[๑๙๒] คำว่า เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย มีความว่า
ความตาย คือความจุติ ความเคลื่อนจากหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งเหล่าสัตว์นั้นๆ ความทำลาย
ความหายไป มัจจุ มรณะ กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความทอดทิ้งร่างกาย ความ
เข้าไปตัดขาดแห่งชีวิตินทรีย์. คำว่า เบญจขันธ์นั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
คำว่า ย่อมละ คือ เบญจขันธ์อันบุรุษนั้นย่อมละ สละ ทิ้ง หายไป สลายไป. สมจริงดังภาษิตว่า
โภคสมบัติทั้งหลาย ย่อมละทิ้งสัตว์ไปก่อนบ้าง สัตว์ย่อมละทิ้งโภค
สมบัติเหล่านั้นไปก่อนบ้าง ดูกรโจรราชผู้ใคร่กาม พวกชนเป็นผู้มีโภค
สมบัติมิได้เที่ยง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก
ดวงจันทร์ย่อมขึ้น ย่อมเต็มดวง ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดวงอาทิตย์อัสดงคต
แล้ว ย่อมจากไป ดูกรศัตรู โลกธรรมทั้งหลาย เรารู้แล้ว เพราะฉะนั้น
เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาโศก.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เบญจขันธ์นั้น อันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย.
[๑๙๓] คำว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา มีความว่า เบญจขันธ์ใด คือ รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. คำว่า บุรุษ ได้แก่ ความนับ ความหมายรู้ บัญญัติ โวหาร
ของโลก นาม การตั้งนาม ความทรงนาม ความพูดถึง การแสดงความหมาย ความพูดถึง. คำว่า
ย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา มีความว่า ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญด้วยตัณหา ด้วยความ
สำคัญด้วยทิฏฐิ ด้วยความสำคัญด้วยมานะ ด้วยความสำคัญด้วยกิเลส ด้วยความสำคัญด้วยทุจริต
ด้วยความสำคัญด้วยประโยค ด้วยความสำคัญด้วยวิบาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุรุษย่อมสำคัญ
เบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา.
[๑๙๔]
คำว่า ผู้เป็นบัณฑิตรู้โทษแม้นั้นแล้ว มีความว่า ทราบ รู้ เทียบเคียง ตรวจตรา
สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้ง ซึ่งโทษนั้น ในวัตถุที่ยึดถือว่า ของเราทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
รู้โทษแม้นั้นแล้ว. คำว่า บัณฑิต คือ ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเป็น
เครื่องทรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตรู้โทษแม้นั้นแล้ว.
[๑๙๕]
คำว่า พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา มีความว่า ความ-
*ยึดถือว่าของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ
ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑
ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑. คำว่า พุทธมามกะ คือ ผู้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
คือ บุคคลผู้นั้นย่อมนับถือพระผู้มีพระภาคว่า ของเรา พระผู้มีพระภาคย่อมทรงกำหนดบุคคลนั้น.
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้คดโกง กระด้าง
พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้ไม่นับถือ
เรา เป็นผู้ไปปราศแล้วจากธรรมวินัยนี้ และย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่าภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย มีปัญญา ไม่กระด้าง
มีจิตตั้งมั่นดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้นับถือเรา ไม่ไปปราศแล้วจากธรรมวินัยนี้
และย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ชนทั้งหลายเป็นผู้คดโกง กระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด
มีจิตไม่ได้ตั้งมั่น ชนเหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามในธรรมวินัยอันพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วนชนทั้งหลายเป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูด
พล่อย มีปัญญา ไม่กระด้าง มีจิตตั้งมั่นดี ชนเหล่านั้นแล ย่อมงอกงาม
ในธรรมวินัยอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
คำว่า พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่า ของเรา มีความว่า พุทธมามกะละ
ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ไม่พึงน้อมโน้มไปเพื่อ
ความยึดถือว่าของเรา คือ ไม่พึงเป็นผู้น้อมไป เอนไป โอนไป โน้มน้อมไป ในความยึดถือ
ว่าของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้มีความยึดถือว่าของเรานั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธมามกะ
ไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้น
ย่อมละแม้เพราะความตาย พุทธมามกะผู้เป็นบัณฑิต รู้โทษแม้นี้แล้ว
ไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา.
[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่มาประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด ใครๆ
ก็ไม่เห็นชนที่รักซึ่งตายจากไปแล้ว แม้ฉันนั้น.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=2586&Z=3083
[พระไตรปิฏก] ว่าด้วยการยึดถือเบญจขันธ์ (ขันธ์5)
ความตาย คือความจุติ ความเคลื่อนจากหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งเหล่าสัตว์นั้นๆ ความทำลาย
ความหายไป มัจจุ มรณะ กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความทอดทิ้งร่างกาย ความ
เข้าไปตัดขาดแห่งชีวิตินทรีย์. คำว่า เบญจขันธ์นั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
คำว่า ย่อมละ คือ เบญจขันธ์อันบุรุษนั้นย่อมละ สละ ทิ้ง หายไป สลายไป. สมจริงดังภาษิตว่า
โภคสมบัติทั้งหลาย ย่อมละทิ้งสัตว์ไปก่อนบ้าง สัตว์ย่อมละทิ้งโภค
สมบัติเหล่านั้นไปก่อนบ้าง ดูกรโจรราชผู้ใคร่กาม พวกชนเป็นผู้มีโภค
สมบัติมิได้เที่ยง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก
ดวงจันทร์ย่อมขึ้น ย่อมเต็มดวง ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดวงอาทิตย์อัสดงคต
แล้ว ย่อมจากไป ดูกรศัตรู โลกธรรมทั้งหลาย เรารู้แล้ว เพราะฉะนั้น
เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาโศก.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เบญจขันธ์นั้น อันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย.
[๑๙๓] คำว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา มีความว่า เบญจขันธ์ใด คือ รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. คำว่า บุรุษ ได้แก่ ความนับ ความหมายรู้ บัญญัติ โวหาร
ของโลก นาม การตั้งนาม ความทรงนาม ความพูดถึง การแสดงความหมาย ความพูดถึง. คำว่า
ย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา มีความว่า ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญด้วยตัณหา ด้วยความ
สำคัญด้วยทิฏฐิ ด้วยความสำคัญด้วยมานะ ด้วยความสำคัญด้วยกิเลส ด้วยความสำคัญด้วยทุจริต
ด้วยความสำคัญด้วยประโยค ด้วยความสำคัญด้วยวิบาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุรุษย่อมสำคัญ
เบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา.
[๑๙๔] คำว่า ผู้เป็นบัณฑิตรู้โทษแม้นั้นแล้ว มีความว่า ทราบ รู้ เทียบเคียง ตรวจตรา
สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้ง ซึ่งโทษนั้น ในวัตถุที่ยึดถือว่า ของเราทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
รู้โทษแม้นั้นแล้ว. คำว่า บัณฑิต คือ ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเป็น
เครื่องทรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตรู้โทษแม้นั้นแล้ว.
[๑๙๕] คำว่า พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา มีความว่า ความ-
*ยึดถือว่าของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑
ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑. คำว่า พุทธมามกะ คือ ผู้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
คือ บุคคลผู้นั้นย่อมนับถือพระผู้มีพระภาคว่า ของเรา พระผู้มีพระภาคย่อมทรงกำหนดบุคคลนั้น.
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้คดโกง กระด้าง
พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้ไม่นับถือ
เรา เป็นผู้ไปปราศแล้วจากธรรมวินัยนี้ และย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่าภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย มีปัญญา ไม่กระด้าง
มีจิตตั้งมั่นดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้นับถือเรา ไม่ไปปราศแล้วจากธรรมวินัยนี้
และย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ชนทั้งหลายเป็นผู้คดโกง กระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด
มีจิตไม่ได้ตั้งมั่น ชนเหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามในธรรมวินัยอันพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วนชนทั้งหลายเป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูด
พล่อย มีปัญญา ไม่กระด้าง มีจิตตั้งมั่นดี ชนเหล่านั้นแล ย่อมงอกงาม
ในธรรมวินัยอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
คำว่า พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่า ของเรา มีความว่า พุทธมามกะละ
ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ไม่พึงน้อมโน้มไปเพื่อ
ความยึดถือว่าของเรา คือ ไม่พึงเป็นผู้น้อมไป เอนไป โอนไป โน้มน้อมไป ในความยึดถือ
ว่าของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้มีความยึดถือว่าของเรานั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธมามกะ
ไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้น
ย่อมละแม้เพราะความตาย พุทธมามกะผู้เป็นบัณฑิต รู้โทษแม้นี้แล้ว
ไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา.
[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่มาประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด ใครๆ
ก็ไม่เห็นชนที่รักซึ่งตายจากไปแล้ว แม้ฉันนั้น.
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=2586&Z=3083