เข้ามาอ่านทู้วันนี้ เห็นมีทู้คุณมาลาริน ที่กล่าวเรื่องไก่ขัน ได้เห็นหัวข้อทู ก็พอรู้นัยยะว่าเธอกำลังเอ่ย และ
เปรียบเทียบกับสิ่งใด หรือใคร ก็ตามอ่าน เพราะอยากจะจับประเด็นและความคิดว่า ตกลงนิทานเรื่องนี้
ถ้า เอามาเปรียบเทียบทางการเมืองแล้ว มันจะออกมาหน้าไหน บริบทแบบไหน มีใครเข้าใจเซน อย่างลึกซึ้งหรือไม่
โดยเฉพาะ เข้าของกระทู้คือคุณมาลาริน ที่เหมือนจะเอาธรรมมะ มาโยงการเมือง ให้คนอ่านคิดตาม คล้อยตาม หรือเห็นต่าง
และตัวข้าพเจ้ากลับพบว่า นิทานของคุณมาลาริน ก็สร้างความบันเทิงได้ไม่น้อย และต่อยอดจากความคิดของเธอ
ข้าพเจ้าจึงนึกถึงนิยายเซน อีกเรื่อง คือ เรื่อง
" ชาล้นถ้วย " ที่ท่านอาจารย์ พุทธทาสเคยเอามาเขียนไว้
ตอนไปวัดชลประทาน ได้อ่านมาบ้างจาก หนังสือที่วัด ซึ่งอ่านแล้วทึ่งมากในหลักคิดของเซนที่อุปมาได้เห็นภาพ และยิ่งลึกซึ้ง
เมื่อท่านพุทธทาส เอามาจำแนก ออกเป็นการสอน เรื่องตัวกู ของกู โดยเอาสถานะจิต มาเปรียบเทียบ
หากใครไม่เคยอ่าน หรือต้องการอ่าน ตามลิงค์ข้างล่างไปเลยค่ะ
ขอบคุณท่านเจ้าของบล๊อค ด้วยค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000087879
วันนี้ขอนำเสนอ "นิทานเซ็น" เรื่อง "น้ำชาล้นถ้วย" ซึ่งเป็นเรื่องของอาจารย์แห่งนิกายเซ็น ชื่อ "น่ำอิน" เป็นผู้มีชื่อเสียงไปทั่วทุกสารทิศ โดยมีผู้แสวงบุญเดินทางไปหาอาจารย์น่ำอิน เพื่อขอศึกษาพระพุทธศาสนาของนิกายเซ็น
สำหรับการยอมรับบุคคลที่เข้ามาพบอาจารย์น่ำอิน ท่านอาจารย์จะทดสอบโดยการรินน้ำชาลงในถ้วย รินจนล้นแล้วล้นอีก ผู้แสวงบุญต่างมองดูด้วยความฉงนและสงสัย ต่างก็ทนดูไม่ได้ จึงพูดโพล่งออกไปว่า "ท่านจะใส่มันลงไปได้อย่างไร" ประโยคนี้มันก็แสดงว่าเกิดความโมโหในใจขึ้นแล้ว
ท่านอาจารย์น่ำอิน จึงตอบว่า "ก็เหมือนกับท่านที่จะให้อาตมาใส่อะไรลงไปได้อีก เพราะท่านเต็มอยู่ด้วยตัวของเขาเอง" หมายความว่า เต็มไปด้วยความคิดเห็นตามความยึดมั่นและเชื่อถือของท่านเอง และมีวิธีคิดตามแบบของท่านเอง สองอย่างนี้แหละที่มันทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างเซ็นไม่ได้ หรือที่เรียกว่า ถ้วยชามันล้น
จากเรื่องข้างต้น ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย จะเตือนสติเด็กของเราให้รู้สึกนึกคิดเรื่องอะไรล้น อะไรไม่ล้น ได้อย่างไร ขอให้ช่วยกันหาหนทางออก ในสมัยโบราณอรรถกถาได้เคยกระแหนะกระแหนถึงพวกพราหมณ์ที่เป็นทิศาปาโมกข์ ต้องเอาเหล็กมาตีเป็นเข็มขัด คาดท้องเอาไว้ เนื่องจากกลัวว่าท้องจะแตก เพราะวิชาล้น ทั้งหมดนี้จะเป็นเรื่องที่มีความหมายอย่างไรก็ลองคิดดู พวกเราอาจล้นหรืออัดอยู่ด้วยวิชาทำนองนั้น จนอะไรใส่ลงไปอีกไม่ได้ หรือความล้นนั้นมันออกมาอาละวาดเอาบุคคลอื่นอยู่บ่อยๆ
แต่เราคิดดูก็เห็นได้ว่า ส่วนที่ล้นนั้นคงจะเป็นส่วนที่ใช้ไม่ได้ จะจริงหรือไม่ก็ลองคิดดู ส่วนใดที่เป็นส่วนที่ล้น ก็คงเป็นส่วนที่ใช้ไม่ได้ ส่วนที่ร่างกายรับเอาไว้ได้ก็คงเป็นส่วนที่มีประโยชน์ ฉะนั้นจริยธรรมแท้ๆ ไม่มีวันจะล้น โปรดนึกดูว่าจริยธรรมหรือธรรมะแท้ๆ นั้นมีอาการล้นได้ไหม ถ้าล้นไม่ได้ก็หมายความว่าสิ่งที่ล้นนั้น มันก็ไม่ใช่จริยธรรม ไม่ใช่ธรรมะ ล้นออกไปเสียให้หมดก็ดีเหมือนกัน หรือถ้าจะพูดอย่างลึก เป็นธรรมะลึกๆ ก็ว่าจิตแท้ๆ ไม่มีวันล้น สิ่งที่ล้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่จิตแท้ มันล้นได้มากมาย แต่ถึงกระนั้นเรายังไม่รู้ว่าจิตแท้ เป็นเพียงความคิดปรุงแต่ง ซึ่งจะล้นไหลไปเรื่อย นี่แหละรีบค้นหาให้พบสิ่งที่เรียกว่าจิตจริงๆ กันเสียสักทีก็ดูเหมือนกัน
ในที่สุดท่านจะพบตัวธรรมะอย่างสูงสุด ที่ควรแก่นามที่จะเรียกว่า "จิตแท้หรือจิตเทียม" ซึ่งข้อนั้นได้แก่ ภาวะแห่งความว่าง จิตที่ประกอบด้วยสภาวะแห่งความว่างจาก "ตัวกู-ของกู" นั้นแหละคือจิตแท้ ถ้าว่างแล้วมันจะเอาอะไรล้น นี่เนื่องจากไม่รู้จักว่าอะไรเป็นอะไร จึงบ่นกันเรื่องล้น การศึกษาก็ถูกบ่นว่าล้น แต่ที่ร้ายกาจที่สุด ก็คือที่พูดว่า ศาสนานี้เป็นส่วนที่ล้น จริยธรรมเป็นส่วนที่ล้น คือส่วนที่เกินความต้องการ ไม่ต้องเอามาใส่ใจ ไม่ต้องเอามาสนใจ เขาคิดว่าเขาไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือธรรมะเลย เขาก็เกิดมาได้ พ่อแม่ก็มีเงินให้เขาใช้ให้เขาเล่าเรียน เรียนเสร็จแล้วก็ทำราชการเป็นใหญ่เป็นโตได้ โดยไม่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาเลย ฉะนั้นเขาเขี่ยศาสนา หรือธรรมะออกไปในฐานะที่เป็นส่วนล้น คือ ไม่จำเป็น
นี่แหละเขาจัดส่วนล้นให้แก่ศาสนาอย่างนี้ คนชนิดนี้จะต้องอยู่ในลักษณะที่ล้นเหมือนผู้แสวงบุญคนนั้น ที่อาจารย์น่ำอินจะต้องรินน้ำชาใส่หน้า หรือว่ารินน้ำชาให้ดู โดยเขามีความเข้าใจผิดที่ล้น ในขณะที่ความเข้าใจถูกนั้นยังไม่เต็ม มันล้นออกมาให้เห็นเป็นรูปของมิจฉาทิฏฐิ เพราะเขาเห็นว่าเขามีอะไรๆ ของเขาเต็มเปี่ยมแล้ว ส่วนที่เป็นธรรมะ เป็นจริยธรรมมันไม่สามารถบรรจุให้เต็มได้อีกต่อไป ขอจงคิดดูให้ดีเถอะว่า นี่แหละ คือมูลเหตุที่ทำให้จริยธรรมรวนเรและพังทลาย ถ้าเรามีหน้าที่ที่จะต้องผดุงส่วนนี้แล้ว จะต้องสนใจในเรื่องนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ส่วนอันนี้เป็น คห ของข้าพเจ้า ที่ได้จากการอ่านเรื่องนี้นะ เป็น คห คิดเห็นส่วนตัว ผิดถูกอย่างไร
ข้าพเจ้ายินดี น้อมรับคำชี้แนะ ทุกกรณีค่ะ
และออกตัวก่อน ข้าพเจ้ามิได้เป็นผู้รู้ซึ้งมากมาย ทางธรรมะ นะะคะ แต่เพียงเป็นคนหนึ่งที่แสวงหาการอ่าน
จนพอรู้มาบ้าง และอาจยังขาดความรู้อีกเยอะ แต่การสนทนา ก็เป็นอีกอีกทางที่จะเพิ่มความรู้และมุมมองใหม่ค่ะ
ถ้าเราอ่านเรื่องนี้ เราจะพบว่า ท่านอาจารย์น่ำอิน จะใช้วิธี เทชาเพื่อสอนคนที่แสวงหาผลบุญ และคำตอบในพุทธศาสนา
แต่ด้วยสัมมาทิฐิ ที่มีอยู่ใน จิตมนุษย์ โดยทั่วไป การสอน ด้วยวิธี บรรยาย ธรรม ย่อมเข้าใจยาก กว่าวิธี แสดงธรรม
และเมื่อท่าน อ น่ำอิน เทชาไปเท่าไหร่ ชาก็จะล้นถ้วย ออกมามากเท่านั้น คนที่ไม่เข้าใจ ก็จะเกิกความสงสัย และโมโห
ในส่วนนี้ หากเรามองให้ลึกซึ้ง ถ้วยชาก็เปรียบดังจิต ที่ว่าง หากเมื่อเติมอะไรลงไป เราก็รับเอาสิ่งนั้นไว้
และในทางธรรมเราถือว่า น้ำชา คือสิ่งปรุงแต่งนั่นเอง
มีคำถามมากมายที่เคยสงสัยว่า แล้วทำไม เราต้องเอาจิต ไปเปรียบกับถ้วยน้ำชา นั่นเพราะ จิตเรามักไม่หยุดนิ่ง ที่จะค้นหา
จิตเราจึงมีสิ่งปรุงแต่ง มาเติมเต็มอยู่เรื่อยๆ และเมื่อจิตเราไม่เปิดรับ ความคิดใหม่ สิ่งปรุงแต่งใหม่ จิตเราก็จะกำหนด อยู่ที่เดิม
ปรุงแต่งแต่เรื่องเดิมๆ และ เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า
" มิจฉาทิฎฐิ " นั่นเอง
มิจฉาาทิฎฐิ คืออะไร สัมมาทิฎฐิ คือ กิเลส ที่ปรุงแต่ง และเกาะใจเรา อาจเป็นความคิดที่เอาแต่ใจตน การยกตน การเกลียดชัง
การปิดกั้นความคิดที่จะยอมรับความคิดคนอื่น และอาจรวมไปถึง อคติที่เกิดโดยไม่รู้ข้อเท็จจริง กิเลสนี้จะไม่มีวันหลุด ออกไป
หากจิตเรายังยิดมั่นถือมั่นจิตจึงมัวหมอง ในหลักธรรมะเราถือว่าคนที่มีสัมมาทิฎฐิ จะไม่ใช่ " จิตแท้ "
จิตแท้ จะไม่มีวันล้น เพราะจิตแท้ จะเปิดรับความคิดใหม่ตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งปรุงแต่งใดจะมา จิตจะไม่ยึดเหนี่ยว และเกาะไว้จนเต็ม
ดังนั้นทุกควรควรฝึกจิตให้ว่าง และปล่อยวาง เพื่อจะไม่ได้เป็นคนประเภท " ชาล้นแก้ว " คือไม่รับรู้อันใด เพราะกิเลสหนานั่นเอง
หากจิตบางคน ติดอยู่กับ ตัวกู - ของกู แล้ว จิตจะไม่มีความว่าง ตัวกิเลส ที่เป็นทั้งอคติ เป็นทั้งความอิจฉา ถือดี อวดเก่ง
มักจะเข้ามาแทน (มันคือสิ่งปรุงแต่งนั่นเอง ) และถ้ามันเกาะกุมใจเรามากขึ้น เราก็จะขาดหลักคิดทางจริยธรรม ได้ได้โดยปริยาย
หากอยากทำตนเป็น นำช้าที่เติมไม่เต็ม ต้องหมั่นฝึกจิตให้ว่าง ปล่อยวาง และแม้สิ่งปรุงแต่งใดมาเติม มันก็จะไม่มีวันเต็ม
ทู้นี้ตั้งมาเพื่อแลกเปลี่ยน ความคิดใหลักธรรม หากใครมีข้อเสนอแนะ หรือเป็นผู้รู้ทางใด นิกายใด
ข้าพเจ้ายินดีที่จะรับฟังและแลกเปลี่ยน สนทนา ความรู้ เพื่อแบ่งปันกันนะคะ
" ชาล้นถ้วย " นิทานเซนอีกเรื่อง ที่ควรอ่านและเรียนรู้
เปรียบเทียบกับสิ่งใด หรือใคร ก็ตามอ่าน เพราะอยากจะจับประเด็นและความคิดว่า ตกลงนิทานเรื่องนี้
ถ้า เอามาเปรียบเทียบทางการเมืองแล้ว มันจะออกมาหน้าไหน บริบทแบบไหน มีใครเข้าใจเซน อย่างลึกซึ้งหรือไม่
โดยเฉพาะ เข้าของกระทู้คือคุณมาลาริน ที่เหมือนจะเอาธรรมมะ มาโยงการเมือง ให้คนอ่านคิดตาม คล้อยตาม หรือเห็นต่าง
และตัวข้าพเจ้ากลับพบว่า นิทานของคุณมาลาริน ก็สร้างความบันเทิงได้ไม่น้อย และต่อยอดจากความคิดของเธอ
ข้าพเจ้าจึงนึกถึงนิยายเซน อีกเรื่อง คือ เรื่อง " ชาล้นถ้วย " ที่ท่านอาจารย์ พุทธทาสเคยเอามาเขียนไว้
ตอนไปวัดชลประทาน ได้อ่านมาบ้างจาก หนังสือที่วัด ซึ่งอ่านแล้วทึ่งมากในหลักคิดของเซนที่อุปมาได้เห็นภาพ และยิ่งลึกซึ้ง
เมื่อท่านพุทธทาส เอามาจำแนก ออกเป็นการสอน เรื่องตัวกู ของกู โดยเอาสถานะจิต มาเปรียบเทียบ
หากใครไม่เคยอ่าน หรือต้องการอ่าน ตามลิงค์ข้างล่างไปเลยค่ะ
ขอบคุณท่านเจ้าของบล๊อค ด้วยค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ส่วนอันนี้เป็น คห ของข้าพเจ้า ที่ได้จากการอ่านเรื่องนี้นะ เป็น คห คิดเห็นส่วนตัว ผิดถูกอย่างไร
ข้าพเจ้ายินดี น้อมรับคำชี้แนะ ทุกกรณีค่ะ
และออกตัวก่อน ข้าพเจ้ามิได้เป็นผู้รู้ซึ้งมากมาย ทางธรรมะ นะะคะ แต่เพียงเป็นคนหนึ่งที่แสวงหาการอ่าน
จนพอรู้มาบ้าง และอาจยังขาดความรู้อีกเยอะ แต่การสนทนา ก็เป็นอีกอีกทางที่จะเพิ่มความรู้และมุมมองใหม่ค่ะ
ถ้าเราอ่านเรื่องนี้ เราจะพบว่า ท่านอาจารย์น่ำอิน จะใช้วิธี เทชาเพื่อสอนคนที่แสวงหาผลบุญ และคำตอบในพุทธศาสนา
แต่ด้วยสัมมาทิฐิ ที่มีอยู่ใน จิตมนุษย์ โดยทั่วไป การสอน ด้วยวิธี บรรยาย ธรรม ย่อมเข้าใจยาก กว่าวิธี แสดงธรรม
และเมื่อท่าน อ น่ำอิน เทชาไปเท่าไหร่ ชาก็จะล้นถ้วย ออกมามากเท่านั้น คนที่ไม่เข้าใจ ก็จะเกิกความสงสัย และโมโห
ในส่วนนี้ หากเรามองให้ลึกซึ้ง ถ้วยชาก็เปรียบดังจิต ที่ว่าง หากเมื่อเติมอะไรลงไป เราก็รับเอาสิ่งนั้นไว้
และในทางธรรมเราถือว่า น้ำชา คือสิ่งปรุงแต่งนั่นเอง
มีคำถามมากมายที่เคยสงสัยว่า แล้วทำไม เราต้องเอาจิต ไปเปรียบกับถ้วยน้ำชา นั่นเพราะ จิตเรามักไม่หยุดนิ่ง ที่จะค้นหา
จิตเราจึงมีสิ่งปรุงแต่ง มาเติมเต็มอยู่เรื่อยๆ และเมื่อจิตเราไม่เปิดรับ ความคิดใหม่ สิ่งปรุงแต่งใหม่ จิตเราก็จะกำหนด อยู่ที่เดิม
ปรุงแต่งแต่เรื่องเดิมๆ และ เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า " มิจฉาทิฎฐิ " นั่นเอง
มิจฉาาทิฎฐิ คืออะไร สัมมาทิฎฐิ คือ กิเลส ที่ปรุงแต่ง และเกาะใจเรา อาจเป็นความคิดที่เอาแต่ใจตน การยกตน การเกลียดชัง
การปิดกั้นความคิดที่จะยอมรับความคิดคนอื่น และอาจรวมไปถึง อคติที่เกิดโดยไม่รู้ข้อเท็จจริง กิเลสนี้จะไม่มีวันหลุด ออกไป
หากจิตเรายังยิดมั่นถือมั่นจิตจึงมัวหมอง ในหลักธรรมะเราถือว่าคนที่มีสัมมาทิฎฐิ จะไม่ใช่ " จิตแท้ "
จิตแท้ จะไม่มีวันล้น เพราะจิตแท้ จะเปิดรับความคิดใหม่ตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งปรุงแต่งใดจะมา จิตจะไม่ยึดเหนี่ยว และเกาะไว้จนเต็ม
ดังนั้นทุกควรควรฝึกจิตให้ว่าง และปล่อยวาง เพื่อจะไม่ได้เป็นคนประเภท " ชาล้นแก้ว " คือไม่รับรู้อันใด เพราะกิเลสหนานั่นเอง
หากจิตบางคน ติดอยู่กับ ตัวกู - ของกู แล้ว จิตจะไม่มีความว่าง ตัวกิเลส ที่เป็นทั้งอคติ เป็นทั้งความอิจฉา ถือดี อวดเก่ง
มักจะเข้ามาแทน (มันคือสิ่งปรุงแต่งนั่นเอง ) และถ้ามันเกาะกุมใจเรามากขึ้น เราก็จะขาดหลักคิดทางจริยธรรม ได้ได้โดยปริยาย
หากอยากทำตนเป็น นำช้าที่เติมไม่เต็ม ต้องหมั่นฝึกจิตให้ว่าง ปล่อยวาง และแม้สิ่งปรุงแต่งใดมาเติม มันก็จะไม่มีวันเต็ม
ทู้นี้ตั้งมาเพื่อแลกเปลี่ยน ความคิดใหลักธรรม หากใครมีข้อเสนอแนะ หรือเป็นผู้รู้ทางใด นิกายใด
ข้าพเจ้ายินดีที่จะรับฟังและแลกเปลี่ยน สนทนา ความรู้ เพื่อแบ่งปันกันนะคะ