การทรงสมาธิ ไม่ย่อไม่หย่อนเกินไป ตึงไม่เครียดเกินไป เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน
สมุคคสูตร
[๕๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ตลอดกาลตามกาล
คือ พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่สมาธินิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตไม่ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะโดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิตตลอดกาลตามกาล
กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิตตลอดกาลตามกาล
เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทองตระเตรียมเบ้าแล้วติดไฟ
แล้วเอาคีมคีบทองใส่ลงที่ปากเบ้าแล้วสูบเสมอๆ เอาน้ำพรมเสมอๆ เพ่งดูเสมอๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงสูบทองนั้นแต่อย่างเดียว
พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นไหม้
ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเอาน้ำพรมแต่อย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นเย็น
ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเพ่งดูทองนั้นแต่อย่างเดียวพึงเป็นเหตุให้ทองนั้นสุกไม่ทั่วถึง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดช่างทองหรือลูกมือช่างทองสูบทองนั้นเสมอๆ เอาน้ำพรมเสมอๆ เพ่งดูเสมอๆ
เมื่อนั้น ทองนั้นย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่แตกง่าย
เข้าถึงเพื่อการทำโดยชอบ และช่างทองหรือลูกมือช่างทอง มุ่งประสงค์สำหรับเครื่องประดับชนิดใดๆ
คือ แผ่นทอง ต่างหู เครื่องประดับคอ หรือดอกไม้ทองก็ดี ย่อมสำเร็จสมความประสงค์ของเขาทั้งนั้น
แม้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ตลอดกาลตามกาล
คือ พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่สมาธินิมิตโดยส่วนเดียว
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิตตลอดกาลตามกาล
กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิตตลอดกาลตามกาล
เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ
และภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ
เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่
ถ้าภิกษุนั้นพึงหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์หลายประการ ฯลฯ พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6733&Z=6783&pagebreak=0
อรรถกถาสมุคคตสูตรที่ ๑๑
พึงทราบวินิจฉัยในสมุคคสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-
อธิจิต ได้แก่ จิตในสมถะและวิปัสสนานั่นแล.
บทว่า ตีณิ นิมิตฺตานิ ได้แก่ เหตุ ๓.
บทว่า กาเลน กาลํ ได้แก่ ในกาลอันสมควร. อธิบายว่า ตลอดกาลอันเหมาะสม.
ในบทว่า กาเลน กาลํ สมาธินิมิตฺตํ มนสิกาตพฺพํ เป็นต้น มีอธิบายว่า
ภิกษุพึงกำหนดกาลนั้นๆ แล้วมนสิการถึงเอกัคคตา (ความที่จิตมีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ) ในเวลาที่จิตประกอบด้วยเอกัคคตา.
เพราะว่า ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเอกัคคตาว่าเป็นสมาธินิมิต.
ในบทว่า สมาธินิมิตฺตํ นั้นมีความหมายของคำดังนี้ นิมิตคือสมาธิ ชื่อว่าสมาธินิมิต.
แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
บทว่า ปคฺคาโห (การประคองจิต) เป็นชื่อของวิริยะ.
บทว่า อุเปกฺขา เป็นชื่อของมัชฌัตตภาวะ (ความที่จิตเป็นกลาง).
เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงมนสิการถึงวิริยะในเวลาที่เหมาะสมแก่วิริยะ.
พึงดำรงอยู่ในมัชฌัตตภาวะในเวลาที่หมาะสมแก่มัชฌัตตภาวะแล.
บทว่า ฐานนฺตํ จิตฺตํ โกสชฺชาย สํวตฺเตยฺย ความว่า เหตุที่ทำให้จิตนั้นดำรงอยู่ในภาวะ คือความเกียจคร้านมีอยู่.
แม้ในเหตุนอกนี้ก็มีนัยนี้แล.
และในบทว่า อุเปกฺขานิมิตฺตํเยว มนสิกเรยฺย มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุพึงเพ่งดูความว่องไวแห่งญาณเฉยๆ.
บทว่า อาสวานํ ขยาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล.
บทว่า อุกฺกํ พนฺเธยฺย ได้แก่ พึงเตรียมกระเบื้องใส่ถ่าน.
บทว่า อาลิมฺเปยฺย ความว่า พึงใส่ถ่านไปในกระเบื้องใส่ถ่านนั้น แล้วจุดไฟใช้สูบเป่าให้ไฟติด.
บทว่า อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ความว่า พึงคุ้ยเขี่ยถ่านเพลิง แล้ววางไว้บนถ่าน หรือใส่ไว้ในเบ้า.
บทว่า อชฺฌุเปกฺขติ ได้แก่ ใคร่ครวญดูว่า ร้อนได้ที่แล้ว.
บทว่า สมฺมา สมาธิยติ อาสวานํ ขยาย ได้แก่ (จิต) ตั้งมั่นอยู่โดยชอบ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล.
ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุอรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเป็นเหตุให้บรรลุอภิญญาของพระขีณาสพนั้น จึงตรัสคำว่า ยสฺส ยสฺส จ เป็นต้น.
คำนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล.
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องการทรงสมาธิ
สมุคคสูตร
[๕๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ตลอดกาลตามกาล
คือ พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่สมาธินิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตไม่ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะโดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิตตลอดกาลตามกาล
กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิตตลอดกาลตามกาล
เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทองตระเตรียมเบ้าแล้วติดไฟ
แล้วเอาคีมคีบทองใส่ลงที่ปากเบ้าแล้วสูบเสมอๆ เอาน้ำพรมเสมอๆ เพ่งดูเสมอๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงสูบทองนั้นแต่อย่างเดียว
พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นไหม้
ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเอาน้ำพรมแต่อย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นเย็น
ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเพ่งดูทองนั้นแต่อย่างเดียวพึงเป็นเหตุให้ทองนั้นสุกไม่ทั่วถึง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดช่างทองหรือลูกมือช่างทองสูบทองนั้นเสมอๆ เอาน้ำพรมเสมอๆ เพ่งดูเสมอๆ
เมื่อนั้น ทองนั้นย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่แตกง่าย
เข้าถึงเพื่อการทำโดยชอบ และช่างทองหรือลูกมือช่างทอง มุ่งประสงค์สำหรับเครื่องประดับชนิดใดๆ
คือ แผ่นทอง ต่างหู เครื่องประดับคอ หรือดอกไม้ทองก็ดี ย่อมสำเร็จสมความประสงค์ของเขาทั้งนั้น
แม้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ตลอดกาลตามกาล
คือ พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่สมาธินิมิตโดยส่วนเดียว
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว
พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิตตลอดกาลตามกาล
กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิตตลอดกาลตามกาล
เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ
และภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ
เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่
ถ้าภิกษุนั้นพึงหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์หลายประการ ฯลฯ พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6733&Z=6783&pagebreak=0
อรรถกถาสมุคคตสูตรที่ ๑๑
พึงทราบวินิจฉัยในสมุคคสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-
อธิจิต ได้แก่ จิตในสมถะและวิปัสสนานั่นแล.
บทว่า ตีณิ นิมิตฺตานิ ได้แก่ เหตุ ๓.
บทว่า กาเลน กาลํ ได้แก่ ในกาลอันสมควร. อธิบายว่า ตลอดกาลอันเหมาะสม.
ในบทว่า กาเลน กาลํ สมาธินิมิตฺตํ มนสิกาตพฺพํ เป็นต้น มีอธิบายว่า
ภิกษุพึงกำหนดกาลนั้นๆ แล้วมนสิการถึงเอกัคคตา (ความที่จิตมีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ) ในเวลาที่จิตประกอบด้วยเอกัคคตา.
เพราะว่า ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเอกัคคตาว่าเป็นสมาธินิมิต.
ในบทว่า สมาธินิมิตฺตํ นั้นมีความหมายของคำดังนี้ นิมิตคือสมาธิ ชื่อว่าสมาธินิมิต.
แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
บทว่า ปคฺคาโห (การประคองจิต) เป็นชื่อของวิริยะ.
บทว่า อุเปกฺขา เป็นชื่อของมัชฌัตตภาวะ (ความที่จิตเป็นกลาง).
เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงมนสิการถึงวิริยะในเวลาที่เหมาะสมแก่วิริยะ.
พึงดำรงอยู่ในมัชฌัตตภาวะในเวลาที่หมาะสมแก่มัชฌัตตภาวะแล.
บทว่า ฐานนฺตํ จิตฺตํ โกสชฺชาย สํวตฺเตยฺย ความว่า เหตุที่ทำให้จิตนั้นดำรงอยู่ในภาวะ คือความเกียจคร้านมีอยู่.
แม้ในเหตุนอกนี้ก็มีนัยนี้แล.
และในบทว่า อุเปกฺขานิมิตฺตํเยว มนสิกเรยฺย มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุพึงเพ่งดูความว่องไวแห่งญาณเฉยๆ.
บทว่า อาสวานํ ขยาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล.
บทว่า อุกฺกํ พนฺเธยฺย ได้แก่ พึงเตรียมกระเบื้องใส่ถ่าน.
บทว่า อาลิมฺเปยฺย ความว่า พึงใส่ถ่านไปในกระเบื้องใส่ถ่านนั้น แล้วจุดไฟใช้สูบเป่าให้ไฟติด.
บทว่า อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ความว่า พึงคุ้ยเขี่ยถ่านเพลิง แล้ววางไว้บนถ่าน หรือใส่ไว้ในเบ้า.
บทว่า อชฺฌุเปกฺขติ ได้แก่ ใคร่ครวญดูว่า ร้อนได้ที่แล้ว.
บทว่า สมฺมา สมาธิยติ อาสวานํ ขยาย ได้แก่ (จิต) ตั้งมั่นอยู่โดยชอบ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล.
ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุอรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเป็นเหตุให้บรรลุอภิญญาของพระขีณาสพนั้น จึงตรัสคำว่า ยสฺส ยสฺส จ เป็นต้น.
คำนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล.