เชียงราย - เกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดเมืองพ่อขุนฯ มาตามนัด รวมตัวทวงเงินชดเชยราคาผลผลิตปี 56/57 โวยสิ้นฤดูผลิตไปแล้วบางพื้นที่ไม่ได้แม้แต่บาทเดียวยกหมู่บ้าน แต่เถ้าแก่ไซโลกลับได้เงินค่าปรับปรุงคุณภาพ-ค่าบริหารกันถ้วนหน้า ขู่ตบเท้าเข้ากรุงทวงซ้ำ
วันนี้ (9 ม.ค.) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจาก อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง อ.เมือง และ อ.แม่สรวย ประมาณ 250 คน นำโดยนายธีธวัช คำเงิน ผู้แทนเกษตรกร สภาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย นายปฏิภาณ อายิ และนายสุพจน์ เชอมือ จาก อ.แม่สรวย และนายพงษ์ชัย วงษ์เมืองแล จาก อ.แม่ฟ้าหลวง ได้รวมตัวชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลได้เร่งรัดจัดสรรงบประมาณตามโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2556/2557
เนื่องจากหลังจากได้มีมติอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ก.ย. และ 1 ต.ค. 2556 ที่ผ่านมาแล้ว แต่ปรากฏว่าเกษตรกรกลับไม่ได้รับเงิน
นายธีธวัชกล่าวว่า เฉพาะพื้นที่ อ.แม่ฟ้าหลวงมีชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับเงินค่าจำนำข้าวโพดทั้งหมดประมาณ 10 ล้านบาท อ.แม่สรวย ประมาณ 6 ล้านบาท ฯลฯ พวกเราจึงต้องการสอบถามความคืบหน้าว่าการจัดสรรงบประมาณไปถึงไหนอย่างไร ติดขัดช่วงไหนถึงได้ล่าช้าเพราะหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวโพดไปนานแล้ว และปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่การทำนาปรังทำให้เดือดร้อนมาก
ต่อมานายชาติชาย สงวนพงษ์ ปลัดจังหวัดเชียงราย และนายเฉลิมพล พงษ์ฉบับนภา พาณิชย์จังหวัดเชียงราย ได้เข้ารับเรื่องจากชาวบ้าน โดยนายชาติชายพยายามชี้แจงว่า ปัจจุบันอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการ ทำให้อาจดำเนินการได้ไม่สะดวกมากนัก แต่นายปฏิภาณ แกนนำชาวบ้านแย้งพร้อมสงสัยว่า การดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน เป็นหน้าที่ของข้าราชการประจำหรือนักการเมืองกันแน่ รวมทั้งยังระบุว่า ชาวบ้านมาเรียกร้องโดยไม่รุนแรง และไม่ปิดถนน แต่ศาลากลางจังหวัดฯ ไม่แน่ หากไม่ได้รับเงินค่าจำนำดังกล่าว
จากนั้นพาณิชย์จังหวัดเชียงรายกล่าวชี้แจงว่า เชียงรายมีข้าวโพดที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 157,067.35 ตัน วงเงิน 235,601,029.40 บาท แต่กลับมีปริมาณข้าวโพดขอเข้าร่วมโครงการมากกว่าเป้าหมาย คือประมาณ 256,166.654 ตัน มีเกษตรกรจำนวน 24,287 ราย หรือเกินกว่าเดิมกว่า 90,000 กว่าตัน ซึ่งตามเงินข้างต้น รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้นำมาจ่ายชดเชยแก่เกษตรกรแล้วจำนวน 103,818,433.50 บาท และได้จ่ายไปแล้วจำนวน 99,569,362.91 บาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างตรวจสอบรายละเอียดของผู้ที่จะเข้ารับเงินชดเชยในงวดต่อไปอยู่ คาดว่าจะใช้การตรวจอีก 3 รอบ เพราะผู้ตรวจสงสัยเรื่องปริมาณผลผลิตที่ขอเข้าร่วมที่เพิ่มขึ้นกว่าเป้าที่ตั้งไว้
“งบประมาณที่ได้ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 20 ของวงเงินเต็มเหมือนกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ ผมจึงจะเร่งตรวจสอบใน 3 รอบที่เหลือในเชียงรายก่อน เพื่อที่จะมอบเงินชดเชยให้ แต่ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ต้องใช้เวลาบ้าง หากแล้วเสร็จเร็วและได้งบประมาณที่เหลือเข้ามาก็จะได้สามารถจ่ายได้อย่างรวดเร็ว”
นายเฉลิมพลกล่าวว่า สำหรับปริมาณข้าวโพดที่เกินไปกว่าเป้านั้น ตนได้มีโอกาสพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งเดินทางไปที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีเกษตรกร จ.เชียงใหม่เข้าไปเรียกร้องด้วย ก็ได้รับคำตอบว่าจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไปด้วย ทำให้ต้องรอตามที่นายกรัฐมนมนตรีได้แจ้งเอาไว้
ขณะที่นายปฏิภาณกล่าวว่า ตนกังวลมากที่ทราบว่ามีงบประมาณชดเชยค่าจำนำข้าวโพดแค่ 20% ของทั้งหมด จึงสงสัยว่าที่เหลืออีกเกือบ 80% จะจ่ายได้ทันการเลือกตั้ง ส.ส.2 ก.พ. 57 นี้หรือไม่
ทั้งนี้ โครงการรับจำนำเดิมมีการจ่ายค่าชดเชยจากราคาตามความชื้น 30% กิโลกรัมละ 7 บาท และความชื้น 14.5% กิโลกรัมละ 9 บาท โดยรัฐบาลจะชดเชยให้กิโลกรัมละ 1.50 บาท แต่ปรากฏว่าได้แบ่งค่าชดเชยเป็นค่าปรับปรุงคุณภาพเสีย 50 สตางค์ และค่าบริหารจัดการ 1 บาท ทำให้ที่ผ่านมามีไซโลที่เข้าร่วมนำเอกสารไปให้ชาวบ้านลงชื่อว่ารับเงินไปแล้ว อ้างว่าเพื่อจะนำผลผลิตไปปรับปรุงคุณภาพในสัดส่วน 50 สตางค์ดังกล่าว แต่มีชาวบ้านไม่ได้เงินกันยกหมู่บ้าน
ดังนั้น เมื่อไม่อาจทราบความคืบหน้า พวกตนก็จะกลับไปหารือกัน โดยอาจจะพากันเดินทางไปพบนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการ รมว.กระทรวงพาณิชย์ ที่กระทรวงฯ กันเลย เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย และรัฐบาล ซึ่งพวกตนเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ดี
รายงานแจ้งด้วยว่า ท้ายที่สุดเมื่อไม่มีทางออกในระดับพื้นที่ที่ชัดเจนนอกเหนือไปจากการทยอยจ่ายเงินค่าชดเชยในส่วนที่ได้รับการจัดสรรมาประมาณ 20% ตามขั้นตอน ทำให้กลุ่มเกษตรกรพากันสลายตัวไป
เครดิต
http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000002971
ตามนัด! ชาวไร่ข้าวโพดทวงเงินชดเชย โวยสิ้นฤดูผลิตแล้ว “รัฐบาลปู” ยังจ่ายไม่ครบ
วันนี้ (9 ม.ค.) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจาก อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง อ.เมือง และ อ.แม่สรวย ประมาณ 250 คน นำโดยนายธีธวัช คำเงิน ผู้แทนเกษตรกร สภาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย นายปฏิภาณ อายิ และนายสุพจน์ เชอมือ จาก อ.แม่สรวย และนายพงษ์ชัย วงษ์เมืองแล จาก อ.แม่ฟ้าหลวง ได้รวมตัวชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลได้เร่งรัดจัดสรรงบประมาณตามโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2556/2557
เนื่องจากหลังจากได้มีมติอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ก.ย. และ 1 ต.ค. 2556 ที่ผ่านมาแล้ว แต่ปรากฏว่าเกษตรกรกลับไม่ได้รับเงิน
นายธีธวัชกล่าวว่า เฉพาะพื้นที่ อ.แม่ฟ้าหลวงมีชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับเงินค่าจำนำข้าวโพดทั้งหมดประมาณ 10 ล้านบาท อ.แม่สรวย ประมาณ 6 ล้านบาท ฯลฯ พวกเราจึงต้องการสอบถามความคืบหน้าว่าการจัดสรรงบประมาณไปถึงไหนอย่างไร ติดขัดช่วงไหนถึงได้ล่าช้าเพราะหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวโพดไปนานแล้ว และปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่การทำนาปรังทำให้เดือดร้อนมาก
ต่อมานายชาติชาย สงวนพงษ์ ปลัดจังหวัดเชียงราย และนายเฉลิมพล พงษ์ฉบับนภา พาณิชย์จังหวัดเชียงราย ได้เข้ารับเรื่องจากชาวบ้าน โดยนายชาติชายพยายามชี้แจงว่า ปัจจุบันอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการ ทำให้อาจดำเนินการได้ไม่สะดวกมากนัก แต่นายปฏิภาณ แกนนำชาวบ้านแย้งพร้อมสงสัยว่า การดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน เป็นหน้าที่ของข้าราชการประจำหรือนักการเมืองกันแน่ รวมทั้งยังระบุว่า ชาวบ้านมาเรียกร้องโดยไม่รุนแรง และไม่ปิดถนน แต่ศาลากลางจังหวัดฯ ไม่แน่ หากไม่ได้รับเงินค่าจำนำดังกล่าว
จากนั้นพาณิชย์จังหวัดเชียงรายกล่าวชี้แจงว่า เชียงรายมีข้าวโพดที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 157,067.35 ตัน วงเงิน 235,601,029.40 บาท แต่กลับมีปริมาณข้าวโพดขอเข้าร่วมโครงการมากกว่าเป้าหมาย คือประมาณ 256,166.654 ตัน มีเกษตรกรจำนวน 24,287 ราย หรือเกินกว่าเดิมกว่า 90,000 กว่าตัน ซึ่งตามเงินข้างต้น รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้นำมาจ่ายชดเชยแก่เกษตรกรแล้วจำนวน 103,818,433.50 บาท และได้จ่ายไปแล้วจำนวน 99,569,362.91 บาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างตรวจสอบรายละเอียดของผู้ที่จะเข้ารับเงินชดเชยในงวดต่อไปอยู่ คาดว่าจะใช้การตรวจอีก 3 รอบ เพราะผู้ตรวจสงสัยเรื่องปริมาณผลผลิตที่ขอเข้าร่วมที่เพิ่มขึ้นกว่าเป้าที่ตั้งไว้
“งบประมาณที่ได้ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 20 ของวงเงินเต็มเหมือนกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ ผมจึงจะเร่งตรวจสอบใน 3 รอบที่เหลือในเชียงรายก่อน เพื่อที่จะมอบเงินชดเชยให้ แต่ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ต้องใช้เวลาบ้าง หากแล้วเสร็จเร็วและได้งบประมาณที่เหลือเข้ามาก็จะได้สามารถจ่ายได้อย่างรวดเร็ว”
นายเฉลิมพลกล่าวว่า สำหรับปริมาณข้าวโพดที่เกินไปกว่าเป้านั้น ตนได้มีโอกาสพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งเดินทางไปที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีเกษตรกร จ.เชียงใหม่เข้าไปเรียกร้องด้วย ก็ได้รับคำตอบว่าจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไปด้วย ทำให้ต้องรอตามที่นายกรัฐมนมนตรีได้แจ้งเอาไว้
ขณะที่นายปฏิภาณกล่าวว่า ตนกังวลมากที่ทราบว่ามีงบประมาณชดเชยค่าจำนำข้าวโพดแค่ 20% ของทั้งหมด จึงสงสัยว่าที่เหลืออีกเกือบ 80% จะจ่ายได้ทันการเลือกตั้ง ส.ส.2 ก.พ. 57 นี้หรือไม่
ทั้งนี้ โครงการรับจำนำเดิมมีการจ่ายค่าชดเชยจากราคาตามความชื้น 30% กิโลกรัมละ 7 บาท และความชื้น 14.5% กิโลกรัมละ 9 บาท โดยรัฐบาลจะชดเชยให้กิโลกรัมละ 1.50 บาท แต่ปรากฏว่าได้แบ่งค่าชดเชยเป็นค่าปรับปรุงคุณภาพเสีย 50 สตางค์ และค่าบริหารจัดการ 1 บาท ทำให้ที่ผ่านมามีไซโลที่เข้าร่วมนำเอกสารไปให้ชาวบ้านลงชื่อว่ารับเงินไปแล้ว อ้างว่าเพื่อจะนำผลผลิตไปปรับปรุงคุณภาพในสัดส่วน 50 สตางค์ดังกล่าว แต่มีชาวบ้านไม่ได้เงินกันยกหมู่บ้าน
ดังนั้น เมื่อไม่อาจทราบความคืบหน้า พวกตนก็จะกลับไปหารือกัน โดยอาจจะพากันเดินทางไปพบนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการ รมว.กระทรวงพาณิชย์ ที่กระทรวงฯ กันเลย เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย และรัฐบาล ซึ่งพวกตนเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ดี
รายงานแจ้งด้วยว่า ท้ายที่สุดเมื่อไม่มีทางออกในระดับพื้นที่ที่ชัดเจนนอกเหนือไปจากการทยอยจ่ายเงินค่าชดเชยในส่วนที่ได้รับการจัดสรรมาประมาณ 20% ตามขั้นตอน ทำให้กลุ่มเกษตรกรพากันสลายตัวไป
เครดิต http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000002971