ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง;
เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง;
เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง;
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง;
เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง;
เพราะอาศัยวิญญาณัญจาตยนะบ้าง;
เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง;
เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง;
เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย. !
เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมี
วิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ; เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น เป็นของ
แตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิต
ด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุด้วยการ
กำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติ
เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิ
ทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็น
ความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ
มีปฐมฌานเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำ
ห้าประการและเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ
นั้น ๆ นั่นเอง.
สมาธิทุกขั้นตอนใช้เป็นบาทฐาน ในการเข้าวิมุตติได้ทั้งหมด
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง;
เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง;
เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง;
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง;
เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง;
เพราะอาศัยวิญญาณัญจาตยนะบ้าง;
เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง;
เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง;
เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย. !
เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมี
วิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ; เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น เป็นของ
แตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิต
ด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุด้วยการ
กำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติ
เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิ
ทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็น
ความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ
มีปฐมฌานเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำ
ห้าประการและเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ
นั้น ๆ นั่นเอง.