เชียงราย - สภาเกษตรกรเมืองพ่อขุนลงมติระดมชาวนา-ชาวไร่ข้าวโพดชุมนุมทวงเงินกันอีกรอบพรุ่งนี้ (30 ม.ค.) ขู่ไม่ได้คำตอบจับมือชาวนาทั่วไทยร่วมประท้วงใหญ่แน่ แกนนำเชื่อ “จำนำข้าว” หมดอนาคตแล้ว หลังทำข้าวด้อยคุณภาพเกลื่อนประเทศ
วันนี้ (29 ม.ค.) นายกิตติพงษ์ ฉัตรหลวง ประธานสภาเกษตรกร จ.เชียงราย กล่าวว่า ขณะนี้ที่ประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดมีมติแล้วว่าจะเคลื่อนไหวเรียกร้องเงินจำนำข้าว เงินชดเชยข้าวโพดที่รัฐบาลยังไม่จ่ายให้เกษตรกรอีกครั้ง หลังจากที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องกันหลายครั้งแต่ยังไม่ได้ผล โดยที่ประชุมได้นัดสมาชิกทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ประมาณ 200-300 คนให้เป็นแกนนำ นำชาวนาออกมาชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัดเชียงรายวันพรุ่งนี้(30 ม.ค.) ยื่นหนังสือต่อนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อแจ้งไปยังรัฐบาลต่อ
โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. ชาวนาจะได้รับเงินค่าจำนำข้าวเมื่อไหร่ 2. เงินค่าชดเชยชาวไร่ข้าวโพดจะได้เมื่อไหร่ และกรณีค่าชดเชยที่จ่ายมาแล้วแต่ไม่ถึงมือเกษตรกรจะแก้ไขอย่างไร และ 3. กรณีไม่สามารถให้คำตอบได้ชัดเจนทางสภาเกษตรกร จ.เชียงราย จะร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งประเทศไทย ซึ่งมีมติจากการประชุมประธานสภาทั่วประเทศที่จ.อุดรธานี เมื่อเร็วๆ นี้ยกระดับการเคลื่อนไหวทั่วประเทศต่อไป
จนถึงวันนี้ชาวนาเชียงรายที่เข้าร่วมโครงการจำนำข้าวยังไม่ได้รับเงินกว่า 50% เมื่อเกษตรกรไปสอบถามจังหวัดหลายครั้งก็ไม่ได้คำตอบ แต่เราก็มีค่าใช้จ่ายมาก จนสมาชิกระดับหมู่บ้านและตำบลร้องขอสภาเกษตรกรให้เป็นองค์กรประสานทวงถามไปยังรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
“ถ้าไม่ได้คำตอบก็จะร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งประเทศไทย ที่มีมติจะยกระดับการเคลื่อนไหวให้มากขึ้น”
นายกิตติพงษ์กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา เดินทางไปติดตามปัญหานี้ที่ จ.เชียงรายเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ได้เสนอแนะให้นำข้าวของชาวนาที่ค้างอยู่ในโครงการออกมาจำหน่ายเองก่อนเพื่อทุเลาความเดือดร้อน ส่วนระยะยาวตนคิดว่าโครงการรับจำนำข้าวนาปรังในฤดูกาลถัดไปไม่มีทางจะเกิดขึ้นอีกแน่นอนไม่ว่าปัญหาทางการเมืองจะเป็นอย่างไร เพราะจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาหนัก เนื่องจากโครงการนี้ทำให้ชาวนาภาคกลางนำข้าวอายุสั้นประมาณ 100 วันมาปลูกกันมาก เพื่อหวังผลเงินจำนำมากกว่าการผลิตข้าวที่มีคุณภาพเหมือนเดิม จนทำให้มีข้าวด้อยคุณภาพในตลาดมากขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับ จ.เชียงรายมีพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1.3 ล้านไร่ ผลผลิต 9.1 แสนตัน มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนโครงการรับจำนำฤดูกาลนาปี 2556/2557 รวม 89,948 ราย ปริมาณข้าว 397,003,125 ตัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้จ่ายเงินให้แล้ว 3,520 ล้านบาท ยังเหลือยอดค้างจ่ายอีก 2,765 ล้านบาท
ส่วนโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2556/2557 มีปริมาณข้าวโพด 157,067.35 ตัน มูลค่า 235,601,029.40 บาท จัดสรรเงินให้แล้ว 103,818,433.50 บาท จ่ายแล้ว 99,569,362.91 บาท คงเหลือเฉพาะยอดที่ได้รับการจัดสรรอีก 4,249,070.59 บาท คงเหลือค้างจ่ายอีก 131,782,595.9 บาท
นัดพรุ่งนี้! ชาวนา-ชาวไร่ระดมพลทวงเงินอีกรอบ เชื่อ “จำนำข้าว” หมดอนาคตแล้ว
เชียงราย - สภาเกษตรกรเมืองพ่อขุนลงมติระดมชาวนา-ชาวไร่ข้าวโพดชุมนุมทวงเงินกันอีกรอบพรุ่งนี้ (30 ม.ค.) ขู่ไม่ได้คำตอบจับมือชาวนาทั่วไทยร่วมประท้วงใหญ่แน่ แกนนำเชื่อ “จำนำข้าว” หมดอนาคตแล้ว หลังทำข้าวด้อยคุณภาพเกลื่อนประเทศ
วันนี้ (29 ม.ค.) นายกิตติพงษ์ ฉัตรหลวง ประธานสภาเกษตรกร จ.เชียงราย กล่าวว่า ขณะนี้ที่ประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดมีมติแล้วว่าจะเคลื่อนไหวเรียกร้องเงินจำนำข้าว เงินชดเชยข้าวโพดที่รัฐบาลยังไม่จ่ายให้เกษตรกรอีกครั้ง หลังจากที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องกันหลายครั้งแต่ยังไม่ได้ผล โดยที่ประชุมได้นัดสมาชิกทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ประมาณ 200-300 คนให้เป็นแกนนำ นำชาวนาออกมาชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัดเชียงรายวันพรุ่งนี้(30 ม.ค.) ยื่นหนังสือต่อนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อแจ้งไปยังรัฐบาลต่อ
โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. ชาวนาจะได้รับเงินค่าจำนำข้าวเมื่อไหร่ 2. เงินค่าชดเชยชาวไร่ข้าวโพดจะได้เมื่อไหร่ และกรณีค่าชดเชยที่จ่ายมาแล้วแต่ไม่ถึงมือเกษตรกรจะแก้ไขอย่างไร และ 3. กรณีไม่สามารถให้คำตอบได้ชัดเจนทางสภาเกษตรกร จ.เชียงราย จะร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งประเทศไทย ซึ่งมีมติจากการประชุมประธานสภาทั่วประเทศที่จ.อุดรธานี เมื่อเร็วๆ นี้ยกระดับการเคลื่อนไหวทั่วประเทศต่อไป
จนถึงวันนี้ชาวนาเชียงรายที่เข้าร่วมโครงการจำนำข้าวยังไม่ได้รับเงินกว่า 50% เมื่อเกษตรกรไปสอบถามจังหวัดหลายครั้งก็ไม่ได้คำตอบ แต่เราก็มีค่าใช้จ่ายมาก จนสมาชิกระดับหมู่บ้านและตำบลร้องขอสภาเกษตรกรให้เป็นองค์กรประสานทวงถามไปยังรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
“ถ้าไม่ได้คำตอบก็จะร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งประเทศไทย ที่มีมติจะยกระดับการเคลื่อนไหวให้มากขึ้น”
นายกิตติพงษ์กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา เดินทางไปติดตามปัญหานี้ที่ จ.เชียงรายเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ได้เสนอแนะให้นำข้าวของชาวนาที่ค้างอยู่ในโครงการออกมาจำหน่ายเองก่อนเพื่อทุเลาความเดือดร้อน ส่วนระยะยาวตนคิดว่าโครงการรับจำนำข้าวนาปรังในฤดูกาลถัดไปไม่มีทางจะเกิดขึ้นอีกแน่นอนไม่ว่าปัญหาทางการเมืองจะเป็นอย่างไร เพราะจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาหนัก เนื่องจากโครงการนี้ทำให้ชาวนาภาคกลางนำข้าวอายุสั้นประมาณ 100 วันมาปลูกกันมาก เพื่อหวังผลเงินจำนำมากกว่าการผลิตข้าวที่มีคุณภาพเหมือนเดิม จนทำให้มีข้าวด้อยคุณภาพในตลาดมากขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับ จ.เชียงรายมีพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1.3 ล้านไร่ ผลผลิต 9.1 แสนตัน มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนโครงการรับจำนำฤดูกาลนาปี 2556/2557 รวม 89,948 ราย ปริมาณข้าว 397,003,125 ตัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้จ่ายเงินให้แล้ว 3,520 ล้านบาท ยังเหลือยอดค้างจ่ายอีก 2,765 ล้านบาท
ส่วนโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2556/2557 มีปริมาณข้าวโพด 157,067.35 ตัน มูลค่า 235,601,029.40 บาท จัดสรรเงินให้แล้ว 103,818,433.50 บาท จ่ายแล้ว 99,569,362.91 บาท คงเหลือเฉพาะยอดที่ได้รับการจัดสรรอีก 4,249,070.59 บาท คงเหลือค้างจ่ายอีก 131,782,595.9 บาท