เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 1
http://ppantip.com/topic/35878838
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดว่าพระองค์เองทรงคิดไม่ผิดที่เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯในช่วงที่คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในครั้งที่ทรงประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล ได้มีข้าราชบริพารบางท่านเสนอว่า
“อย่าทรงกลับไปเลย ทรงเสด็จยังต่างประเทศเถิดพระพุทธเจ้าข้า”
ข้าราชบริพารท่านนั้นห่วงพระเจ้าอยู่หัวมาก เขาคิดมาก คิดถึงขั้นที่ว่าพระองค์อาจจะไม่ทรงปลอดภัย แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอยากจะเสด็จกลับไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์ไม่ได้ทรงเห็นต่าง และทรงพร้อมเสมอที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับประเทศสยาม ที่ทรงห่วงก็ทรงห่วงแต่พระบรมวงศานุวงศ์ เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย อีกเรื่องก็คือทรงห่วงประชาชน ทรงเกรงว่าประชาชนจะได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์ครั้งนี้
อีกอย่างที่ทรงห่วงคือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตพาพระราชโอรสและพระราชธิดาไปยังเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น พระองค์ทรงห่วงเจ้านายทั้ง 4 พระองค์มาก แต่ก็ไม่ได้ทรงทัดทานเพราะทรงเข้าใจและทรงให้กำลังใจสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
อีกพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงคือพระพันวัสสาฯ พระองค์ทรงเศร้าพระทัยครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสิ้นพระชนม์ ตอนนี้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยังได้เสด็จไปประทับยังต่างประเทศอีก ยิ่งทำให้วังสระปทุมเหงาจับใจ
ในช่วงนั้น ประเทศไทย (หรือประเทศสยาม ณ เวลานั้น) กำลังประสบกับปัญหาการเมืองภายในที่รุนแรงหลายอย่าง เริ่มจากนายปรีดี พนมยงค์ สมาชิกสายพลเรือนของคณะราษฎรและในขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีด้วย ถูกรัฐบาลชุดพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเนรเทศออกนอกประเทศเนื่องจากทำตัวเป็น “หอกข้างแคร่”ของคณะรัฐบาลในหลายประเด็น ในวันที่นายปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางออกจากสยาม นายปรีดีไม่แน่ใจเลยว่าจะได้มีโอกาสกลับมาประเทศสยาม บ้านเกิดเมืองนอนของตัวเองหรือไม่ นายปรีดีน้อยใจนักที่ตัวเองก็รักชาติ พยายามจะทำทุกอย่างเพื่อชาติ แต่รัฐบาลชุดพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่เข้าใจและไม่มีวันเข้าใจ
เหตุการณ์นี้ทำให้พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเริ่มเดาทางได้ว่าอาจมีปัญหาบางอย่างในอนาคต
“มโนปกรณ์ไมได้เป็นอย่างที่เราคิด”
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเริ่มที่จะวางแผนทำบางอย่างเพื่อให้ชาติที่เป็นระบอบประชาธิปไตยดำเนินต่อไปได้ด้วยดี ท่านได้เรียกพ.ต.หลวงพิบูลสงครามและหลวงศุภชลาศัยมาปรึกษาเป็นทางลับก่อนที่จะดำเนินการต่างๆต่อไป
เมื่อเสด็จถึงเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์แล้ว ในเดือนแรกทั้งสี่พระองค์ประทับ ณ โรงแรมวินเซอร์ ทั้งสี่พระองค์ต้องทรงปรับพระองค์หลายอย่าง สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงอยากให้พระราชโอรสและพระราชธิดาได้ประทับในที่ๆเรียกได้ว่าเป็นบ้าน แต่ช่วงนั้นยังไม่สะดวก อีกอย่างพระราชโอรสและพระราชธิดายังทรงพระเยาว์มากนัก พระองค์ทรงเข้าใจดีว่าการที่จะประทับ ณ โรงแรมวินเซอร์ไปเรื่อยๆ ไม่เหมาะต่อการเจริญวัยของพระราชโอรสและพระราชธิดา
สมเด็จพระบรมราชชนนีได้ทรงตัดสินพระทัยส่งพระราชโอรสและพระราชธิดาไปประทับ ณ สถานรับเลี้ยงเด็กชอง โซเลย์ ทรงเห็นว่าสถานรับเลี้ยงเด็กชอง โซเลย์ เหมาะแก่การดูแลเจ้านายพระองค์น้อยเป็นอย่างยิ่ง ส่วนพระองค์เองทรงไปประทับกับครอบครัวเดอรัม (de Rham) สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงคิดว่าการตัดสินพระทัยแบบนั้นเหมาะสมที่สุดแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงคิดที่จะหาสถานที่ๆเหมาะที่จะเรียกได้ว่า “บ้าน” บ้านหลังเล็กๆที่แม่ลูกจะได้อยู่ร่วมกัน ในระหว่างนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงพยายามหาที่ประทับที่เหมาะสำหรับทั้งสี่พระองค์ที่จะประทับรวมกันเป็นครอบครัวอย่างมีความสุข
สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ทรงหาสถานที่ๆเหมาะที่สุดที่จะเรียกว่า “บ้าน” ได้ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเช่าแฟลตเลขที่ 16 ถนนทิสโซด์ และทรงรับพระราชโอรสและพระราชธิดาไปประทับรวมกัน นับว่าเป็นคืนและวันอันแสนสุขยิ่ง พระองค์ทรงอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาอย่างดียิ่ง เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงทราบความทั้งหมดแล้ว พระองค์ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาความว่า
“บุญที่ได้ลูกสะใภ้เช่นนี้ เป็นบุญของหลานที่มีแม่เลิศ ไม่มีใครจะมาดูถูกได้ว่าเลวทราม”
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระบรมราชชนนีซึ่งขณะนั้นทรงเป็นนางสาวสังวาลย์ นักเรียนทุนพยาบาลของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้เดินทางโดยรถไฟจากสถานีซานฟรานซิสโกไปยังสถานีบอสตัน พร้อมกับนักเรียนทุนอีก 9 คน ในคืนวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2461 พระองค์ทรงพบกับสมเด็จพระบรมราชชนกเป็นครั้งแรก ณ สถานีรถไฟบอสตัน ในวันนั้น เวลานั้นอาจยังไม่มีอะไรคืบหน้ามากนัก แต่ในหน้าร้อนของปีถัดมา สมเด็จพระบรมราชชนกทรงหมั้นกับสมเด็จพระบรมราชชนนีอย่างเงียบๆ เป็นการหมั้นที่มีความสุขมาก และเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักเต็มห้วงพระหทัย
สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเป็นบุตรคนที่ 3 ของพ่อชูและแม่คำ ครอบครัวช่างทำทองของเมืองนนทบุรี พระองค์ได้เติบโตและใช้ชีวิตในย่านวัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี จนพระชนมายุได้ประมาณ 7 พรรษา จึงได้มีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้พาพระองค์ไปฝากตัวกับคุณจันทร์ แสงชูโต เพื่อถวายตัวเป็นข้าหลวง ณ พระตำหนักสี่ฤดู จนพระชนมายุได้ 13 พรรษา จึงได้เป็นนักเรียนพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมสาธารณสุข ทรงดำริหานักเรียนแพทย์สองคนเพื่อรับทุนของสมเด็จพระบรมราชชนก และนักเรียนพยาบาลอีกสองคนเพื่อรับทุนของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงได้รับการคัดเลือกให้ได้รับทุนและได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาในที่สุด จนได้พบกับสมเด็จพระบรมราชชนก ณ สถานีรถไฟบอสตัน ทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2463 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาพระราชทานน้ำสังข์
หลังจากสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยเช่าแฟลตเลขที่ 16 ถนนทิสโซด์ และทรงรับพระราชโอรสและพระราชธิดามาประทับรวมกันแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงวางแผนและได้จัดหาสถานศึกษาที่เหมาะกับพระราชโอรสและพระราชธิดา พระองค์ทรงให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษามาก เพราะพระองค์ทรงดำริว่าการศึกษาเท่านั้นที่จะทำให้พระราชโอรสและพระราชธิดาทรงเจริญพร้อมด้วยพระพลานามัยและพระสติปัญญา พระองค์ทรงนิพนธ์จดหมายถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโดยกล่าวถึงการให้การศึกษาแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาไว้ว่า
“ลูกของหม่อมฉัน หม่อมฉันรักอย่างดวงใจ และหม่อมฉันมีความตั้งใจอยู่เสมอที่จะนำให้ลูกไปในทางที่ถูกที่ดีสำหรับจะได้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ญาติ และบ้านเมือง ตัวของหม่อมฉันเองทำประโยชน์อะไรให้บ้านเมืองไม่ได้มาก แต่ถ้าได้ช่วยลูกๆให้ได้รับการอบรมและเล่าเรียนในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองได้แล้ว หม่อมฉันก็รู้สึกอิ่มใจเหมือนกัน”
โปรดติดตามตอนต่อไป
เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 2
เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 1 http://ppantip.com/topic/35878838
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดว่าพระองค์เองทรงคิดไม่ผิดที่เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯในช่วงที่คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในครั้งที่ทรงประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล ได้มีข้าราชบริพารบางท่านเสนอว่า
“อย่าทรงกลับไปเลย ทรงเสด็จยังต่างประเทศเถิดพระพุทธเจ้าข้า”
ข้าราชบริพารท่านนั้นห่วงพระเจ้าอยู่หัวมาก เขาคิดมาก คิดถึงขั้นที่ว่าพระองค์อาจจะไม่ทรงปลอดภัย แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอยากจะเสด็จกลับไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์ไม่ได้ทรงเห็นต่าง และทรงพร้อมเสมอที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับประเทศสยาม ที่ทรงห่วงก็ทรงห่วงแต่พระบรมวงศานุวงศ์ เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย อีกเรื่องก็คือทรงห่วงประชาชน ทรงเกรงว่าประชาชนจะได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์ครั้งนี้
อีกอย่างที่ทรงห่วงคือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตพาพระราชโอรสและพระราชธิดาไปยังเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น พระองค์ทรงห่วงเจ้านายทั้ง 4 พระองค์มาก แต่ก็ไม่ได้ทรงทัดทานเพราะทรงเข้าใจและทรงให้กำลังใจสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
อีกพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงคือพระพันวัสสาฯ พระองค์ทรงเศร้าพระทัยครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสิ้นพระชนม์ ตอนนี้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยังได้เสด็จไปประทับยังต่างประเทศอีก ยิ่งทำให้วังสระปทุมเหงาจับใจ
ในช่วงนั้น ประเทศไทย (หรือประเทศสยาม ณ เวลานั้น) กำลังประสบกับปัญหาการเมืองภายในที่รุนแรงหลายอย่าง เริ่มจากนายปรีดี พนมยงค์ สมาชิกสายพลเรือนของคณะราษฎรและในขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีด้วย ถูกรัฐบาลชุดพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเนรเทศออกนอกประเทศเนื่องจากทำตัวเป็น “หอกข้างแคร่”ของคณะรัฐบาลในหลายประเด็น ในวันที่นายปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางออกจากสยาม นายปรีดีไม่แน่ใจเลยว่าจะได้มีโอกาสกลับมาประเทศสยาม บ้านเกิดเมืองนอนของตัวเองหรือไม่ นายปรีดีน้อยใจนักที่ตัวเองก็รักชาติ พยายามจะทำทุกอย่างเพื่อชาติ แต่รัฐบาลชุดพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่เข้าใจและไม่มีวันเข้าใจ
เหตุการณ์นี้ทำให้พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเริ่มเดาทางได้ว่าอาจมีปัญหาบางอย่างในอนาคต
“มโนปกรณ์ไมได้เป็นอย่างที่เราคิด”
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเริ่มที่จะวางแผนทำบางอย่างเพื่อให้ชาติที่เป็นระบอบประชาธิปไตยดำเนินต่อไปได้ด้วยดี ท่านได้เรียกพ.ต.หลวงพิบูลสงครามและหลวงศุภชลาศัยมาปรึกษาเป็นทางลับก่อนที่จะดำเนินการต่างๆต่อไป
เมื่อเสด็จถึงเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์แล้ว ในเดือนแรกทั้งสี่พระองค์ประทับ ณ โรงแรมวินเซอร์ ทั้งสี่พระองค์ต้องทรงปรับพระองค์หลายอย่าง สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงอยากให้พระราชโอรสและพระราชธิดาได้ประทับในที่ๆเรียกได้ว่าเป็นบ้าน แต่ช่วงนั้นยังไม่สะดวก อีกอย่างพระราชโอรสและพระราชธิดายังทรงพระเยาว์มากนัก พระองค์ทรงเข้าใจดีว่าการที่จะประทับ ณ โรงแรมวินเซอร์ไปเรื่อยๆ ไม่เหมาะต่อการเจริญวัยของพระราชโอรสและพระราชธิดา
สมเด็จพระบรมราชชนนีได้ทรงตัดสินพระทัยส่งพระราชโอรสและพระราชธิดาไปประทับ ณ สถานรับเลี้ยงเด็กชอง โซเลย์ ทรงเห็นว่าสถานรับเลี้ยงเด็กชอง โซเลย์ เหมาะแก่การดูแลเจ้านายพระองค์น้อยเป็นอย่างยิ่ง ส่วนพระองค์เองทรงไปประทับกับครอบครัวเดอรัม (de Rham) สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงคิดว่าการตัดสินพระทัยแบบนั้นเหมาะสมที่สุดแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงคิดที่จะหาสถานที่ๆเหมาะที่จะเรียกได้ว่า “บ้าน” บ้านหลังเล็กๆที่แม่ลูกจะได้อยู่ร่วมกัน ในระหว่างนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงพยายามหาที่ประทับที่เหมาะสำหรับทั้งสี่พระองค์ที่จะประทับรวมกันเป็นครอบครัวอย่างมีความสุข
สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ทรงหาสถานที่ๆเหมาะที่สุดที่จะเรียกว่า “บ้าน” ได้ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเช่าแฟลตเลขที่ 16 ถนนทิสโซด์ และทรงรับพระราชโอรสและพระราชธิดาไปประทับรวมกัน นับว่าเป็นคืนและวันอันแสนสุขยิ่ง พระองค์ทรงอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาอย่างดียิ่ง เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงทราบความทั้งหมดแล้ว พระองค์ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาความว่า
“บุญที่ได้ลูกสะใภ้เช่นนี้ เป็นบุญของหลานที่มีแม่เลิศ ไม่มีใครจะมาดูถูกได้ว่าเลวทราม”
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระบรมราชชนนีซึ่งขณะนั้นทรงเป็นนางสาวสังวาลย์ นักเรียนทุนพยาบาลของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้เดินทางโดยรถไฟจากสถานีซานฟรานซิสโกไปยังสถานีบอสตัน พร้อมกับนักเรียนทุนอีก 9 คน ในคืนวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2461 พระองค์ทรงพบกับสมเด็จพระบรมราชชนกเป็นครั้งแรก ณ สถานีรถไฟบอสตัน ในวันนั้น เวลานั้นอาจยังไม่มีอะไรคืบหน้ามากนัก แต่ในหน้าร้อนของปีถัดมา สมเด็จพระบรมราชชนกทรงหมั้นกับสมเด็จพระบรมราชชนนีอย่างเงียบๆ เป็นการหมั้นที่มีความสุขมาก และเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักเต็มห้วงพระหทัย
สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเป็นบุตรคนที่ 3 ของพ่อชูและแม่คำ ครอบครัวช่างทำทองของเมืองนนทบุรี พระองค์ได้เติบโตและใช้ชีวิตในย่านวัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี จนพระชนมายุได้ประมาณ 7 พรรษา จึงได้มีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้พาพระองค์ไปฝากตัวกับคุณจันทร์ แสงชูโต เพื่อถวายตัวเป็นข้าหลวง ณ พระตำหนักสี่ฤดู จนพระชนมายุได้ 13 พรรษา จึงได้เป็นนักเรียนพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมสาธารณสุข ทรงดำริหานักเรียนแพทย์สองคนเพื่อรับทุนของสมเด็จพระบรมราชชนก และนักเรียนพยาบาลอีกสองคนเพื่อรับทุนของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงได้รับการคัดเลือกให้ได้รับทุนและได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาในที่สุด จนได้พบกับสมเด็จพระบรมราชชนก ณ สถานีรถไฟบอสตัน ทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2463 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาพระราชทานน้ำสังข์
หลังจากสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยเช่าแฟลตเลขที่ 16 ถนนทิสโซด์ และทรงรับพระราชโอรสและพระราชธิดามาประทับรวมกันแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงวางแผนและได้จัดหาสถานศึกษาที่เหมาะกับพระราชโอรสและพระราชธิดา พระองค์ทรงให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษามาก เพราะพระองค์ทรงดำริว่าการศึกษาเท่านั้นที่จะทำให้พระราชโอรสและพระราชธิดาทรงเจริญพร้อมด้วยพระพลานามัยและพระสติปัญญา พระองค์ทรงนิพนธ์จดหมายถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโดยกล่าวถึงการให้การศึกษาแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาไว้ว่า
“ลูกของหม่อมฉัน หม่อมฉันรักอย่างดวงใจ และหม่อมฉันมีความตั้งใจอยู่เสมอที่จะนำให้ลูกไปในทางที่ถูกที่ดีสำหรับจะได้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ญาติ และบ้านเมือง ตัวของหม่อมฉันเองทำประโยชน์อะไรให้บ้านเมืองไม่ได้มาก แต่ถ้าได้ช่วยลูกๆให้ได้รับการอบรมและเล่าเรียนในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองได้แล้ว หม่อมฉันก็รู้สึกอิ่มใจเหมือนกัน”
โปรดติดตามตอนต่อไป