หลังจากลองผิดลองถูกมาหลายวิธี ก็มาค้นพบวิธีนี้ ซึ่งน่าจะสรุปได้ว่า นี่แหละ คือเทคนิคการลดน้ำหนักที่เวิร์กที่สุด!!
ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า HIIT ก่อน
HIIT ย่อมาจาก
high intensity interval training
แปลว่าการออกกำลังกายแบบหนักเป็นช่วงๆ ไม่ใช่การวิ่งสปรินท์รวดเดียวจบแบบที่หลายท่านเข้าใจกันนะครับ แต่เป็นการสปรินท์ระยะสั้นๆ ตามด้วยค่อยๆ ผ่อน แล้วกลับมาสปรินท์อีก วนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
โดยใช้สัดส่วนคือ สปรินท์ 8 วินาที ตามด้วยผ่อน 12 วินาที ใช้เวลาทั้งหมดคือ 20 นาที และให้ทำ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือวันเว้นวัน
ซึ่งสัดส่วน 8:12 วินาทีนี้ ได้รับการทดสอบแล้วจากมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียว่า ได้ผลที่สุด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.earlytorise.com/adrenaline-for-fat-loss/
ที่จริงผมเองก็เคยวิ่งในลักษณะนี้มาบ้างแล้ว แต่ตอนนั้นยังหาสัดส่วนที่เหมาะสมไม่เจอ สปรินท์สั้นบ้าง ยาวบ้าง แล้วบ้าพลังมากไปหน่อย เล่นติดต่อกัน 4 วัน ไม่พักเลย ผลคือ กลางคืนนอนไม่หลับ เพราะหัวใจมันเต้นตึกๆๆๆ ตลอดทั้งคืน
เพราะการ HIIT จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า Epinephine (อีพิเนฟริน) ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะไปกระตุ้นให้ตับสลายไกลโคเจนกลายเป็นกลูโคสออกสู่กระแสเลือด ทำให้กลูโคสเพิ่มระดับขึ้น คล้ายๆ ฮอร์โมน Glucagon (กลูคากอน) แต่ Glucagon จะใช้ตอนที่ระดับกลูโคสในเลือดลดต่ำลง
ผลของฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้ไม่รู้สึกหิว (ชั่วคราว) แล้วตอนกลางคืนอาจนอนไม่หลับ (คล้ายๆ สภาวะเครียด ซึ่งร่างกายก็หลั่งฮอร์โมนตัวนี้เหมือนกัน)
ฮอร์โมนตัวนี้ จะเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ Adrenaline (อะดรีนาลีน) ที่เราคุ้นหูกัน มันเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งตอนที่เราตื่นเต้น ตกใจ เครียด น่าจะเคยได้ยินที่เค้าเคยบอกว่า บางคนสามารถแบกโอ่ง แบกตู้เย็น หนีไฟไหม้ได้เลย นั่นแหละ อานุภาพของฮอร์โมนตัวนี้ล่ะ
แล้วฮอร์โมนตัวนี้มันเกี่ยวอะไรกับการลดน้ำหนัก?
ฮอร์โมน Epinephine จะมีหน้าที่อีกอย่างคือ กระตุ้น Hormone-Sensitive Lipase ในเซลล์ไขมัน เพื่อสลายไขมันออกมาเป็นกรดไขมันอิสระปล่อยสู่กระแสเลือด เพื่อให้ร่างกายใช้เป็นพลังงาน คล้ายๆ ฮอร์โมน Glucagon อีก แต่ Glucagon จะทำงานกรณีนี้ตอนที่เราอดอาหาร (ตามรูป)
นั่นอาจพูดได้ว่า
Epinephrine ใช้เพื่อเอาตัวรอด, Glucagon ใช้เพื่อความอยู่รอด (คหสต)
จากผลวิจัยพบว่า การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ้ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Epinephrine ออกมาเรื่อยๆ เพื่อปรับระดับของกลูโคสในเลือดให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่กำลังทำ (ตามรูป)
แต่เข้าใจว่า ร่างกายคงปล่อยออกมาในปริมาณที่ยังไม่มากพอ ทำให้การกระจายไปกระตุ้นเซลล์ไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อสลายไขมันออกมาทำได้ไม่มากนัก คือต้องวิ่งกันจนกลูโคสในร่างกายใกล้หมด ใช้เวลานานเป็นชั่วโมงๆ นั่นแหละ (คหสต)
แต่การออกกำลังกายแบบ HIIT จะเหมือนเป็นการหลอกร่างกายให้มันนึกว่าเรากำลังวิ่งหนีเสือ มันจะได้หลั่งออกมาเยอะๆ และยังหลอกอีกว่า วิ่งหนีเสือหลายรอบ ทีนี้ร่างกายมันเลยหลั่งออกมาเป็นระยะๆ เต็มร่างกายเลย ฮิฮิ (คหสต อีกแระ)
ซึ่งเป็นอะไรที่น่าสนใจมากครับ เอาล่ะ วันนี้ผมเลยลองจัดตามผลวิจัยดู ด้วยการวิ่งสปรินท์ 8 วินาที ตามด้วย ผ่อน 12 วินาที เป็นเวลา 20 กว่านาที โดยในระหว่างสปรินท์และผ่อน ผมจะนับเลขวินาทีในใจ ซึ่งอาจมีโกงบ้างไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะนับเกินก็อีช่วงผ่อนนี่แหละ คือมันเหนื่อยจริงๆ เหนื่อยสุดๆ ขนาดผมที่วิ่งเป็นประจำ ยังแทบจะเดินในบางช่วง แต่ก็สะใจดีนะ ซึ่งแน่นอน สถานที่ที่ดีที่สุดในการวิ่งแบบนี้ คือสวนสาธารณะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่จริงยังต่อด้วย
- เดิน 1 กิโลเมตร
- ซิทอัพรูปตัว V ทั้งหมด 110 ยก
- กระโดดสูง 2 ครั้งติดกัน พัก 10 วินาที ทั้งหมด 10 รอบ
- วิดพื้นขาพาดฟุตบาท 20 ยก
เอาล่ะ วันแรกผ่านไป ผลที่ได้คือ น้ำหนักลดไป 700 กรัม (วัดเทียบกับตอนเช้า จากน้ำหนัก 62.7 เหลือ 62.0) แต่ยังไม่ใช่ข้อพิสูจน์ เพราะน้ำหนักที่หายไปอาจเป็นน้ำหนักของไกลโคเจนที่ตับและที่กล้ามเนื้อก็ได้ครับ ต้องรอพิสูจน์ผลในวันต่อไป
ขอรายงานผลเท่านี้ก่อน แล้วจะมาอัพเดทเรื่อยๆ เมื่อมีโอกาสครับ
รีวิว การออกกำลังกายแบบ HIIT
ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า HIIT ก่อน
HIIT ย่อมาจาก high intensity interval training
แปลว่าการออกกำลังกายแบบหนักเป็นช่วงๆ ไม่ใช่การวิ่งสปรินท์รวดเดียวจบแบบที่หลายท่านเข้าใจกันนะครับ แต่เป็นการสปรินท์ระยะสั้นๆ ตามด้วยค่อยๆ ผ่อน แล้วกลับมาสปรินท์อีก วนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
โดยใช้สัดส่วนคือ สปรินท์ 8 วินาที ตามด้วยผ่อน 12 วินาที ใช้เวลาทั้งหมดคือ 20 นาที และให้ทำ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือวันเว้นวัน
ซึ่งสัดส่วน 8:12 วินาทีนี้ ได้รับการทดสอบแล้วจากมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียว่า ได้ผลที่สุด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่จริงผมเองก็เคยวิ่งในลักษณะนี้มาบ้างแล้ว แต่ตอนนั้นยังหาสัดส่วนที่เหมาะสมไม่เจอ สปรินท์สั้นบ้าง ยาวบ้าง แล้วบ้าพลังมากไปหน่อย เล่นติดต่อกัน 4 วัน ไม่พักเลย ผลคือ กลางคืนนอนไม่หลับ เพราะหัวใจมันเต้นตึกๆๆๆ ตลอดทั้งคืน
เพราะการ HIIT จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า Epinephine (อีพิเนฟริน) ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะไปกระตุ้นให้ตับสลายไกลโคเจนกลายเป็นกลูโคสออกสู่กระแสเลือด ทำให้กลูโคสเพิ่มระดับขึ้น คล้ายๆ ฮอร์โมน Glucagon (กลูคากอน) แต่ Glucagon จะใช้ตอนที่ระดับกลูโคสในเลือดลดต่ำลง
ผลของฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้ไม่รู้สึกหิว (ชั่วคราว) แล้วตอนกลางคืนอาจนอนไม่หลับ (คล้ายๆ สภาวะเครียด ซึ่งร่างกายก็หลั่งฮอร์โมนตัวนี้เหมือนกัน)
ฮอร์โมนตัวนี้ จะเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ Adrenaline (อะดรีนาลีน) ที่เราคุ้นหูกัน มันเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งตอนที่เราตื่นเต้น ตกใจ เครียด น่าจะเคยได้ยินที่เค้าเคยบอกว่า บางคนสามารถแบกโอ่ง แบกตู้เย็น หนีไฟไหม้ได้เลย นั่นแหละ อานุภาพของฮอร์โมนตัวนี้ล่ะ
แล้วฮอร์โมนตัวนี้มันเกี่ยวอะไรกับการลดน้ำหนัก?
ฮอร์โมน Epinephine จะมีหน้าที่อีกอย่างคือ กระตุ้น Hormone-Sensitive Lipase ในเซลล์ไขมัน เพื่อสลายไขมันออกมาเป็นกรดไขมันอิสระปล่อยสู่กระแสเลือด เพื่อให้ร่างกายใช้เป็นพลังงาน คล้ายๆ ฮอร์โมน Glucagon อีก แต่ Glucagon จะทำงานกรณีนี้ตอนที่เราอดอาหาร (ตามรูป)
นั่นอาจพูดได้ว่า Epinephrine ใช้เพื่อเอาตัวรอด, Glucagon ใช้เพื่อความอยู่รอด (คหสต)
จากผลวิจัยพบว่า การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ้ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Epinephrine ออกมาเรื่อยๆ เพื่อปรับระดับของกลูโคสในเลือดให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่กำลังทำ (ตามรูป)
แต่เข้าใจว่า ร่างกายคงปล่อยออกมาในปริมาณที่ยังไม่มากพอ ทำให้การกระจายไปกระตุ้นเซลล์ไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อสลายไขมันออกมาทำได้ไม่มากนัก คือต้องวิ่งกันจนกลูโคสในร่างกายใกล้หมด ใช้เวลานานเป็นชั่วโมงๆ นั่นแหละ (คหสต)
แต่การออกกำลังกายแบบ HIIT จะเหมือนเป็นการหลอกร่างกายให้มันนึกว่าเรากำลังวิ่งหนีเสือ มันจะได้หลั่งออกมาเยอะๆ และยังหลอกอีกว่า วิ่งหนีเสือหลายรอบ ทีนี้ร่างกายมันเลยหลั่งออกมาเป็นระยะๆ เต็มร่างกายเลย ฮิฮิ (คหสต อีกแระ)
ซึ่งเป็นอะไรที่น่าสนใจมากครับ เอาล่ะ วันนี้ผมเลยลองจัดตามผลวิจัยดู ด้วยการวิ่งสปรินท์ 8 วินาที ตามด้วย ผ่อน 12 วินาที เป็นเวลา 20 กว่านาที โดยในระหว่างสปรินท์และผ่อน ผมจะนับเลขวินาทีในใจ ซึ่งอาจมีโกงบ้างไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะนับเกินก็อีช่วงผ่อนนี่แหละ คือมันเหนื่อยจริงๆ เหนื่อยสุดๆ ขนาดผมที่วิ่งเป็นประจำ ยังแทบจะเดินในบางช่วง แต่ก็สะใจดีนะ ซึ่งแน่นอน สถานที่ที่ดีที่สุดในการวิ่งแบบนี้ คือสวนสาธารณะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เอาล่ะ วันแรกผ่านไป ผลที่ได้คือ น้ำหนักลดไป 700 กรัม (วัดเทียบกับตอนเช้า จากน้ำหนัก 62.7 เหลือ 62.0) แต่ยังไม่ใช่ข้อพิสูจน์ เพราะน้ำหนักที่หายไปอาจเป็นน้ำหนักของไกลโคเจนที่ตับและที่กล้ามเนื้อก็ได้ครับ ต้องรอพิสูจน์ผลในวันต่อไป
ขอรายงานผลเท่านี้ก่อน แล้วจะมาอัพเดทเรื่อยๆ เมื่อมีโอกาสครับ