คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ผมเคยเขียนสรุปข้อกฎหมายเอาไว้ นำมาให้ศึกษากันอีกรอบครับ
การลาป่วย มีหลักเกณฑ์สรุปตามข้อกฎหมายดังนี้
1) ลูกจ้างลาป่วยได้ตามจริง แม้เกิน 30 วันก็ลาป่วยได้ แต่จ่ายค่าจ้างไม่เกิน 30วันทำงาน
2) ระเบียบห้ามลาป่วยเกิน 30 วันต่อปี ถือว่าขัดต่อกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ
3) ระเบียบลงโทษลูกจ้างลาป่วยเกิน 30 วันต่อปี ถือเป็นโมฆะ ลงโทษไม่ได้
4) ต้องลาป่วยเกิน 3 วันจึงบังคับให้แสดงใบรับรองแพทย์
5) ลาป่วยไม่เกิน 3 วัน บังคับแสดงใบรับรองแพทย์ไม่ได้ แต่ให้ชี้แจงได้
6) ระเบียบระบุให้ลาป่วยไม่ถึง 3 วันต้องแสดงใบรับรองแพทย์เป็นโมฆะ
7) ใบรับรองแพทย์ต้องเป็นของ แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือสถานพยาบาลของราชการเท่านั้น
8) ลูกจ้างป่วย แม้สามารถทำงานได้ แต่ก็มีสิทธิลาป่วย ไม่จำเป็นต้องเจ็บป่วยขนาดทำงานไม่ได้
9) การลาป่วยเท็จ
- นายจ้างตรวจสอบไม่ได้ ถือเป็นการลาโดยชอบ
- นายจ้างตรวจสอบได้ ถึงแม้ย้อนหลัง ถือว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่
10) ลูกจ้างลาป่วยบ่อย ถือว่าหย่อนสมรรถภาพการทำงาน
ดังนั้นแล้ว การที่ลูกจ้างลาป่วยเพียง 1 วัน และไม่มีหนังสือรับรองแพทย์นั้น ถือเป็นการลาโดยชอบตราบใดที่นายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ว่าลูกจ้างลาป่วยเท็จ การบริหารจัดการในเรื่องดังกล่าวต้องใช้หลักการบริหารงานบุคคล จะหักค่าจ้างหรือแทนมิได้ครับ อีกทั้งวันที่เหลือเป็นวันหยุด มิใช่การลา จึงไม่เข้าข้อกฎหมายเรื่องของการลาติดต่อกันครับ
ตัวอย่างฎีกาคล้ายคลึงกัน
ลาป่วยจริง แต่ป่วยเล็กน้อย นอนพักรักษาที่บ้าน ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยและต้องได้รับค่าจ้างในวันลาป่วย (กฎหมายมิได้ระบุว่าต้องป่วยหนักทำงานมิได้ จึงลาป่วย) (ฎีกาเลขที่ 2598/2541)
การลาป่วย มีหลักเกณฑ์สรุปตามข้อกฎหมายดังนี้
1) ลูกจ้างลาป่วยได้ตามจริง แม้เกิน 30 วันก็ลาป่วยได้ แต่จ่ายค่าจ้างไม่เกิน 30วันทำงาน
2) ระเบียบห้ามลาป่วยเกิน 30 วันต่อปี ถือว่าขัดต่อกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ
3) ระเบียบลงโทษลูกจ้างลาป่วยเกิน 30 วันต่อปี ถือเป็นโมฆะ ลงโทษไม่ได้
4) ต้องลาป่วยเกิน 3 วันจึงบังคับให้แสดงใบรับรองแพทย์
5) ลาป่วยไม่เกิน 3 วัน บังคับแสดงใบรับรองแพทย์ไม่ได้ แต่ให้ชี้แจงได้
6) ระเบียบระบุให้ลาป่วยไม่ถึง 3 วันต้องแสดงใบรับรองแพทย์เป็นโมฆะ
7) ใบรับรองแพทย์ต้องเป็นของ แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือสถานพยาบาลของราชการเท่านั้น
8) ลูกจ้างป่วย แม้สามารถทำงานได้ แต่ก็มีสิทธิลาป่วย ไม่จำเป็นต้องเจ็บป่วยขนาดทำงานไม่ได้
9) การลาป่วยเท็จ
- นายจ้างตรวจสอบไม่ได้ ถือเป็นการลาโดยชอบ
- นายจ้างตรวจสอบได้ ถึงแม้ย้อนหลัง ถือว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่
10) ลูกจ้างลาป่วยบ่อย ถือว่าหย่อนสมรรถภาพการทำงาน
ดังนั้นแล้ว การที่ลูกจ้างลาป่วยเพียง 1 วัน และไม่มีหนังสือรับรองแพทย์นั้น ถือเป็นการลาโดยชอบตราบใดที่นายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ว่าลูกจ้างลาป่วยเท็จ การบริหารจัดการในเรื่องดังกล่าวต้องใช้หลักการบริหารงานบุคคล จะหักค่าจ้างหรือแทนมิได้ครับ อีกทั้งวันที่เหลือเป็นวันหยุด มิใช่การลา จึงไม่เข้าข้อกฎหมายเรื่องของการลาติดต่อกันครับ
ตัวอย่างฎีกาคล้ายคลึงกัน
ลาป่วยจริง แต่ป่วยเล็กน้อย นอนพักรักษาที่บ้าน ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยและต้องได้รับค่าจ้างในวันลาป่วย (กฎหมายมิได้ระบุว่าต้องป่วยหนักทำงานมิได้ จึงลาป่วย) (ฎีกาเลขที่ 2598/2541)
แสดงความคิดเห็น
สิทธิลาป่วย
ดิฉันได้ลาป่วยวันศุกร์ 1 วัน ( โทรลากับหัวหน้างานแล้ว ) / วันเสาร์ถัดไปเป็นเวรหยุดของดิฉัน / วันเอาฑิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของบริษัท
ทางผู้ว่าจ้างบอกว่า หยุดแบบนี้ ต้องมีใบรับรองแพทย์มาเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นการลาต่อเนื่อง 3 วัน หากไม่มีจะคิดเป็นขาดงาน
ในกรณีนี้ ดิฉันไม่มีใบรับรองแพทย์ เพราะคิดว่าลาป่วย 1 วัน (แล้วพักผ่อนที่บ้านเก็คงดีขึ้น)
ทำงานมาเกือบปี ไม่เคยมาสาย ไม่เคยลาอะไรเลย ไม่เคยขาด แต่จะมาโดนหักเงินเพราะลาป่วยแค่วันเดียว
ช่วยให้คำแนะนำ เพื่อความกระจ่าง ตอนนี้รู้สึกแย่สุดๆ ค่ะ
ถ้าหากเขาหักเงินเรา สามารถฟ้องแรงงานได้ไหมค่ะ