ที่มา :
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1481017871
"กสทช." เสนอเพิ่มเบอร์โทรศัพท์บ้านเป็น 10 หลัก ได้เลขหมายโทรคมนาคมเพิ่มอีกพันล้านเลขหมาย พร้อมยื่นบอร์ด "ดีอี" พิจารณาแนวทางสนับสนุนงบประมาณ "ทีโอที" เหตุต้องใช้เงินอัพเกรดชุมสายทั่วประเทศกว่า 20,000 ล้านบาท ย้ำไม่ได้บริหารเลขหมายผิดพลาด แต่เป็นแผนล่วงหน้ารองรับอนาคต
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กำลังเตรียมแผนบริหารเลขหมายโทรคมนาคมระยะยาว โดยเพิ่มเลขหมายที่เป็น 10 หลัก ด้วยการเพิ่มเลข 1 หลังเลข 0 ซึ่งจะทำให้มีเลขหมายเพิ่มขึ้น 1,000 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นมือถือ 760 ล้านเลขหมาย โทรศัพท์ประจำที่ 100 ล้านเลขหมาย ที่เหลือเป็นเลขหมายบริการอื่น ๆ แต่ บมจ.ทีโอต้องปรับปรุงระบบชุมสายและต้องใช้เงินลงทุน 20,000 ล้านบาท คาดจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเร็วๆนี้
"บอร์ดดีอีและ ครม.ต้องพิจารณาว่าจะใช้เงินส่วนใดมาอุดหนุน วงเงินเท่าใด อาทิ เงินกองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช."
เมื่อปี 2549 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ปรับปรุงระบบเลขหมายโทรคมนาคมครั้งใหญ่ จาก 9 หลักเป็น 10 หลักมาแล้ว และประเมินว่าจะใช้ได้ 30 ปี ส่วนครั้งนี้เป็นการวางแผนล่วงหน้า ปัจจุบันมีเลขหมายเพียงพอใช้ได้หลายปี โดยกสทช.กำลังปรับปรุงระเบียบหลายส่วน เช่น ซิมนักท่องเที่ยวเดิมต้องรอให้เลิกใช้ 90 วัน จึงดึงกลับมาใช้ใหม่ก็จะแก้ให้รอแค่ 30 วัน เป็นต้น
"แม้ใน 3-4 ปีนี้ ระบบของทีโอทีจะยังปรับปรุงไม่เสร็จ ก็ยังมีเลขหมายพอใช้และมีเลในมือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกไม่น้อย เช่น ดีแทคคืนมากว่า 20 ล้านเลขหมาย แต่ต้องปรับระบบให้คืนโดยไม่ต้องเรียงเบอร์ให้ครบทั้งหมื่นเลขหมาย"
ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ภารกิจด้านโทรคมนาคม เปิดเผยว่า เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการจัดสรรให้ผู้ประกอบการจะใช้หมวดที่ขึ้นต้นด้วย 06, 08 และ 09 ซึ่งหมวดเลขหมายที่ยังเหลือให้จัดสรรใหม่ได้ คือ หมวด 06-5XXX-XXXX ราว 1 ล้านเลขหมายหมวด 06-6XXX-XXXX อีก 10 ล้านแต่มีเลขหมายตามระบบสัมปทานเดิมของเอไอเอสและทรูมูฟที่ไม่มีผู้ใช้ และนำกลับมาใช้ใหม่อีก 40 ล้านเลขหมาย แต่กำลังปรับปรุงระบบทางเทคนิค เพื่อให้นำกลับมาคืนได้แบบไม่เรียงเบอร์ให้ครบตามหมวดได้
"เท่ากับมีเลขหมายอีกราว 70-80 ล้านเลขหมาย ซึ่ง กสทช.ประเมินว่าจะเพียงพอใช้งานได้อีก 5 ปี แต่ตามกฎของ ITU หากจะมีการปรับจำนวนหลักเบอร์โทร.ในประเทศต้องแจ้งล่วงหน้าราว 3 ปี เพื่อให้โอเปอเรเตอร์ทั่วโลกทราบและเซตระบบเพื่อให้โทร.หากันได้ราบรื่น การวางแผนบริหารเลขหมายระยะยาวจึงจำเป็นต้องเร่งทำ ณ ตอนนี้"
ส่วนกรณีที่ กทช.เคยวางแผนเลขหมายไว้สำหรับ 30 ปี เมื่อปี 2549 โดยใช้บรรดาโอเปอเรเตอร์และ กทช. ใช้เงินลงทุนปรับระบบ 300 ล้านบาท แต่ใช้งานจริงได้เพียง 10 กว่าปี เนื่องจากตลาดโทรคมนาคมเปลี่ยนไป การมาถึงของสมาร์ทโฟน, แท็บเลต และอินเทอร์เน็ตออฟทิงส์ (IoT) ทำให้ความต้องการใช้เลขหมายเพิ่มขึ้นมาก ปัจจุบันผู้บริโภคมีเลขหมายใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ กว่า 1 เบอร์
ขณะที่ฝั่งโอเปอเรเตอร์เองก็มีการทำตลาดรุนแรงสาเหตุที่เลือกเพิ่มหลักเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่จาก 9 หลักเป็น 10 หลัก เนื่องจากหากเลือกเพิ่มเบอร์มือถือจาก 10 เป็น 11 หลัก จะมีผู้ได้รับผลกระทบต้องปรับระบบโทรคมนาคมใหม่ทั้งหมดจำนวนมากไม่ใช่แค่ค่ายมือถือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ขณะที่ชุมสายทีโอทีที่ใช้อยู่ปัจจุบันถึงวาระที่ต้องอัพเกรดอยู่แล้ว ส่วนเงินลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาทที่ทีโอทีเสนอมา กสทช.มองว่าทยอยลงทุนชุมสายหลักก่อนได้ ราว 4,000-5,000 ล้านบาท
เปลี่ยนเบอร์บ้านเป็น10หลัก เพิ่มพันล.เลขหมายรับอนาคต
"กสทช." เสนอเพิ่มเบอร์โทรศัพท์บ้านเป็น 10 หลัก ได้เลขหมายโทรคมนาคมเพิ่มอีกพันล้านเลขหมาย พร้อมยื่นบอร์ด "ดีอี" พิจารณาแนวทางสนับสนุนงบประมาณ "ทีโอที" เหตุต้องใช้เงินอัพเกรดชุมสายทั่วประเทศกว่า 20,000 ล้านบาท ย้ำไม่ได้บริหารเลขหมายผิดพลาด แต่เป็นแผนล่วงหน้ารองรับอนาคต
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กำลังเตรียมแผนบริหารเลขหมายโทรคมนาคมระยะยาว โดยเพิ่มเลขหมายที่เป็น 10 หลัก ด้วยการเพิ่มเลข 1 หลังเลข 0 ซึ่งจะทำให้มีเลขหมายเพิ่มขึ้น 1,000 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นมือถือ 760 ล้านเลขหมาย โทรศัพท์ประจำที่ 100 ล้านเลขหมาย ที่เหลือเป็นเลขหมายบริการอื่น ๆ แต่ บมจ.ทีโอต้องปรับปรุงระบบชุมสายและต้องใช้เงินลงทุน 20,000 ล้านบาท คาดจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเร็วๆนี้
เมื่อปี 2549 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ปรับปรุงระบบเลขหมายโทรคมนาคมครั้งใหญ่ จาก 9 หลักเป็น 10 หลักมาแล้ว และประเมินว่าจะใช้ได้ 30 ปี ส่วนครั้งนี้เป็นการวางแผนล่วงหน้า ปัจจุบันมีเลขหมายเพียงพอใช้ได้หลายปี โดยกสทช.กำลังปรับปรุงระเบียบหลายส่วน เช่น ซิมนักท่องเที่ยวเดิมต้องรอให้เลิกใช้ 90 วัน จึงดึงกลับมาใช้ใหม่ก็จะแก้ให้รอแค่ 30 วัน เป็นต้น
"แม้ใน 3-4 ปีนี้ ระบบของทีโอทีจะยังปรับปรุงไม่เสร็จ ก็ยังมีเลขหมายพอใช้และมีเลในมือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกไม่น้อย เช่น ดีแทคคืนมากว่า 20 ล้านเลขหมาย แต่ต้องปรับระบบให้คืนโดยไม่ต้องเรียงเบอร์ให้ครบทั้งหมื่นเลขหมาย"
ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ภารกิจด้านโทรคมนาคม เปิดเผยว่า เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการจัดสรรให้ผู้ประกอบการจะใช้หมวดที่ขึ้นต้นด้วย 06, 08 และ 09 ซึ่งหมวดเลขหมายที่ยังเหลือให้จัดสรรใหม่ได้ คือ หมวด 06-5XXX-XXXX ราว 1 ล้านเลขหมายหมวด 06-6XXX-XXXX อีก 10 ล้านแต่มีเลขหมายตามระบบสัมปทานเดิมของเอไอเอสและทรูมูฟที่ไม่มีผู้ใช้ และนำกลับมาใช้ใหม่อีก 40 ล้านเลขหมาย แต่กำลังปรับปรุงระบบทางเทคนิค เพื่อให้นำกลับมาคืนได้แบบไม่เรียงเบอร์ให้ครบตามหมวดได้
"เท่ากับมีเลขหมายอีกราว 70-80 ล้านเลขหมาย ซึ่ง กสทช.ประเมินว่าจะเพียงพอใช้งานได้อีก 5 ปี แต่ตามกฎของ ITU หากจะมีการปรับจำนวนหลักเบอร์โทร.ในประเทศต้องแจ้งล่วงหน้าราว 3 ปี เพื่อให้โอเปอเรเตอร์ทั่วโลกทราบและเซตระบบเพื่อให้โทร.หากันได้ราบรื่น การวางแผนบริหารเลขหมายระยะยาวจึงจำเป็นต้องเร่งทำ ณ ตอนนี้"
ส่วนกรณีที่ กทช.เคยวางแผนเลขหมายไว้สำหรับ 30 ปี เมื่อปี 2549 โดยใช้บรรดาโอเปอเรเตอร์และ กทช. ใช้เงินลงทุนปรับระบบ 300 ล้านบาท แต่ใช้งานจริงได้เพียง 10 กว่าปี เนื่องจากตลาดโทรคมนาคมเปลี่ยนไป การมาถึงของสมาร์ทโฟน, แท็บเลต และอินเทอร์เน็ตออฟทิงส์ (IoT) ทำให้ความต้องการใช้เลขหมายเพิ่มขึ้นมาก ปัจจุบันผู้บริโภคมีเลขหมายใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ กว่า 1 เบอร์
ขณะที่ฝั่งโอเปอเรเตอร์เองก็มีการทำตลาดรุนแรงสาเหตุที่เลือกเพิ่มหลักเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่จาก 9 หลักเป็น 10 หลัก เนื่องจากหากเลือกเพิ่มเบอร์มือถือจาก 10 เป็น 11 หลัก จะมีผู้ได้รับผลกระทบต้องปรับระบบโทรคมนาคมใหม่ทั้งหมดจำนวนมากไม่ใช่แค่ค่ายมือถือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ขณะที่ชุมสายทีโอทีที่ใช้อยู่ปัจจุบันถึงวาระที่ต้องอัพเกรดอยู่แล้ว ส่วนเงินลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาทที่ทีโอทีเสนอมา กสทช.มองว่าทยอยลงทุนชุมสายหลักก่อนได้ ราว 4,000-5,000 ล้านบาท