แบงก์เตรียมพร้อมรับมือ “ดีอี” แก้ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ถึง “แบงก์-ผู้ให้บริการมือถือ” ร่วมรับผิดชอบความเสียหายจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง “TB-CERT” คาดเริ่มใช้ไตรมาส 1 ปีนี้ แบงก์ใหญ่ “BBL-กสิกรไทย” หนุนใช้แนวทางเดียวกับ “สิงคโปร์-มาเลเซีย” พิสูจน์ชัดใครพลาดคนนั้นรับผิดชอบ
นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ผู้จัดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและความปลอดภัยไซเบอร์ ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะประธานศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร (TB-CERT) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กำลังแก้ไขกฎหมายพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566
ดร.กิตติ โฆษะวิสุทธ์
เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (เทลโก้) มีส่วนร่วมรับผิดชอบหากประชาชนถูกมิจฉาชีพออนไลน์หลอกให้โอนเงินนั้น รายละเอียดที่แก้ไข พ.ร.ก. คาดว่ากระทรวงดีอีน่าจะมีการทบทวนเนื้อหาและเพิ่มในส่วนของการรับผิดชอบร่วม จากเดิม จะเน้นเรื่องป้องกันและปราบปรามบัญชีม้า
“หากใช้แนวทางเดียวกับประเทศสิงคโปร์ จะมีผู้ร่วมรับผิดชอบ ทั้งในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจเครือข่ายมือถือ แบงก์ และผู้ใช้บริการ เช่น กรณีมีการส่ง SMS ของธนาคารปลอมเข้ามาในระบบ ส่วนนี้เทลโก้ต้องรับผิดชอบ หรือถ้าระบบป้องกันของธนาคารบกพร่อง ส่วนนี้ธนาคารก็รับผิดชอบ แต่ถ้ากรณีผู้ใช้บริการประมาทและทำธุรกรรมด้วยตนเอง เทลโก้และธนาคารดำเนินการถูกต้อง ส่วนนี้ผู้ใช้บริการจะต้องรับผิดชอบ หรือหากบกพร่องทั้ง 3 ฝ่าย ก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบ คือ กฎหมายจะดูความบกพร่องเกิดจากอะไรเป็นหลัก”
ส่วนประเด็นเกี่ยวกับการลงทุนระบบป้องกันภัยเพิ่มเติมนั้นมองว่า ธนาคารสามารถบริหารจัดการได้ตามความเหมาะสม จากที่เคยทำไปแล้ว ซึ่งคงไม่ต้องลงทุนสูงมาก เมื่อเทียบกับช่วงที่มีปัญหาก่อนหน้านี้ เพราะส่วนหนึ่งธนาคารทำครบอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะมีเรื่องของการส่งข้อความ SMS ที่อาจจะต้องพิจารณายอดเงินโอนให้ต่ำลง
รวมถึงต้องการเชื่อมโยงข้อมูล หรือประสานงานเพื่อจัดการเคส อาจจะมีการลงทุนเพิ่มเติมเป็นระบบอัติโนมัติ เช่น เวลาเกิดเหตุและต้องการสืบค้น ธนาคารต้องรับส่งข้อมูลกับเทลโก้ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นมิจฉาชีพจริง ซึ่งจะได้ไม่กระทบคนดี เป็นต้น
“ตอนนี้เรายังไม่เห็นเนื้อหาของกฎหมาย แต่คาดว่าน่าจะนำมาใช้ได้ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 นี้ ซึ่งเนื้อหาที่ครอบคลุมความรับผิดชอบร่วม จะช่วยให้ทุกฝ่ายตระหนักและสร้างความเข้าใจถึงความปลอดภัยและเรียนรู้ภัยดิจิทัลที่มาในรูปแบบใหม่ ๆ หรือเคสใหม่ ๆ มากขึ้น”
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ตัวอย่างกฎหมายของมาเลเซีย และสิงคโปร์ จะมีรายละเอียดการพิสูจน์ว่า ความผิดพลาดที่ถูกหลอกลวงเกิดจากใคร ถ้าพิสูจน์แล้วผู้ใช้บริการพลาด ผู้ใช้บริการก็ต้องรับผิดชอบ เพราะหากความรับผิดชอบมีแค่เทลโก้กับแบงก์ จะทำให้ผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังตัว
“ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะออกมาแบบไหน แต่หากเป็นกรอบของสิงคโปร์ และมาเลเซีย จะเป็นรูปแบบร่วมกันรับผิดชอบ ซึ่งแบงก์มองว่า โปร่งใส และแฟร์กับทุกฝ่าย และการพิสูจน์ว่าใครผิดพลาดตรงไหน ก็ต้องรับผิดชอบส่วนนั้น”
ส่วนการยกระดับความปลอดภัยจากภัยทางการเงินนั้น นางสาวขัตติยากล่าวว่า ธนาคารทำอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันระบบ K PLUS เป็นระบบที่มีศักยภาพรองรับธุรกรรม (Transaction) ได้สูงที่สุดในประเทศ รวมถึงธนาคารได้ปรับปรุงระบบ Core Banking จนมี Capacity เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว พร้อมรองรับระบบ Mobile Banking และ Digital Banking ไปได้อีก 3 ปี
นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) กล่าวว่า ภายในปี 2568 ธนาคารจะผลักดันเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยออกมา จากเดิมฟีเจอร์การขายและการทำตลาด เป็นการทำให้แอปพลิเคชั่นดูเซ็กซี่ แต่หลังจากนี้ Security จะกลายเป็นฟีเจอร์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกอยากเปิดบัญชีทีทีบี เพราะความปลอดภัยดีกว่าและเข้มข้นกว่า
“ธนาคารจะพยายามดูพฤติกรรมของลูกค้า ประกอบกับเคสกรณีที่เคยเกิดขึ้น นำมาปรับให้ตัว Security มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยเราจะพยายามให้ Security อยู่บนจุดที่ลูกค้าสามารถสร้างการควบคุมได้เอง ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีมติ มีข้อแนะนำแตกต่างกันไป ส่วนการลงทุนด้านไอที ก็ล้อไปตามสิ่งที่เราพัฒนาด้านดิจิทัล”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1729916
แบงก์ตั้งรับ “ร่วมจ่าย” ลูกค้าถูกมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน
นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ผู้จัดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและความปลอดภัยไซเบอร์ ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะประธานศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร (TB-CERT) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กำลังแก้ไขกฎหมายพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566
ดร.กิตติ โฆษะวิสุทธ์
เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (เทลโก้) มีส่วนร่วมรับผิดชอบหากประชาชนถูกมิจฉาชีพออนไลน์หลอกให้โอนเงินนั้น รายละเอียดที่แก้ไข พ.ร.ก. คาดว่ากระทรวงดีอีน่าจะมีการทบทวนเนื้อหาและเพิ่มในส่วนของการรับผิดชอบร่วม จากเดิม จะเน้นเรื่องป้องกันและปราบปรามบัญชีม้า
“หากใช้แนวทางเดียวกับประเทศสิงคโปร์ จะมีผู้ร่วมรับผิดชอบ ทั้งในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจเครือข่ายมือถือ แบงก์ และผู้ใช้บริการ เช่น กรณีมีการส่ง SMS ของธนาคารปลอมเข้ามาในระบบ ส่วนนี้เทลโก้ต้องรับผิดชอบ หรือถ้าระบบป้องกันของธนาคารบกพร่อง ส่วนนี้ธนาคารก็รับผิดชอบ แต่ถ้ากรณีผู้ใช้บริการประมาทและทำธุรกรรมด้วยตนเอง เทลโก้และธนาคารดำเนินการถูกต้อง ส่วนนี้ผู้ใช้บริการจะต้องรับผิดชอบ หรือหากบกพร่องทั้ง 3 ฝ่าย ก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบ คือ กฎหมายจะดูความบกพร่องเกิดจากอะไรเป็นหลัก”
ส่วนประเด็นเกี่ยวกับการลงทุนระบบป้องกันภัยเพิ่มเติมนั้นมองว่า ธนาคารสามารถบริหารจัดการได้ตามความเหมาะสม จากที่เคยทำไปแล้ว ซึ่งคงไม่ต้องลงทุนสูงมาก เมื่อเทียบกับช่วงที่มีปัญหาก่อนหน้านี้ เพราะส่วนหนึ่งธนาคารทำครบอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะมีเรื่องของการส่งข้อความ SMS ที่อาจจะต้องพิจารณายอดเงินโอนให้ต่ำลง
รวมถึงต้องการเชื่อมโยงข้อมูล หรือประสานงานเพื่อจัดการเคส อาจจะมีการลงทุนเพิ่มเติมเป็นระบบอัติโนมัติ เช่น เวลาเกิดเหตุและต้องการสืบค้น ธนาคารต้องรับส่งข้อมูลกับเทลโก้ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นมิจฉาชีพจริง ซึ่งจะได้ไม่กระทบคนดี เป็นต้น
“ตอนนี้เรายังไม่เห็นเนื้อหาของกฎหมาย แต่คาดว่าน่าจะนำมาใช้ได้ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 นี้ ซึ่งเนื้อหาที่ครอบคลุมความรับผิดชอบร่วม จะช่วยให้ทุกฝ่ายตระหนักและสร้างความเข้าใจถึงความปลอดภัยและเรียนรู้ภัยดิจิทัลที่มาในรูปแบบใหม่ ๆ หรือเคสใหม่ ๆ มากขึ้น”
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ตัวอย่างกฎหมายของมาเลเซีย และสิงคโปร์ จะมีรายละเอียดการพิสูจน์ว่า ความผิดพลาดที่ถูกหลอกลวงเกิดจากใคร ถ้าพิสูจน์แล้วผู้ใช้บริการพลาด ผู้ใช้บริการก็ต้องรับผิดชอบ เพราะหากความรับผิดชอบมีแค่เทลโก้กับแบงก์ จะทำให้ผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังตัว
“ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะออกมาแบบไหน แต่หากเป็นกรอบของสิงคโปร์ และมาเลเซีย จะเป็นรูปแบบร่วมกันรับผิดชอบ ซึ่งแบงก์มองว่า โปร่งใส และแฟร์กับทุกฝ่าย และการพิสูจน์ว่าใครผิดพลาดตรงไหน ก็ต้องรับผิดชอบส่วนนั้น”
ส่วนการยกระดับความปลอดภัยจากภัยทางการเงินนั้น นางสาวขัตติยากล่าวว่า ธนาคารทำอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันระบบ K PLUS เป็นระบบที่มีศักยภาพรองรับธุรกรรม (Transaction) ได้สูงที่สุดในประเทศ รวมถึงธนาคารได้ปรับปรุงระบบ Core Banking จนมี Capacity เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว พร้อมรองรับระบบ Mobile Banking และ Digital Banking ไปได้อีก 3 ปี
นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) กล่าวว่า ภายในปี 2568 ธนาคารจะผลักดันเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยออกมา จากเดิมฟีเจอร์การขายและการทำตลาด เป็นการทำให้แอปพลิเคชั่นดูเซ็กซี่ แต่หลังจากนี้ Security จะกลายเป็นฟีเจอร์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกอยากเปิดบัญชีทีทีบี เพราะความปลอดภัยดีกว่าและเข้มข้นกว่า
“ธนาคารจะพยายามดูพฤติกรรมของลูกค้า ประกอบกับเคสกรณีที่เคยเกิดขึ้น นำมาปรับให้ตัว Security มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยเราจะพยายามให้ Security อยู่บนจุดที่ลูกค้าสามารถสร้างการควบคุมได้เอง ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีมติ มีข้อแนะนำแตกต่างกันไป ส่วนการลงทุนด้านไอที ก็ล้อไปตามสิ่งที่เราพัฒนาด้านดิจิทัล”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1729916