ภารกิจหิน "กสทช." สางปมมือถือ-ทีวีดิจิทัล
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559
หลังสร้างความฮือฮาในการประมูลคลื่นในระบบ 4จี จนได้เงินมากว่า 2 แสนล้านบาท จนทำให้ผู้ใช้บริการวิตกกังวลว่าจะทำให้ค่าบริการมือถือในระบบ 4จี สูงเกินกว่าความเป็นจริง ขณะเดียวกันก็มีคำถามว่าจะทำอย่างไรกับทีวีดิจิทัล ที่หน่วยงานนี้ทำคลอดมาแต่ปัจจุบันลูกผีลูกคน
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ชี้แจงว่า นโยบายการทำงานในปี 2559 ที่มอบให้กับบรรดาผู้บริหารของ กสทช. เพื่อเร่งรัดงาน 8 ภารกิจสำคัญที่ถือเป็นงานที่ต้องปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วงให้ได้
1.งานกำกับดูแลที่ต้องเข้มข้นและรวดเร็วขึ้นทั้งด้านโทรคมนาคมและกิจการบรอดคาสต์ โดยเฉพาะฝั่งโทรคมนาคมที่จะมีการให้บริการ 4จี เกิดขึ้นในเร็ววันนี้
"เงินประมูลมือถือสูงมาก ทำให้ผู้ใช้บริการกลัวว่าค่าบริการจะมีราคาสูง ซึ่งไม่เป็นความจริง ฉะนั้น กสทช.จะต้องให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ว่า กสทช.จะต้องกำกับให้เป็นไปตามเงื่อนไขการประมูล ทั้งค่าบริการเสียงที่จะต้องไม่เกิน 69 สตางค์/นาที บริการดาต้าไม่เกิน 26 สตางค์/เมกะไบต์ และต้องคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที ในทุกแพ็กเกจ ตรงนี้ กสทช.จะต้องเข้มงวดให้มาก"
ขณะที่การกำกับด้านบรอด คาสต์ที่คนมักมองว่า กสทช.เป็นเสือกระดาษ ไม่มีใครทำตามคำสั่งหรือประกาศของ กสทช.ดังนั้นหลังจากนี้ไป กสทช.จะต้องมีการกำกับดูแลให้เป็นรูปธรรม ยิ่งในงานด้านทีวีดาวเทียมที่มีการกระทำความผิดต่างๆ รวมถึงการทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก อย่างสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ต้องเร่งให้มีการออกคำสั่งเมื่อมีการกระทำผิด ทั้งโทษปรับ การพักใช้ใบอนุญาต เพื่อให้ชัดเจนที่สุด
"ส่วนเนื้อหาที่หมิ่นสถาบัน ความมั่นคง ได้แจ้งเลยว่า ไม่ต้องรอให้เลขาธิการพิจารณา แต่ให้ผู้มีอำนาจที่ได้มอบหมายไปแล้วสามารถดำเนินการได้ทันที"
2.การเร่งรัดในการเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเรื่องค่าเยียวยาในช่วงสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอล โฟน (ดีพีซี) ให้ได้ก่อนเดือน มี.ค.นี้ เพื่อให้สามารถนำส่งรายได้ส่วนนี้เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน
"ทั้ง 3 ช่วงเวลาในการเยียวยาทั้งปีแรกที่สิ้นสุดสัมปทานปีที่ 2 และหลังจาก คสช.มีประกาศขยาย รวมๆ แล้วราว 1 หมื่นล้านบาท ที่ผ่านมาเรื่องล่าช้าเพราะฝั่งโอเปอเรเตอร์คัดค้านและมองว่าเป็นการสรุปตัวเลขบนฐานข้อมูลที่แตกต่างกันมากเกินไป ซึ่งเมื่อมองต่างกันก็ต้องเร่งเสนอให้บอร์ด กทค.ตัดสินใจว่าจะออกคำสั่งทางปกครองอย่างไร และหากว่าสุดท้ายเอกชนจะยื่นฟ้องร้อง ก็เป็นสิทธิที่เขาจะดำเนินการได้ แต่ต้องไม่ให้เรื่องมาค้างไว้ที่สำนักงาน เราก็ต้องทำตามหน้าที่ของเรา ซึ่งยิ่งช้า ยิ่งทำให้รัฐได้รับผลกระทบ ไม่ใช่การรักษาผลประโยชน์ของชาติ"
3.เร่งจัดหาผู้บริหารการประมูลเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท "เบอร์สวย" ให้ได้ภายในเดือน เม.ย.นี้ หลังจากได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว โดยผู้ที่เสนอรายได้ให้รัฐสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับสิทธิในการบริหารการประมูล ซึ่งจะต้องทยอยนำเลขหมายประมูลทั้งหมดที่ กสทช.ดึงเก็บไว้ราว 10.32 ล้านเลขหมาย มาประมูลให้เสร็จภายใน 2 ปี เพื่อนำส่งเงินรายได้จากการประมูลเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน
4.แนวทางการแก้ไขปัญหาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่กำลังมีปัญหา โดยจะตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างผู้ประกอบการทั้ง 24 ช่อง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) สถาบันการเงินที่ออกหนังสือค้ำประกันเงินประมูลให้ทั้ง 24 ช่อง ซึ่งมีอยู่ 3 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รวมถึงหน่วยงานรัฐอย่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด กระทรวงการคลัง
"
คณะกรรมการชุดนี้จะหารือร่วมกันทุกสัปดาห์ เพื่อให้ทั้งผู้ประกอบการที่ไปได้และไปไม่ได้ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาในแต่ละเรื่อง แล้วค่อยมาดูกันว่าแต่ละแนวทางไปได้หรือไม่ได้ ถ้าไปไม่ได้จะต้องทำอย่างไรให้ไปได้ อย่างต้องมีประกาศ คสช.หรือไม่ โดยจะต้องมีข้อสรุปภายใน 90 วัน เพื่อให้มีข้อสรุปเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางแก้ปัญหา เพราะขณะนี้ กสทช.ก็ชนกำแพงไปไหนไม่ได้ ฉะนั้นควรหาทางออกให้ทุกฝ่ายเดินต่อไปได้"
ขณะที่ความคืบหน้ากรณี 2 ช่องทีวีดิจิทัลของบริษัท ไทยทีวี ที่ได้ยุติการออกอากาศไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2558 แต่ล่าสุดยังไม่มีการติดต่อเข้ามายัง กสทช.ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป และเลยระยะเวลาผ่อนผันในการยึดแบงก์ การันตี ที่ กสทช.กำหนดไว้แล้ว จึงกำลังเข้าสู่กระบวนการยึดแบงก์ การันตีที่วางค้ำประกันเงินประมูลช่องที่เหลือ แต่ทางบริษัทได้ร้องต่อศาลปกครองว่า ถ้า กสทช.จะยึดต้องรอคำสั่งศาลก่อน ซึ่งทาง กสทช.หวังว่าการตั้งคณะกรรมการร่วมจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้เช่นกันBusiness & Service - Auction
ส่วนกรณีของบริษัท ทรูวิชั่นส์ ที่ยื่นฟ้องประกาศ กสทช. เรื่องการเรียงลำดับช่องทีวี และเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์รายเดียวที่ยังไม่เรียงลำดับช่องทีวีดิจิทัลไว้ที่ 36 ช่องแรก เลขาธิการ กสทช.ยืนยันว่า ได้มีคำสั่งทางปกครองกำหนดค่าปรับวันละ 2 หมื่นบาท/วัน หากพ้นวันที่ 2 ม.ค. 2559 แล้วไม่เรียงลำดับช่องตามประกาศ
"เชื่อว่าทางทรูวิชั่นส์ก็จะนำคำสั่งปรับนี้ไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งหากศาลปกครองไม่มีคำสั่งใดๆ ลงมา ทาง กสทช.ก็ต้องเดินหน้าปรับตามคำสั่งที่ออกไป"
5.การนำส่งเงินค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน (พรีเพด) ที่ถูกยกเลิกการให้บริการไปราว 10.8 ล้านเลขหมาย เนื่องจากไม่ลงทะเบียนยืนยันตัวบุคคลผู้ใช้งานตามที่ กสทช.กำหนด และ กสทช.ให้ผู้บริโภคขอรับเงินคืนภายในวันที่ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่ยังมีผู้ใช้บริการที่ไม่มาขอรับเงินคืน ทำให้ค่าบริการล่วงหน้าที่คงค้างอยู่ในระบบของโอเปอเรเตอร์ราว 100 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้จะหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้มีการออกประกาศนำเงินรายได้ส่วนนี้ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
"กสทช.ได้แจ้งให้โอเปอเรเตอร์ทำบัญชีกันเงินส่วนนี้ออกมาแล้ว และจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจะใช้ไอเดียเหมือนกองสลากฯ ที่จะนำเงินรางวัลที่ไม่มีใครมาขึ้นเงิน เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งเงินที่ค้างอยู่มีจำนวนไม่น้อย ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย"
6.การเร่งรัดแก้ปัญหาวิทยุชุมชนเสียงธรรม ของมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าบ้านตาด ที่จะต้องเร่งหาข้อสรุปแจ้งให้คณะรัฐมนตรีภายใน 90 วัน หลังจากทางมูลนิธิได้ร้องเรียนไปที่นายกรัฐมนตรีและสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ว่าถูก กสทช.ลิดรอนพื้นที่ออกอากาศ
7.การลงทุนระบบรับคืนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเพื่อให้โอเปอเรเตอร์สามารถทยอยคืนเลขหมายได้ทันที โดยไม่ต้องรอคืนยกหมวดทีละ 1 หมื่นเลขหมายตามวิธีการเดิม ซึ่งจะทำให้มีเลขหมายโทรศัพท์หมุนเวียนในระบบมากขึ้น
"ปัจจุบัน กสทช.จัดสรรเลขหมายไปให้ค่ายมือถือแล้วราว 200 ล้านเบอร์ มีการใช้จริงแค่ครึ่งเดียว อีก 100 ล้านเบอร์ไม่มีคนใช้ แต่ก็คืนกลับมาให้ กสทช.ไม่ได้ เพราะเบอร์ไม่ได้เรียงกันเป็นหมวด โอเปอเรเตอร์ก็ต้องเสียค่าเลขหมายเดือนละ 2 บาทต่อเบอร์ ถ้าสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้อีก 1-2 ปีเลขหมายก็ไม่พอใช้งาน จนต้องเพิ่มเลขหมายโทรศัพท์ในไทยให้เป็น 11 หลัก จากตอนนี้ที่มีอยู่ 10 หลัก ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนทำระบบใหม่อีกหลายพันล้านบาท เฉพาะของบริษัท ทีโอที ก็ 3,000-4,000 ล้านบาทแล้ว แม้ทีโอทีจะยินดีทำให้ แต่ก็ถามว่าใครจะเอามาให้ทีโอทีลงทุน แต่ถ้าลงทุนระบบคืนเลขหมายให้ทยอยได้ เท่าที่หารือกับทุกค่ายแล้วจะใช้เงินรวมกันทั้งหมดราว 400 ล้านบาท ซึ่งมองว่าคุ้มค่ามากกว่า เพราะประชากรไทยมีแค่ 67 ล้านเลขหมาย เบอร์ในระบบแค่ 200 ล้านเลขหมายก็น่าจะพอแล้ว"
8.การมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรโปร่งใส ทั้งในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้าง การให้ใบอนุญาต การดำเนินการต่างๆ หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดประมูล 4จี ที่โปร่งใส โดยจากนี้จะตั้งตู้รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งข้อมูลการทุจริตไว้ทุกจุดให้บริการประชาชน
นี่คือภารกิจหลักของหน่วยงานที่ทำเงินให้รัฐจากการประมูลโทรศัพท์มือถือในระบบ 4จี ไป 2 แสนล้านบาทเศษ ในปลายปีที่ ผ่านมา...
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า B12)
ภารกิจหินปี 59 "กสทช." สางปมมือถือ-ทีวีดิจิทัล
ภารกิจหิน "กสทช." สางปมมือถือ-ทีวีดิจิทัล
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559
หลังสร้างความฮือฮาในการประมูลคลื่นในระบบ 4จี จนได้เงินมากว่า 2 แสนล้านบาท จนทำให้ผู้ใช้บริการวิตกกังวลว่าจะทำให้ค่าบริการมือถือในระบบ 4จี สูงเกินกว่าความเป็นจริง ขณะเดียวกันก็มีคำถามว่าจะทำอย่างไรกับทีวีดิจิทัล ที่หน่วยงานนี้ทำคลอดมาแต่ปัจจุบันลูกผีลูกคน
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ชี้แจงว่า นโยบายการทำงานในปี 2559 ที่มอบให้กับบรรดาผู้บริหารของ กสทช. เพื่อเร่งรัดงาน 8 ภารกิจสำคัญที่ถือเป็นงานที่ต้องปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วงให้ได้
1.งานกำกับดูแลที่ต้องเข้มข้นและรวดเร็วขึ้นทั้งด้านโทรคมนาคมและกิจการบรอดคาสต์ โดยเฉพาะฝั่งโทรคมนาคมที่จะมีการให้บริการ 4จี เกิดขึ้นในเร็ววันนี้
"เงินประมูลมือถือสูงมาก ทำให้ผู้ใช้บริการกลัวว่าค่าบริการจะมีราคาสูง ซึ่งไม่เป็นความจริง ฉะนั้น กสทช.จะต้องให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ว่า กสทช.จะต้องกำกับให้เป็นไปตามเงื่อนไขการประมูล ทั้งค่าบริการเสียงที่จะต้องไม่เกิน 69 สตางค์/นาที บริการดาต้าไม่เกิน 26 สตางค์/เมกะไบต์ และต้องคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที ในทุกแพ็กเกจ ตรงนี้ กสทช.จะต้องเข้มงวดให้มาก"
ขณะที่การกำกับด้านบรอด คาสต์ที่คนมักมองว่า กสทช.เป็นเสือกระดาษ ไม่มีใครทำตามคำสั่งหรือประกาศของ กสทช.ดังนั้นหลังจากนี้ไป กสทช.จะต้องมีการกำกับดูแลให้เป็นรูปธรรม ยิ่งในงานด้านทีวีดาวเทียมที่มีการกระทำความผิดต่างๆ รวมถึงการทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก อย่างสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ต้องเร่งให้มีการออกคำสั่งเมื่อมีการกระทำผิด ทั้งโทษปรับ การพักใช้ใบอนุญาต เพื่อให้ชัดเจนที่สุด
"ส่วนเนื้อหาที่หมิ่นสถาบัน ความมั่นคง ได้แจ้งเลยว่า ไม่ต้องรอให้เลขาธิการพิจารณา แต่ให้ผู้มีอำนาจที่ได้มอบหมายไปแล้วสามารถดำเนินการได้ทันที"
2.การเร่งรัดในการเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเรื่องค่าเยียวยาในช่วงสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอล โฟน (ดีพีซี) ให้ได้ก่อนเดือน มี.ค.นี้ เพื่อให้สามารถนำส่งรายได้ส่วนนี้เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน
"ทั้ง 3 ช่วงเวลาในการเยียวยาทั้งปีแรกที่สิ้นสุดสัมปทานปีที่ 2 และหลังจาก คสช.มีประกาศขยาย รวมๆ แล้วราว 1 หมื่นล้านบาท ที่ผ่านมาเรื่องล่าช้าเพราะฝั่งโอเปอเรเตอร์คัดค้านและมองว่าเป็นการสรุปตัวเลขบนฐานข้อมูลที่แตกต่างกันมากเกินไป ซึ่งเมื่อมองต่างกันก็ต้องเร่งเสนอให้บอร์ด กทค.ตัดสินใจว่าจะออกคำสั่งทางปกครองอย่างไร และหากว่าสุดท้ายเอกชนจะยื่นฟ้องร้อง ก็เป็นสิทธิที่เขาจะดำเนินการได้ แต่ต้องไม่ให้เรื่องมาค้างไว้ที่สำนักงาน เราก็ต้องทำตามหน้าที่ของเรา ซึ่งยิ่งช้า ยิ่งทำให้รัฐได้รับผลกระทบ ไม่ใช่การรักษาผลประโยชน์ของชาติ"
3.เร่งจัดหาผู้บริหารการประมูลเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท "เบอร์สวย" ให้ได้ภายในเดือน เม.ย.นี้ หลังจากได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว โดยผู้ที่เสนอรายได้ให้รัฐสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับสิทธิในการบริหารการประมูล ซึ่งจะต้องทยอยนำเลขหมายประมูลทั้งหมดที่ กสทช.ดึงเก็บไว้ราว 10.32 ล้านเลขหมาย มาประมูลให้เสร็จภายใน 2 ปี เพื่อนำส่งเงินรายได้จากการประมูลเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน
4.แนวทางการแก้ไขปัญหาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่กำลังมีปัญหา โดยจะตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างผู้ประกอบการทั้ง 24 ช่อง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) สถาบันการเงินที่ออกหนังสือค้ำประกันเงินประมูลให้ทั้ง 24 ช่อง ซึ่งมีอยู่ 3 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รวมถึงหน่วยงานรัฐอย่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด กระทรวงการคลัง
"คณะกรรมการชุดนี้จะหารือร่วมกันทุกสัปดาห์ เพื่อให้ทั้งผู้ประกอบการที่ไปได้และไปไม่ได้ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาในแต่ละเรื่อง แล้วค่อยมาดูกันว่าแต่ละแนวทางไปได้หรือไม่ได้ ถ้าไปไม่ได้จะต้องทำอย่างไรให้ไปได้ อย่างต้องมีประกาศ คสช.หรือไม่ โดยจะต้องมีข้อสรุปภายใน 90 วัน เพื่อให้มีข้อสรุปเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางแก้ปัญหา เพราะขณะนี้ กสทช.ก็ชนกำแพงไปไหนไม่ได้ ฉะนั้นควรหาทางออกให้ทุกฝ่ายเดินต่อไปได้"
ขณะที่ความคืบหน้ากรณี 2 ช่องทีวีดิจิทัลของบริษัท ไทยทีวี ที่ได้ยุติการออกอากาศไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2558 แต่ล่าสุดยังไม่มีการติดต่อเข้ามายัง กสทช.ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป และเลยระยะเวลาผ่อนผันในการยึดแบงก์ การันตี ที่ กสทช.กำหนดไว้แล้ว จึงกำลังเข้าสู่กระบวนการยึดแบงก์ การันตีที่วางค้ำประกันเงินประมูลช่องที่เหลือ แต่ทางบริษัทได้ร้องต่อศาลปกครองว่า ถ้า กสทช.จะยึดต้องรอคำสั่งศาลก่อน ซึ่งทาง กสทช.หวังว่าการตั้งคณะกรรมการร่วมจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้เช่นกันBusiness & Service - Auction
ส่วนกรณีของบริษัท ทรูวิชั่นส์ ที่ยื่นฟ้องประกาศ กสทช. เรื่องการเรียงลำดับช่องทีวี และเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์รายเดียวที่ยังไม่เรียงลำดับช่องทีวีดิจิทัลไว้ที่ 36 ช่องแรก เลขาธิการ กสทช.ยืนยันว่า ได้มีคำสั่งทางปกครองกำหนดค่าปรับวันละ 2 หมื่นบาท/วัน หากพ้นวันที่ 2 ม.ค. 2559 แล้วไม่เรียงลำดับช่องตามประกาศ
"เชื่อว่าทางทรูวิชั่นส์ก็จะนำคำสั่งปรับนี้ไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งหากศาลปกครองไม่มีคำสั่งใดๆ ลงมา ทาง กสทช.ก็ต้องเดินหน้าปรับตามคำสั่งที่ออกไป"
5.การนำส่งเงินค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน (พรีเพด) ที่ถูกยกเลิกการให้บริการไปราว 10.8 ล้านเลขหมาย เนื่องจากไม่ลงทะเบียนยืนยันตัวบุคคลผู้ใช้งานตามที่ กสทช.กำหนด และ กสทช.ให้ผู้บริโภคขอรับเงินคืนภายในวันที่ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่ยังมีผู้ใช้บริการที่ไม่มาขอรับเงินคืน ทำให้ค่าบริการล่วงหน้าที่คงค้างอยู่ในระบบของโอเปอเรเตอร์ราว 100 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้จะหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้มีการออกประกาศนำเงินรายได้ส่วนนี้ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
"กสทช.ได้แจ้งให้โอเปอเรเตอร์ทำบัญชีกันเงินส่วนนี้ออกมาแล้ว และจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจะใช้ไอเดียเหมือนกองสลากฯ ที่จะนำเงินรางวัลที่ไม่มีใครมาขึ้นเงิน เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งเงินที่ค้างอยู่มีจำนวนไม่น้อย ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย"
6.การเร่งรัดแก้ปัญหาวิทยุชุมชนเสียงธรรม ของมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าบ้านตาด ที่จะต้องเร่งหาข้อสรุปแจ้งให้คณะรัฐมนตรีภายใน 90 วัน หลังจากทางมูลนิธิได้ร้องเรียนไปที่นายกรัฐมนตรีและสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ว่าถูก กสทช.ลิดรอนพื้นที่ออกอากาศ
7.การลงทุนระบบรับคืนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเพื่อให้โอเปอเรเตอร์สามารถทยอยคืนเลขหมายได้ทันที โดยไม่ต้องรอคืนยกหมวดทีละ 1 หมื่นเลขหมายตามวิธีการเดิม ซึ่งจะทำให้มีเลขหมายโทรศัพท์หมุนเวียนในระบบมากขึ้น
"ปัจจุบัน กสทช.จัดสรรเลขหมายไปให้ค่ายมือถือแล้วราว 200 ล้านเบอร์ มีการใช้จริงแค่ครึ่งเดียว อีก 100 ล้านเบอร์ไม่มีคนใช้ แต่ก็คืนกลับมาให้ กสทช.ไม่ได้ เพราะเบอร์ไม่ได้เรียงกันเป็นหมวด โอเปอเรเตอร์ก็ต้องเสียค่าเลขหมายเดือนละ 2 บาทต่อเบอร์ ถ้าสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้อีก 1-2 ปีเลขหมายก็ไม่พอใช้งาน จนต้องเพิ่มเลขหมายโทรศัพท์ในไทยให้เป็น 11 หลัก จากตอนนี้ที่มีอยู่ 10 หลัก ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนทำระบบใหม่อีกหลายพันล้านบาท เฉพาะของบริษัท ทีโอที ก็ 3,000-4,000 ล้านบาทแล้ว แม้ทีโอทีจะยินดีทำให้ แต่ก็ถามว่าใครจะเอามาให้ทีโอทีลงทุน แต่ถ้าลงทุนระบบคืนเลขหมายให้ทยอยได้ เท่าที่หารือกับทุกค่ายแล้วจะใช้เงินรวมกันทั้งหมดราว 400 ล้านบาท ซึ่งมองว่าคุ้มค่ามากกว่า เพราะประชากรไทยมีแค่ 67 ล้านเลขหมาย เบอร์ในระบบแค่ 200 ล้านเลขหมายก็น่าจะพอแล้ว"
8.การมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรโปร่งใส ทั้งในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้าง การให้ใบอนุญาต การดำเนินการต่างๆ หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดประมูล 4จี ที่โปร่งใส โดยจากนี้จะตั้งตู้รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งข้อมูลการทุจริตไว้ทุกจุดให้บริการประชาชน
นี่คือภารกิจหลักของหน่วยงานที่ทำเงินให้รัฐจากการประมูลโทรศัพท์มือถือในระบบ 4จี ไป 2 แสนล้านบาทเศษ ในปลายปีที่ ผ่านมา...
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า B12)