ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมได้ยินชื่อภูเขาไฟโบรโม่ และคาวา อีเจี้ยน บ่อยขึ้นๆ
จากทั้งรีวิวตามเน็ท และจากคนรอบข้างที่ได้ไปสัมผัสของจริงมา
แน่นอนว่าทุกเสียงร่ำลือ ล้วนมาพร้อมภาพสวยๆ ภาพของภูเขาไฟที่กำลังครุกรุ่น
มีควันพวยพุ่งออกมาจากปากปล่อง สูงขึ้นไปหลายเมตรบนท้องฟ้า
ภาพเหล่านั้นล้วนทำให้ผมอยากออกไปยืนอยู่ที่ปากปล่องภูเขาไฟ แล้วมอง “ลมหายใจของพื้นดิน” ด้วยสองตาของตัวเอง
การเดินทางเพื่อหวังจะไปถ่ายภาพภูเขาไฟของผม จึงเริ่มต้นขึ้น
……
ผมร่วมเดินทางไปกับกลุ่มเพื่อนช่างภาพที่จัดทริปถ่ายรูป
โดยการเดินทางของเราเริ่มต้นที่เกาะบาหลี (นั่งเครื่องบินไปลงที่ Denpasar //
https://goo.gl/maps/Ur5voCwDosD2 )
นั่งรถตู้ลัดเลาะไป และขึ้นเรือข้ามไปถึงเกาะชวา
ซึ่งหลังจากนี้ผมจะขอเล่าเน้นเฉพาะส่วนของการถ่ายภาพแต่ละจุดที่เราแวะ และเกร็ดความรู้ที่ผมได้มาเล็กๆน้อยๆละกันครับ
เพื่อเพื่อนๆคนไหนสนใจ อยากจะไปถ่ายภาพตามจุดเหล่านี้บ้างครับผม
เกร็ดความรู้!!
ที่เกาะบาหลี เวลาจะเร็วกว่าไทย 1 ชม. แต่เมื่อข้ามไปเกาะชวา เวลาจะกลับมาเท่าเวลาที่ไทย
จุดแรกที่เราแวะพักค้างคืนกัน คือโรงแรม Dewi Sinta ที่อยู่ติดกับวัดกลางน้ำ Tahna Lot (
https://goo.gl/maps/zoAwPGhiG5L2 )
วัด Tanah Lot เป็นวัดที่น่าจะโด่งดังอันดับต้นๆของบาหลี (นั่งรถมาจากสนามบินประมาณ 1 ชั่วโมง ครึ่ง)
โดยวัด Tanah Lot ถูกสร้างขึ้นประมาณ ค.ศ. ที่16 เพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งท้องทะเล
เราจึงเห็นได้ว่า ตัววัดถูกสร้างให้หันหน้าออกไปสู่ทะเล มีคลื่นซัดตลอดเวลาและเมื่อน้ำขึ้นสูงตัววัดจะถูกล้อมรอบไปด้วยน้ำทะเล
เราจะสามารถเดินข้ามไปฝั่งวัดได้ต่อเมื่อน้ำลงเท่านั้น
ปล. ไม่สามารถขึ้นไปบนวัดได้นะครับ แต่ใต้วัดจะมีถ้ำอยู่ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปได้ (ไม่รู้มีอะไรเหมือนกัน ไม่ได้ข้ามไป 555)
(211 sec., f/22, iso31)
ช่วงที่ผมไป มรสุมเข้าอินโดนีเซียพอดี ทำให้มีฝนตกตลอด และฟ้าหม่นๆ
แต่นักท่องเที่ยวที่มาจากทั่วทุกสารทิศ ก็ยังคงมากมายมหาศาลเดินกันแน่นชายหาด
(30 sec., f/22, iso100)
หากไปช่วงที่ฟ้าเปิด แสงดี พระอาทิตย์ตกที่นี่จะสวยมากเลยทีเดียว
ถ้าหันหลังให้ตัววัด Tanah Lot เราจะเจอหาดปิดเล็กๆที่เป็นอีกจุดที่สามารถถ่ายภาพได้
มีช่องหินโค้งๆ ซึ่งหากฟ้าเปิดแสงอาทิตย์จะสาดลอดช่องหินตอนพระอาทิตย์ตกพอดี
(30 sec., f/14, iso100)
แต่วันที่ผมไป มีแต่เมฆจร้าาา เลยถ่ายคนเล่นเซิร์ฟแทนไปก่อนละกัน
ปล. ตัวหาดด้านล่างสามารถเดินลงไปได้ครับ แต่ต้องระมัดระวังหน่อย
(1/320 sec., f/2.8, iso64)
เย็นวันแรกคนเยอะมากกก เราจึงถ่ายภาพกันนิดหน่อยแล้วตัดสินใจเดินมาถ่ายภาพกันใหม่ในช่วงเช้า
เพราะจากโรงแรมเดินมาแค่ประมาณ 5 นาทีก็ถึงวัด
(63 sec., f/16, iso50)
(449 sec., f/16, iso80)
(122 sec., f/18, iso50)
เช้าวันต่อมาเราเริ่มต้นกันด้วยการตั้งกล้องถ่ายดาวกันก่อน
(13 sec., f/4.5, iso3200)
ช่วงเช้าถ้าน้ำลง หันหน้าเข้าวัด ด้านซ้ายมือจะมีลานหินที่มีสาหร่ายและตะไคร่น้ำสีเขียวๆเกาะอยู่
สามารถเดินไปถ่ายภาพได้สวยแปลกตาเลยทีเดียว
(1/800 sec., f/2.8, iso100)
(1/800 sec., f/2.8, iso100)
เกร็ดความรู้!!
ที่บาหลี อาหารส่วนใหญ่เป็นไก่ และแพะ (หาวัว และหมูทานได้บางที่)
แต่ที่ชวา จะไม่ทานหมู
หลังจากถ่ายภาพเสร็จ เราออกเดินทางไปวัด Tirta empul (วัดอาบน้ำ)(
https://goo.gl/maps/Xzk34gjdEzN2 )
(นั่งรถมาจาก Tanah Lot ประมาณ 2 ชม.)
วัดอาบน้ำ เป็นวัดที่คนจะมาล้างตัวกันเพื่อชำระล้างสิ่งชั่วร้ายและขอพรกัน
โดยน้ำที่ไหลมาตามท่อนั้น ถูกสูบมาจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน
(1/250 sec., f/7.1, iso400)
(1/500 sec., f/2.8, iso400)
(1/250 sec., f/5.6, iso400)
(1/250 sec., f/3.5, iso400)
ภาพบริเวณที่อาบน้ำในวัด มีทั้งคนท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวเข้ามาอาบน้ำขอพรกัน
(1/640 sec., f/8, iso400)
บริเวณบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีน้ำผุดขึ้นมาตามธรรมชาติ
(1/400 sec., f/11, iso400)
(1/500 sec., f/2.8, iso400)
มุมสวยๆอื่นๆภายในวัด
เกร็ดความรู้!!
Salamat pagi แปลว่า สวัสดีตอนเช้า
Salamat siang แปลว่า สวัสดีตอนเที่ยง
Salamat sore แปลว่า สวัสดีตอนบ่าย
Salamat malam แปลว่า สวัสดีตอนเย็น/ ค่ำ
Salamat tidur แปลว่า ขอให้นอนหลับฝันดีนะจ๊ะ (ประมาณนั้น)
จุดหมายต่อไปที่เราจะแวะไปถ่ายรูปกันคือ นาขั้นบันได (Tegalalang Rice Terrace) ซึ่งอยู่แถว Tegalalang
(
https://goo.gl/maps/LqnXv8SexEG2 )
ห่างจากวัดอาบน้ำไปไม่ไกลนัก
บริเวณนาขั้นบนไดส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวนิยมมานั่งชมวิว ทานอาหารกัน
แต่ถ้าใครอยากลงไปถ่ายรูปในนาก็สามารถเดินลงไปได้ (อาจจะเจอคนเก็บเงินค่าเข้านิดหน่อย)
(HDR)
(1/400 sec., f/10, iso400)
(1/250 sec., f/9, iso400)
บริเวณนาขั้นบันได ถ้าฟ้าเปิดตอนพระอาทิตย์ตกฟ้าจะสวยมากก
(1/60 sec., f/2.8, iso320)
แมวน้อยเฝ้านา น่าร้ากกก
เกร็ดความรู้!!
เวลาขอบคุณ ใช้คำว่า Terima kasih (ออกเสียงคล้ายๆ ตรีมาคาซี)
อีกฝ่ายจะตอบว่า Sama-sama
จากนาขั้นบันไดเรานั่งรถต่อไปเพื่อไปค้างคืนกันแถววัด Bratan ซึ่งเป็นอีกวัดที่มีชื่อเสียงของเกาะบาหลี ตั้งอยู่ริมทะเลสาป Bratan
(
https://goo.gl/maps/nnnoRzLZPXC2 )
และตื่นแต่เช้ามืดเพื่อถ่ายภาพวัดบราตั้นคู่ดาว
(HDR)
เราถ่ายภาพวัด Bratan คู่แสงเช้าเสร็จแล้วเริ่มออกเดินทางกันต่อเพื่อนั่งเรือข้ามฝากไปเกาะชวา
โดยเราขึ้นเรือข้ามฟากกันที่ (
https://goo.gl/maps/meeUnsJMHoD2 )
และแน่นอน เมื่อเราขึ้นเกาะชวา ช่วงHighlight ของทริปนี้กำลังจะเริ่มต้นขึ้น นั่นคือการพิชิตปากปล่องภูเขาไฟ!!
(10 sec., f/5.6, iso800)
น้ำตกเล็กๆ ทางผ่านก่อนเข้าที่พัก (
https://goo.gl/maps/BymqpvMzSTw )
อ๊ะๆๆ ก่อนเราจะไปลงเอยกันที่ จุดหมายปลายทาง (ภูเขาไฟ Bromo)
เราจะไปพิชิตปากปล่องภูเขาไฟอันเลื่องชื่ออีกที่ของอินโดนีเซีย
นั่นคือ Kawah Ijen
โดยเราเลือกพักที่ โรงแรม Catimore Homestay Blawan (
https://goo.gl/maps/BziUA7ysZ352 )
ซึ่งเป็นโรงแรมที่ห่างจากทางขึ้นอีเจี้ยนประมาณ 30-40 นาที
(โรงแรมไม่ได้ดีมาก พออยู่ได้ แต่สะดวกต่อการเดินทางขึ้นอีเจี้ยนครับ ที่อื่นจะไกลกว่านี้)
เรามาถึงทางขึ้นภูเขาไฟ Kawah Ijen (
https://goo.gl/maps/ccwnpHhRxLw ) กันตอนตี 2
ใช้เวลาเดินขึ้นปากปล่องอีกประมาณ 2 ชม ฝ่าสายฝนขึ้นไปให้ถึงปากปล่องภูเขาไฟก่อนพระอาทิตย์จะขึ้นเพื่อถ่ายภาพ Blue Fire
(จากปากปล่องเดินต่ออีก 30 นาที เพิ่อลงไปบริเวณที่เกิด Blue fire)
เปลวไฟสีน้ำเงินที่พวยพุงออกมาจากพื้นดิน จะสามารถมองเห็นได้ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเท่านั้น
ปรากฏการณ์ Blue fire ที่ Ijen กินบริเวณกว้างที่สุดในโลก (อีกที่คือ Iceland) เกิดจากการเผาไหม้แก๊สกำมะถันที่มีความร้อนสูง
(1/5 sec., f/2.8, iso2500)
NOTE!!
ผมเคยได้ยินหลายๆคนบอกว่าในโลกนี้มีปรากฏการณ์ Blue fire 2 ที่ คือที่ Ijen และที่ Iceland
แต่ระหว่างที่ผมหาข้อมูลเกี่ยวกับ Blue fire กลับพบว่าเคยมีคนบันทึกภาพได้อีกที่หนึ่ง
เป็นดินแดนรกร้าง ห่างไกลในเอธิโอเปีย ชื่อว่า Ethiopia's Danakil Depression
ซึ่ง Blue fire เกิดขึ้นจากฝุ่นกำมะถันในดินเผาไหม้เมื่อเกิดการปะทุของภูเขาไฟ
(ภาพจาก
https://goo.gl/tgQxJX )
Kawah Ijen เป็นเหมืองกำมะถันที่ยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบัน บรรยากาศและ Landscape ที่นี่แปลกตากว่าที่เราคุ้นเคยกัน
กลุ่มควันสีเหลืองอ่อนพวยพุงขึ้นไปตัดกันทะเลสาปสีเขียวอมฟ้า และท้องฟ้าสีเข้ม สวยงามจนทำให้เราถ่ายภาพกันลืมเวลาไปเลย
สรุปว่าเราใช้เวลาตั้งแต่เดินขึ้นเขา จนเดินกลับลงมา 7 ชม. จร้าาา ขาแทบขาดดแต่สนุกมาก และสวยมากจริงๆ ได้รูปกลับมาเพียบ
(Panorama / 1/160 sec., f/8, iso125)
(1/160 sec., f/8, iso125)
(1/250 sec., f/7.1, iso400)
(1/200 sec., f/11, iso125)
(1/320 sec., f/4, iso250)
บรรดาลูกหาบผู้แข็งแกร่งแห่ง Kawah Ijen
(1/320 sec., f/4, iso250)
(1//200 sec., f/8, iso125)
(1/320 sec., f/5, iso400)
ชาวบ้านที่ยังคงทำเหมือนกำมะถันอยู่ที่ Kawah Ijen จะแบกก้อนกำมะถันหนักหลายสิบกิโลเดินกลับขึ้นไปที่ปากปล่องทุกวัน
[CR] ตามรอยจุดถ่ายภาพ Highlight บาหลี - ชวา
จากทั้งรีวิวตามเน็ท และจากคนรอบข้างที่ได้ไปสัมผัสของจริงมา
แน่นอนว่าทุกเสียงร่ำลือ ล้วนมาพร้อมภาพสวยๆ ภาพของภูเขาไฟที่กำลังครุกรุ่น
มีควันพวยพุ่งออกมาจากปากปล่อง สูงขึ้นไปหลายเมตรบนท้องฟ้า
ภาพเหล่านั้นล้วนทำให้ผมอยากออกไปยืนอยู่ที่ปากปล่องภูเขาไฟ แล้วมอง “ลมหายใจของพื้นดิน” ด้วยสองตาของตัวเอง
การเดินทางเพื่อหวังจะไปถ่ายภาพภูเขาไฟของผม จึงเริ่มต้นขึ้น
……
ผมร่วมเดินทางไปกับกลุ่มเพื่อนช่างภาพที่จัดทริปถ่ายรูป
โดยการเดินทางของเราเริ่มต้นที่เกาะบาหลี (นั่งเครื่องบินไปลงที่ Denpasar // https://goo.gl/maps/Ur5voCwDosD2 )
นั่งรถตู้ลัดเลาะไป และขึ้นเรือข้ามไปถึงเกาะชวา
ซึ่งหลังจากนี้ผมจะขอเล่าเน้นเฉพาะส่วนของการถ่ายภาพแต่ละจุดที่เราแวะ และเกร็ดความรู้ที่ผมได้มาเล็กๆน้อยๆละกันครับ
เพื่อเพื่อนๆคนไหนสนใจ อยากจะไปถ่ายภาพตามจุดเหล่านี้บ้างครับผม
เกร็ดความรู้!!
ที่เกาะบาหลี เวลาจะเร็วกว่าไทย 1 ชม. แต่เมื่อข้ามไปเกาะชวา เวลาจะกลับมาเท่าเวลาที่ไทย
จุดแรกที่เราแวะพักค้างคืนกัน คือโรงแรม Dewi Sinta ที่อยู่ติดกับวัดกลางน้ำ Tahna Lot ( https://goo.gl/maps/zoAwPGhiG5L2 )
วัด Tanah Lot เป็นวัดที่น่าจะโด่งดังอันดับต้นๆของบาหลี (นั่งรถมาจากสนามบินประมาณ 1 ชั่วโมง ครึ่ง)
โดยวัด Tanah Lot ถูกสร้างขึ้นประมาณ ค.ศ. ที่16 เพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งท้องทะเล
เราจึงเห็นได้ว่า ตัววัดถูกสร้างให้หันหน้าออกไปสู่ทะเล มีคลื่นซัดตลอดเวลาและเมื่อน้ำขึ้นสูงตัววัดจะถูกล้อมรอบไปด้วยน้ำทะเล
เราจะสามารถเดินข้ามไปฝั่งวัดได้ต่อเมื่อน้ำลงเท่านั้น
ปล. ไม่สามารถขึ้นไปบนวัดได้นะครับ แต่ใต้วัดจะมีถ้ำอยู่ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปได้ (ไม่รู้มีอะไรเหมือนกัน ไม่ได้ข้ามไป 555)
(211 sec., f/22, iso31)
ช่วงที่ผมไป มรสุมเข้าอินโดนีเซียพอดี ทำให้มีฝนตกตลอด และฟ้าหม่นๆ
แต่นักท่องเที่ยวที่มาจากทั่วทุกสารทิศ ก็ยังคงมากมายมหาศาลเดินกันแน่นชายหาด
(30 sec., f/22, iso100)
หากไปช่วงที่ฟ้าเปิด แสงดี พระอาทิตย์ตกที่นี่จะสวยมากเลยทีเดียว
ถ้าหันหลังให้ตัววัด Tanah Lot เราจะเจอหาดปิดเล็กๆที่เป็นอีกจุดที่สามารถถ่ายภาพได้
มีช่องหินโค้งๆ ซึ่งหากฟ้าเปิดแสงอาทิตย์จะสาดลอดช่องหินตอนพระอาทิตย์ตกพอดี
(30 sec., f/14, iso100)
แต่วันที่ผมไป มีแต่เมฆจร้าาา เลยถ่ายคนเล่นเซิร์ฟแทนไปก่อนละกัน
ปล. ตัวหาดด้านล่างสามารถเดินลงไปได้ครับ แต่ต้องระมัดระวังหน่อย
(1/320 sec., f/2.8, iso64)
เย็นวันแรกคนเยอะมากกก เราจึงถ่ายภาพกันนิดหน่อยแล้วตัดสินใจเดินมาถ่ายภาพกันใหม่ในช่วงเช้า
เพราะจากโรงแรมเดินมาแค่ประมาณ 5 นาทีก็ถึงวัด
(63 sec., f/16, iso50)
(449 sec., f/16, iso80)
(122 sec., f/18, iso50)
เช้าวันต่อมาเราเริ่มต้นกันด้วยการตั้งกล้องถ่ายดาวกันก่อน
(13 sec., f/4.5, iso3200)
ช่วงเช้าถ้าน้ำลง หันหน้าเข้าวัด ด้านซ้ายมือจะมีลานหินที่มีสาหร่ายและตะไคร่น้ำสีเขียวๆเกาะอยู่
สามารถเดินไปถ่ายภาพได้สวยแปลกตาเลยทีเดียว
(1/800 sec., f/2.8, iso100)
(1/800 sec., f/2.8, iso100)
เกร็ดความรู้!!
ที่บาหลี อาหารส่วนใหญ่เป็นไก่ และแพะ (หาวัว และหมูทานได้บางที่)
แต่ที่ชวา จะไม่ทานหมู
หลังจากถ่ายภาพเสร็จ เราออกเดินทางไปวัด Tirta empul (วัดอาบน้ำ)( https://goo.gl/maps/Xzk34gjdEzN2 )
(นั่งรถมาจาก Tanah Lot ประมาณ 2 ชม.)
วัดอาบน้ำ เป็นวัดที่คนจะมาล้างตัวกันเพื่อชำระล้างสิ่งชั่วร้ายและขอพรกัน
โดยน้ำที่ไหลมาตามท่อนั้น ถูกสูบมาจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน
(1/250 sec., f/7.1, iso400)
(1/500 sec., f/2.8, iso400)
(1/250 sec., f/5.6, iso400)
(1/250 sec., f/3.5, iso400)
ภาพบริเวณที่อาบน้ำในวัด มีทั้งคนท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวเข้ามาอาบน้ำขอพรกัน
(1/640 sec., f/8, iso400)
บริเวณบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีน้ำผุดขึ้นมาตามธรรมชาติ
(1/400 sec., f/11, iso400)
(1/500 sec., f/2.8, iso400)
มุมสวยๆอื่นๆภายในวัด
เกร็ดความรู้!!
Salamat pagi แปลว่า สวัสดีตอนเช้า
Salamat siang แปลว่า สวัสดีตอนเที่ยง
Salamat sore แปลว่า สวัสดีตอนบ่าย
Salamat malam แปลว่า สวัสดีตอนเย็น/ ค่ำ
Salamat tidur แปลว่า ขอให้นอนหลับฝันดีนะจ๊ะ (ประมาณนั้น)
จุดหมายต่อไปที่เราจะแวะไปถ่ายรูปกันคือ นาขั้นบันได (Tegalalang Rice Terrace) ซึ่งอยู่แถว Tegalalang
( https://goo.gl/maps/LqnXv8SexEG2 )
ห่างจากวัดอาบน้ำไปไม่ไกลนัก
บริเวณนาขั้นบนไดส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวนิยมมานั่งชมวิว ทานอาหารกัน
แต่ถ้าใครอยากลงไปถ่ายรูปในนาก็สามารถเดินลงไปได้ (อาจจะเจอคนเก็บเงินค่าเข้านิดหน่อย)
(HDR)
(1/400 sec., f/10, iso400)
(1/250 sec., f/9, iso400)
บริเวณนาขั้นบันได ถ้าฟ้าเปิดตอนพระอาทิตย์ตกฟ้าจะสวยมากก
(1/60 sec., f/2.8, iso320)
แมวน้อยเฝ้านา น่าร้ากกก
เกร็ดความรู้!!
เวลาขอบคุณ ใช้คำว่า Terima kasih (ออกเสียงคล้ายๆ ตรีมาคาซี)
อีกฝ่ายจะตอบว่า Sama-sama
จากนาขั้นบันไดเรานั่งรถต่อไปเพื่อไปค้างคืนกันแถววัด Bratan ซึ่งเป็นอีกวัดที่มีชื่อเสียงของเกาะบาหลี ตั้งอยู่ริมทะเลสาป Bratan
( https://goo.gl/maps/nnnoRzLZPXC2 )
และตื่นแต่เช้ามืดเพื่อถ่ายภาพวัดบราตั้นคู่ดาว
(HDR)
เราถ่ายภาพวัด Bratan คู่แสงเช้าเสร็จแล้วเริ่มออกเดินทางกันต่อเพื่อนั่งเรือข้ามฝากไปเกาะชวา
โดยเราขึ้นเรือข้ามฟากกันที่ ( https://goo.gl/maps/meeUnsJMHoD2 )
และแน่นอน เมื่อเราขึ้นเกาะชวา ช่วงHighlight ของทริปนี้กำลังจะเริ่มต้นขึ้น นั่นคือการพิชิตปากปล่องภูเขาไฟ!!
(10 sec., f/5.6, iso800)
น้ำตกเล็กๆ ทางผ่านก่อนเข้าที่พัก ( https://goo.gl/maps/BymqpvMzSTw )
อ๊ะๆๆ ก่อนเราจะไปลงเอยกันที่ จุดหมายปลายทาง (ภูเขาไฟ Bromo)
เราจะไปพิชิตปากปล่องภูเขาไฟอันเลื่องชื่ออีกที่ของอินโดนีเซีย
นั่นคือ Kawah Ijen
โดยเราเลือกพักที่ โรงแรม Catimore Homestay Blawan ( https://goo.gl/maps/BziUA7ysZ352 )
ซึ่งเป็นโรงแรมที่ห่างจากทางขึ้นอีเจี้ยนประมาณ 30-40 นาที
(โรงแรมไม่ได้ดีมาก พออยู่ได้ แต่สะดวกต่อการเดินทางขึ้นอีเจี้ยนครับ ที่อื่นจะไกลกว่านี้)
เรามาถึงทางขึ้นภูเขาไฟ Kawah Ijen ( https://goo.gl/maps/ccwnpHhRxLw ) กันตอนตี 2
ใช้เวลาเดินขึ้นปากปล่องอีกประมาณ 2 ชม ฝ่าสายฝนขึ้นไปให้ถึงปากปล่องภูเขาไฟก่อนพระอาทิตย์จะขึ้นเพื่อถ่ายภาพ Blue Fire
(จากปากปล่องเดินต่ออีก 30 นาที เพิ่อลงไปบริเวณที่เกิด Blue fire)
เปลวไฟสีน้ำเงินที่พวยพุงออกมาจากพื้นดิน จะสามารถมองเห็นได้ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเท่านั้น
ปรากฏการณ์ Blue fire ที่ Ijen กินบริเวณกว้างที่สุดในโลก (อีกที่คือ Iceland) เกิดจากการเผาไหม้แก๊สกำมะถันที่มีความร้อนสูง
(1/5 sec., f/2.8, iso2500)
NOTE!!
ผมเคยได้ยินหลายๆคนบอกว่าในโลกนี้มีปรากฏการณ์ Blue fire 2 ที่ คือที่ Ijen และที่ Iceland
แต่ระหว่างที่ผมหาข้อมูลเกี่ยวกับ Blue fire กลับพบว่าเคยมีคนบันทึกภาพได้อีกที่หนึ่ง
เป็นดินแดนรกร้าง ห่างไกลในเอธิโอเปีย ชื่อว่า Ethiopia's Danakil Depression
ซึ่ง Blue fire เกิดขึ้นจากฝุ่นกำมะถันในดินเผาไหม้เมื่อเกิดการปะทุของภูเขาไฟ
(ภาพจาก https://goo.gl/tgQxJX )
Kawah Ijen เป็นเหมืองกำมะถันที่ยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบัน บรรยากาศและ Landscape ที่นี่แปลกตากว่าที่เราคุ้นเคยกัน
กลุ่มควันสีเหลืองอ่อนพวยพุงขึ้นไปตัดกันทะเลสาปสีเขียวอมฟ้า และท้องฟ้าสีเข้ม สวยงามจนทำให้เราถ่ายภาพกันลืมเวลาไปเลย
สรุปว่าเราใช้เวลาตั้งแต่เดินขึ้นเขา จนเดินกลับลงมา 7 ชม. จร้าาา ขาแทบขาดดแต่สนุกมาก และสวยมากจริงๆ ได้รูปกลับมาเพียบ
(Panorama / 1/160 sec., f/8, iso125)
(1/160 sec., f/8, iso125)
(1/250 sec., f/7.1, iso400)
(1/200 sec., f/11, iso125)
(1/320 sec., f/4, iso250)
บรรดาลูกหาบผู้แข็งแกร่งแห่ง Kawah Ijen
(1/320 sec., f/4, iso250)
(1//200 sec., f/8, iso125)
(1/320 sec., f/5, iso400)
ชาวบ้านที่ยังคงทำเหมือนกำมะถันอยู่ที่ Kawah Ijen จะแบกก้อนกำมะถันหนักหลายสิบกิโลเดินกลับขึ้นไปที่ปากปล่องทุกวัน