดว่าเราจะทำต่อ หรือว่าเลิกทำ เราก็มีแนวโน้มที่จะเลือกทางเลือก “เลิกทำ” มากกว่าแน่นอน !
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงอีกมุมมองที่น่าสนใจ แต่การมี “New Year’s Resolution” ส่วนตัวผมก็สนับสนุนอยู่แล้วให้มี แต่การเอาไปปรับใช้ให้มันได้จริงๆ อย่าให้ “New Year’s Resolution 2018” เหมือนปี 2017 อย่างที่ 2017 เหมือนปี 2016 น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดนะครับ
หรือใครมีไอเดียแตกต่างกันออกไป สามารถนำมาแชร์กันได้ครับ
ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
www.moneybuffalo.in.th หรือ
FB Page :
fb.com/moneybuffalo
LINE :
http://bit.ly/29bCfy4
* ไอเดียบทความต้นฉบับจาก SavingAdvice.com
ไม่ต้องตั้งหรอก New Year's Resolution !
กระทู้นี้อาจจะเป็นกระทู้ที่ขัดใจคนส่วนใหญ่สักนิดนึง เพราะอันนี้เป็นไอเดียที่ฉีกกระแสที่คนไทย หรือคนทั่วโลกที่จะให้ความสำคัญกับการตั้ง New Year's Resolution เพื่อเป็นการบอกกับตัวเองว่าในปีนี้เราจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราจะต้องเป็นคนใหม่ให้ได้ ! แต่รู้มั้ยว่าจริงๆแล้ว เราอาจจะไม่จำเป็นต้องตั้ง New Year’s Resolution กันเลยก็ได้ ตามความเห็นของเว็บไซต์ SavingAdvice.com เพราะเหตุนี้ครับ ...
1. เป็นข้ออ้างการไม่เริ่มทำอะไร
ทุกๆปีพอช่วง ตุลาคม ถึง ธันวาคม จะเป็นช่วงที่ตัวขี้เกียจเกาะหลังกันแน่ๆ ทำเลยทำให้เกิดนิสัย “พลัดวันประกันพรุ่ง” ขึ้นมา ในช่วงปลายปีเป็นช่วงที่เราไม่ทำอะไร ก็เอาแต่คิดว่าเดี๋ยวปีใหม่แล้วเรามาเริ่มต้นกัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเราอยากจะเปลี่ยนอะไร ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ เดี๋ยวนี้ ตอนนี้ต่างหากละ !!
2. มีโอกาสที่จะล้มเลิกง่ายเกินไป
ไม่มีใครเปลี่ยนตัวเองได้เมื่อเราเปลี่ยนปีแน่นอน คนเรานิสัยเป็นแบบไหนแนวโน้มในอนาคตก็จะกลับมาที่เดิม แต่ถ้าเราอยากเปลี่ยนอะไรต้องเริ่มจากค่อยๆลงมือเปลี่ยนไปเรื่อยๆต่างหาก เช่น อยู่ดีๆเราติดกาแฟ ติดของหวานมากๆ แล้วปีใหม่มาจะให้เลิกทันที ก็คงยากมากเลยนะ แต่สิ่งที่เราควรทำก็คือ ค่อยๆลดปริมาณลงไปเรื่อยๆ จนเราไม่อยากกินมันต่างหาก
3. เราจะขาดการวางแผนที่ดี
เวลาที่อยากจะเปลี่ยนอะไรสักอย่างหรือตั้งใจทำอะไรสักอย่าง ควรมีการเตรียมตัวให้ดีเสมอ ตัวอย่างเช่น เราจะลดน้ำหนักให้ได้ เค้าเชื่อว่ามากกว่า 50% ต้องมีข้อนี้อยู่ในลิสต์แน่ๆ การลดน้ำหนักแบบผิดวิธีจะทำให้เราเหนื่อยฟรี และไม่เห็นผลอย่างที่เราต้องการแน่นอน การลดน้ำหนักไม่ใช่การลดปริมาณอาหารที่กินเข้าไป แต่เป็นการควบคุมสิ่งที่เรากินเข้าไปและใช้ออกให้มากกว่าที่กินเข้าไปอย่างเหมาะสม ค่อยๆลดในระยะยาว แต่ถ้าเราไม่มีการเตรียมตัวศึกษาขั้นตอนการทำอย่างถูกต้อง บอกได้เลยว่าเราได้ยกไปทำอีกทีปีหน้าแน่ๆ
4. เป็นเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้
เวลาที่เราไฟแรงๆ โดยเฉพาะตอนมีอารมณ์อยากตั้งเป้าหมาย เราจะตั้งกันสูงมากจนบางทีเรียกว่า “เป็นไปไม่ได้” เลยก็ว่าได้ เราควรกลับมามองว่าเป็นจริงด้วยว่าอะไรคือความเหมาะสมและเป็นไปได้ เพราะอย่าลืมว่าการเดินเริ่มต้นที่ก้าวแรก ไม่ใช่อยู่ๆก็กระโดดไปจุดหมายได้เลย เช่น ตั้งเป้าว่าปีนี้จะโปะบ้านให้หมด !! ทั้งๆที่ในสัญญาเค้าห้ามโปะภายใน 3 ปี แล้วเราเพิ่งกู้มาปีที่แล้ว คำถามก็คือให้ตายเราก็โปะไม่ได้นั้นแหละ !!
5. แผนที่ดีต้องยืดหยุ่นได้
อย่าลืมว่าการวางแผน ไม่ใช่ใครวางแผนแล้วผลออกมาเป๊ะ 100% เลยนะ ถ้าทำได้แบบนั้นแนะนำให้ทำอาชีพเป็นหมอดูกันเถอะะะ 555 แต่สิ่งที่เค้าแนะนำก็คือ วางแผนให้มีช่องว่างของความผิดพลาดและเข้าใจมันบ้าง เช่น เราต้องใจจะลดน้ำหนักให้ได้เดือนละ 1 กิโลกรัมก็ไม่ใช่ว่าเดือนนี้ได้ 1 กิโลจริงๆ แล้วเดือนหน้าผลออกมาได้ 0.5 กิโล ก็ไปร้องไห้ฟูมฟายว่าเราไม่ได้เรื่องนะ ถ้าเป็นแบบนี้เดือนต่อไปเราก็ต้องพยายามให้มากขึ้นเพื่อชดเชย เป็นต้น แต่การลดน้ำหนักดูเป็นจำนวนกิโลเค้าก็ไม่แนะนำนะ เดี๋ยวนี้เราควรจะต้องวัดหุ่น เช่น รอบเอว รอบแขนดีกว่าาา
6. เป็นเป้าหมายที่เราไม่อยากได้จริงๆ
เป้าหมายที่ดีต้องเป็นเป้าหมายที่เราอยากได้จริงๆ ไม่ใช่เป้าหมายตามกระแสสังคมหรือเป็นเป้าหมายที่คนอื่นตั้งให้เรา เพราะช่วงปีใหม่บน New Feeds ก็เห็นคนประกาศ “New Year’s Resolution” ออกมากันเต็มไปหมด หลายๆอันก็เป็นเป้าหมายที่ใช้คำว่า “น่าลอก” ได้เลยนะ แต่พอมานั่งคิดๆ เราไม่ได้อยากได้จริงๆนี่หว่า แล้วพอเราไม่อยากได้จริงๆ หรือไม่อยากมีจริงๆ สุดท้ายก็พับโปรเจคล้มเลิกไปในที่สุดแหละ
7. เป้าหมายเยอะไป๊
อย่าลืมว่าคนเรามี 1 สมอง 2 เท้า 2 มือ และความสามารถในการโฟกัสของน้อยชิ้น การที่เป้าหมายเราเยอะเกินไป สุดท้าย “New Year’s Resolution 2017” ทั้งหมดก็มีโอกาสที่มียกไป “New Year’s Resolution 2018” เหมือนที่ “New Year’s Resolution 2016” ยกมา 2017 การมีเป้าหมายเยอะๆเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นสิ่งที่ดี แต่การมีมากจนเกินไปไม่เคยเป็นผลดีกับใครจะเท่าไหร่
8. อย่าลืมว่าทุกอย่างมีทั้งเป้ากระทบเชิงบวกและ “ผลกระทบเชิงลบ”
เวลาที่อยากทำอะไรเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าต้องมีอะไรที่น้อยลง เพราะเราจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นมากขึ้น ดังนั้นหน้าที่ของเราก็คือต้องสร้าง “สมดุล” ที่เหมาะสมให้ได้ ส่วนตัวอันนี้เคยอ่านเจอมาเค้าบอกว่าเราไม่สามารถทำ 3 อย่างนี้พร้อมกันได้คือ
1. สุขภาพ
2. ครอบครัว
3. หน้าที่การงาน
เราจะทำได้ให้สุดยอดได้เพียง 2 อย่างเท่านั้น และอีก 1 อย่าง เราจะไม่ได้สามารถทำได้หรืออย่างแย่ที่สุดคือเราจะทิ้งมันเลย ส่วนตัวก็แอบเชื่อนิดๆเหมือนกันนะว่าเป็นแบบนั้น เพราะเวลามีจำกัด เราต้องบริหารให้ดี จะทำยังไงให้เกิดสมดุลให้ได้
9. เป้าหมายที่ไม่มีบทลงโทษ ไม่มีวันสำเร็จ
เพราะส่วนใหญ่เวลาที่เราตั้ง “New Year’s Resolution” ไว้เราจะไม่ได้กำหนดบทลงโทษไว้ด้วยว่าถ้าเราทำไม่ได้จะเป็นยังไง ? พอไม่มีบทลงโทษที่รุนแรงพอ พอถึงเวลาที่เรากำลังคิดว่าเราจะทำต่อ หรือว่าเลิกทำ เราก็มีแนวโน้มที่จะเลือกทางเลือก “เลิกทำ” มากกว่าแน่นอน !
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงอีกมุมมองที่น่าสนใจ แต่การมี “New Year’s Resolution” ส่วนตัวผมก็สนับสนุนอยู่แล้วให้มี แต่การเอาไปปรับใช้ให้มันได้จริงๆ อย่าให้ “New Year’s Resolution 2018” เหมือนปี 2017 อย่างที่ 2017 เหมือนปี 2016 น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดนะครับ
หรือใครมีไอเดียแตกต่างกันออกไป สามารถนำมาแชร์กันได้ครับ
ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
www.moneybuffalo.in.th หรือ
FB Page : fb.com/moneybuffalo
LINE : http://bit.ly/29bCfy4
* ไอเดียบทความต้นฉบับจาก SavingAdvice.com