สงสัย การเรื่องการทดสอบวิตามินซีของ ขายตรงยี่ห้อหนึ่ง กับ ยี่ห้อตลาดเป็นที่รู้จักยี่ห้อหนึ่ง

สวัสดีค่ะ

ขอเกริ่นเรื่องคร่าวๆนะคะ เราทานวิตามินบี ซี เป็นประจำ

ปัจจุบันทานของขายตรงยี่ห้อนึงอยู่ และ กำลังจะเปลี่ยนมาทานอีกยี่ห้อหนึ่งซึ่งเป็นยี่ห้อตลาด ซึ่งเป็นที่รู้จัก นำเข้า หาซื้อได้ตามร้านยาทั่วไป
ด้วยเหตุผลที่ว่า เรารู้สึกว่าของที่เราทานอยู่ราคาค่อนข้างแพงไป

**เราเป็นแค่ผู้ใช้สินค้าเฉยๆนะคะ ไม่ได้ทำธุรกิจนี้ แค่ใช้สินค้าบางอย่าง

พอเราบอกว่าจะเลิกทาน เพื่อนก็นำวิตามินมาทดสอบให้ดู วิธีทดสอบของเค้าคือ
เค้าให้เรากำมือสองข้าง และ หยดเบตาดีน ลงที่หลังมือ
จากนั้น นำเอาเม็ดยาวิตามินซีของทั้งสองยี่ห้อข้างต้น มาวนๆที่หยดเบตาดีนบนหลังมือเรา
ผลที่ได้คือ...
   ยี่ห้อของขายตรง - หยดเบตาดีน เปลี่ยนเป็นน้ำสีใสๆ
   ยี่ห้อตลาด - เป็นหยดสีเบตาดีนเหมือนเดิม
ซึ่งคนที่ทดสอบให้เราให้เหตุผลว่า เพราะยี่ห้อตลาด ใส่ปริมาณวิตามินซีมาในจำนวนน้อยมาก ไม่ได้คุณภาพ

เราเลยเกิดความสงสัย ขอถามแบบตาสีาสา คนไม่มีความรู้เรื่องทางยา การแพทย์ สารเคมี  ว่าการทดสอบในลักษณะนี้ สามารถวัดประสิทธิภาพ คุณภาพของ วิตามินซี ได้จริงมั้ยคะ มีเหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์อะไรบ้างรองรับ แต่มันก็ต่างชัดเจนเลยอะ

อยากได้ความรู้จากคนในห้องนี่ ที่มีความรู้ หรือ เรียนมาทางด้านนี้โดยตรงมาอธิบายค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
โอ้โห วิธีทดสอบ -____-
จขกท.บอกอยากได้คำตอบจากคนที่เรียนโดยตรงเพื่อเอาไปคานกับเพื่อนใช่มั้ยคะ

เราเรียนอยู่ค่ะ เพิ่งผ่านเคมีวิเคราะห์ แลปเคมีวิเคราะห์ เคมีอินทรีย์และแลปเคมีอินทรีย์มาสดๆร้อนๆสอบเสร็จไปวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมาเนี่ยเองค่ะ

1. มันไม่ใช่วิธีทดสอบที่เฉพาะเจาะจงค่ะ มีหลายอย่างมากที่เปลี่ยนสีเบตาดีนได้

คือ นึกภาพตามนะคะ เบตาดีน มีประจุลบและค่อนข้างไวในการทำปฏิกิริยาค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นวิตามินซีก็เปลี่ยนสีเบตาดีนได้ คือสมมติว่าเค้าให้ทำแลป ให้สาร unkhown มาตัวนีง ให้หาวิธีทดสอบ สารบางตัวเท่านั้นที่จะทำปฏิกิริยากับสารที่ทดสอบได้ อันนี้เค้าถึงเรียกว่าทดสอบได้อย่างจำเพาะเจาะจงและเชื่อถือได้

แต่ไอ้เบตาดีนมันไม่ได้ทำปฏิกิริยากับวิตามินซีได้ตัวเดียวไงคะ เอาไปหยดใส่ผงชูรส มันก็ค่าเท่ากันอะ

อะ ยกตัวอย่างนี่เลยค่ะ

อันนี้ไม่ใช่การทดสอบวิตามินซีนะ แต่ตารางมันเข้าใจง่ายสุด เอามาให้ดูว่าสารต่างชนิดกัน มันก็ทำปฏิกิริยากับสารทดสอบผลเหมือนกันได้ ไอ้ใสๆก็ใช่ว่าจะใช่วิตามินซีเสมอไป

2. วิธีทดสอบนี่ใช้ไม่ได้ค่ะ อย่าเรียกว่าทดสอบเลย มันไม่ได้มีความน่าเชื่อถือเลย

- ลักษณะของสสาร วิตามินเป็นเม็ด เป็นของแข็ง และส่วนประกอบมันอาจไม่ใช่เพียววิตามิน  แล้วเอาแค่ผิวมาแตะๆเบตาดีน ไอ้ส่วนที่ไปป๊ะกับเบตาดีน มันคืออะไร ใช่ตัววิตามินมั้ย

การทดลองการทำปฏิกิริยา ควรให้สารสัมผัสกับสิ่งที่เอามาทดสอบทั้งหมดสิคะ เอาง่ายๆ คือโกร่งบดยาหรือครก บดจนละเอียดเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส ละลายน้ำเท่าๆกัน แล้วหยดไอโอดีนปริมาณเท่าๆกันลงไป ไม่งั้นผิวสัมผัสมันก็ไม่โดนทดสอบทั้งก้อนไม่ได้ทำปฏิกิริยาเท่าๆกัน ในอัตราเท่าๆกันสิคะ

3. วิธีที่เคยทำตอนม.3 ยังมีความเฉพาะเจาะจงกว่าอีกค่ะ อันนี้เคยได้ทดสอบกับน้ำผลไม้ จะลองทำตามก็ได้ค่ะ

- หาอะไรมาบดวิตามินซีซะ แล้วละลายในน้ำกลั่น (ป้องกันประจุอะไรมารบกวน ถ้าหาไม่ได้น้ำดื่มก็ได้ค่ะ เราไม่ได้ต้องการความแม่นมากเท่าเกรดแลป

- เอาแป้งสุกมา ละลายน้ำ แล้วเติมไอโอดีนลงไป จะได้สารละลายสีน้ำเงิน

- เอาดรอปเปอร์ ที่ดูดๆ ยาอ่ะค่ะ   ดูดวิตามินซีละลายน้ำอ่ะค่ะ หยดลงไปในสารละลายสีน้ำเงิน นับหยดด้วยนะคะ มันเปลี่ยนเป็นสีขาวใสเร็ว แปลว่าวิตามินซีสูงกว่าอันที่จำนวนหยดมาก ก็คือใช้นิดเดียวก็เปลี่ยนสีแล้วคือวิตามินสูงค่ะ

ถ้าอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ ก็คือไอ้วิตามินซีนั้นเป็นสารจำพวกให้อิเล็กตรอน น้ำแป้งเป็น indicator เมื่อวิตามินซีถูกออกซิไดซ์ (สูญเสียอิเล็กตรอน) แล้ว วิตามินซีจะเป็นตัวแยกสารสีน้ำเงินเข้มที่เป็นปฏิกิริยาระหว่างไอโอดีนกับน้ำแป้งสุกนั้นออกมา ทำให้สีน้ำเงินนั้นจางหายไป

พิจารณาดูนะคะ ไม่เข้าใจถามได้เลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่