.................ถึงแม้ผมจะมีนิยายอยู่แล้ว 3 เรื่องที่ยังแต่งไม่จบ แต่ในวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ผมมีดำริว่าอยากจะแต่งเรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่องนี้เพื่อเทิดพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 และต้องลงบทที่ 1 ให้ทันในวันที่ 5 ธันวาคม 2559 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ ที่ผ่านมาประมาณ 4 วัน อุปสรรคเยอะมากครับทั้งการวางโครงเรื่อง การหาข้อมูลที่จะต้องระมัดระวังมาก แต่ก็จะต้องกล่าวถึงบางเรื่องอย่างละเอียดด้วย จนในที่สุด บทที่ 1 ก็เสร็จทันและสามารถที่จะลงได้ในเช้าวันที่ 5 ธันวาคม 2559 ครับผม
ในหลวงในดวงใจ บทที่ 1
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 เวลาประมาณ 8.00 น. ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลเมานท์ ออเบอร์น) เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ณ เวลานั้นดวงใจของเจ้าฟ้ามหิดล (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ไม่ได้นึกถึงใครเลย นอกจากลูกที่กำลังจะเกิดมา พระองค์ทรงคิดในพระทัยว่า
“ไม่ต้องห่วงๆ DR. W. STEWART WHITTEMORE ถือว่าเก่งใช้ได้ สังวาลย์กับลูกของเราต้องปลอดภัย”
เจ้าฟ้ามหิดลกำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ช่วงนั้นก็งานยุ่งมาก แต่วันนี้พระองค์ทรงทิ้งงานทุกอย่างเพื่อรอคอยเวลาที่น่าตื่นเต้นนี้
เวลาประมาณ 8.45 น. ทารกน้อยก็คลอดออกมาด้วยสุขภาพที่แข็งแรง เมื่อถึงเวลาที่หมออนุญาต พระองค์ทรงเข้าไปพบกับสังวาลย์และโอรสของพระองค์
พอถึงเวลาสาย พระองค์ไม่รีรอที่จะนำข่าวดีนี้มาถึงเมืองไทย
“โทรเลข โทรเลข”
เจ้าฟ้ามหิดลทรงไปที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้ทรงส่งโทรเลขถวายสมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโดยมีข้อความภาษาอังกฤษที่แปลได้ความหมายว่า
“ลูกชายเกิดเช้าวันนี้ สบายดีทั้งสอง ขอพระราชทานนามทางโทรเลขด้วย”
เมื่อความทราบถึงพระพันวัสสาฯ พระองค์ทรงดีพระทัยยิ่งนัก ทรงวางแผนเพื่อจะนำความกราบทูลพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อขอพระราชทานนามให้กับหลานชาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความยินดีและทรงรับไว้ ได้ชื่อเมื่อไหร่ จะแจ้งไปอีกที
อีกประมาณหลายวันต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานนามให้กับพระโอรสของเจ้าฟ้ามหิดลแล้ว เมื่อพระพันวัสสาฯ ทรงทราบ พระองค์ทรงไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามว่า “ภูมิพลอดุลเดช”และเมื่อทรงทราบว่าเจ้าฟ้ามหิดลทรงอยากให้ส่งโทรเลขไปให้ด้วยความร้อนพระทัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตเลขาเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้พระพันวัสสาฯสามารถที่จะให้คนนำไปส่งเป็นโทรเลขได้เลย
และเมื่อเจ้าฟ้ามหิดลทรงได้รับโทรเลขแล้ว ทรงปลื้มพระหทัยยิ่งนัก
“ภูมิพลอดุลเดช”
อีก 1 ปีต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ตามเสด็จสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีนิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรก พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
สมเด็จพระบรมราชชนกทรงพระประสงค์ที่จะปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลศิริราช แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามพระประสงค์ เพราะพระอิสริยยศของพระองค์เป็นอุปสรรค ตอนนั้นพระองค์เองก็ทรงกำลังจะแก้ปัญหาตรงนี้อยู่ ประกอบกับในตอนนั้นผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม็คคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับทราบปัญหาของพระองค์ จึงได้ตัดสินใจทูลเชิญให้เสด็จไปประจำอยู่ที่นั่น เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง พระองค์ทรงตอบรับคำทูลเชิญทันทีและได้เสด็จไปยังโรงพยาบาลแม็คคอร์มิคในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2472 พระองค์ทรงตั้งพระทัยในการเป็นแพทย์ที่ดีและทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ในการดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มพระกำลัง พระองค์ทรงประจำอยู่ที่นั่นได้ไม่นานก็ทรงพระประชวร และต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคมปีเดียวกัน
เมื่อเสด็จกลับกรุงเทพฯแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนกยังทรงพระประชวรอยู่ตลอด พระอาการไมได้ดีขึ้นเลย จนในที่สุดพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2472 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 1 พรรษา 9 เดือน
เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสิ้นพระชนม์แล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสามพระองค์โดยลำพังพระองค์เดียว แต่โชคยังดีที่พระองค์ได้พระสหายสนิทคือคุณเนื่อง จินตดุลหรือเรียกสั้นๆว่าคุณแหนนมาช่วยเป็นคุณพระพี่เลี้ยงให้ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกคล่องตัวขึ้นและพร้อมที่จะทำสิ่งต่างๆให้กับพระราชโอรสและพระราชธิดาได้อย่างเต็มที่
ที่ประทับของทั้งสี่พระองค์คือพระตำหนักใหม่ วังสระปทุม ซึ่งเป็นตึกสองชั้น สีครีม ตรงหลังคา หน้าต่างและบานประตูเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนพระตำหนักใหญ่เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระบรมราชชนก เจ้านายพระองค์น้อยทั้ง 3 พระองค์เสด็จไปเฝ้า สมเด็จพระอัยยิกาอย่างสม่ำเสมอจนทำให้เกิดความผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง
ตอนจะเสด็จไปเฝ้า สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดที่จะประทับในรถลากสองล้อคันไม่ใหญ่มาก พอทั้งสามพระองค์เสด็จขึ้นไปทรงนั่งบนรถลากแล้ว มหาดเล็กก็พร้อมที่จะลากไปเฝ้าสมเด็จพระอัยยิกา พอได้ยินเสียงรถลากดังมาแต่ไกล สมเด็จพระอัยยิกาก็จะแย้มพระสรวลทุกครั้ง เพราะทรงทราบว่าเดี๋ยวหลานรักทั้งสามจะปรากฏพระองค์ขึ้น ความผูกพันของทั้งห้าพระองค์ในวังสระปทุมนับเป็นความผูกพันที่แนบแน่นมาก จนหาสิ่งใดมาแยกได้ยาก แต่ด้วยเหตุการณ์บางอย่าง กำลังจะทำให้บางอย่างต้องเปลี่ยนไป
**************************************
ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 คณะราษฎร นำโดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองตามแผนที่ได้วางเอาไว้ และได้มีแนวทางในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ทางกรุงเทพฯ คณะราษฎรได้จัดตั้งรัฐบาลโดยเชิญมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา องคมนตรีในรัชกาลที่ 7 เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย ในการเชิญครั้งนี้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาได้แจ้งกับมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดาว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงเรื่องใดๆที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอยู่หัว ทำให้มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดาไว้วางใจ
“ท่านจะต้องไม่ผิดสัญญา”
หลังจากนั้นทางคณะราษฎรได้โทรเลขกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นที่พระนครบ้าง เหตุที่เกิดไม่ได้ไกลเกินกว่าที่พระเจ้าอยู่หัวทรงเคยคาดคิดไว้
“คงถึงเวลาแล้ว”
พระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับมาในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยไม่ให้ทางคณะราษฎรต้องรอนาน โดยทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับไปว่า
“ข้าพเจ้าก็ได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้”
แต่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องมีการเตรียมการกันหลายขั้นตอน และหลายฝ่ายต้องประสานกันเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นพ้องต้องกันในทุกๆฝ่าย เรื่องแบบนี้จึงต้องใช้เวลาและมีการเตรียมการที่ดี และเมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ทุกสิ่งจึงดำเนินการตามที่ได้เตรียมการไว้
ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
ดูเหมือนทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่ดันมีผู้ใหญ่บางท่านเห็นว่า การที่ทางคณะราษฎรลงมติเป็นเอกฉันท์ให้มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นการกระทำที่เสี่ยงต่อความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย
“ทำไมท่านถึงคิดเช่นนั้น”
อีกฝ่ายตอบว่า
“เพราะคณะราษฎรเลือกคนที่มีตำแหน่งใหญ่ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นนายกรัฐมนตรีนี่น่ะสิ จะทำให้มีความเสี่ยงที่สูงมาก”
แต่คณะราษฎรไม่คิดเช่นนั้นเพราะเห็นว่า มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ และประเด็นสำคัญที่สุดในตอนนี้ก็คือเขายังคล้อยตามข้อเสนอแนะของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะปฏิวัติ หรืออาจจะเรียกอย่างคำธรรมดาสามัญว่า “กล่อมง่าย”
ช่วงนั้นถือว่าเป็นช่วงที่บ้านเมืองเกิดความระส่ำระส่ายมาก ประกอบกับพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงมีพระพลานามัยไม่แข็งแรง สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงทรงมีพระดำริในท้ายที่สุดว่า อยากให้พระราชโอรสของพระองค์ได้ประทับในประเทศที่มีอากาศดี ตอนแรกทรงสนพระทัยประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นประเทศที่พระองค์ทรงเคยประทับมาก่อน แต่เสด็จในกรมขุนชัยนาทฯ ไม่เห็นด้วยในหลายๆเหตุผล จึงทรงแนะนำให้เสด็จไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อทรงพิจารณาไตร่ตรองแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงทรงเห็นด้วยและวางแผนที่จะพาพระราชโอรสและพระราชธิดาไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประมาณต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2476 หลังจากทรงกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงทรงพาพระราชโอรสและพระราชธิดาไปยังเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีคุณพระพี่เลี้ยงแหนนและคุณหญิงบุญเรือน ชุณหะวัณตามเสด็จด้วย นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของทั้ง สี่พระองค์อีกครั้ง
โปรดติดตามตอนต่อไป
เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 1
ในหลวงในดวงใจ บทที่ 1
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 เวลาประมาณ 8.00 น. ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลเมานท์ ออเบอร์น) เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ณ เวลานั้นดวงใจของเจ้าฟ้ามหิดล (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ไม่ได้นึกถึงใครเลย นอกจากลูกที่กำลังจะเกิดมา พระองค์ทรงคิดในพระทัยว่า
“ไม่ต้องห่วงๆ DR. W. STEWART WHITTEMORE ถือว่าเก่งใช้ได้ สังวาลย์กับลูกของเราต้องปลอดภัย”
เจ้าฟ้ามหิดลกำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ช่วงนั้นก็งานยุ่งมาก แต่วันนี้พระองค์ทรงทิ้งงานทุกอย่างเพื่อรอคอยเวลาที่น่าตื่นเต้นนี้
เวลาประมาณ 8.45 น. ทารกน้อยก็คลอดออกมาด้วยสุขภาพที่แข็งแรง เมื่อถึงเวลาที่หมออนุญาต พระองค์ทรงเข้าไปพบกับสังวาลย์และโอรสของพระองค์
พอถึงเวลาสาย พระองค์ไม่รีรอที่จะนำข่าวดีนี้มาถึงเมืองไทย
“โทรเลข โทรเลข”
เจ้าฟ้ามหิดลทรงไปที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้ทรงส่งโทรเลขถวายสมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโดยมีข้อความภาษาอังกฤษที่แปลได้ความหมายว่า
“ลูกชายเกิดเช้าวันนี้ สบายดีทั้งสอง ขอพระราชทานนามทางโทรเลขด้วย”
เมื่อความทราบถึงพระพันวัสสาฯ พระองค์ทรงดีพระทัยยิ่งนัก ทรงวางแผนเพื่อจะนำความกราบทูลพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อขอพระราชทานนามให้กับหลานชาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความยินดีและทรงรับไว้ ได้ชื่อเมื่อไหร่ จะแจ้งไปอีกที
อีกประมาณหลายวันต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานนามให้กับพระโอรสของเจ้าฟ้ามหิดลแล้ว เมื่อพระพันวัสสาฯ ทรงทราบ พระองค์ทรงไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามว่า “ภูมิพลอดุลเดช”และเมื่อทรงทราบว่าเจ้าฟ้ามหิดลทรงอยากให้ส่งโทรเลขไปให้ด้วยความร้อนพระทัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตเลขาเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้พระพันวัสสาฯสามารถที่จะให้คนนำไปส่งเป็นโทรเลขได้เลย
และเมื่อเจ้าฟ้ามหิดลทรงได้รับโทรเลขแล้ว ทรงปลื้มพระหทัยยิ่งนัก
“ภูมิพลอดุลเดช”
อีก 1 ปีต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ตามเสด็จสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีนิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรก พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
สมเด็จพระบรมราชชนกทรงพระประสงค์ที่จะปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลศิริราช แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามพระประสงค์ เพราะพระอิสริยยศของพระองค์เป็นอุปสรรค ตอนนั้นพระองค์เองก็ทรงกำลังจะแก้ปัญหาตรงนี้อยู่ ประกอบกับในตอนนั้นผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม็คคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับทราบปัญหาของพระองค์ จึงได้ตัดสินใจทูลเชิญให้เสด็จไปประจำอยู่ที่นั่น เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง พระองค์ทรงตอบรับคำทูลเชิญทันทีและได้เสด็จไปยังโรงพยาบาลแม็คคอร์มิคในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2472 พระองค์ทรงตั้งพระทัยในการเป็นแพทย์ที่ดีและทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ในการดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มพระกำลัง พระองค์ทรงประจำอยู่ที่นั่นได้ไม่นานก็ทรงพระประชวร และต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคมปีเดียวกัน
เมื่อเสด็จกลับกรุงเทพฯแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนกยังทรงพระประชวรอยู่ตลอด พระอาการไมได้ดีขึ้นเลย จนในที่สุดพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2472 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 1 พรรษา 9 เดือน
เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสิ้นพระชนม์แล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสามพระองค์โดยลำพังพระองค์เดียว แต่โชคยังดีที่พระองค์ได้พระสหายสนิทคือคุณเนื่อง จินตดุลหรือเรียกสั้นๆว่าคุณแหนนมาช่วยเป็นคุณพระพี่เลี้ยงให้ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกคล่องตัวขึ้นและพร้อมที่จะทำสิ่งต่างๆให้กับพระราชโอรสและพระราชธิดาได้อย่างเต็มที่
ที่ประทับของทั้งสี่พระองค์คือพระตำหนักใหม่ วังสระปทุม ซึ่งเป็นตึกสองชั้น สีครีม ตรงหลังคา หน้าต่างและบานประตูเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนพระตำหนักใหญ่เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระบรมราชชนก เจ้านายพระองค์น้อยทั้ง 3 พระองค์เสด็จไปเฝ้า สมเด็จพระอัยยิกาอย่างสม่ำเสมอจนทำให้เกิดความผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง
ตอนจะเสด็จไปเฝ้า สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดที่จะประทับในรถลากสองล้อคันไม่ใหญ่มาก พอทั้งสามพระองค์เสด็จขึ้นไปทรงนั่งบนรถลากแล้ว มหาดเล็กก็พร้อมที่จะลากไปเฝ้าสมเด็จพระอัยยิกา พอได้ยินเสียงรถลากดังมาแต่ไกล สมเด็จพระอัยยิกาก็จะแย้มพระสรวลทุกครั้ง เพราะทรงทราบว่าเดี๋ยวหลานรักทั้งสามจะปรากฏพระองค์ขึ้น ความผูกพันของทั้งห้าพระองค์ในวังสระปทุมนับเป็นความผูกพันที่แนบแน่นมาก จนหาสิ่งใดมาแยกได้ยาก แต่ด้วยเหตุการณ์บางอย่าง กำลังจะทำให้บางอย่างต้องเปลี่ยนไป
**************************************
ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 คณะราษฎร นำโดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองตามแผนที่ได้วางเอาไว้ และได้มีแนวทางในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ทางกรุงเทพฯ คณะราษฎรได้จัดตั้งรัฐบาลโดยเชิญมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา องคมนตรีในรัชกาลที่ 7 เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย ในการเชิญครั้งนี้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาได้แจ้งกับมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดาว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงเรื่องใดๆที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอยู่หัว ทำให้มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดาไว้วางใจ
“ท่านจะต้องไม่ผิดสัญญา”
หลังจากนั้นทางคณะราษฎรได้โทรเลขกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นที่พระนครบ้าง เหตุที่เกิดไม่ได้ไกลเกินกว่าที่พระเจ้าอยู่หัวทรงเคยคาดคิดไว้
“คงถึงเวลาแล้ว”
พระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับมาในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยไม่ให้ทางคณะราษฎรต้องรอนาน โดยทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับไปว่า
“ข้าพเจ้าก็ได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้”
แต่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องมีการเตรียมการกันหลายขั้นตอน และหลายฝ่ายต้องประสานกันเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นพ้องต้องกันในทุกๆฝ่าย เรื่องแบบนี้จึงต้องใช้เวลาและมีการเตรียมการที่ดี และเมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ทุกสิ่งจึงดำเนินการตามที่ได้เตรียมการไว้
ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
ดูเหมือนทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่ดันมีผู้ใหญ่บางท่านเห็นว่า การที่ทางคณะราษฎรลงมติเป็นเอกฉันท์ให้มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นการกระทำที่เสี่ยงต่อความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย
“ทำไมท่านถึงคิดเช่นนั้น”
อีกฝ่ายตอบว่า
“เพราะคณะราษฎรเลือกคนที่มีตำแหน่งใหญ่ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นนายกรัฐมนตรีนี่น่ะสิ จะทำให้มีความเสี่ยงที่สูงมาก”
แต่คณะราษฎรไม่คิดเช่นนั้นเพราะเห็นว่า มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ และประเด็นสำคัญที่สุดในตอนนี้ก็คือเขายังคล้อยตามข้อเสนอแนะของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะปฏิวัติ หรืออาจจะเรียกอย่างคำธรรมดาสามัญว่า “กล่อมง่าย”
ช่วงนั้นถือว่าเป็นช่วงที่บ้านเมืองเกิดความระส่ำระส่ายมาก ประกอบกับพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงมีพระพลานามัยไม่แข็งแรง สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงทรงมีพระดำริในท้ายที่สุดว่า อยากให้พระราชโอรสของพระองค์ได้ประทับในประเทศที่มีอากาศดี ตอนแรกทรงสนพระทัยประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นประเทศที่พระองค์ทรงเคยประทับมาก่อน แต่เสด็จในกรมขุนชัยนาทฯ ไม่เห็นด้วยในหลายๆเหตุผล จึงทรงแนะนำให้เสด็จไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อทรงพิจารณาไตร่ตรองแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงทรงเห็นด้วยและวางแผนที่จะพาพระราชโอรสและพระราชธิดาไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประมาณต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2476 หลังจากทรงกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงทรงพาพระราชโอรสและพระราชธิดาไปยังเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีคุณพระพี่เลี้ยงแหนนและคุณหญิงบุญเรือน ชุณหะวัณตามเสด็จด้วย นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของทั้ง สี่พระองค์อีกครั้ง
โปรดติดตามตอนต่อไป