พึ่งพระบารมีที่บ้านยาง
จากการที่ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวที่หมู่บ้านยาง ตำบล
อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนทางขึ้น ดอยอ่างขาง ทำให้ผมได้พบกับคำว่า
พึ่งพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็นอย่างไรอย่างชัดเจนที่สุด
ศาลาที่ตั้งพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านยาง และยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับความศรัทธาในพระองค์ท่าน คือ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 เกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ทำลายบ้านเรือน เครื่องมือทำมาหากินของชาวบ้าน แม้กระทั่งโรงงานหลวงที่ ๑ ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ดินโคลน หินขนาดใหญ่ ไหลจากภูเขาสูง พัดพาบ้านเรือน โรงงานหลวงฯ พังราบ ความรุนแรงของกระแสน้ำ ทำให้อุปกรณ์ขนาดใหญ่ในโรงงานหลวงฯ ลอยหายไปกับกระแสน้ำ แต่เพิงไม้ที่ใช้เป็นที่ตั้งประทับพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
ซึ่งยังคงมีรูปถ่ายของชาวบ้านเป็นเครื่องยืนยัน ในภาพนี้เป็นการปรับปรุงศาลาขึ้นมาใหม่
ความอุดมสมบรูณ์ของหมู่บ้านยาง เริ่มจาก ครั้งเมื่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง พรรคคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะเหนือพรรคก๊ก มิน ตั๋ง นายพล เจียง ไค เช็ค จึงต้องถอยไปตั้งรัฐบาลใหม่ยัง เกาะฟอร์โมซา (ไต้หวันในปัจจุบัน) อย่างไรก็ตาม ก๊ก มิน ตั๋ง ได้วางกำลังของตนไว้ที่ มณฑลยูนาน คือ กองพล 93 ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวไว้เพื่อป้องกันไม่ให้กองกำลังอีกฝ่ายไล่ตามตีกำลังที่เคลื่อนย้ายไปยังเกาะฟอร์โมซา ในเวลาต่อมา กองพล 93 ก็ถูกกองทัพของอีกฝ่ายตีแตกพ่ายและถอยลงมายังจนเข้ามายังชายแดนไทย และต่อมามีการก่อตั้งกองพล 93 ขึ้นใหม่ โดยมีการสนับสนุนจากโลกตะวันตก เพื่อเป็นกองกำลังกันชนป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในอดีต พื้นที่แถบนี้มีการปลูกฝิ่นกันเป็นหลัก ด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกล จึงทรงเสด็จไปพระราชทาน พันธ์ุไม้เมืองหนาว ให้ปลูกทดแทนการปลูกฝิ่น เมื่อชาวบ้าน นำผลิตผลของตนไปขายกับถูกกดราคา ได้รับความลำบาก พระองค์ก็ทรงช่วย ตั้งโรงงานแปรผลิตผล เป็นที่มาของ โรงงานหลวงที่ ๑ นำความอุดมสุขสมบรูณ์ และ ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างมิรู้ลืมของชาวบ้านยาง จากรุ่นสู่รุ่น จนปัจจุบันเป็นคนไทยโดยสมบรูณ์
จุดที่น่าสนใจของ หมู่บ้านยาง อำเภอฝาง คือ พิพิธภัณท์โรงงานหลวงที่ ๑ ซึ่งจะมีความรู้ให้ได้ศึกษาถึง โครงการในพระราชดำริ และ การก่อตั้งโรงงานหลวงที่ ๑
ความสวยงาม การอยู่ร่วมกัน ระหว่างโรงงานหลวงที่ ๑ กับ ธรรมชาติ อย่างได้สมดุลกัน แบบอย่างของการพึ่งพิงกันของคนกับธรรมชาติ
นายทหารแห่งกองพล 93 คนสุดท้าย คุณกว่างหวู่ แซ่จาง และ คุณอุษา ภรรยา กับ ชีวิตความเป็นอยู่ ตามแนวพระราชดำริ ความจงรักภักดี ต่อ พระเจ้าอยู่หัว และ การอนุรักษ์ธรรมชาติ
เอกลักษณ์การกินอยู่ แบบชาวจีนยูนาน ซึ่ง ผู้แวะไปเยี่ยมจะสามารถหารับประทานได้ เช่น โต๊ะจีนยูนาน ขาหมู หมั่นโถ ส่วนที่บ้านคุณอุษา จะมี ผลิตภัณฑ์อาหารสมุนไพร ผักดองยิงกว่างฉ่าย เส้นบะหมี่แบบยูนาน และอื่นๆอีกมาก ได้ทราบถึงวิธีการผลิต และ รสชาติเฉพาะตัวที่หาได้ยาก
คุณอุษา กำลังทำกิจกรรมประจำวัน ที่ร้านอุษา ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านยาง ผลิตภัณฑ์โครงการพัฒาพื้นที่ลุ่มน้ำ
อน อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
ภายในชุนชนบ้านยาง เราจะพบ ภาพแบบนี้ วิธีการจดจำถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าอยู่หัว ต่อชาวบ้านยาง
ร้านอาหารแสนธรรมดา กับ รสชาติที่ไม่ธรรมดา และ อัธยาศัยไมตรีแห่งมิตรภาพอย่างล้นเหลือ ควรแวะมาลอง
หนุ่มใหญ่เจ้าของกิจการ บ้านยางเกสต์เฮ้าส์ (www.banyangguesthouse.com) คุณชาญชัย จารุวรกุล ได้สืบทอดวิถีชีวิตชาวบ้านยาง มีความมุ่งมั่นรักษาความเป็นชาวชุมชุนบ้านยาง ตามรอยพระราชดำริ ผู้ที่เต็มไปด้วยความเป็นมิตร ความสุภาพ อ่อนน้อม แก่ผู้มาเยือน
สำหรับผู้ที่อยากจะหาข้อมูลเกี่ยวกับบ้านยาง สามารถติดต่อได้ ที่ โทร 0810350690 รับรองจะไม่มีความผิดหวัง คนส่วนใหญ่ที่มาท่องเที่ยว ดอยอ่างขาง หรือ ดอยผ้าห่มปก ชื่นชมธรรมชาติ ผมขอแนะนำว่า ก่อนถึงอ่างขางราว 18 กิโลเมตร จากเส้นทางหลัก แยกอ่างขาง ไปอีก 9 กิโลเมตร คุณจะได้พบกับหมู่บ้านในตำนานแห่งกองพล 93 และเข้าใจคำว่าพึ่งพระบารมี รวมทั้งวิถีชีวิตตามรอยพระราชดำริ ผู้คนเปี่ยมล้นไปด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เสน่ห์แห่งธรรมชาติ อากาศแสนสบาย ความประทับใจทุกย่างก้าวของผู้มาเยื่อน หมู่บ้านในตำนาน บ้านยาง และคำขวัญที่โรงงานหลวงที่ ๑ ว่า "ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก" หากครั้งต่อไปที่คุณมาเที่ยวอ่างขาง อย่าลืมแวะ หมู่บ้านยาง ที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินของเรายังเคยเสด็จมาเยีอน
[CR] บ้านยาง ต.:)อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
จากการที่ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวที่หมู่บ้านยาง ตำบลอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนทางขึ้น ดอยอ่างขาง ทำให้ผมได้พบกับคำว่า
พึ่งพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็นอย่างไรอย่างชัดเจนที่สุด
ศาลาที่ตั้งพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านยาง และยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับความศรัทธาในพระองค์ท่าน คือ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 เกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ทำลายบ้านเรือน เครื่องมือทำมาหากินของชาวบ้าน แม้กระทั่งโรงงานหลวงที่ ๑ ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ดินโคลน หินขนาดใหญ่ ไหลจากภูเขาสูง พัดพาบ้านเรือน โรงงานหลวงฯ พังราบ ความรุนแรงของกระแสน้ำ ทำให้อุปกรณ์ขนาดใหญ่ในโรงงานหลวงฯ ลอยหายไปกับกระแสน้ำ แต่เพิงไม้ที่ใช้เป็นที่ตั้งประทับพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
ซึ่งยังคงมีรูปถ่ายของชาวบ้านเป็นเครื่องยืนยัน ในภาพนี้เป็นการปรับปรุงศาลาขึ้นมาใหม่
ความอุดมสมบรูณ์ของหมู่บ้านยาง เริ่มจาก ครั้งเมื่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง พรรคคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะเหนือพรรคก๊ก มิน ตั๋ง นายพล เจียง ไค เช็ค จึงต้องถอยไปตั้งรัฐบาลใหม่ยัง เกาะฟอร์โมซา (ไต้หวันในปัจจุบัน) อย่างไรก็ตาม ก๊ก มิน ตั๋ง ได้วางกำลังของตนไว้ที่ มณฑลยูนาน คือ กองพล 93 ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวไว้เพื่อป้องกันไม่ให้กองกำลังอีกฝ่ายไล่ตามตีกำลังที่เคลื่อนย้ายไปยังเกาะฟอร์โมซา ในเวลาต่อมา กองพล 93 ก็ถูกกองทัพของอีกฝ่ายตีแตกพ่ายและถอยลงมายังจนเข้ามายังชายแดนไทย และต่อมามีการก่อตั้งกองพล 93 ขึ้นใหม่ โดยมีการสนับสนุนจากโลกตะวันตก เพื่อเป็นกองกำลังกันชนป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในอดีต พื้นที่แถบนี้มีการปลูกฝิ่นกันเป็นหลัก ด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกล จึงทรงเสด็จไปพระราชทาน พันธ์ุไม้เมืองหนาว ให้ปลูกทดแทนการปลูกฝิ่น เมื่อชาวบ้าน นำผลิตผลของตนไปขายกับถูกกดราคา ได้รับความลำบาก พระองค์ก็ทรงช่วย ตั้งโรงงานแปรผลิตผล เป็นที่มาของ โรงงานหลวงที่ ๑ นำความอุดมสุขสมบรูณ์ และ ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างมิรู้ลืมของชาวบ้านยาง จากรุ่นสู่รุ่น จนปัจจุบันเป็นคนไทยโดยสมบรูณ์
จุดที่น่าสนใจของ หมู่บ้านยาง อำเภอฝาง คือ พิพิธภัณท์โรงงานหลวงที่ ๑ ซึ่งจะมีความรู้ให้ได้ศึกษาถึง โครงการในพระราชดำริ และ การก่อตั้งโรงงานหลวงที่ ๑
ความสวยงาม การอยู่ร่วมกัน ระหว่างโรงงานหลวงที่ ๑ กับ ธรรมชาติ อย่างได้สมดุลกัน แบบอย่างของการพึ่งพิงกันของคนกับธรรมชาติ
นายทหารแห่งกองพล 93 คนสุดท้าย คุณกว่างหวู่ แซ่จาง และ คุณอุษา ภรรยา กับ ชีวิตความเป็นอยู่ ตามแนวพระราชดำริ ความจงรักภักดี ต่อ พระเจ้าอยู่หัว และ การอนุรักษ์ธรรมชาติ
เอกลักษณ์การกินอยู่ แบบชาวจีนยูนาน ซึ่ง ผู้แวะไปเยี่ยมจะสามารถหารับประทานได้ เช่น โต๊ะจีนยูนาน ขาหมู หมั่นโถ ส่วนที่บ้านคุณอุษา จะมี ผลิตภัณฑ์อาหารสมุนไพร ผักดองยิงกว่างฉ่าย เส้นบะหมี่แบบยูนาน และอื่นๆอีกมาก ได้ทราบถึงวิธีการผลิต และ รสชาติเฉพาะตัวที่หาได้ยาก
คุณอุษา กำลังทำกิจกรรมประจำวัน ที่ร้านอุษา ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านยาง ผลิตภัณฑ์โครงการพัฒาพื้นที่ลุ่มน้ำอน อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
ภายในชุนชนบ้านยาง เราจะพบ ภาพแบบนี้ วิธีการจดจำถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าอยู่หัว ต่อชาวบ้านยาง
ร้านอาหารแสนธรรมดา กับ รสชาติที่ไม่ธรรมดา และ อัธยาศัยไมตรีแห่งมิตรภาพอย่างล้นเหลือ ควรแวะมาลอง
หนุ่มใหญ่เจ้าของกิจการ บ้านยางเกสต์เฮ้าส์ (www.banyangguesthouse.com) คุณชาญชัย จารุวรกุล ได้สืบทอดวิถีชีวิตชาวบ้านยาง มีความมุ่งมั่นรักษาความเป็นชาวชุมชุนบ้านยาง ตามรอยพระราชดำริ ผู้ที่เต็มไปด้วยความเป็นมิตร ความสุภาพ อ่อนน้อม แก่ผู้มาเยือน
สำหรับผู้ที่อยากจะหาข้อมูลเกี่ยวกับบ้านยาง สามารถติดต่อได้ ที่ โทร 0810350690 รับรองจะไม่มีความผิดหวัง คนส่วนใหญ่ที่มาท่องเที่ยว ดอยอ่างขาง หรือ ดอยผ้าห่มปก ชื่นชมธรรมชาติ ผมขอแนะนำว่า ก่อนถึงอ่างขางราว 18 กิโลเมตร จากเส้นทางหลัก แยกอ่างขาง ไปอีก 9 กิโลเมตร คุณจะได้พบกับหมู่บ้านในตำนานแห่งกองพล 93 และเข้าใจคำว่าพึ่งพระบารมี รวมทั้งวิถีชีวิตตามรอยพระราชดำริ ผู้คนเปี่ยมล้นไปด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เสน่ห์แห่งธรรมชาติ อากาศแสนสบาย ความประทับใจทุกย่างก้าวของผู้มาเยื่อน หมู่บ้านในตำนาน บ้านยาง และคำขวัญที่โรงงานหลวงที่ ๑ ว่า "ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก" หากครั้งต่อไปที่คุณมาเที่ยวอ่างขาง อย่าลืมแวะ หมู่บ้านยาง ที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินของเรายังเคยเสด็จมาเยีอน