สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ เป็นอย่างไร? มีความสำคัญอย่างไร?

สัจจญาณ  จะต้องรู้ในปริยัติ อ่านให้เข้าใจ  ต้องมีธรรมวิจยะ ฟังให้เข้าใจ  คิดให้เข้าใจ ในสมมุติ บัญญัติ แล้วจึงปฏิบัติ ตามที่เข้าใจ

กิจจญาณ เมื่อมีธรรมวิจยะแล้ว  เราก็ต้องปฏิบัติให้เกิดผล  ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์เกิดบริบูรณ์ ครบองค์ ข้อปฏิบัติ อื่นๆในสัมโพชฌงค์ก็มีพร้อมขึ้นมา กิจจญาณ ทำสติปัฏฐาน4 สัมมัปปทาน4 อิทธิบาท4 อินทรัย์5 พละ5 โพชฌงค์7 มรรค 8ทำให้เข้าถึงอริยมรรคสมังคีย์

กตญาณ   เป็นญาณที่รับรู้ผล เป็นปฏิเวธ เห็นทางเดิน ที่พระพุทธเจ้าสร้างเอาไว้ให้  เห็นว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้
ปฏิจจสมุปปันธรรม  ซึ่งนำมาประกาศศาสนา  สอนปัญจวัคคี  ให้เห็นอริยสัจจ์4  เห็นว่าทุกข์ เป็นสิ่งควรกำหนดรู้   สมุทัยเป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรรู้ ว่ามีอุปาทาน มีตัณหา จะต้องดับ ตัณหา   อุปาทานจีงจะดับ ในปฏิจจสมุปบาท
นิโรธเป็นสิ่งที่ต้องทำให้หมดปัญหา ทำให้เข้าใจปัณหา ที่จะรู้ว่าดับสาเหตุของทุกข์ได้อย่างไร    มรรคต้องทำให้เห็นให้เจริญ

     การเห็นความเกิดทุกข์
  เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

เห็นการดับทุกข์
ความทุกข์ จะดับไปได้เพราะ ชาติ (การเกิดอัตตา"ตัวตน"คิดว่าตนเป็นอะไรอยู่) ดับ
ชาติ จะดับไปได้เพราะ ภพ (การมีภาระหน้าที่และภาวะทางใจ) ดับ
ภพ จะดับไปได้เพราะ อุปาทาน (ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ) ดับ
อุปาทาน จะดับไปได้เพราะ ตัณหา (ความอยาก) ดับ
ตัณหา จะดับไปได้เพราะ เวทนา (ความรู้สึกทุกข์หรือสุขหรือเฉยๆ) ดับ
เวทนา จะดับไปได้เพราะ ผัสสะ (การสัมผัส) ดับ
ผัสสะ จะดับไปได้เพราะ สฬายตนะ (อายตนะใน๖+นอก๖) ดับ
สฬายตนะ จะดับไปได้เพราะ นามรูป (รูปขันธ์) ดับ
  นามรูป จะดับไปได้เพราะ วิญญาณ (วิญญาณขันธ์) ดับ
  วิญญาณ จะดับไปได้เพราะ สังขาร (อารมณ์ปรุงแต่งวิญญาณ-เจตสิก) ดับ
  สังขาร จะดับไปได้เพราะ อวิชชา (ความไม่รู้อย่างแจ่มแจ้ง) ดับ
   รู้กองลม หายใจเข้าออก ทำใจให้เป็นกลางจากสังขารทั้งปวง    แล้วปล่อยใจให้ไหลไปตามมรรค
    แล้วจะเห็นจะสงสาร เพื่อน ร่วมทุกข์ เกิด แก่เจ็บ ตาย และ สงสารตนเองที่โง่จมอยู่ในกองทุกข์
    แล้วยังไม่รู้ตนเอง ยังทำใจรื่นเริงอยู่ ในกองทุกข์  เห็นว่ากงจักรเป็นดอกบัว


https://www.youtube.com/watch?v=VLhi9yUbsp4&index=4&list=RDfh3KuBS6AqA
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ผมกล่าวแล้วท่านยังมีความสับสนใน ธรรม อยู่

ปริวัตร 3 มีอาการ 12 , ท่านบัญญัติ และใช้ใน อริสัจสี่

และเมื่อปฎิบัติครบทั้ง อาการ 12 นั่นคือเป็น พระอเสขะ หรือ บรรลุอรหันต์

คร่าวๆมีดังนี้

ทุกข์

1 สัจจญาณ > ความรู้ว่า ทุกข์ นั้นมีอยู่

2 กิจจญาณ > ความรู้ว่า ทุกข์ นั้นควรกำหนดรู้  

3 กตญาณ > ความรู้ว่า ทุกข์ นั้นได้กำหนดรู้แล้ว

สมุทัย คือ ตัณหา

4 สัจจญาณ > ความรู้ว่า ตัณหา นั้นเป็นเหตุแห่งทุกข์

5 กิจจญาณ > ความรู้ว่า ตัณหา นั้นควรละ

6 กตญาณ > ความรู้ว่า ตัณหา นั้นละได้แล้ว

นิโรธ , ความดับทุกข์

7 สัจจญาณ > ความรู้ว่า ความดับ แห่งทุกข์นั้นมีอยู่

8 กิจจญาณ > ความรู้ว่า ความดับ แห่งทุกข์ควรทำให้แจ้ง

9 กตญาณ > ความรู้ว่า ความดับ แห่งทุกข์ได้กระทำให้แจ้งแล้ว

มรรค , ทางแห่งความดับทุกข์

10 สัจจญาณ > ความรู้ว่า หนทาง แห่งความดับทุกข์นั้นมีอยู่

11 กิจจญาณ > ความรู้ว่า หนทาง แห่งการดับทุกข์นั้นควรเจริญ

12 กตญาณ > ความรู้ว่า หนทาง แห่งการดับทุกข์นั้นได้เจริญแล้ว

สัจจญาณ = รู้ความจริงในอริยสัจ

กิจจญาณ = รู้หน้าที่ที่พึงกระทำต่อความจริงนั้น

กตญาณ = รู้ว่าได้กระทำต่อหน้าที่ต่อความจริงนั้นแล้ว

ธรรมทั้งปวงเป็นสิ่งเชื่อมร้อยเรียงเข้าด้วยกันทั้งหมดก้อจริง

หลักธรรมในแต่ละหมวดท่านได้แยกไว้ให้เศึกษา เพื่อเข้าสู่จุดหมายเดียวกัน นั่นคือ รู้ความเป็นจริงแห่งสรรพสิ่งทั้งปวง

เมื่อเข้าถึงความเป็นจริงแห่งสรรพสิ่งทั้งปวงแล้ว ความยึดถือความเป็นตัวตนย่อมหมดไปเอง

แต่มิควรนำหลักธรรมหมวดต่างๆ มาผสมปนเปกัน อาจทำให้ตัวท่านเอง สับสนไปด้วย

ท่านควรศึกษา ปริยัติ หมวดธรรมต่าง แล้วปฎิบัติไปตามแต่ละหมวดนั้น แล้วนำ ปฎิเวท ที่ได้จากการปฎิบัติ

มาพิจารณาว่า ธรรมทั้ง 84000 เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ เรียงร้อยเชื่อมโยงกันอย่างไร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่