จากการศึกษาพบว่า การถ่ายรูปเซลฟี่ทำให้พวกเรามีความสุขมากขึ้น



ไม่ว่าจะเป็นการใช้มือถือถ่ายรูปเซลฟี่ตัวเองหรือแชร์รูปภาพตัวเองให้กับเพื่อนๆก็ทำให้คุณมีความสุขขึ้นมาได้ ซึ่งก็สอดคล้องกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียเออร์ไวน์ มีการตีพิมพ์เรื่องนี้ครั้งแรกก่อนที่จะมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอน ผู้เขียนหลายคนพบว่า นักศึกษาสามารถขจัดความเศร้าหมองลงไปได้จากการใช้มือถือทำกิจกรรม

จากการทดสอบเช่น การใช้มือถือถ่ายรูปและทำการประเมินสภาพจิตใจกับสภาวะทางอารมณ์นั้น ทางด้านนักวิจัยหลายคนพบว่า การพูดคุยในแต่ละวันหรือการแชร์รูปภาพต่างๆทำให้ผู้คนมีความคิดเชิงบวกมากขึ้น ด้วยผลลัพธ์นี้ได้ทำให้ทาง UCI's Donald Bren School of Information & Computer Sciences ได้มีการตีพิมพ์รายละเอียดเรื่องนี้ใน Psychology Of Well-Being

“งานวิจัยของพวกเราแสดงให้เห็นว่า การทดสอบเรื่องนี้สามารถทำให้ผู้คนมีความสุขได้ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปทางมือถือและทำการแชร์รูปภาพก็ทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นบวกมากขึ้น” กล่าวโดยหัวหน้านักวิจัย Yu Chen ซึ่งเป็นได้ทำการศึกษาใน UCI แผนกสารสนเทศ “โดยเฉพาะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากสำหรับนักศึกษาได้ทราบ เนื่องจากพวกเขามักจะเจอกับแรงกดดันต่างๆมากมาย”

สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด ไม่ว่าจะเป็นสภาวะทางการเงิน การออกจากบ้านครั้งแรก ความรู้สึกโดดเดี่ยวหรืออ้างว้าง และความเข้มงวดกวดขั้นนั้น ก็เป็นผลกระทบเชิงลบต่อนักศึกษาในการลดทอนศักยภาพและนำไปสู่ความกดดัน

“ข่าวดีก็คือไม่ว่าพวกเขาจะมีความอ่อนไหวจนทำให้เกิดความตึงเครียดหรือไม่นั้น นักศึกษาส่วนใหญ่ต่างก็ใช้วิธีการคลายเครียดด้วยการเล่นมือถือ ซึ่งก็ทำให้ระดับความเครียดลดลงไปบ้าง” Chen กล่าว “โดยมีแอพพลิเคชั่นต่างๆมากกมายและมีโซเชียลอะไรต่างๆมากมายในการถ่ายรูปและก็ส่งต่อไป”

เป้าหมายในการศึกษาก็คือ เธอกล่าวว่าจะต้องช่วยให้นักวิจัยหลายคนทำความเข้าใจถึงผลกระทบของการถ่ายรูปที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกดี 3 อย่างก็คือ : ความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง ซึ่งก็ทำให้ผู้คนแสดงสีหน้าไปในทางด้านบวก : การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวเอง ทำให้พวกเขาทำสิ่งต่างๆให้กับตัวเองได้อย่างมีความสุข ; และการเข้าสังคมที่ดี ก็ทำให้ผู้คนในสิ่งที่ดีกับสังคมได้อย่างมีความสุข

Chen กับคณะของเธอได้ทำการออกแบบการทดลองและทำการศึกษาเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งก็รวมไปถึงนักศึกษา 41 คน โดยมีผู้หญิง 28 คนและผู้ชาย 13 คน โดยทำการตรวจสอบในกิจกรรมของนักศึกษาในวันธรรมดา (เช่นการเข้าชั้นเรียน การทำกิจกรรมโรงเรียน การพบปะกับเพื่อนๆและอื่นๆ) ในขณะเดียวกันก็ทำการวิจัยด้วยหนึ่ง

แต่ช่วงแรกแต่ละคนก็ได้เชิญเข้าไปยังห้องสารสนเทศเพื่อทำการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการและก็ทำการสอบถามเรื่องราวทั่วๆไปและขอความร่วมมือให้กรอกแบบฟอร์ม ทางด้านนักวิจัยก็ได้ช่วยเหลือนักศึกษาในการทำแบบสำรวจการใช้แอพผ่านมือถือจนถึงบันทึกข้อมูลทางด้านอารมณ์ของพวกเขาระหว่างที่ทำการศึกษาในสัปดาห์แรก ผู้เข้าร่วมก็ได้ใช้แอพถ่ายภาพไม่เหมือนกันและได้ทำการบันทึกสภาวะอารมณ์เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงที่มีการควบคุม

มีการรายงานภาวะทางอารมณ์ของพวกเขาเป็นระยะเวลา 3 วันจากการใช้แอพมือถือ ในการสำรวจตอนเย็นนั้น นักวิจัยก็ไดทำการสอบถามรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาจจะมีผลกระทบทางด้านอารมณ์ระหว่างที่มีการเรียนการสอน

โครงการวิจัยได้มีการแบ่งการถ่ายภาพออกเป็น 3 ประเภทเพื่อช่วยให้นักวิจัยประเมินได้ว่าพวกเขามีลักษณะการยิ้มอย่างไร ทั้งการสะท้อนทางภาวะอารมณ์และผลกระทบทางด้านอารมณ์ของผู้ใช้ หนึ่งก็คือการถ่ายภาพแบบเซลฟี่ในแต่ละวันตอนที่กำลังยิ้มอยู่ สองก็จะเป็นภาพที่ทำให้ผู้ถ่ายรู้สึกมีความสุข สามก็จะเป็นภาพถ่ายที่ผู้ถ่ายภาพเชื่อว่าจะทำให้ผู้อื่นมีความสุขไปด้วย (ซึ่งมาจากการส่งภาพถ่ายให้กับคนอื่น) ผู้เข้าร่วมได้ทำการสุ่มเลือกรูปภาพประเภทใดประเภทหนึ่งให้นักวิจัยตรวจสอบ

นักวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลเพื่อทำการประเมินภาวะทางอารมณ์กว่า 2900 รูปภาพระหว่างที่ทำการศึกษาและพบว่า รูปภาพทั้ง 3 ประเภทต่างก็ส่งผลต่ออารมณ์เชิงบวก ผู้เข้าร่วมบางคนที่ถ่ายภาพเซลฟี่ก็ได้รายงานว่า พวกเขามีความเชื่อมั่นมากขึ้นและรู้สึกสบายใจที่ได้ยิ้มให้กับกล้องทุกๆครั้ง นักศึกษาที่ได้ถ่ายภาพสิ่งของต่างๆก็ทำให้พวกเขารู้สึกมีความสุขมากขึ้นจนนำไปสู่การสะท้อนภาวะทางอารมณ์ของตัวเองและรู้สึกเห็นคุณค่าตัวเองมากขึ้น และนักศึกษาที่อยากส่งภาพถ่ายให้คนอื่นมีความสุขก็จะรู้สึกใจเย็นมากขึ้นและกล่าวได้ว่า ทำให้เพื่อนๆรอบข้างพวกเขากับครอบครัวรู้สึกคลายเครียดมากขึ้น

“คุณจะเห็นได้ว่า รายงานเกี่ยวกับสื่อต่างๆนั้น มักจะพูดถึงผลกระทบในเชิงลบจากการใช้เทคโนโลยี และพวกเราก็ได้ทำการตรวจสอบประเด็นต่างๆเหล่านี้อย่างรอบคอบที่ UCI” กล่าวโดยผู้เขียนอาวุโส Gloria Mark ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านสารสนเทศ “แต่ยังมีผลกระทบต่างๆจำนวนมากจากการศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับประเมินภาวะอารมณ์เชิงบวก และฉันคิดว่าการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า บางครั้งเครื่องมือที่พวกเราใช้อยู่ก็เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้เหมือนกัน”

ผู้แปล : Mr.lawrence10

ที่มา : sciencedaily.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่