“ สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์
น้อมศิระกราน
กราบแทบพระยุคลบาท
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ”
ในฐานะพสกนิกรคนหนึ่ง... ที่ทั้งชีวิตแทบไม่เคยได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อแทนคุณให้กับ “พ่อ” คิดไปแล้วเหมือนเป็น “ลูก”
ที่ช่างห่างไกลกับคำว่า “กตัญญู” เหลือเกิน ครั้งนี้! เมื่อมีโอกาสได้ทำอะไรที่ใกล้ชิดท่านบ้าง ก็ขอเริ่มจากสิ่งที่ตนเอง (คิดว่า)
น่าจะทำได้ดีที่สุดละกัน
นั่นคือ การนำเรื่องราวหนึ่งในโครงการของ “พ่อ” มาบอกเล่าให้พี่น้องชาวพันทิปที่แวะเวียนมาเยี่ยมชมกระทู้ ได้รู้ ได้เห็นถึง
อัจฉริยภาพและความห่วงใยพสกนิกรของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ให้กับชนชาวเขาเผ่าหนึ่งที่ตั้งบ้านเรือน
อยู่ไกลแสนไกล ยากต่อการเข้าถึง... ในครั้งนั้น
“บ้านป่าแป๋” อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ก่อนจะมาถึงวันนี้ “บ้านป่าแป๋” อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ของชาว “เลอเวือะ” ที่ซุกตัวอยู่อย่างเจียมตน
จากโลกภายนอกมานานนับร้อยปี (ชาว “เลอเวือะ” ก็คือ ชาว “ละว้า” ที่เราเรียกกันอย่างคุ้นปากนั่นเอง) ซึ่งหาก อ.ปีเตอร์
ฝรั่งชาวอเมริกัน พร้อมภริยา ไม่เกิดข้อสงสัยในวิถีการ “กิน” ที่ดูผิดแปลกกว่าชาวเขาทั่วๆ ไป และได้เข้ามาทำการค้นคว้าสำรวจ
เพื่อที่จะพบว่าข้อสงสัยดังกล่าวเป็นเรื่องเกินจริง ต่อมารายงานการวิจัยของ อ.ปีเตอร์ ถูกแพร่หลายสู่ภาครัฐ และตามมาด้วย
สิ่งที่ชาว “เลอเวือะ” แห่งบ้านป่าแป๋ ถือเป็นพรจากฟ้า เป็นดั่งจุดพลิกผันสำหรับชาวบ้าน บ้านป่าแป๋ นั่นคือ... การเสด็จมาถึงของ
องค์พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 เมื่อ 1 มีนาคม 2513
จันทร์ที่ 5 ธันวาคม 2559
เป็นความบังเอิญอย่างเหลือเชื่อ หลังจากที่วนเวียนขึ้น-ลง อยู่บนดอยสูงลูกแล้วลูกเล่า ระหว่าง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ กับ
อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จนพบว่าหมู่บ้านป่าแป๋อยู่ห่างไปแค่ไม่ถึงกิโล แต่ด้วยประเพณีเก่าแก่ที่ยึดถือกันมานานของหมู่บ้าน
ที่ห้ามคนในออก-คนนอกเข้าตลอด 1 วัน มาประจวบเหมาะเอาวันที่เราไปถึง ทำให้ต้องหันรถกลับไปพักที่อื่น 1 คืน ก่อนที่จะย้อน
กลับมาอีกครั้งในวันที่... 5 ธันวาคม 2559 พอดิบพอดี
โฮมสเตย์หลังที่ 1 บ้านป่าแป๋
ปลายบ่าย ก่อนแสงอาทิตย์จะลับพ้นขอบฟ้าไม่กี่ชั่วโมง ด้วยน้ำใจอันงดงามของชาวบ้านป่าแป๋ เส้นทางแคบๆ ที่เลี้ยวเลาะไปตาม
หมู่บ้านก็พาเรามาถึงโฮมสเตย์หลังที่ 1 ของพี่รุ่งแสง ไพรมีค่า ที่ที่คืนนี้จะเป็นทั้งห้องอาหาร ห้องนอน และเป็นหอสมุด ให้พวกเรา
ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชาว “เลอเวือะ” รวมถึง “ธนาคารข้าว” อันเป็นจุดหมายสำคัญของการเดินทางครั้งนี้
ธนาคารข้าวแห่งแรกของไทย
ท่ามกลางค่ำคืนที่หนาวเย็น อาหารมื้อค่ำและเครื่องดื่มพื้นถิ่นถูกจัดวางอยู่กลางวง เรื่องราวย้อนอดีตถูกถ่ายทอดผ่านถ้อยคำ
ที่เจือด้วยรอยยิ้มแห่งความภูมิใจจากพ่อหลวง “ส่างลา” ผู้ใหญ่บ้านวัยต้น 50 ของบ้านป่าแป๋ พร้อมลูกบ้านและภรรยาคู่ชีวิต
พี่รุ่งแสง ไพรมีค่า
“...วิถีชีวิตของชาวบ้านที่ป่าแป๋นี่ เป็นไปตามวิถีชีวิตพอเพียงตามทิศทางที่องค์พ่อหลวงทรงให้ไว้ เงินทองแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร
ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติแบบเดิมๆ แค่ปลูกข้าวพอกินกันในครอบครัว เหลือก็เก็บไว้ในยุ้งของตัวเอง เช้ามาก็ให้อาหารหมู ไก่ ปลา
ตกเย็นก็ไปรดน้ำผักผลไม้ไว้เก็บกิน”
“...ก่อนได้รับพระราชทานธนาคารข้าว บ้านป่าแป๋เราเคยขาดแคลนข้าวอย่างหนัก เพราะยุ้งข้าวของหมู่บ้านถูกไฟไหม้หมด
เมื่อพระองค์ทราบจึงโปรดเกล้าพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 20,000 บาท ใส่กล่องเหล็กให้เป็นทุนก่อตั้ง “ธนาคารข้าว” แห่งแรก
ของเมืองไทยเลยนะ เงิน 20,000 บาท นั่นตั้งแต่สมัยพ่อผมแล้ว ท่านพระราชทานเป็นทุนหมุนเวียนในการซื้อข้าวเก็บไว้ ให้ชาวบ้านป่าแป๋
กู้ยืมไปกินไปใช้เวลาไร่นาเกิดปัญหาฝนแล้ง ขาดแคลนน้ำ แล้วค่อยเก็บเกี่ยวมาส่งคืนพร้อมดอกเบี้ยอีกนิดหน่อยใช้เป็นกองทุนหมุนเวียน
เมื่อธนาคารสะสมข้าวจนเหลือใช้จึงทูลเกล้าฯ ถวายคืนเพื่อพระราชทานให้กับธนาคารข้าวที่อื่นต่อไป ธนาคารข้าวที่นี่ พระองค์ทรงเสด็จ
พระราชดำเนินมาเปิดด้วยพระองค์เองเมื่อ 1 มีนาคม ปี 13 ด้วยนะ...
“...ก็เพราะธนาคารข้าวนี่แหละที่ช่วยให้พวกเรามีความเป็นอยู่ดีขึ้น พึ่งพาตนเองได้ เลิกปลูกฝิ่นอย่างเมื่อก่อน ทุกวันนี้นอกจากจะพอกิน
กันไปในแต่ละปี หลายบ้านยังส่งขายไปที่อื่น อย่างข้าวกล้องดอยคำที่ขายกันอยู่ที่โครงการหลวงนั่นก็ใช่ ที่บ้านป่าแป๋นี่ วันที่ 1 มีนาคม
เราจัดงานวันรำลึกธนาคารข้าวพระราชทานแห่งแรกของประเทศ เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านอยู่เป็นประจำทุกปี...”
หลังบทสนทนาหลากหลายเรื่องราวเกือบตลอดค่ำคืนผ่านไป จึงทราบและซึ้ง ทั้งจากตาที่ได้เห็น หูที่ได้ฟัง สองเท้าที่ได้มีโอกาสก้าวตาม
รอยเท้า “พ่อ” ที่เคยย่ำเดินมาเมื่อครั้งอดีต จนในที่สุดก็ตกผลึกความคิดที่ว่า “พ่อ” ต้องเหน็ดเหนื่อยพระวรกายขนาดนี้ไปทำไม?
ถ้าไม่ใช่... เพราะ “พวกเรา” ที่ไม่ว่าจะมีวิถีชีวิตอยู่ใกล้หรือไกลเพียงไหน สายพระเนตรของพระองค์ยังคงทอดไกลไปถึง ทุกคนต่างคือ “ลูก”
ที่ทรงห่วงใยไม่แพ้กัน ถ้อยคำที่เราเคยได้ยินกันมาว่า... ไม่มีผืนดินแห่งไหนในเมืองไทยที่พระองค์ไม่เคยเสด็จไป จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกินเลย
แต่อย่างใด
ท้ายนี้ ขอกราบแทบฝ่าพระบาท... พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “พ่อ” ของชาวไทยทุกคน และ “พ่อ” ของลูกคนนี้
ขอขอบคุณ... ธรรมชาติท่ามกลางหุบดอยของ จ.แม่ฮ่องสอน ที่ยังคงความสด สวย และงดงาม รวมถึงดวงใจทุกดวงของชาว “เลอเวือะ”
แห่งบ้านป่าแป๋
ปีใหม่นี้เที่ยวให้สนุก และมีความสุขทุกท่าน
จนกว่าจะพบกันใหม่ครับ...
ฝากติดตามผลงานชิ้นที่ 1 ที่
http://ppantip.com/topic/35539656
[CR] “ธนาคารข้าวพระราชทานแห่งแรกของไทย” บนแดนดอยแม่ฮ่องสอน ที่ไม่ได้ซ่อนไว้เพียงความงาม
น้อมศิระกราน
กราบแทบพระยุคลบาท
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ”
ที่ช่างห่างไกลกับคำว่า “กตัญญู” เหลือเกิน ครั้งนี้! เมื่อมีโอกาสได้ทำอะไรที่ใกล้ชิดท่านบ้าง ก็ขอเริ่มจากสิ่งที่ตนเอง (คิดว่า)
น่าจะทำได้ดีที่สุดละกัน
นั่นคือ การนำเรื่องราวหนึ่งในโครงการของ “พ่อ” มาบอกเล่าให้พี่น้องชาวพันทิปที่แวะเวียนมาเยี่ยมชมกระทู้ ได้รู้ ได้เห็นถึง
อัจฉริยภาพและความห่วงใยพสกนิกรของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ให้กับชนชาวเขาเผ่าหนึ่งที่ตั้งบ้านเรือน
อยู่ไกลแสนไกล ยากต่อการเข้าถึง... ในครั้งนั้น
“บ้านป่าแป๋” อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ก่อนจะมาถึงวันนี้ “บ้านป่าแป๋” อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ของชาว “เลอเวือะ” ที่ซุกตัวอยู่อย่างเจียมตน
จากโลกภายนอกมานานนับร้อยปี (ชาว “เลอเวือะ” ก็คือ ชาว “ละว้า” ที่เราเรียกกันอย่างคุ้นปากนั่นเอง) ซึ่งหาก อ.ปีเตอร์
ฝรั่งชาวอเมริกัน พร้อมภริยา ไม่เกิดข้อสงสัยในวิถีการ “กิน” ที่ดูผิดแปลกกว่าชาวเขาทั่วๆ ไป และได้เข้ามาทำการค้นคว้าสำรวจ
เพื่อที่จะพบว่าข้อสงสัยดังกล่าวเป็นเรื่องเกินจริง ต่อมารายงานการวิจัยของ อ.ปีเตอร์ ถูกแพร่หลายสู่ภาครัฐ และตามมาด้วย
สิ่งที่ชาว “เลอเวือะ” แห่งบ้านป่าแป๋ ถือเป็นพรจากฟ้า เป็นดั่งจุดพลิกผันสำหรับชาวบ้าน บ้านป่าแป๋ นั่นคือ... การเสด็จมาถึงของ
องค์พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 เมื่อ 1 มีนาคม 2513
จันทร์ที่ 5 ธันวาคม 2559
เป็นความบังเอิญอย่างเหลือเชื่อ หลังจากที่วนเวียนขึ้น-ลง อยู่บนดอยสูงลูกแล้วลูกเล่า ระหว่าง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ กับ
อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จนพบว่าหมู่บ้านป่าแป๋อยู่ห่างไปแค่ไม่ถึงกิโล แต่ด้วยประเพณีเก่าแก่ที่ยึดถือกันมานานของหมู่บ้าน
ที่ห้ามคนในออก-คนนอกเข้าตลอด 1 วัน มาประจวบเหมาะเอาวันที่เราไปถึง ทำให้ต้องหันรถกลับไปพักที่อื่น 1 คืน ก่อนที่จะย้อน
กลับมาอีกครั้งในวันที่... 5 ธันวาคม 2559 พอดิบพอดี
โฮมสเตย์หลังที่ 1 บ้านป่าแป๋
ปลายบ่าย ก่อนแสงอาทิตย์จะลับพ้นขอบฟ้าไม่กี่ชั่วโมง ด้วยน้ำใจอันงดงามของชาวบ้านป่าแป๋ เส้นทางแคบๆ ที่เลี้ยวเลาะไปตาม
หมู่บ้านก็พาเรามาถึงโฮมสเตย์หลังที่ 1 ของพี่รุ่งแสง ไพรมีค่า ที่ที่คืนนี้จะเป็นทั้งห้องอาหาร ห้องนอน และเป็นหอสมุด ให้พวกเรา
ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชาว “เลอเวือะ” รวมถึง “ธนาคารข้าว” อันเป็นจุดหมายสำคัญของการเดินทางครั้งนี้
ธนาคารข้าวแห่งแรกของไทย
ท่ามกลางค่ำคืนที่หนาวเย็น อาหารมื้อค่ำและเครื่องดื่มพื้นถิ่นถูกจัดวางอยู่กลางวง เรื่องราวย้อนอดีตถูกถ่ายทอดผ่านถ้อยคำ
ที่เจือด้วยรอยยิ้มแห่งความภูมิใจจากพ่อหลวง “ส่างลา” ผู้ใหญ่บ้านวัยต้น 50 ของบ้านป่าแป๋ พร้อมลูกบ้านและภรรยาคู่ชีวิต
พี่รุ่งแสง ไพรมีค่า
“...วิถีชีวิตของชาวบ้านที่ป่าแป๋นี่ เป็นไปตามวิถีชีวิตพอเพียงตามทิศทางที่องค์พ่อหลวงทรงให้ไว้ เงินทองแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร
ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติแบบเดิมๆ แค่ปลูกข้าวพอกินกันในครอบครัว เหลือก็เก็บไว้ในยุ้งของตัวเอง เช้ามาก็ให้อาหารหมู ไก่ ปลา
ตกเย็นก็ไปรดน้ำผักผลไม้ไว้เก็บกิน”
“...ก่อนได้รับพระราชทานธนาคารข้าว บ้านป่าแป๋เราเคยขาดแคลนข้าวอย่างหนัก เพราะยุ้งข้าวของหมู่บ้านถูกไฟไหม้หมด
เมื่อพระองค์ทราบจึงโปรดเกล้าพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 20,000 บาท ใส่กล่องเหล็กให้เป็นทุนก่อตั้ง “ธนาคารข้าว” แห่งแรก
ของเมืองไทยเลยนะ เงิน 20,000 บาท นั่นตั้งแต่สมัยพ่อผมแล้ว ท่านพระราชทานเป็นทุนหมุนเวียนในการซื้อข้าวเก็บไว้ ให้ชาวบ้านป่าแป๋
กู้ยืมไปกินไปใช้เวลาไร่นาเกิดปัญหาฝนแล้ง ขาดแคลนน้ำ แล้วค่อยเก็บเกี่ยวมาส่งคืนพร้อมดอกเบี้ยอีกนิดหน่อยใช้เป็นกองทุนหมุนเวียน
เมื่อธนาคารสะสมข้าวจนเหลือใช้จึงทูลเกล้าฯ ถวายคืนเพื่อพระราชทานให้กับธนาคารข้าวที่อื่นต่อไป ธนาคารข้าวที่นี่ พระองค์ทรงเสด็จ
พระราชดำเนินมาเปิดด้วยพระองค์เองเมื่อ 1 มีนาคม ปี 13 ด้วยนะ...
“...ก็เพราะธนาคารข้าวนี่แหละที่ช่วยให้พวกเรามีความเป็นอยู่ดีขึ้น พึ่งพาตนเองได้ เลิกปลูกฝิ่นอย่างเมื่อก่อน ทุกวันนี้นอกจากจะพอกิน
กันไปในแต่ละปี หลายบ้านยังส่งขายไปที่อื่น อย่างข้าวกล้องดอยคำที่ขายกันอยู่ที่โครงการหลวงนั่นก็ใช่ ที่บ้านป่าแป๋นี่ วันที่ 1 มีนาคม
เราจัดงานวันรำลึกธนาคารข้าวพระราชทานแห่งแรกของประเทศ เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านอยู่เป็นประจำทุกปี...”
หลังบทสนทนาหลากหลายเรื่องราวเกือบตลอดค่ำคืนผ่านไป จึงทราบและซึ้ง ทั้งจากตาที่ได้เห็น หูที่ได้ฟัง สองเท้าที่ได้มีโอกาสก้าวตาม
รอยเท้า “พ่อ” ที่เคยย่ำเดินมาเมื่อครั้งอดีต จนในที่สุดก็ตกผลึกความคิดที่ว่า “พ่อ” ต้องเหน็ดเหนื่อยพระวรกายขนาดนี้ไปทำไม?
ถ้าไม่ใช่... เพราะ “พวกเรา” ที่ไม่ว่าจะมีวิถีชีวิตอยู่ใกล้หรือไกลเพียงไหน สายพระเนตรของพระองค์ยังคงทอดไกลไปถึง ทุกคนต่างคือ “ลูก”
ที่ทรงห่วงใยไม่แพ้กัน ถ้อยคำที่เราเคยได้ยินกันมาว่า... ไม่มีผืนดินแห่งไหนในเมืองไทยที่พระองค์ไม่เคยเสด็จไป จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกินเลย
แต่อย่างใด
ท้ายนี้ ขอกราบแทบฝ่าพระบาท... พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “พ่อ” ของชาวไทยทุกคน และ “พ่อ” ของลูกคนนี้
ขอขอบคุณ... ธรรมชาติท่ามกลางหุบดอยของ จ.แม่ฮ่องสอน ที่ยังคงความสด สวย และงดงาม รวมถึงดวงใจทุกดวงของชาว “เลอเวือะ”
แห่งบ้านป่าแป๋
ปีใหม่นี้เที่ยวให้สนุก และมีความสุขทุกท่าน
จนกว่าจะพบกันใหม่ครับ...
ฝากติดตามผลงานชิ้นที่ 1 ที่ http://ppantip.com/topic/35539656