ก.ล.ต. ลงโทษผู้แนะนำการลงทุน 8 ราย และผู้จัดการสาขา 3 รายของแบงก์กสิกรไทย
ก.ล.ต. มีคำสั่งเพิกถอนผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 8 ราย โดย 6 ราย ได้รับโทษสูงสุด 10 ปี เนื่องจากกระทำการทุจริตต่อทรัพย์สินของลูกค้ากองทุนรวม และอีก 2 รายได้รับโทษ 5 ปี รวมถึงลงโทษผู้จัดการสาขาอีก 3 ราย ซึ่งกระทำผิดในกรณีที่เกี่ยวข้องด้วย
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)เปิดเผยว่า ได้รับรายงานการตรวจสอบจากธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน (Limited Broker Dealer and Underwriter: LBDU) และตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 – ธันวาคม 2558 มีผู้แนะนำการลงทุน 6 ราย ได้ทำทุจริตนำเงินของลูกค้าที่ประสงค์จะซื้อกองทุนไปใช้ประโยชน์ส่วนตน โดยรับเงินค่าซื้อกองทุนจากลูกค้า แต่ไม่ทำรายการซื้อในระบบของธนาคาร และจัดทำสมุดบัญชีกองทุนปลอมเป็นหลักฐานให้ลูกค้าเสมือนลูกค้าได้ซื้อกองทุนแล้ว หรือเปิดบัญชีปลอมในชื่อลูกค้าหรือชื่อผู้อื่น และเมื่อกองทุนครบกำหนดก็นำเงินจากลูกค้ารายอื่นไปฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของลูกค้าเสมือนเป็นการคืนเงินลงทุนพร้อมผลประโยชน์ จากนั้นชักชวนลูกค้าให้ลงทุนต่อ แล้วใช้วิธีการในลักษณะเดิมอีก นอกจากนี้ บางรายมีพฤติกรรมสั่งขายกองทุนในบัญชีของลูกค้า โดยปลอมเอกสารการขายกองทุน เปิดบัญชีออมทรัพย์และทำบัตร ATM ปลอม หรือปลอมลายมือชื่อลูกค้า เพื่อถอนเงินจากบัญชีลูกค้า เป็นต้น
ผู้แนะนำการลงทุนทั้ง 6 ราย มีรายชื่อดังนี้ ซึ่งการกระทำผิดแต่ละรายมิได้มีความเกี่ยวข้องกัน และอยู่คนละสาขา
(1) นางสาวกนกกาญจน์ สวนขวัญ
(2) นางสาวปุณิกา ถาวรวงษ์กุล (ขณะกระทำผิดชื่อ นางสาวกานต์พิชชา อรุณชัยโรจน์)
(3) นางสาวอัชรียา สังวาลรัมย์
(4) นางสาวธนภร สุวรรณพงษ์ (ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาด้วย)
(5) นางปรานี รอดยินดี
(6) นางสาวดอกอ้อ โชตนา
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้แนะนำการลงทุนอีก 2 ราย ได้แก่ (7) นางสาวณัชชา สุทธิเพท และ (8) นางสาวนิจวรรณ เอี่ยมสอาด มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของนางสาวธนภร โดยเป็นผู้ทำรายการให้แก่ลูกค้าทั้งที่มีความผิดปกติอย่างชัดเจน และทราบว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบของธนาคาร เช่น ถอนเงินจากบัญชีลูกค้าแล้วซื้อกองทุนให้บุคคลอื่นโดยที่ลูกค้าไม่ได้มาด้วยตนเอง หรือทำรายการซื้อกองทุนโดยตัดบัตรเครดิตของลูกค้ารายอื่น เป็นต้น
ก.ล.ต. จึงมีคำสั่งเพิกถอนการเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ทั้ง 8 ราย โดยในรายที่ (1) – (6) รายละ 10 ปี และในรายที่ (7) และ (8) รายละ 5 ปี โดยรายที่ (1) – (3) มีผลตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2559 รายที่ (4) – (6) ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 และรายที่ (7) – (8) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559
นอกจากนี้ ก.ล.ต. ได้ตรวจพบการปฏิบัติงานที่บกพร่องของผู้จัดการสาขาอีก 3 ราย ใน 2 สาขา ได้แก่ (1) นางศิรดา ชัยภัทรเดช มีการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาเมื่อพบการทุจริต และ (2) นายผริต ปัญจวรรณ และ (3) นายมนตรี แก้วหลวง ละเลยการตรวจสอบดูแล โดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมภายในที่ธนาคารกำหนด จนทำให้ไม่พบข้อพิรุธของกรณีทุจริต ก.ล.ต. จึงห้ามบุคคลทั้ง 3 ราย ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการสาขาในธุรกิจตลาดทุน และสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์และผู้วางแผนการลงทุน เป็นเวลา 4 เดือน โดยรายนางศิรดา มีผลตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2559 และรายนายผริต และนายมนตรี มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559
ทั้งนี้ ธนาคารได้เลิกจ้างผู้แนะนำการลงทุนทั้ง 8 รายข้างต้น รวมทั้งกำชับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการสาขาทั้ง 3 ราย และธนาคารได้ชดใช้เงินคืนให้ลูกค้าทุกรายแล้ว
จากกรณีข้างต้น ก.ล.ต. ตรวจพบว่าธนาคารมีระบบการบริหารและจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายกองทุนที่ไม่รัดกุม และมีระบบตรวจสอบและควบคุมภายในและระบบการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (compliance) ที่ขาดประสิทธิภาพ รวมทั้งไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ดังนั้น คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงลงโทษปรับธนาคารในความบกพร่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 อย่างไรก็ดี ปัจจุบันธนาคารได้แก้ไขปรับปรุงระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและมาตรการตรวจจับความผิดปกติที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว
ก.ล.ต. ขอเตือนผู้ลงทุนให้ใช้ความรอบคอบระมัดระวังในการซื้อกองทุนรวม ควรเรียกหลักฐานการซื้อกองทุน ณ จุดขาย ซึ่งต้องจัดทำโดยระบบเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าการซื้อเสร็จสมบูรณ์แล้ว และสอบทานยอดกับเอกสารยืนยันที่บริษัทจัดการ (บลจ.) ส่งตามมาด้วย ทั้งนี้ ไม่ควรฝากสมุดบัญชีกองทุนและสมุดบัญชีเงินฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ธนาคาร และให้ความสนใจกับการเคลื่อนไหวทางบัญชีทั้งรายการกองทุนและรายการเงินฝากอย่างสม่ำเสมอ หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อธนาคารโดยทันที
ที่มา
http://thaipublica.org/2016/11/sec-21-11-2559/
ใครซื้อกองทุนต้องระวังกันบ้างนะครับ
ก.ล.ต. มีคำสั่งเพิกถอนผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 8 ราย โดย 6 ราย ได้รับโทษสูงสุด 10 ปี เนื่องจากกระทำการทุจริตต่อทรัพย์สินของลูกค้ากองทุนรวม และอีก 2 รายได้รับโทษ 5 ปี รวมถึงลงโทษผู้จัดการสาขาอีก 3 ราย ซึ่งกระทำผิดในกรณีที่เกี่ยวข้องด้วย
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)เปิดเผยว่า ได้รับรายงานการตรวจสอบจากธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน (Limited Broker Dealer and Underwriter: LBDU) และตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 – ธันวาคม 2558 มีผู้แนะนำการลงทุน 6 ราย ได้ทำทุจริตนำเงินของลูกค้าที่ประสงค์จะซื้อกองทุนไปใช้ประโยชน์ส่วนตน โดยรับเงินค่าซื้อกองทุนจากลูกค้า แต่ไม่ทำรายการซื้อในระบบของธนาคาร และจัดทำสมุดบัญชีกองทุนปลอมเป็นหลักฐานให้ลูกค้าเสมือนลูกค้าได้ซื้อกองทุนแล้ว หรือเปิดบัญชีปลอมในชื่อลูกค้าหรือชื่อผู้อื่น และเมื่อกองทุนครบกำหนดก็นำเงินจากลูกค้ารายอื่นไปฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของลูกค้าเสมือนเป็นการคืนเงินลงทุนพร้อมผลประโยชน์ จากนั้นชักชวนลูกค้าให้ลงทุนต่อ แล้วใช้วิธีการในลักษณะเดิมอีก นอกจากนี้ บางรายมีพฤติกรรมสั่งขายกองทุนในบัญชีของลูกค้า โดยปลอมเอกสารการขายกองทุน เปิดบัญชีออมทรัพย์และทำบัตร ATM ปลอม หรือปลอมลายมือชื่อลูกค้า เพื่อถอนเงินจากบัญชีลูกค้า เป็นต้น
ผู้แนะนำการลงทุนทั้ง 6 ราย มีรายชื่อดังนี้ ซึ่งการกระทำผิดแต่ละรายมิได้มีความเกี่ยวข้องกัน และอยู่คนละสาขา
(1) นางสาวกนกกาญจน์ สวนขวัญ
(2) นางสาวปุณิกา ถาวรวงษ์กุล (ขณะกระทำผิดชื่อ นางสาวกานต์พิชชา อรุณชัยโรจน์)
(3) นางสาวอัชรียา สังวาลรัมย์
(4) นางสาวธนภร สุวรรณพงษ์ (ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาด้วย)
(5) นางปรานี รอดยินดี
(6) นางสาวดอกอ้อ โชตนา
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้แนะนำการลงทุนอีก 2 ราย ได้แก่ (7) นางสาวณัชชา สุทธิเพท และ (8) นางสาวนิจวรรณ เอี่ยมสอาด มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของนางสาวธนภร โดยเป็นผู้ทำรายการให้แก่ลูกค้าทั้งที่มีความผิดปกติอย่างชัดเจน และทราบว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบของธนาคาร เช่น ถอนเงินจากบัญชีลูกค้าแล้วซื้อกองทุนให้บุคคลอื่นโดยที่ลูกค้าไม่ได้มาด้วยตนเอง หรือทำรายการซื้อกองทุนโดยตัดบัตรเครดิตของลูกค้ารายอื่น เป็นต้น
ก.ล.ต. จึงมีคำสั่งเพิกถอนการเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ทั้ง 8 ราย โดยในรายที่ (1) – (6) รายละ 10 ปี และในรายที่ (7) และ (8) รายละ 5 ปี โดยรายที่ (1) – (3) มีผลตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2559 รายที่ (4) – (6) ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 และรายที่ (7) – (8) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559
นอกจากนี้ ก.ล.ต. ได้ตรวจพบการปฏิบัติงานที่บกพร่องของผู้จัดการสาขาอีก 3 ราย ใน 2 สาขา ได้แก่ (1) นางศิรดา ชัยภัทรเดช มีการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาเมื่อพบการทุจริต และ (2) นายผริต ปัญจวรรณ และ (3) นายมนตรี แก้วหลวง ละเลยการตรวจสอบดูแล โดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมภายในที่ธนาคารกำหนด จนทำให้ไม่พบข้อพิรุธของกรณีทุจริต ก.ล.ต. จึงห้ามบุคคลทั้ง 3 ราย ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการสาขาในธุรกิจตลาดทุน และสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์และผู้วางแผนการลงทุน เป็นเวลา 4 เดือน โดยรายนางศิรดา มีผลตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2559 และรายนายผริต และนายมนตรี มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559
ทั้งนี้ ธนาคารได้เลิกจ้างผู้แนะนำการลงทุนทั้ง 8 รายข้างต้น รวมทั้งกำชับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการสาขาทั้ง 3 ราย และธนาคารได้ชดใช้เงินคืนให้ลูกค้าทุกรายแล้ว
จากกรณีข้างต้น ก.ล.ต. ตรวจพบว่าธนาคารมีระบบการบริหารและจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายกองทุนที่ไม่รัดกุม และมีระบบตรวจสอบและควบคุมภายในและระบบการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (compliance) ที่ขาดประสิทธิภาพ รวมทั้งไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ดังนั้น คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงลงโทษปรับธนาคารในความบกพร่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 อย่างไรก็ดี ปัจจุบันธนาคารได้แก้ไขปรับปรุงระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและมาตรการตรวจจับความผิดปกติที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว
ก.ล.ต. ขอเตือนผู้ลงทุนให้ใช้ความรอบคอบระมัดระวังในการซื้อกองทุนรวม ควรเรียกหลักฐานการซื้อกองทุน ณ จุดขาย ซึ่งต้องจัดทำโดยระบบเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าการซื้อเสร็จสมบูรณ์แล้ว และสอบทานยอดกับเอกสารยืนยันที่บริษัทจัดการ (บลจ.) ส่งตามมาด้วย ทั้งนี้ ไม่ควรฝากสมุดบัญชีกองทุนและสมุดบัญชีเงินฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ธนาคาร และให้ความสนใจกับการเคลื่อนไหวทางบัญชีทั้งรายการกองทุนและรายการเงินฝากอย่างสม่ำเสมอ หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อธนาคารโดยทันที
ที่มา http://thaipublica.org/2016/11/sec-21-11-2559/