ที่มา :
http://www.ryt9.com/s/iq05/2671455
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 28 มิถุนายน 2560 16:31:35 น.
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) (MBKET) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเพื่อเอาผิดกับอดีตผู้บริหารระดับสูง คือ นางบุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารสูงสุดในสายธุรกิจหลักทรัพย์รายย่อยของ MBKET และปัจจุบันเป็นกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) และนายภูริภัทร เขียวบริบูรณ์ อดีตผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรของ MBKET ซึ่งปัจจุบันเป็นพนักงานของ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย)
MBKET ระบุข้อหาของอดีตผู้บริหารระดับสูงทั้งสองรายกระทำการละเมิด โดยเรียกค่าเสียหาย 578.15 ล้านบาท เนื่องจากจำเลยทั้งสองกระทำผิดโดยทุจริตร่วมกับอดีตพนักงานอีก 3 คนของ MBKET ที่ถูกเลิกจ้างไปแล้ว ได้แก่ นางสาวสิทธิพร แสงพุ่ง อดีตผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายธุรการหลักทรัพย์, นายภูษิต แก้วมงคลศรี อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) และอดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง COO และ CFO ในบล.หยวนต้า (ประเทศไทย) รวมทั้ง นายอติ อติกุล อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายตราสารอนุพันธ์
คำฟ้องระบุว่า ในช่วงเดือน เม.ย.60 หลังจากที่นางบุญพรและนายภูมิภัทรได้ไปร่วมงานกับ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ได้ให้นางสาวสิทธิพร ส่งข้อมูลภายในต่าง ๆ ของ MBKET ผ่านอีเมลไปให้ ได้แก่ ค่าตอบแทนการขายของผู้แนะนำการลงทุน ((Investment Consultant:IC) รายชื่อผู้แนะนำการลงทุน ผู้จัดการสาขา และหัวหน้าทีมการตลาดของ MBKET ข้อมูลผลประกอบการ ผลกำไร ขาดทุนของสาขาหรือทีมการตลาด ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ของสาขาหรือทีมการตลาด ค่าตอบแทนการขายที่ผู้แนะนำการลงทุน ผู้จัดการสาขา และหัวหน้าทีมการตลาด เป็นต้น
อีกทั้งมีการส่งอีเมลโต้ตอบไปที่นางสาวสิทธิพรเพื่อสอบถามถึงการได้ประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึงลูกค้าหรือมูลค่าปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ในบัญชีของผู้แนะนำการลงทุนของ MBKET มาเป็นของ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ด้วย
นอกจากนั้น ระหว่างเดือนพ.ย.58-ก.พ.59 นายภูษิต ขณะที่ยังเป็นพนักงานของ MBKET ยังใช้อำนาจหน้าที่ร่วมกับพนักงานผู้ช่วยของนายภูษิต ในการช่วยเหลือบุคคลที่จะเข้าซื้อหุ้นเพื่อถือครองกิจการของ บล.เคเคเทรด ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ทั้งในด้านข้อมูลและการสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ทั้งที่ บล.เคเคเทรด เป็นคู่แข่งในธุรกิจเดียวกับ MBKET ซึ่งเป็นการผิดสัญญาจ้างและข้อบังคับการทำงาน
นายภูษิต ยังได้สั่งให้พนักงานผู้ช่วยรายงานข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ รวมถึงเข้าถึงฐานข้อมูลที่สำคัญของ MBKET ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และคัดลอกไฟล์ข้อมูลที่เป็นความลับสูงสุดออกไปจากระบบหลายรายการที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและลูกค้าของบริษัท
ส่วนกรณีของนายอติ ได้ส่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของ MBKET ไปให้กับบุคคลใน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) และยังให้ความช่วยเหลือด้านธุรกิจและการจัดทำแผนงานธุรกิจให้กับ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของบริษัท ในขณะที่เป็นพนักงานของ MBKET
MBKET ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้ง 2 นอากจากจะทำให้เกิดความเสียหาย ยังเป็นการกระทำทุจริต แสวงหาประโยชน์ส่วนตนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีการดึงตัวผู้แนะนำการลงทุนที่ทำงานกับ MBKET ไปทำงานกับ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เป็นจำนวนมาก ได้แก่ ผู้แนะนำการลงทุน 205 คน ผู้จัดการสาขา 159 คน และพนักงานที่ทำงานสนับสนุน 46 คน ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นผลให้ลูกค้าของ MBKET ย้ายบัญชีการลงทุนตามไปด้วยกว่า 261 คน คิดเป็นมูลค่ารวม 3.04 พันล้านบาท
นอกจากนี้ MBKET ยังเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางสาวสิทธิพร แสงพุ่ง ,นายภูษิต แก้วมงคลศรี และนายอติ อติกุล อดีตพนักงานของ MBKET เป็นจำเลย ต่อศาลแรงงานกลางด้วย เนื่องจากบุคคลทั้งสามได้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงาน โดยเป็นการกระทำละเมิดและฝ่าฝืนหรือผิดสัญญาจ้าง ข้อบังคับการทำงาน ประกาศ ระเบียบ และคำสั่งของบริษัทอย่างร้ายแรง รวมทั้งยังเป็นการเอาไปซึ่งข้อมูลความลับทางธุรกิจของโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
ทั้งนี้ การกระทำของบุคคลทั้งสามดำเนินการในขณะที่ยังเป็นพนักงานของโจทก์ ได้มีการนำส่งข้อมูลที่สำคัญของโจทก์ เช่น รายชื่อผู้แนะนำการลงทุน ผู้จัดการสาขา และหัวหน้าทีมการตลาด รวมถึงค่าตอบแทนการขาย (Commission) ของ IC จำนวนพนักงานของแต่ละสาขา รายได้ดอกเบี้ย เงินพิเศษที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงาน เป็นต้น ให้กับบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิที่จะล่วงรู้ข้อมูลดังกล่าว และร่วมใช้ข้อมูลดังกล่าวโดยมิชอบในการติดต่อดึงตัวผู้แนะนำการลงทุน ผู้จัดการสาขา และหัวหน้าทีมการตลาดของโจทก์ที่มีศักยภาพและมีลูกค้านักลงทุนอยู่ในความดูแลจำนวนมากให้ไปทำงานกับจำเลย ซึ่งปัจจุบันทำงานอยู่ที่บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) โดยอาศัยข้อมูลที่เป็นความลับของโจทก์ เป็นฐานในการเสนอค่าตอบแทนที่จูงใจพนักงานเหล่านี้ได้โดยสามารถหลีกเลี่ยงการเสนอค่าตอบแทนที่สูงเกินกว่าที่จำเป็นได้ อันเป็นการมิชอบด้วยมาตรา 29 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542
--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--
รายละเอียดเพิ่มเติม MBKET ฟ้องอดีตผู้บริหารระดับสูง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 28 มิถุนายน 2560 16:31:35 น.
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) (MBKET) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเพื่อเอาผิดกับอดีตผู้บริหารระดับสูง คือ นางบุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารสูงสุดในสายธุรกิจหลักทรัพย์รายย่อยของ MBKET และปัจจุบันเป็นกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) และนายภูริภัทร เขียวบริบูรณ์ อดีตผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรของ MBKET ซึ่งปัจจุบันเป็นพนักงานของ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย)
MBKET ระบุข้อหาของอดีตผู้บริหารระดับสูงทั้งสองรายกระทำการละเมิด โดยเรียกค่าเสียหาย 578.15 ล้านบาท เนื่องจากจำเลยทั้งสองกระทำผิดโดยทุจริตร่วมกับอดีตพนักงานอีก 3 คนของ MBKET ที่ถูกเลิกจ้างไปแล้ว ได้แก่ นางสาวสิทธิพร แสงพุ่ง อดีตผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายธุรการหลักทรัพย์, นายภูษิต แก้วมงคลศรี อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) และอดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง COO และ CFO ในบล.หยวนต้า (ประเทศไทย) รวมทั้ง นายอติ อติกุล อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายตราสารอนุพันธ์
คำฟ้องระบุว่า ในช่วงเดือน เม.ย.60 หลังจากที่นางบุญพรและนายภูมิภัทรได้ไปร่วมงานกับ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ได้ให้นางสาวสิทธิพร ส่งข้อมูลภายในต่าง ๆ ของ MBKET ผ่านอีเมลไปให้ ได้แก่ ค่าตอบแทนการขายของผู้แนะนำการลงทุน ((Investment Consultant:IC) รายชื่อผู้แนะนำการลงทุน ผู้จัดการสาขา และหัวหน้าทีมการตลาดของ MBKET ข้อมูลผลประกอบการ ผลกำไร ขาดทุนของสาขาหรือทีมการตลาด ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ของสาขาหรือทีมการตลาด ค่าตอบแทนการขายที่ผู้แนะนำการลงทุน ผู้จัดการสาขา และหัวหน้าทีมการตลาด เป็นต้น
อีกทั้งมีการส่งอีเมลโต้ตอบไปที่นางสาวสิทธิพรเพื่อสอบถามถึงการได้ประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึงลูกค้าหรือมูลค่าปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ในบัญชีของผู้แนะนำการลงทุนของ MBKET มาเป็นของ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ด้วย
นอกจากนั้น ระหว่างเดือนพ.ย.58-ก.พ.59 นายภูษิต ขณะที่ยังเป็นพนักงานของ MBKET ยังใช้อำนาจหน้าที่ร่วมกับพนักงานผู้ช่วยของนายภูษิต ในการช่วยเหลือบุคคลที่จะเข้าซื้อหุ้นเพื่อถือครองกิจการของ บล.เคเคเทรด ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ทั้งในด้านข้อมูลและการสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ทั้งที่ บล.เคเคเทรด เป็นคู่แข่งในธุรกิจเดียวกับ MBKET ซึ่งเป็นการผิดสัญญาจ้างและข้อบังคับการทำงาน
นายภูษิต ยังได้สั่งให้พนักงานผู้ช่วยรายงานข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ รวมถึงเข้าถึงฐานข้อมูลที่สำคัญของ MBKET ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และคัดลอกไฟล์ข้อมูลที่เป็นความลับสูงสุดออกไปจากระบบหลายรายการที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและลูกค้าของบริษัท
ส่วนกรณีของนายอติ ได้ส่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของ MBKET ไปให้กับบุคคลใน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) และยังให้ความช่วยเหลือด้านธุรกิจและการจัดทำแผนงานธุรกิจให้กับ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของบริษัท ในขณะที่เป็นพนักงานของ MBKET
MBKET ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้ง 2 นอากจากจะทำให้เกิดความเสียหาย ยังเป็นการกระทำทุจริต แสวงหาประโยชน์ส่วนตนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีการดึงตัวผู้แนะนำการลงทุนที่ทำงานกับ MBKET ไปทำงานกับ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เป็นจำนวนมาก ได้แก่ ผู้แนะนำการลงทุน 205 คน ผู้จัดการสาขา 159 คน และพนักงานที่ทำงานสนับสนุน 46 คน ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นผลให้ลูกค้าของ MBKET ย้ายบัญชีการลงทุนตามไปด้วยกว่า 261 คน คิดเป็นมูลค่ารวม 3.04 พันล้านบาท
นอกจากนี้ MBKET ยังเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางสาวสิทธิพร แสงพุ่ง ,นายภูษิต แก้วมงคลศรี และนายอติ อติกุล อดีตพนักงานของ MBKET เป็นจำเลย ต่อศาลแรงงานกลางด้วย เนื่องจากบุคคลทั้งสามได้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงาน โดยเป็นการกระทำละเมิดและฝ่าฝืนหรือผิดสัญญาจ้าง ข้อบังคับการทำงาน ประกาศ ระเบียบ และคำสั่งของบริษัทอย่างร้ายแรง รวมทั้งยังเป็นการเอาไปซึ่งข้อมูลความลับทางธุรกิจของโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
ทั้งนี้ การกระทำของบุคคลทั้งสามดำเนินการในขณะที่ยังเป็นพนักงานของโจทก์ ได้มีการนำส่งข้อมูลที่สำคัญของโจทก์ เช่น รายชื่อผู้แนะนำการลงทุน ผู้จัดการสาขา และหัวหน้าทีมการตลาด รวมถึงค่าตอบแทนการขาย (Commission) ของ IC จำนวนพนักงานของแต่ละสาขา รายได้ดอกเบี้ย เงินพิเศษที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงาน เป็นต้น ให้กับบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิที่จะล่วงรู้ข้อมูลดังกล่าว และร่วมใช้ข้อมูลดังกล่าวโดยมิชอบในการติดต่อดึงตัวผู้แนะนำการลงทุน ผู้จัดการสาขา และหัวหน้าทีมการตลาดของโจทก์ที่มีศักยภาพและมีลูกค้านักลงทุนอยู่ในความดูแลจำนวนมากให้ไปทำงานกับจำเลย ซึ่งปัจจุบันทำงานอยู่ที่บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) โดยอาศัยข้อมูลที่เป็นความลับของโจทก์ เป็นฐานในการเสนอค่าตอบแทนที่จูงใจพนักงานเหล่านี้ได้โดยสามารถหลีกเลี่ยงการเสนอค่าตอบแทนที่สูงเกินกว่าที่จำเป็นได้ อันเป็นการมิชอบด้วยมาตรา 29 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542
--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--