วันที่ 23 พฤศจิกายน นายนเรศ ฝีปากเพราะ เกษตรจังหวัดน่าน เปิดเผยถึงสถานการณ์ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กำลังประสบ
ปัญหาจำหน่ายผลผลิตไม่ได้ว่า เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่มณฑลทหารบกที่ 38 (มทบ.38) ได้เชิญตน พาณิชย์
จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยพื้นที่ปลูกข้าวโพด จ.น่าน กว่า 8 แสนไร่นั้น
ร้อยละ 85 เป็นพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ อยู่ในเขตป่าสงวนหรืออุทยานแห่งชาติ ยังไม่ทราบมีใครบ้างที่อยู่มาก่อนหรือไม่
แต่บริบทวิถีชีวิต คือ คนอยู่กับป่าอย่างพึ่งพากันมาตั้งแต่โบราณ แต่ตอนนี้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไป เกษตรกรจึงใช้พื้นที่ปลูก
มากขึ้น มีทั้งขอบเขตพอดีและไม่พอดี อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีบริษัทยักษ์ใหญ่ 2 แห่ง ประกาศนโยบายจะไม่รับซื้อผลผลิตที่
ไม่มีเอกสารสิทธิ กระทบทั้ง จ.น่าน เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พะเยา เชียงราย แต่ก็มีเงื่อนไข 3 ส่วน กรณี 1.พื้นที่ 15% ของน่าน
มีเอกสารสิทธิที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 หรือการเช่าสามารถซื้อขายผ่านล้งได้เลยทันที 2.พื้นที่ที่ทางราชการรับรอง เช่น ที่ดินราชพัสดุ
เช่าที่ของการทางรถไฟ เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่ 3 พื้นที่อยู่ระหว่างปรับเปลี่ยนข้าวโพดเชิงเดี่ยวไปเป็นอย่างอื่น ที่ภาครัฐกับองค์กร
เอกชนหรือเอ็นจีโอ ได้เข้าไปส่งเสริมดังกล่าว บริษัทเอกชนร่วมบูรณาการ หรือมีคอนแทรคฟาร์มมิ่ง หรือร่วมเป็นหุ้นส่วนกันอยู่
“จ.น่าน เคยขอไปประเด็นที่ 2 เพื่อขอผ่อนปรนช่วยเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดในเขตป่า แต่เคยได้รับสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี
(ครม.) ปี 52/53 กับปี 53/54 ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรน่านเดือดร้อนอยู่ในกลุ่มนี้ และเคยยื่นหนังสือผู้ว่าราชการจังหวัดให้ช่วย ครั้งที่สอง
เราก็ขอประเด็นที่ 3 ไปอีก อย่างไรก็ตาม สำหรับ อ.บ้านหลวง จ.น่าน ได้รับอานิสงส์ปลูกข้าวโพดจากประเด็นที่ 1 เพราะเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เปิดจุดรับซื้อข้าวโพด ล่าสุดทราบว่าพาณิชย์จังหวัดน่านร่วมกับผู้แทนปลูกข้าวโพดกำลังหารือกันที่ มทบ.38 ถึงแนวทาง
ต่างๆ และนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ ที่จะให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) มาเปิดจุดรับซื้อข้าวโพดและน่านจะได้อานิสงส์ไหม”
นายนเรศกล่าว
นายนเรศกล่าวว่า ถือเป็นวิกฤตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่ปลูกแล้วไม่ได้ราคา ขณะที่ตลาดยังไปได้แต่ไปอีกช่องทางหนึ่ง เพราะปกติข้าวโพดน่านส่วนใหญ่จะไปสู่วงจรการแปรรูปเพื่อไปเป็นอาหารสัตว์ แต่ปีนี้มีการนำเข้าข้าวสาลีจำนวนมากเพื่อทดแทน
ข้าวโพด ทำให้เกษตรกรเสียโอกาสเรื่องราคา เมื่อเทียบย้อนหลังปีที่แล้วกับ ณ วันนี้ มีการแขวนตากข้าวโพดรอไว้แห้งแล้ว ความ
ชื้นน่าจะประมาณ 14 – 20% แต่ล้งที่รับซื้อข้าวโพดกลับนำสู่กระบวนการส่งออกแทน ไปประเทศที่ยังไม่เคร่งครัดเรื่องต้นน้ำหรือ
แหล่งผลิตมาจากไหน ราคาจะถูกกว่าส่งโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ ประมาณกิโลกรัมละ 1 บาท เป็นวิกฤตของเกษตรกรอีก
วิกฤตไร่ข้าวโพด! เกษตรกรน่าน เผยขาดทุนเพียบ กระทบอีก 4 จังหวัด .... มติชนออนไลน์.../sao..เหลือ..noi
วันที่ 23 พฤศจิกายน นายนเรศ ฝีปากเพราะ เกษตรจังหวัดน่าน เปิดเผยถึงสถานการณ์ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กำลังประสบ
ปัญหาจำหน่ายผลผลิตไม่ได้ว่า เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่มณฑลทหารบกที่ 38 (มทบ.38) ได้เชิญตน พาณิชย์
จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยพื้นที่ปลูกข้าวโพด จ.น่าน กว่า 8 แสนไร่นั้น
ร้อยละ 85 เป็นพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ อยู่ในเขตป่าสงวนหรืออุทยานแห่งชาติ ยังไม่ทราบมีใครบ้างที่อยู่มาก่อนหรือไม่
แต่บริบทวิถีชีวิต คือ คนอยู่กับป่าอย่างพึ่งพากันมาตั้งแต่โบราณ แต่ตอนนี้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไป เกษตรกรจึงใช้พื้นที่ปลูก
มากขึ้น มีทั้งขอบเขตพอดีและไม่พอดี อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีบริษัทยักษ์ใหญ่ 2 แห่ง ประกาศนโยบายจะไม่รับซื้อผลผลิตที่
ไม่มีเอกสารสิทธิ กระทบทั้ง จ.น่าน เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พะเยา เชียงราย แต่ก็มีเงื่อนไข 3 ส่วน กรณี 1.พื้นที่ 15% ของน่าน
มีเอกสารสิทธิที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 หรือการเช่าสามารถซื้อขายผ่านล้งได้เลยทันที 2.พื้นที่ที่ทางราชการรับรอง เช่น ที่ดินราชพัสดุ
เช่าที่ของการทางรถไฟ เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่ 3 พื้นที่อยู่ระหว่างปรับเปลี่ยนข้าวโพดเชิงเดี่ยวไปเป็นอย่างอื่น ที่ภาครัฐกับองค์กร
เอกชนหรือเอ็นจีโอ ได้เข้าไปส่งเสริมดังกล่าว บริษัทเอกชนร่วมบูรณาการ หรือมีคอนแทรคฟาร์มมิ่ง หรือร่วมเป็นหุ้นส่วนกันอยู่
“จ.น่าน เคยขอไปประเด็นที่ 2 เพื่อขอผ่อนปรนช่วยเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดในเขตป่า แต่เคยได้รับสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี
(ครม.) ปี 52/53 กับปี 53/54 ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรน่านเดือดร้อนอยู่ในกลุ่มนี้ และเคยยื่นหนังสือผู้ว่าราชการจังหวัดให้ช่วย ครั้งที่สอง
เราก็ขอประเด็นที่ 3 ไปอีก อย่างไรก็ตาม สำหรับ อ.บ้านหลวง จ.น่าน ได้รับอานิสงส์ปลูกข้าวโพดจากประเด็นที่ 1 เพราะเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เปิดจุดรับซื้อข้าวโพด ล่าสุดทราบว่าพาณิชย์จังหวัดน่านร่วมกับผู้แทนปลูกข้าวโพดกำลังหารือกันที่ มทบ.38 ถึงแนวทาง
ต่างๆ และนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ ที่จะให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) มาเปิดจุดรับซื้อข้าวโพดและน่านจะได้อานิสงส์ไหม”
นายนเรศกล่าว
นายนเรศกล่าวว่า ถือเป็นวิกฤตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่ปลูกแล้วไม่ได้ราคา ขณะที่ตลาดยังไปได้แต่ไปอีกช่องทางหนึ่ง เพราะปกติข้าวโพดน่านส่วนใหญ่จะไปสู่วงจรการแปรรูปเพื่อไปเป็นอาหารสัตว์ แต่ปีนี้มีการนำเข้าข้าวสาลีจำนวนมากเพื่อทดแทน
ข้าวโพด ทำให้เกษตรกรเสียโอกาสเรื่องราคา เมื่อเทียบย้อนหลังปีที่แล้วกับ ณ วันนี้ มีการแขวนตากข้าวโพดรอไว้แห้งแล้ว ความ
ชื้นน่าจะประมาณ 14 – 20% แต่ล้งที่รับซื้อข้าวโพดกลับนำสู่กระบวนการส่งออกแทน ไปประเทศที่ยังไม่เคร่งครัดเรื่องต้นน้ำหรือ
แหล่งผลิตมาจากไหน ราคาจะถูกกว่าส่งโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ ประมาณกิโลกรัมละ 1 บาท เป็นวิกฤตของเกษตรกรอีก