มีบทความที่น่าสนใจเผยแพร่ใน นสพ.ไทยโพสต์ คอลัมน์ โลกใบใหม่ เสาร์ที่ ๑๒ พย ๕๙
เขาเขียนว่าในสังคมไทยก็มีความเคลื่อนไหวปรับตัวเปลี่ยนแปลง ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ของไทยได้ปรับสู่ทิศทาง ความมั่นคงใหม่ ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจการค้ากับจีนและภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น หลังโลกตะวันตกมีสภาพเป็นคนป่วยเรื้อรังทางเศรษฐกิจพักใหญ่ การปรับตัวเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเคลื่อนผ่านข้อตกลงการค้ากับจีน ข้อตกลงและการเชื้อเชิญจากรัสเซียให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มการค้าเขตศุลกากรยูเรเซีย ฯ รวมถึงการจัดปรับภูมิรัฐศาสตร์ให้ “ข้าว” ที่ถูกทำให้เป็นพืชการเมืองกลับมาเป็น “พืชเศรษฐกิจ” ตามกลไกการผลิตและการค้าที่พึงจะเป็นด้วยหลายมาตรการ ทั้งการจัดการราคาข้าวเฉพาะหน้า การพิจารณากระบวนการผลิตที่สัมพันธ์กับฤดูกาล การจัดการน้ำ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเรื่องพันธุ์/การเพาะปลูกบำรุงดิน การยกระดับพัฒนามาตรฐานผลผลิตตามความต้องการของตลาด จนถึงการเกิดกระแสรวมตัวจัดการตลาดแบบเศรษฐกิจยุคดิจิตอล ที่กำลังกระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ ฯลฯ
การลดพื้นที่การปลูกข้าวเป็นแนวทางการปรับ “ภูมิรัฐศาสตร์” และ “ภูมิเศรษฐกิจข้าว” เพื่อจัดการราคาข้าวและสร้างทางเลือกที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจครัวเรือนชาวนา ให้มั่นคงด้วยพืชระยะสั้นที่มีอนาคต/มีความสอดคล้องเหมาะสมกับตลาดและสิ่งแวดล้อมการผลิตโดยรวม ซึ่งปัจจุบันมีความจำเป็นต้องปรับการผลิตเพื่อสร้างความมั่นคงให้เกษตรกร ให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่เคลื่อนใหวปรับตัวอยู่เสมอ
วันนี้ “ข้าวโพด” ซึ่งเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคต ที่เวียดนามซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งด้านเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารของไทย ต้องนำเข้าข้าวโพดจากรัสเซียมากถึง 64,000 ตัน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่มีแนวโน้มในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง การปรับพื้นที่สู่การปลูกข้าวโพดจึงเป็นการปรับสู่ความมีอนาคตของเกษตรกร แต่การจัดการพื้นที่การปลูกข้าวโพดและการจัดการเศรษฐกิจร่วมในประเด็นข้าวโพด เป็นเรื่องที่สังคมมีความกังขา! ความกังวลใจของสังคมได้พุ่งเป้าไปที่บรรษัทใหญ่สัญชาติไทยอย่าง ซีพี โดยตรง ด้วยสารพัดข้อกล่าวหา ทั้งเรื่องการผูกขาดธุรกิจ การทำลายสิ่งแวดล้อม และการควบคุมกระบวนการผลิตในลักษณะของเกษตรพันธสัญญา ฯลฯ ซึ่งกรณีนี้จะต้องสร้างความเข้าใจกับสังคมและพัฒนาการปรับภูมิเศรษฐกิจของพืชอย่างข้าวโพด ให้สอดคล้องกับการสร้าง
เศรษฐกิจร่วมอย่างจริงจัง
กรณีความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนในโครงการการปลูกข้าวโพด ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ สปก. หลายจังหวัด ภายใต้มาตรฐานและรายได้ตามข้อตกลงระหว่างเกษตรกร กับ ซีพี โดยการกำกับดูแลของ สปก. ที่ดำเนินการมาระยะหนึ่ง นับว่าเป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จและสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกร และยังได้ช่วยหยุดการทำลายป่าและทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นับเป็นต้นแบบที่น่าจะขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้ เป็นต้น
จากข้าวถึงข้าวโพด...การปรับภูมิเศรษฐศาสตร์ใหม่!
เขาเขียนว่าในสังคมไทยก็มีความเคลื่อนไหวปรับตัวเปลี่ยนแปลง ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ของไทยได้ปรับสู่ทิศทาง ความมั่นคงใหม่ ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจการค้ากับจีนและภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น หลังโลกตะวันตกมีสภาพเป็นคนป่วยเรื้อรังทางเศรษฐกิจพักใหญ่ การปรับตัวเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเคลื่อนผ่านข้อตกลงการค้ากับจีน ข้อตกลงและการเชื้อเชิญจากรัสเซียให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มการค้าเขตศุลกากรยูเรเซีย ฯ รวมถึงการจัดปรับภูมิรัฐศาสตร์ให้ “ข้าว” ที่ถูกทำให้เป็นพืชการเมืองกลับมาเป็น “พืชเศรษฐกิจ” ตามกลไกการผลิตและการค้าที่พึงจะเป็นด้วยหลายมาตรการ ทั้งการจัดการราคาข้าวเฉพาะหน้า การพิจารณากระบวนการผลิตที่สัมพันธ์กับฤดูกาล การจัดการน้ำ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเรื่องพันธุ์/การเพาะปลูกบำรุงดิน การยกระดับพัฒนามาตรฐานผลผลิตตามความต้องการของตลาด จนถึงการเกิดกระแสรวมตัวจัดการตลาดแบบเศรษฐกิจยุคดิจิตอล ที่กำลังกระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ ฯลฯ
การลดพื้นที่การปลูกข้าวเป็นแนวทางการปรับ “ภูมิรัฐศาสตร์” และ “ภูมิเศรษฐกิจข้าว” เพื่อจัดการราคาข้าวและสร้างทางเลือกที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจครัวเรือนชาวนา ให้มั่นคงด้วยพืชระยะสั้นที่มีอนาคต/มีความสอดคล้องเหมาะสมกับตลาดและสิ่งแวดล้อมการผลิตโดยรวม ซึ่งปัจจุบันมีความจำเป็นต้องปรับการผลิตเพื่อสร้างความมั่นคงให้เกษตรกร ให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่เคลื่อนใหวปรับตัวอยู่เสมอ
วันนี้ “ข้าวโพด” ซึ่งเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคต ที่เวียดนามซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งด้านเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารของไทย ต้องนำเข้าข้าวโพดจากรัสเซียมากถึง 64,000 ตัน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่มีแนวโน้มในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง การปรับพื้นที่สู่การปลูกข้าวโพดจึงเป็นการปรับสู่ความมีอนาคตของเกษตรกร แต่การจัดการพื้นที่การปลูกข้าวโพดและการจัดการเศรษฐกิจร่วมในประเด็นข้าวโพด เป็นเรื่องที่สังคมมีความกังขา! ความกังวลใจของสังคมได้พุ่งเป้าไปที่บรรษัทใหญ่สัญชาติไทยอย่าง ซีพี โดยตรง ด้วยสารพัดข้อกล่าวหา ทั้งเรื่องการผูกขาดธุรกิจ การทำลายสิ่งแวดล้อม และการควบคุมกระบวนการผลิตในลักษณะของเกษตรพันธสัญญา ฯลฯ ซึ่งกรณีนี้จะต้องสร้างความเข้าใจกับสังคมและพัฒนาการปรับภูมิเศรษฐกิจของพืชอย่างข้าวโพด ให้สอดคล้องกับการสร้าง
เศรษฐกิจร่วมอย่างจริงจัง
กรณีความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนในโครงการการปลูกข้าวโพด ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ สปก. หลายจังหวัด ภายใต้มาตรฐานและรายได้ตามข้อตกลงระหว่างเกษตรกร กับ ซีพี โดยการกำกับดูแลของ สปก. ที่ดำเนินการมาระยะหนึ่ง นับว่าเป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จและสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกร และยังได้ช่วยหยุดการทำลายป่าและทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นับเป็นต้นแบบที่น่าจะขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้ เป็นต้น