จิตรกรรมงามเลิศ เพลิดเพลินชมสถาปัตย์ "๙ วัด(ไม่ดัง) พระนครศรีอยุธยา"
...ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา...
นี่คือคำขวัญของจังหวัด ที่เคยเป็นอดีตศูนย์กลางของอาณาจักรในลุ่มน้ำเจ้าพระยา รุ่งโรจน์เป็นระยะเวลายาวนานถึง ๔๑๗ ปี มากด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่งดงาม น่าตื่นเต้น และน่าสลดใจ
แม้ว่าในปัจจุบันนี้
กรุงศรีอยุธยา จะดับแสงลงแล้ว แต่เรื่องราวความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรแห่งนี้ ยังคงหลงเหลือไว้กับโบราณสถานจำนวนนับร้อยแห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณเกาะเมือง และรอบๆ เยอะจนอาจจะกล่าวได้ว่า ใช้เวลามากกว่า ๑ วันถึงจะครบหมดอย่างไม่ต้องสงสัย
การที่พระนครศรีอยุธยาได้เป็นเมืองมรดกโลก ฐานะของเมืองท่องเที่ยวสำคัญของประเทศก็มาโดยอัตโนมัติ และด้วยตำแหน่งที่ใกล้กับกรุงเทพมหานคร ทำให้ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ไม่น่าแปลกใจที่ บรรดา "วัด" และ โบราณสถาน ที่อยู่ในรายการ
ไหว้พระ ๙ วัด จะเนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่มาทำบุญ สร้างกุศลให้แก่ชีวิต
กระทู้นี้จะชวนทุกท่านไปไหว้พระ ๙ วัดที่อยุธยาเหมือนกัน แต่คงไม่ได้พาไปเหล่าวัดดังๆ ทั้งหลายที่พูดปุ๊บ ทุกคนรู้ปั๊บอย่างนั้นแน่นอน (บางวัดก็ต้องเสี่ยงกับจราจรติดขัดด้วย ซึ่งคนกรุงคงไม่อยากเจอเท่าไรนัก) เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับบรรดา วัดไม่ดัง ที่ตั้งเรียงรายอยู่ละแวกใกล้เคียงกับเกาะเมือง ห่างกันนิดเดียวจนจะเดินถึงกันได้ และในอำเภอใกล้เคียงที่เดินทางครบได้ในหนึ่งวัน
และแน่นอน สำหรับเราแล้ว ไปไหว้พระทำบุญอย่างเดียวก็กระไรอยู่ วัดที่เราจะพาทุกท่านไปชม ทุกวัดมี จิตรกรรม หรือ สถาปัตยกรรม ชั้นเยี่ยม ที่มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์คละกันไป ดูแล้วไม่น่าเบื่ออย่างแน่นอน
พร้อมหรือยัง...งั้นเราไปรู้จัก ๙ วัด(ไม่ดัง) เหล่านี้กัน
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วัดที่ ๑ : วัดไชยวัฒนาราม
หลายคนอ่านแล้วก็คงสงสัย นี่ไม่ใช่วัดดังได้อย่างไรกัน ที่ท่านคิดนั้นไม่ผิดหรอก วัดนี้มีชื่อเสียงอยู่พอสมควร แม้แต่ปกหนังสือวิชาประวัติศาสตร์บางชั้นปียังเป็นภาพวัดนี้เลย แต่เพราะอยู่นอกเกาะเมือง หรืออย่างไรก็ไม่ทราบ นักท่องเที่ยวที่มาวัดนี้จึงน้อยเสียเหลือเกิน จะมีก็แต่คนที่สนใจจะมาจริงๆ นั่นแหละ
วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเกาะเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เหตุในการสร้างวัดนี้ บ้างก็ว่าเพื่ออุทิศถวายแก่พระราชมารดา บ้างก็ว่าเพื่อเป็นอนุสรณ์ในคราวที่ตีเขมรได้ ดังลักษณะการวางผังของวัดที่จำลองแบบมาจากปราสาทหินในกัมพูชา ยึดหลักตามคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิ โดยให้องค์พระปรางค์ประธานเปรียบได้กับเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
กว่าที่วัดไชยวัฒนารามจะเป็นอย่างเช่นทุกวันนี้ สภาพของวัดเคยทรุดโทรมและรกร้าง มีต้นไม้ปกคลุมจนเหมือนป่า ดังที่ น.ณ ปากน้ำ กล่าวไว้ในหนังสือ ๕ เดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา แต่นับว่าโชคดีที่ราวๆปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ และปรับปรุงภูมิทัศน์เรื่อยมา
สิ่งของน่าชมในวัดมีตั้งแต่ลักษณะสถาปัตยกรรมที่คล้ายกับสถาปัตยกรรมแบบขอม ได้แก่พระปรางค์ และเมรุทิศ ผสมผสานกับศิลปะอยุธยาทั้งอาคาร และเจดีย์ ถือว่าวัดนี้เป็นแหล่งสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง
จิตรกรรมฝาผนังก็มี แต่มันอยู่ที่ไหนกันล่ะ เดินเข้าไปในเมรุทิศ แล้วเงยหน้าขึ้นไปด้านบนของผนัง จะพบกับจิตรกรรมลวดลายพรรณพฤกษา ที่วาดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพียงแต่ว่าลวดลายค่อนข้างลบเลือน เมรุทิศบางหลังเท่านั้นที่ยังพอมองเห็นเค้าความงามได้อยู่ เป็นอีกหนึ่งของดีที่น้อยคนจะรู้จัก...
ข้อมูลสถานที่ : วัดไชยวัฒนาราม
ทางหลวงหมายเลข ๓๔๖๙ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เปิดเวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. (สำหรับบริเวณด้านใน)
เปิดไฟส่องตั้งแต่เวลา ๑๙.๓๐ – ๒๑.๐๐ น. (ชมได้จากภายนอก)
หมายเหตุ : ขณะนี้ (ธันวาคม ๒๕๕๙) กำลังมีการบูรณะโบราณสถานบางส่วนอยู่ งดเว้นการเข้าไปในส่วนนั้นเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการบูรณะและการทำงานของเจ้าหน้าที่
วัดที่ ๒ : วัดศาลาปูนวรวิหาร
ต่อไป เราจะแนะนำกลุ่มโบราณสถานที่ตั้งเรียงรายอยู่ริม คลองเมือง หรือแม่น้ำลพบุรีสายเดิมกัน วัดแรกคือ วัดศาลาปูน
วัดนี้เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏหลักฐานที่จะกล่าวกันต่อไป
อาคารแรกที่ควรมาเยี่ยมชมคือ พระอุโบสถ ลักษณะอาคารเหมือนวัดหน้าพระเมรุเลย แต่มีขนาดเล็กกว่า หน้าบันเป็นไม้แกะสลัก เดิมเป็นรูปช้างเอาราวัณ แต่ต่อมาสูญหายไป จึงนำรูปเทพพนมมาติดแทน ด้านในของพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปมากมายหลายองค์ หลายขนาด จะเห็นได้ว่ามีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานแทบจะบังด้านหน้าพระประธาน พระที่วัดเล่าให้ฟังว่า บริเวณพระพุทธรูปยืนองค์นั้น เคยเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อวัดไร่ขิง ที่ประดิษฐาน ณ จังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน
เมื่อมองไปรอบๆ ก็จะพบกับภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติตอน มารผจญ ที่ผนังด้านหน้า แสดงธรรมแก่เทวดา ที่ผนังด้านหลัง ส่วนผนังด้านซ้ายและขวานั้น เป็นภาพเทพชุมนุมนั่งซ้อนกันเป็นแถวๆ ภาพทั้งหมดสันนิษฐานว่าวาดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่เก่าไม่ใหม่ไปกว่านี้ สภาพส่วนใหญ่ของภาพค่อนข้างลบเลือน(มาก) ด้านบนเลือนเพราะน้ำฝนไหลลงมา ด้านล่างก็เลือนเพราะน้ำท่วม น่าเสียดายจริงๆ แต่ไม่กี่ปีมานี้ กรมศิลปากร ได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิพิพิธภัณฑ์โทคุกาวา ประเทศญี่ปุ่น ในการซ่อมแซมภาพจิตรกรรมฝาผัง และสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อกลางปี ๒๕๕๙
ออกจากพระอุโบสถ ลองเดินไปด้านหลัง จะพบกับซุ้มเล็กๆ ยื่นออกมาจากผนัง นอกจากจะประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์แล้ว ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วย แต่มีความสวยงามและดูแปลกตา จะเป็นอย่างไร ขอให้ไปชมเอง
หากมีเวลาเหลือ ด้านหลังของศาลาการเปรียญ เป็นที่ตั้งของ หอพระไตรปิฎก อย่าพลาดชมลวดลายปูนปั้นนารายณ์ทรงครุฑ ที่กล่าวขานกันว่างดงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย…
ข้อมูลสถานที่ : วัดศาลาปูนวรวิหาร
ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา
การเดินทางมาวัด เข้าทางเดียวกัน ประตูเดียวกันกับวัดพนมยงค์เลย แต่เลยลึกเข้าไปในซอยอีกหน่อยจะสุดที่วัดศาลาปูน
หมายเหตุ : ถึงแม้ว่าจิตรกรรมฝาผนังได้รับการบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ตัวอาคารภายนอกยังบูรณะไม่แล้วเสร็จ ยังตั้งนั่งร้านคลุมอาคารไว้อยู่ (ธันวาคม ๒๕๕๙) หากจะเข้าชมจิตรกรรมฝาผนังด้านใน สามารถติดต่อกับพระที่อยู่ในศาลาด้านหน้าได้เลย
วัดที่ ๓ : วัดเชิงท่า
บางครั้ง คติความเชื่อ การขอพร โชคลาภ ตำนานอภินิหารที่สรรค์สร้างขึ้นมา ได้กลบหลักฐานดั้งเดิมของศาสนสถานให้หมดไป กลายเป็นของใหม่ๆ เข้ามาแทนที่
แต่นั่นไม่ใช่สำหรับ วัดเชิงท่า แห่งนี้แน่นอน เพราะพื้นที่ของวัดแห่งนี้ได้จัดแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนด้วยกัน ได้แก่
ส่วนที่ ๑ กลุ่มโบราณสถานสมัยกรุงศรีอยุธยา ประกอบไปด้วย องค์พระปรางค์ประธาน และพระปรางค์บริวารล้อมทั้ง ๓ ทิศ เบื้องหน้ามีพระวิหารหลวง หันหน้าลงคลองเมือง ซึ่งเป็นเส้นทางการสัญจรในสมัยก่อน ในส่วนนี้ยังคงปรากฏร่องรอยของงานประติมากรรม ทั้งองค์พระพุทธรูป และปูนปั้นประดับอาคารอยู่มากพอสมควร
ส่วนที่ ๒ โบราณสถานสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๔) คือ ศาลาการเปรียญ อันที่จริงแล้วอายุของอาคารนี้ยังไม่แน่ชัดนัก เพราะลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่อย่างไรก็ตาม เรามาว่าเรื่องของดีที่อยู่ด้านในกันดีกว่า
ของดีอย่างแรก คือ ธรรมาสน์ ซึ่งที่นี่มีธรรมาสน์ ๒ หลัง หลังหนึ่งเป็นธรรมาสน์ยาว สมัยกรุงศรีอยุธยา พระสงฆ์ไปนั่งสวดบนธรรมาสน์นี้ได้ ๔ รูป และอีกหลังเป็นธรรมาสน์ทรงบุษบก สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
มาดูที่ผนังก็จะพบกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัชกาลที่ ๔-๕ วาดเรื่องราวพุทธประวัติและทศชาติชาดก แม้อาคารนี้จะได้รับผลกระทบหนักจากมหาอุทกภัยเมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๔ แต่กรมศิลปากรก็ได้ทำการบูรณะทุกสิ่งทุกอย่างให้กลับมางดงามเช่นเดิม โดยหลงเหลือคราบระดับน้ำที่บานหน้าต่างและเสาไว้เป็นอนุสรณ์
ส่วนที่ ๓ กลุ่มศาสนสถานยุคปัจจุบัน ได้แก่ ศาลาบำเพ็ญกุศล สะเดาะเคราะห์ ที่ตั้งพระพุทธรูป อนุสาวรีย์บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าให้สักการะ และหมู่กุฏิสงฆ์ จะทำบุญอะไรก็เชิญได้ที่จุดนี้
การแบ่งพื้นที่ของวัดเชิงท่า ทำให้ส่วนเก่า และส่วนใหม่ไม่กระทบต่อกันจนเกิดผลเสีย คนที่มาวัดก็ได้ทำบุญในพื้นที่ที่จัดไว้ให้ พร้อมกับเดินชมศิลปกรรมที่งดงามในบรรยากาศเงียบสงบ ทราบแล้วก็อย่าได้พลาดที่จะมาเยือนวัดแห่งนี้ !...
ข้อมูลสถานที่ : วัดเชิงท่า (โกษาวาส)
ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา
การเดินทางมาวัด หากมาจากถนนอู่ทองมาหน้าวัดหน้าพระเมรุ เลี้ยวซ้ายแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะพบวัดหัสดาวาสอยู่ทางขวามือ เลยไปอีกจะถึงวัดเชิงท่าที่ตั้งอยู่ทางด้านซ้าย หรือหากมาจากวัดพนมยงค์ หรือวัดศาลาปูน ให้ออกมาถนนใหญ่ แล้วกลับรถวนมาเข้าซอยที่อยู่ตรงข้ามกัน ตรงเข้ามาวัดเชิงท่าจะอยู่ทางขวามือ
[CR] จิตรกรรมงามเลิศ เพลิดเพลินชมสถาปัตย์ "๙ วัด(ไม่ดัง) พระนครศรีอยุธยา"
นี่คือคำขวัญของจังหวัด ที่เคยเป็นอดีตศูนย์กลางของอาณาจักรในลุ่มน้ำเจ้าพระยา รุ่งโรจน์เป็นระยะเวลายาวนานถึง ๔๑๗ ปี มากด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่งดงาม น่าตื่นเต้น และน่าสลดใจ
แม้ว่าในปัจจุบันนี้ กรุงศรีอยุธยา จะดับแสงลงแล้ว แต่เรื่องราวความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรแห่งนี้ ยังคงหลงเหลือไว้กับโบราณสถานจำนวนนับร้อยแห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณเกาะเมือง และรอบๆ เยอะจนอาจจะกล่าวได้ว่า ใช้เวลามากกว่า ๑ วันถึงจะครบหมดอย่างไม่ต้องสงสัย
การที่พระนครศรีอยุธยาได้เป็นเมืองมรดกโลก ฐานะของเมืองท่องเที่ยวสำคัญของประเทศก็มาโดยอัตโนมัติ และด้วยตำแหน่งที่ใกล้กับกรุงเทพมหานคร ทำให้ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ไม่น่าแปลกใจที่ บรรดา "วัด" และ โบราณสถาน ที่อยู่ในรายการ ไหว้พระ ๙ วัด จะเนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่มาทำบุญ สร้างกุศลให้แก่ชีวิต
กระทู้นี้จะชวนทุกท่านไปไหว้พระ ๙ วัดที่อยุธยาเหมือนกัน แต่คงไม่ได้พาไปเหล่าวัดดังๆ ทั้งหลายที่พูดปุ๊บ ทุกคนรู้ปั๊บอย่างนั้นแน่นอน (บางวัดก็ต้องเสี่ยงกับจราจรติดขัดด้วย ซึ่งคนกรุงคงไม่อยากเจอเท่าไรนัก) เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับบรรดา วัดไม่ดัง ที่ตั้งเรียงรายอยู่ละแวกใกล้เคียงกับเกาะเมือง ห่างกันนิดเดียวจนจะเดินถึงกันได้ และในอำเภอใกล้เคียงที่เดินทางครบได้ในหนึ่งวัน
และแน่นอน สำหรับเราแล้ว ไปไหว้พระทำบุญอย่างเดียวก็กระไรอยู่ วัดที่เราจะพาทุกท่านไปชม ทุกวัดมี จิตรกรรม หรือ สถาปัตยกรรม ชั้นเยี่ยม ที่มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์คละกันไป ดูแล้วไม่น่าเบื่ออย่างแน่นอน
พร้อมหรือยัง...งั้นเราไปรู้จัก ๙ วัด(ไม่ดัง) เหล่านี้กัน
หลายคนอ่านแล้วก็คงสงสัย นี่ไม่ใช่วัดดังได้อย่างไรกัน ที่ท่านคิดนั้นไม่ผิดหรอก วัดนี้มีชื่อเสียงอยู่พอสมควร แม้แต่ปกหนังสือวิชาประวัติศาสตร์บางชั้นปียังเป็นภาพวัดนี้เลย แต่เพราะอยู่นอกเกาะเมือง หรืออย่างไรก็ไม่ทราบ นักท่องเที่ยวที่มาวัดนี้จึงน้อยเสียเหลือเกิน จะมีก็แต่คนที่สนใจจะมาจริงๆ นั่นแหละ
วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเกาะเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เหตุในการสร้างวัดนี้ บ้างก็ว่าเพื่ออุทิศถวายแก่พระราชมารดา บ้างก็ว่าเพื่อเป็นอนุสรณ์ในคราวที่ตีเขมรได้ ดังลักษณะการวางผังของวัดที่จำลองแบบมาจากปราสาทหินในกัมพูชา ยึดหลักตามคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิ โดยให้องค์พระปรางค์ประธานเปรียบได้กับเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
กว่าที่วัดไชยวัฒนารามจะเป็นอย่างเช่นทุกวันนี้ สภาพของวัดเคยทรุดโทรมและรกร้าง มีต้นไม้ปกคลุมจนเหมือนป่า ดังที่ น.ณ ปากน้ำ กล่าวไว้ในหนังสือ ๕ เดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา แต่นับว่าโชคดีที่ราวๆปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ และปรับปรุงภูมิทัศน์เรื่อยมา
สิ่งของน่าชมในวัดมีตั้งแต่ลักษณะสถาปัตยกรรมที่คล้ายกับสถาปัตยกรรมแบบขอม ได้แก่พระปรางค์ และเมรุทิศ ผสมผสานกับศิลปะอยุธยาทั้งอาคาร และเจดีย์ ถือว่าวัดนี้เป็นแหล่งสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง
จิตรกรรมฝาผนังก็มี แต่มันอยู่ที่ไหนกันล่ะ เดินเข้าไปในเมรุทิศ แล้วเงยหน้าขึ้นไปด้านบนของผนัง จะพบกับจิตรกรรมลวดลายพรรณพฤกษา ที่วาดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพียงแต่ว่าลวดลายค่อนข้างลบเลือน เมรุทิศบางหลังเท่านั้นที่ยังพอมองเห็นเค้าความงามได้อยู่ เป็นอีกหนึ่งของดีที่น้อยคนจะรู้จัก...
ข้อมูลสถานที่ : วัดไชยวัฒนาราม
ทางหลวงหมายเลข ๓๔๖๙ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เปิดเวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. (สำหรับบริเวณด้านใน)
เปิดไฟส่องตั้งแต่เวลา ๑๙.๓๐ – ๒๑.๐๐ น. (ชมได้จากภายนอก)
หมายเหตุ : ขณะนี้ (ธันวาคม ๒๕๕๙) กำลังมีการบูรณะโบราณสถานบางส่วนอยู่ งดเว้นการเข้าไปในส่วนนั้นเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการบูรณะและการทำงานของเจ้าหน้าที่
ต่อไป เราจะแนะนำกลุ่มโบราณสถานที่ตั้งเรียงรายอยู่ริม คลองเมือง หรือแม่น้ำลพบุรีสายเดิมกัน วัดแรกคือ วัดศาลาปูน
วัดนี้เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏหลักฐานที่จะกล่าวกันต่อไป
อาคารแรกที่ควรมาเยี่ยมชมคือ พระอุโบสถ ลักษณะอาคารเหมือนวัดหน้าพระเมรุเลย แต่มีขนาดเล็กกว่า หน้าบันเป็นไม้แกะสลัก เดิมเป็นรูปช้างเอาราวัณ แต่ต่อมาสูญหายไป จึงนำรูปเทพพนมมาติดแทน ด้านในของพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปมากมายหลายองค์ หลายขนาด จะเห็นได้ว่ามีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานแทบจะบังด้านหน้าพระประธาน พระที่วัดเล่าให้ฟังว่า บริเวณพระพุทธรูปยืนองค์นั้น เคยเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อวัดไร่ขิง ที่ประดิษฐาน ณ จังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน
เมื่อมองไปรอบๆ ก็จะพบกับภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติตอน มารผจญ ที่ผนังด้านหน้า แสดงธรรมแก่เทวดา ที่ผนังด้านหลัง ส่วนผนังด้านซ้ายและขวานั้น เป็นภาพเทพชุมนุมนั่งซ้อนกันเป็นแถวๆ ภาพทั้งหมดสันนิษฐานว่าวาดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่เก่าไม่ใหม่ไปกว่านี้ สภาพส่วนใหญ่ของภาพค่อนข้างลบเลือน(มาก) ด้านบนเลือนเพราะน้ำฝนไหลลงมา ด้านล่างก็เลือนเพราะน้ำท่วม น่าเสียดายจริงๆ แต่ไม่กี่ปีมานี้ กรมศิลปากร ได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิพิพิธภัณฑ์โทคุกาวา ประเทศญี่ปุ่น ในการซ่อมแซมภาพจิตรกรรมฝาผัง และสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อกลางปี ๒๕๕๙
ออกจากพระอุโบสถ ลองเดินไปด้านหลัง จะพบกับซุ้มเล็กๆ ยื่นออกมาจากผนัง นอกจากจะประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์แล้ว ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วย แต่มีความสวยงามและดูแปลกตา จะเป็นอย่างไร ขอให้ไปชมเอง
หากมีเวลาเหลือ ด้านหลังของศาลาการเปรียญ เป็นที่ตั้งของ หอพระไตรปิฎก อย่าพลาดชมลวดลายปูนปั้นนารายณ์ทรงครุฑ ที่กล่าวขานกันว่างดงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย…
ข้อมูลสถานที่ : วัดศาลาปูนวรวิหาร
ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา
การเดินทางมาวัด เข้าทางเดียวกัน ประตูเดียวกันกับวัดพนมยงค์เลย แต่เลยลึกเข้าไปในซอยอีกหน่อยจะสุดที่วัดศาลาปูน
หมายเหตุ : ถึงแม้ว่าจิตรกรรมฝาผนังได้รับการบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ตัวอาคารภายนอกยังบูรณะไม่แล้วเสร็จ ยังตั้งนั่งร้านคลุมอาคารไว้อยู่ (ธันวาคม ๒๕๕๙) หากจะเข้าชมจิตรกรรมฝาผนังด้านใน สามารถติดต่อกับพระที่อยู่ในศาลาด้านหน้าได้เลย
บางครั้ง คติความเชื่อ การขอพร โชคลาภ ตำนานอภินิหารที่สรรค์สร้างขึ้นมา ได้กลบหลักฐานดั้งเดิมของศาสนสถานให้หมดไป กลายเป็นของใหม่ๆ เข้ามาแทนที่
แต่นั่นไม่ใช่สำหรับ วัดเชิงท่า แห่งนี้แน่นอน เพราะพื้นที่ของวัดแห่งนี้ได้จัดแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนด้วยกัน ได้แก่
ส่วนที่ ๑ กลุ่มโบราณสถานสมัยกรุงศรีอยุธยา ประกอบไปด้วย องค์พระปรางค์ประธาน และพระปรางค์บริวารล้อมทั้ง ๓ ทิศ เบื้องหน้ามีพระวิหารหลวง หันหน้าลงคลองเมือง ซึ่งเป็นเส้นทางการสัญจรในสมัยก่อน ในส่วนนี้ยังคงปรากฏร่องรอยของงานประติมากรรม ทั้งองค์พระพุทธรูป และปูนปั้นประดับอาคารอยู่มากพอสมควร
ส่วนที่ ๒ โบราณสถานสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๔) คือ ศาลาการเปรียญ อันที่จริงแล้วอายุของอาคารนี้ยังไม่แน่ชัดนัก เพราะลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่อย่างไรก็ตาม เรามาว่าเรื่องของดีที่อยู่ด้านในกันดีกว่า
ของดีอย่างแรก คือ ธรรมาสน์ ซึ่งที่นี่มีธรรมาสน์ ๒ หลัง หลังหนึ่งเป็นธรรมาสน์ยาว สมัยกรุงศรีอยุธยา พระสงฆ์ไปนั่งสวดบนธรรมาสน์นี้ได้ ๔ รูป และอีกหลังเป็นธรรมาสน์ทรงบุษบก สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
มาดูที่ผนังก็จะพบกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัชกาลที่ ๔-๕ วาดเรื่องราวพุทธประวัติและทศชาติชาดก แม้อาคารนี้จะได้รับผลกระทบหนักจากมหาอุทกภัยเมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๔ แต่กรมศิลปากรก็ได้ทำการบูรณะทุกสิ่งทุกอย่างให้กลับมางดงามเช่นเดิม โดยหลงเหลือคราบระดับน้ำที่บานหน้าต่างและเสาไว้เป็นอนุสรณ์
ส่วนที่ ๓ กลุ่มศาสนสถานยุคปัจจุบัน ได้แก่ ศาลาบำเพ็ญกุศล สะเดาะเคราะห์ ที่ตั้งพระพุทธรูป อนุสาวรีย์บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าให้สักการะ และหมู่กุฏิสงฆ์ จะทำบุญอะไรก็เชิญได้ที่จุดนี้
การแบ่งพื้นที่ของวัดเชิงท่า ทำให้ส่วนเก่า และส่วนใหม่ไม่กระทบต่อกันจนเกิดผลเสีย คนที่มาวัดก็ได้ทำบุญในพื้นที่ที่จัดไว้ให้ พร้อมกับเดินชมศิลปกรรมที่งดงามในบรรยากาศเงียบสงบ ทราบแล้วก็อย่าได้พลาดที่จะมาเยือนวัดแห่งนี้ !...
ข้อมูลสถานที่ : วัดเชิงท่า (โกษาวาส)
ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา
การเดินทางมาวัด หากมาจากถนนอู่ทองมาหน้าวัดหน้าพระเมรุ เลี้ยวซ้ายแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะพบวัดหัสดาวาสอยู่ทางขวามือ เลยไปอีกจะถึงวัดเชิงท่าที่ตั้งอยู่ทางด้านซ้าย หรือหากมาจากวัดพนมยงค์ หรือวัดศาลาปูน ให้ออกมาถนนใหญ่ แล้วกลับรถวนมาเข้าซอยที่อยู่ตรงข้ามกัน ตรงเข้ามาวัดเชิงท่าจะอยู่ทางขวามือ
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น