บทความตำนานอาถรรพ์ของเพชรนี้ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับมีผลทำให้ประชาชนหวาดกลัวเพชรนี้
.
ตำนาน: ข่าวลือในช่วงที่เพชรนี้ยังอยู่ในตู้นิรภัย
.
ในปี พ.ศ. 2445 อดอล์ฟ วีล์ล จำหน่ายเพชรนี้ให้กับ ไซม่อน แฟรงเคิล (พ่อค้าเพชรอเมริกัน) ในราคา 250,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 241 ล้านบาท) ไซม่อน แฟรงเคิล นำเพชรนี้กลับกรุงนิวยอร์ค
ช่วงปี พ.ศ. 2445-2451 ไซม่อน แฟรงเคิล เก็บเพชรนี้ไว้ที่ตู้นิรภัยของบริษัท วิลเลี่ยมแอนด์ธีโอดอร์ จำกัด (บริษัทรับฝากเครื่องเพชร) เนื่องจากอเมริกาประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
บทความที่เกี่ยวกับอาถรรพ์ของเพชรนี้เผยแพร่อย่างมากมายในหนังสือพิมพ์อเมริกา ทั้งเส้นทางของเพชรนี้ก่อนหน้านี้ รวมทั้งข่าวลือถึงผู้ที่รับซื้อเพชรนี้ในช่วงที่เพชรนี้ยังอยู่ในตู้นิรภัย
- ฌาคส์ โคเล็ท (ผู้ค้าเพชรฝรั่งเศส) รับซื้อเพชรนี้จาก ไซม่อน แฟรงเคิล ต่อมาเขามีอาการวิกลจริตจนฆ่าตัวตาย
- เจ้าชายอีวาน-โฮวานสกี (เจ้าชายรัสเซีย) รับซื้อเพชรนี้จาก ฌาคส์ โคเล็ท ต่อมาพระองค์มอบเพชรนี้ให้กับมัดมัวแซล-ลอเรนซ์ลาดัว (นักแสดงรัสเซีย/พระชายาลับของเจ้าชายอีวาน-โฮวานสกี) สวมใส่
มัดมัวแซล-ลอเรนซ์ลาดัวถูกเจ้าชายอีวาน-โฮวานสกียิงเสียชีวิต ขณะที่พระองค์ถูกนักปฏิวัติรัสเซียสังหารในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นเพชรนี้ถูกขายคืนให้กับ ไซม่อน แฟรงเคิล
แต่ความจริงเจ้าชายอีวาน-โฮวานสกีเสียชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2225 ชีวประวัติของพระองค์ถูกนำมาสร้างเป็นละครโอเปร่าในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17
.
ตำนาน: เพชรนี้นำหายนะมาสู่สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2
.
ตุรกีเกิดความไม่สงบภายในประเทศจนนำไปสู่การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2451 ข่าวลือการถือครองเพชรนี้ของสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 (กษัตริย์ตุรกี) มีหลายกระแส
- กระแสที่ 1: ไซม่อน เมนชาไรด์ (ผู้ค้าเพชรกรีซ) รับซื้อเพชรนี้จาก ไซม่อน แฟรงเคิล และจำหน่ายเพชรนี้ให้กับสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 โดยไม่มีข้อมูลด้านราคา
- กระแสที่ 2: ไซม่อน แฟรงเคิล จำหน่ายเพชรนี้ให้กับ เซลิม ฮาบิบ (ผู้ค้าเพชรตรุกี) ในราคา 400,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 359 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2451 เซลิม ฮาบิบ นำเพชรนี้กลับอาณาจักรออตโตมัน (ปัจจุบันคือ ตุรกี)
ต่อมา เซลิม ฮาบิบ จำหน่ายเพชรนี้ให้กับสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 แต่พระองค์ให้เขาเป็นผู้ถือครองแทน เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศกำลังวุ่นวาย
ในปี พ.ศ. 2452 กลุ่มยังเติร์ก (คณะปฏิวัติตุรกี) ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ตุรกีเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข
ต่อมาสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง จึงถูกกลุ่มยังเติร์กปลด และแต่งตั้ง เรซาด เอเฟนดี (น้องชายของสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2) เป็นสุลต่านเมห์เมดที่ 5 ต่อมาสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 สิ้นพระชนม์ขณะมีอายุ 76 ปีในปี พ.ศ. 2461
นักประวัติศาสตร์ไม่พบหลักฐานการถือครองเพชรนี้โดยสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่ความตกต่ำของสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 จะเกิดจากเพชรนี้
เซลิม ฮาบิบ นำเพชรนี้ไปจำหน่ายที่กรุงปารีสให้กับ ไซมอน โคสส์โน (ผู้ค้าเพชรฝรั่งเศส) ในราคา 400,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส (ประมาณ 95 ล้านบาท) เพื่อนำไปชำระหนี้
ในปี พ.ศ. 2453 ไซมอน โคสส์โน จำหน่ายเพชรนี้ให้กับ ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ (ผู้ค้าเพชรฝรั่งเศส) ในราคา 550,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส (ประมาณ 130 ล้านบาท)
.
ตำนาน: เพชรนี้นำหายนะมาสู่ครอบครัวแม็คลีน
.
เอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีน (ทายาทเจ้าของหนังสือพิมพ์) กับเอวาลีน-วอลช์แม็คลีน (ลูกสาวเจ้าของเหมืองทองคำอเมริกัน) เป็นคู่สามี-ภรรยาชนชั้นสูงที่มีชื่อเสียงที่สุดคู่หนึ่งในอเมริกา ข่าวลือการถือครองเพชรนี้ของพวกเขามีหลายกระแส
- กระแสที่ 1: ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ พยายามเสนอจำหน่ายเพชรนี้ให้กับเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนกับเอวาลีน-วอลช์แม็คลีน แต่พวกเขาปฏิเสธ ต่อมาพวกเขายอมเปลี่ยนใจรับซื้อเพชรนี้ ในราคา 300,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 258 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2454
- กระแสที่ 2: ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ จำหน่ายเพชรนี้ให้กับ เอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนกับเอวาลีน-วอลช์แม็คลีน ในราคา 180,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 154 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2454 โดยพวกเขาสัญญาจะจ่ายเงินให้กับ ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ ในภายหลัง
ต่อมาเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนกับเอวาลีน-วอลช์แม็คลีนเกิดความกลัวในตำนานอาถรรพ์ของเพชรนี้จึงกำหนดเงื่อนไขต่อ ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ ว่า
"หากภายใน 6 เดือนแรกเกิดสิ่งไม่ดีต่อครอบครัวของเขา เขาสามารถเปลี่ยนเพชรนี้กับเพชรอื่นที่มีมูลค่าเท่ากันได้" ดังนั้นช่วง 6 เดือนแรกเขาจึงยังไม่ชำระเงิน
ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ ไม่พอใจอย่างมากจึงจ้างทนายความเพื่อเตรียมฟ้องร้อง ต่อมาเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนยอมชำระเงินให้กับ ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ ในปี พ.ศ. 2455
ในปี พ.ศ. 2455 เอวาลีน-วอลช์แม็คลีนจ้างช่างประกอบเพชรสร้างสร้อยคอเพชร โดยมีเพชรนี้ประดับบนจี้ห้อยล้อมรอบด้วยเพชร 16 เม็ดเพื่อสวมใส่ในงานเลี้ยง
ในปี พ.ศ. 2462 วินสัน-วอล์ชแม็คลีน (ลูกชายคนโตของเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีน) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต่อมาญาติของเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนหลายคนเสียชีวิต เขาโทษเพชรนี้เป็นต้นเหตุของความโชคร้ายเหล่านี้
ในปี พ.ศ. 2474 เอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนกับเอวาลีน-วอลช์แม็คลีนหย่าร้าง เขามอบเพชรนี้ให้กับเธอเป็นสินสมรส
ต่อมาเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนอยู่กินกับ โรสเซมารี่ ดาวี่ (นักแสดงอเมริกัน) โดยไม่ได้สมรสในปี พ.ศ. 2475
ในปี พ.ศ. 2476 เอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนักจนต้องขายสำนักพิมพ์วอชิงตันโพสท์ ต่อมาเขามีอาการวิกลจริต และเสียชีวิตขณะมีอายุ 52 ปีในปี พ.ศ. 2484
ในปี พ.ศ. 2490 เอวาลีน-วอลช์แม็คลีนเสียชีวิตขณะมีอายุ 61 ปี พินัยกรรมของเธอระบุยกทรัพย์สินรวมทั้งเพชรนี้ให้กับหลาน 7 คน เมื่อพวกเขาอายุ 25 ปีบริบูรณ์ โดยมีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ในปี พ.ศ. 2492 ผู้จัดการมรดกของเอวาลีน-วอลช์แม็คลีนตัดสินใจจำหน่ายเครื่องเพชรของเธอทั้งหมดรวมทั้งเพชรนี้ให้กับ แฮร์รีย์ วินสตัน (ผู้ค้าเพชรอเมริกัน) เพื่อชำระหนี้ของเธอ
.
เส้นทางสู่สถาบันสมิธโซเนียน
.
ในปี พ.ศ. 2501 จอร์จ สวิตเซอร์ (นักแร่วิทยาอเมริกัน) ซึ่งทำงานอยู่ในสถาบันสมิธโซเนียน (ปัจจุบันอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดีซี) ชักชวน แฮร์รีย์ วินสตัน ให้บริจาคเพชรนี้ให้กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (National Museum of Natural History)
แฮร์รีย์ วินสตัน ตัดสินใจบริจาคเพชรนี้ให้กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติทางไปรษณีย์ลงทะเบียน เพื่อแสดงเป็นชุดสะสมอัญมณีในพิพิธภัณฑ์
ในปี พ.ศ. 2550 สถาบันสมิธโซเนียนปฏิสังขรณ์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ โดยสร้างห้องรวบรวมอัญมณี (National Gem Collection) เพื่อแสดงอัญมณีที่สำคัญรวมทั้งเพชรนี้
ในปี พ.ศ. 2553 สถาบันสมิธโซเนียนสร้างสร้อยคอ "โฮปในอ้อมกอด (Embracing Hope)" และย้ายเพชรนี้มาประดับบนสร้อยนี้แทน
ในปี พ.ศ. 2555 เพชรนี้ถูกประเมินราคาสูงถึง 250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 8,750 ล้านบาท) สถาบันสมิธโซเนียนจึงตัดสินใจย้ายเพชรนี้ไปเก็บในห้องนิรภัย โดยใช้เพชรอื่นที่คล้ายกันมาประดับบนสร้อยนี้แทน
ตำนานเพชรโฮป (4)
บทความตำนานอาถรรพ์ของเพชรนี้ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับมีผลทำให้ประชาชนหวาดกลัวเพชรนี้
.
ตำนาน: ข่าวลือในช่วงที่เพชรนี้ยังอยู่ในตู้นิรภัย
.
ในปี พ.ศ. 2445 อดอล์ฟ วีล์ล จำหน่ายเพชรนี้ให้กับ ไซม่อน แฟรงเคิล (พ่อค้าเพชรอเมริกัน) ในราคา 250,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 241 ล้านบาท) ไซม่อน แฟรงเคิล นำเพชรนี้กลับกรุงนิวยอร์ค
ช่วงปี พ.ศ. 2445-2451 ไซม่อน แฟรงเคิล เก็บเพชรนี้ไว้ที่ตู้นิรภัยของบริษัท วิลเลี่ยมแอนด์ธีโอดอร์ จำกัด (บริษัทรับฝากเครื่องเพชร) เนื่องจากอเมริกาประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
บทความที่เกี่ยวกับอาถรรพ์ของเพชรนี้เผยแพร่อย่างมากมายในหนังสือพิมพ์อเมริกา ทั้งเส้นทางของเพชรนี้ก่อนหน้านี้ รวมทั้งข่าวลือถึงผู้ที่รับซื้อเพชรนี้ในช่วงที่เพชรนี้ยังอยู่ในตู้นิรภัย
- ฌาคส์ โคเล็ท (ผู้ค้าเพชรฝรั่งเศส) รับซื้อเพชรนี้จาก ไซม่อน แฟรงเคิล ต่อมาเขามีอาการวิกลจริตจนฆ่าตัวตาย
- เจ้าชายอีวาน-โฮวานสกี (เจ้าชายรัสเซีย) รับซื้อเพชรนี้จาก ฌาคส์ โคเล็ท ต่อมาพระองค์มอบเพชรนี้ให้กับมัดมัวแซล-ลอเรนซ์ลาดัว (นักแสดงรัสเซีย/พระชายาลับของเจ้าชายอีวาน-โฮวานสกี) สวมใส่
มัดมัวแซล-ลอเรนซ์ลาดัวถูกเจ้าชายอีวาน-โฮวานสกียิงเสียชีวิต ขณะที่พระองค์ถูกนักปฏิวัติรัสเซียสังหารในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นเพชรนี้ถูกขายคืนให้กับ ไซม่อน แฟรงเคิล
แต่ความจริงเจ้าชายอีวาน-โฮวานสกีเสียชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2225 ชีวประวัติของพระองค์ถูกนำมาสร้างเป็นละครโอเปร่าในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17
.
ตำนาน: เพชรนี้นำหายนะมาสู่สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2
.
ตุรกีเกิดความไม่สงบภายในประเทศจนนำไปสู่การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2451 ข่าวลือการถือครองเพชรนี้ของสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 (กษัตริย์ตุรกี) มีหลายกระแส
- กระแสที่ 1: ไซม่อน เมนชาไรด์ (ผู้ค้าเพชรกรีซ) รับซื้อเพชรนี้จาก ไซม่อน แฟรงเคิล และจำหน่ายเพชรนี้ให้กับสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 โดยไม่มีข้อมูลด้านราคา
- กระแสที่ 2: ไซม่อน แฟรงเคิล จำหน่ายเพชรนี้ให้กับ เซลิม ฮาบิบ (ผู้ค้าเพชรตรุกี) ในราคา 400,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 359 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2451 เซลิม ฮาบิบ นำเพชรนี้กลับอาณาจักรออตโตมัน (ปัจจุบันคือ ตุรกี)
ต่อมา เซลิม ฮาบิบ จำหน่ายเพชรนี้ให้กับสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 แต่พระองค์ให้เขาเป็นผู้ถือครองแทน เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศกำลังวุ่นวาย
ในปี พ.ศ. 2452 กลุ่มยังเติร์ก (คณะปฏิวัติตุรกี) ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ตุรกีเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข
ต่อมาสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง จึงถูกกลุ่มยังเติร์กปลด และแต่งตั้ง เรซาด เอเฟนดี (น้องชายของสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2) เป็นสุลต่านเมห์เมดที่ 5 ต่อมาสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 สิ้นพระชนม์ขณะมีอายุ 76 ปีในปี พ.ศ. 2461
นักประวัติศาสตร์ไม่พบหลักฐานการถือครองเพชรนี้โดยสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่ความตกต่ำของสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 จะเกิดจากเพชรนี้
เซลิม ฮาบิบ นำเพชรนี้ไปจำหน่ายที่กรุงปารีสให้กับ ไซมอน โคสส์โน (ผู้ค้าเพชรฝรั่งเศส) ในราคา 400,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส (ประมาณ 95 ล้านบาท) เพื่อนำไปชำระหนี้
ในปี พ.ศ. 2453 ไซมอน โคสส์โน จำหน่ายเพชรนี้ให้กับ ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ (ผู้ค้าเพชรฝรั่งเศส) ในราคา 550,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส (ประมาณ 130 ล้านบาท)
.
ตำนาน: เพชรนี้นำหายนะมาสู่ครอบครัวแม็คลีน
.
เอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีน (ทายาทเจ้าของหนังสือพิมพ์) กับเอวาลีน-วอลช์แม็คลีน (ลูกสาวเจ้าของเหมืองทองคำอเมริกัน) เป็นคู่สามี-ภรรยาชนชั้นสูงที่มีชื่อเสียงที่สุดคู่หนึ่งในอเมริกา ข่าวลือการถือครองเพชรนี้ของพวกเขามีหลายกระแส
- กระแสที่ 1: ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ พยายามเสนอจำหน่ายเพชรนี้ให้กับเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนกับเอวาลีน-วอลช์แม็คลีน แต่พวกเขาปฏิเสธ ต่อมาพวกเขายอมเปลี่ยนใจรับซื้อเพชรนี้ ในราคา 300,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 258 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2454
- กระแสที่ 2: ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ จำหน่ายเพชรนี้ให้กับ เอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนกับเอวาลีน-วอลช์แม็คลีน ในราคา 180,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 154 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2454 โดยพวกเขาสัญญาจะจ่ายเงินให้กับ ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ ในภายหลัง
ต่อมาเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนกับเอวาลีน-วอลช์แม็คลีนเกิดความกลัวในตำนานอาถรรพ์ของเพชรนี้จึงกำหนดเงื่อนไขต่อ ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ ว่า
"หากภายใน 6 เดือนแรกเกิดสิ่งไม่ดีต่อครอบครัวของเขา เขาสามารถเปลี่ยนเพชรนี้กับเพชรอื่นที่มีมูลค่าเท่ากันได้" ดังนั้นช่วง 6 เดือนแรกเขาจึงยังไม่ชำระเงิน
ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ ไม่พอใจอย่างมากจึงจ้างทนายความเพื่อเตรียมฟ้องร้อง ต่อมาเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนยอมชำระเงินให้กับ ปิแอร์ คาร์ติเย่ร์ ในปี พ.ศ. 2455
ในปี พ.ศ. 2455 เอวาลีน-วอลช์แม็คลีนจ้างช่างประกอบเพชรสร้างสร้อยคอเพชร โดยมีเพชรนี้ประดับบนจี้ห้อยล้อมรอบด้วยเพชร 16 เม็ดเพื่อสวมใส่ในงานเลี้ยง
ในปี พ.ศ. 2462 วินสัน-วอล์ชแม็คลีน (ลูกชายคนโตของเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีน) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต่อมาญาติของเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนหลายคนเสียชีวิต เขาโทษเพชรนี้เป็นต้นเหตุของความโชคร้ายเหล่านี้
ในปี พ.ศ. 2474 เอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนกับเอวาลีน-วอลช์แม็คลีนหย่าร้าง เขามอบเพชรนี้ให้กับเธอเป็นสินสมรส
ต่อมาเอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนอยู่กินกับ โรสเซมารี่ ดาวี่ (นักแสดงอเมริกัน) โดยไม่ได้สมรสในปี พ.ศ. 2475
ในปี พ.ศ. 2476 เอ็ดเวิร์ด-บีลล์แม็คลีนประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนักจนต้องขายสำนักพิมพ์วอชิงตันโพสท์ ต่อมาเขามีอาการวิกลจริต และเสียชีวิตขณะมีอายุ 52 ปีในปี พ.ศ. 2484
ในปี พ.ศ. 2490 เอวาลีน-วอลช์แม็คลีนเสียชีวิตขณะมีอายุ 61 ปี พินัยกรรมของเธอระบุยกทรัพย์สินรวมทั้งเพชรนี้ให้กับหลาน 7 คน เมื่อพวกเขาอายุ 25 ปีบริบูรณ์ โดยมีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ในปี พ.ศ. 2492 ผู้จัดการมรดกของเอวาลีน-วอลช์แม็คลีนตัดสินใจจำหน่ายเครื่องเพชรของเธอทั้งหมดรวมทั้งเพชรนี้ให้กับ แฮร์รีย์ วินสตัน (ผู้ค้าเพชรอเมริกัน) เพื่อชำระหนี้ของเธอ
.
เส้นทางสู่สถาบันสมิธโซเนียน
.
ในปี พ.ศ. 2501 จอร์จ สวิตเซอร์ (นักแร่วิทยาอเมริกัน) ซึ่งทำงานอยู่ในสถาบันสมิธโซเนียน (ปัจจุบันอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดีซี) ชักชวน แฮร์รีย์ วินสตัน ให้บริจาคเพชรนี้ให้กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (National Museum of Natural History)
แฮร์รีย์ วินสตัน ตัดสินใจบริจาคเพชรนี้ให้กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติทางไปรษณีย์ลงทะเบียน เพื่อแสดงเป็นชุดสะสมอัญมณีในพิพิธภัณฑ์
ในปี พ.ศ. 2550 สถาบันสมิธโซเนียนปฏิสังขรณ์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ โดยสร้างห้องรวบรวมอัญมณี (National Gem Collection) เพื่อแสดงอัญมณีที่สำคัญรวมทั้งเพชรนี้
ในปี พ.ศ. 2553 สถาบันสมิธโซเนียนสร้างสร้อยคอ "โฮปในอ้อมกอด (Embracing Hope)" และย้ายเพชรนี้มาประดับบนสร้อยนี้แทน
ในปี พ.ศ. 2555 เพชรนี้ถูกประเมินราคาสูงถึง 250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 8,750 ล้านบาท) สถาบันสมิธโซเนียนจึงตัดสินใจย้ายเพชรนี้ไปเก็บในห้องนิรภัย โดยใช้เพชรอื่นที่คล้ายกันมาประดับบนสร้อยนี้แทน