อุบายวิธีรักษาความสมดุลย์ทางอารมณ์

อุบายวิธี การรักษาความสมดุลย์ทางใจ

ปกติแล้วอาหารของใจ คือ อารมณ์(ความคิด)

ฉะนั้น สมดุลย์ทางใจ = สมดุลย์ทางอารมณ์(ความคิด)

หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ให้แนวทาง ขอสรุปดังนี้

(ในบทสรุปนี้ ได้แทรกความคิดเห็นส่วนตัวไว้ด้วย -ผู้เรียบเรียง-)

วิธีที่ ๑.ฝึกสร้างสติด้วยอิริยาบท ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน จากนั้นนำกำลังสติมาใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยหลักสติปัฎฐาน ๔ ดู กาย เวทนา จิต ธรรม โดยทีต้องกำหนดการดูเป็นคู่ เพื่อสอนจิตเราให้ยอมรับความเป็นจริง หรือ เรียกว่า ฝึกเดินปัญญาในปัจจุบันธรรมก็ได้

การดูๆแบบนี้
- ดูกาย ให้ดูคู่กับ เวทนา
- ดูจิต ให้ดูคู่กับ ธรรม

~กาย หมายถึง การเคลื่อนไหวของกาย ยืน เดิน กิน ดื่ม พูด ทำ ฯลฯ ในขณะกิริยาที่เคลื่อนไหวนั้นๆ ย่อมมีเวทนา(ผัสสะ)ทางใจประกอบกันด้วย เวทนาผัสสะนี้คือ ใจรู้สึกเป็นสุข หรือ ทุกข์ หรือ เฉยๆ จะรู้สึกอย่างไร ก็ให้มีสติรู้ตัวในสิ่งนั้น

~จิต(ใจ) หมายถึง ความรู้สึกๆ ต่อธรรมที่มากระทบใจ ธรรมที่ว่านี้ คือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์/ความคิด) ที่รู้สึกอยู่ขณะนั้นๆ ดี หรือ ไม่ดี

ดี เป็นบุญหรือบาป (กุศล/อกุศล)
ไม่ดี เป็นบุญหรือบาป (กุศล/อกุศล)

ทั้งนี้ เพื่อสอนใจเราให้ยอมรับความจริงของสภาพธรรม (สภาพอารมณ์ที่ใจรู้สึกขณะนั้นๆ)

+++ เมื่อใช้สติตามระลึกได้แบบนี้ กายคู่เวทนา จิตคู่ธรรม +++

อานิสงค์ที่ได้ จิต(ใจ)ของเราจะเกิดปัญญา รู้ขึ้นมายามที่เราต้องไปเจอคู่สนทนา หรือ เห็นใครทำอะไรๆที่เราชอบ ไม่ชอบ

เพราะ ความว่องไวของการฝึกสติระลึกให้จิต(ใจ) เห็นคุณแลโทษ ด้วยสติปัฎฐาน ๔ นั่นเอง

สติ จะคอยรักษาสมดุลย์ทางอารมณ์ให้จิต(ใจ) เป็นไปโดยอัตโนมัติ


อุบายวิธีอีกอย่างหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาความขุ่นมัวของจิตใจที่เกิดมาจากอารมณ์ความคิด ได้เด็ดขาดและเห็นผลเป็นอย่างมาก

โดย หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้เมตตาอบรมสั่งสอนพระ เณร แม่ชี ผู้ปฏิบัติศีล ๘ ศีล ๕

ขอสรุปดังนี้ (มีความเห็นส่วนตัวแทรกด้วย-ผู้เรียบเรียง-)

วิธีการที่ ๒. ให้ฝึกหัดใช้สัญญาแก้สัญญา

คำว่า สัญญา เป็นภาษาบาลี  แปลว่า ความจำได้หมายรู้ ความจำได้นี้เป็นองค์ประกอบของ รูป ๑ นาม ๔ (คน)

~รูป ๑ = ร่างกาย
~นาม ๔ = เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
~สิ่งที่เหนือรูปนาม คือ สติสัมปชัญญะ (คน จึงต่างจากสัตว์จากตรงนี้)

ในชีวิตประจำวันของคนเราทุกคน จะถูกคลุกคลีด้วยสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ ฐานะ โอกาส การศึกษา อาชีพ เพื่อนๆ กิจกรรมทางสังคม กิจส่วนตัว ฯลฯ  

สัญญาความจำได้ของทุกคนจึงเกิดมาจากสภาวะของการใช้ชีวิตประจำวันนั้นเอง ในทุกสภาวะของกรรม(การกระทำ)ในชีวิตประจำวัน จึงอาจก่อให้เกิด ความสุข ความทุกข์ การกระทบกระทั่งทางคำพูด ความคิดอารมณ์ต่างๆ จากสภาะที่อธิบายมาแล้ว

ถาม : แล้วอุบายวิธี " สัญญาแก้สัญญา " จะช่วยรักษาสมดุลย์ทางใจได้อย่างไร ?

ตอบ : หลวงปู่ฯ ได้สอนว่า ทุกๆวันให้หัดระลึกถึง การกระทำ(กรรม) ที่ทำไปแต่ละวัน เช่น การพูด การทำ อะไรต่างๆ ว่าสิ่งที่พูดไปแล้ว คำพูดของเราดีหรือไม่ดี ไปกระทบคู่สนทนาไหม กระทบถึงบุคคลที่สามไหม เป็นบุญหรือบาป

รวมถึงกรรม(การกระทำ)ใดๆ ที่ทำไปแล้วเป็นบุญหรือบาป

ก็ให้หัดระลึก ทวนความจำ นั้น เพื่อสอนใจตนเองให้ยอมรับความจริงถึงเหตุที่พูด+ทำลงไปอย่างไร ผลที่ตอบสนองกลับมาเป็นอย่างไร

เมื่อฝึกสติระลึกบ่อยๆ ทำทุกวัน ถึงจุดๆหนึ่ง ยามต้องเข้าสังคม สติจะมีความว่องไวในการระลึกว่า ถ้าพูดหรือทำอะไรไป ผลจะเป็นอย่างไร

จิตจะจำนนต่อความเป็นจริงที่ถูกอบรมด้วยสัญญาความจำเก่า นี้ล่ะ คือ ปัญญา

ปัญญา จากอุบายวิธี สัญญาแก้สัญญา
--------------------

ข้าวเป็นอาหารของร่างกาย
อารมณ์เป็นอาหารของจิต

สติตัวเดียวรู้แจ้งโลก

โอวาทธรรม หลวงปู่สมชาย  ฐิตวิริโย

--------------------

ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม

น้อมใจเผยแพร่เป็นธรรมทาน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่