http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000112957
ภาพการทรงงานหนักเสด็จพระราชดำเนินยังท้องถิ่นทุรกันดารทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ยังติดตรึงอยู่ในใจพสกนิกรชาวไทย ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ยากเข้าถึงเช่น “ชาวเขา” ต่างได้ชีวิตใหม่ พระองค์ทรงพลิกพื้นดินจากการทำไร่เลื่อนลอยให้เป็นที่ทำกินเลี้ยงครอบครัวเฉกเช่นปัจจุบัน
เช่นเดียวกับครอบครัวของ ริชชี่- อรเณศ ดีคาบาเลส นางเอกสาววัย 22 ปีแห่งช่องวิกน้อยสี แน่นอนไม่มีใครทราบเลยว่า เธอมีเชื้อสาย “ลาหู่” กระทั่งทาง จ.เชียงใหม่ ได้เชิญครอบครัวของเธอมาร่วมถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ศาลากลางเชียงใหม่ โดยทางจังหวัดจะคัดเลือกเฉพาะชาวเขาที่เคยได้ถวายงานพระองค์เท่านั้น นั่นก็คือครอบครัวของเธอ ที่เคยถวายงานรับใช้ในหลวง ร. ๙ อย่างใกล้ชิด หลายคนถึงกับเซอร์ไพรส์!
ที่สุดในชีวิต! จากรุ่นสู่รุ่น ถวายงานรับใช้ “พ่อหลวง”
เผ่าลาหู่ถวายสักการะในหลวง ร.9
ด้วยนามสกุล “ดีคาบาเลส” ของเธอ ที่ดูจะเป็นฝรั่ง จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่า ริชชี่ เป็นนางเอกลูกครึ่งที่มีเชื้อสายไทย ฟิลิปปินส์ สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ และสเปน แต่ไม่เคยมีใครทราบมาก่อนแน่นอนว่า เธอมีเชื้อสาย “ลาหู่” อีกด้วย เพราะคุณแม่ ชฎาพร ไชยกอ ซึ่งเป็นคุณแม่ของเธอ สืบเชื้อสายมาจากเผ่าลาหู่ ใช้ชีวิตบนดอยปู่หมื่นใน อ.ฝาง มาตั้งแต่เกิด โดยนามสกุล “ไชยกอ” เป็นนามสกุลของชนเผ่าลาหู่นั่นเอง
“ไม่มีใครรู้มาก่อนเลยว่าริชชี่มีเชื้อสายลาหู่ เราไม่เคยปิดบัง เพราะริชชี่คิดว่าตัวเองเป็นคนไทย สัญชาติไทย เลยไม่ได้ลงลึกรายละเอียด ริชชี่ภาคภูมิใจในเชื้อสายตนเอง ชนเผ่าลาหู่อพยพทางจากทิเบตตอนใต้ เข้าตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทยในแถบภาคเหนือกว่า 120 ปีแล้ว คุณทวด หรือปู่หมื่น ได้อพยพมาอยู่ประเทศไทย โดยเผ่าลาหู่จะอยู่กันตามบริเวณภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.แม่ฮ่องสอน
คุณแม่ริชชี่เป็นคน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ใช้ชีวิตแบบชาวเขาทั่วไปบนดอยปู่หมื่น ปู่หมื่นเป็นคุณทวดของคุณแม่ เป็นผู้นำบนดอย หมู่บ้านเราจึงชื่อว่า “ดอยปู่หมื่น” จากนั้น “คุณตาจะฟะ” จึงสืบสานต่อการเป็นผู้นำดอยปู่หมื่นนับแต่นั้นมา
แต่สำหรับตัวริชชี่เองเกิดในตัวเมืองเชียงใหม่ เรียนที่เชียงใหม่ แต่ตอนเด็กช่วงปิดเทอมคุณแม่จะพาขึ้นดอย พาไปเรียนรู้การปลูกชา เก็บชา เพราะคุณแม่กับพี่น้องทุกคนทำงานเกี่ยวกับไร่ชาตามพระราชดำริของพ่อหลวง
จำได้เลยว่า เมื่อ 20 ปีก่อนทางขึ้นดอยลำบากมาก ดินสีแดง ถนนขรุขระ ทุรกันดาร เวลาจะขึ้นไปต้องใช้รถโฟร์วีลต้องมีโซ่ล็อกล้อกันล้อหลุด เพราะดินโคลนเละเทะ” ริชชี่ เล่าย้อนภาพจำวัยเด็กถึงเส้นทางสุดโหดทางขึ้นดอยปู่หมื่น
ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯ มาที่ดอยปู่หมื่นครั้งแรก เมื่อปี 2513 พระราชทานแกะ ไก่ แพะ ให้คุณตาจะฟะ ซึ่งเป็นคุณตาของริชชี่ เพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้าน ทรงสอนให้รู้จักเลี้ยงสัตว์ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ครั้นพระองค์ทรงทราบว่าชาวบ้านดอยปู่หมื่นทำไร่เลื่อนลอยกันเยอะ และมีการปลูกฝิ่น ซึ่งผิดกฎหมาย พระองค์ทรงเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี 2515เพื่อพระราชทานชา “พันธุ์อัสสัม” ต้นแรกให้กับคุณตาจะฟะ เพื่อส่งต่อให้ชาวบ้านปลูก และผลไม้เมืองหนาว ทดแทนการปลูกฝิ่น” ริชชี่กล่าวอย่างภาคภูมิใจในตระกูลของเธอที่ได้ถวายงานรับใช้ในหลวง ร.๙ อย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ คุณแม่ของเธอยังเล่าด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ท่านจะเสด็จคู่กันตลอด เป็นคู่บุญบารมี จะเห็นในภาพที่ออกสื่อคุณแม่ริชชี่รับเสด็จฯ ตอนนั้นคุณแม่ทูลถวายงานกับพระองค์ท่าน เมื่อพระราชินีทรงทอดพระเนตรเห็น ทรงตรัสว่า “อ้าว นั่นลูกสาวของจะฟะนี่” จากนั้นพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาที่คุณแม่เป็นภาพประทับใจซาบซึ้งของครอบครัวมาก
คุณแม่เล่าเหตุการณ์ในวันนั้นให้ฟัง ริชชี่รู้สึกภูมิใจมากที่ได้ใกล้ชิดท่านขนาดนี้ ซาบซึ้งมาตลอดที่ครอบครัวเรามีโอกาสได้ถวายงานรับใช้ท่าน เราเห็นสิ่งที่ครอบครัวเราทำยิ่งรู้ประวัติความเป็นมาในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านต่อครอบครัว เรายิ่งรู้สึกตื้นตันสุดภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิต”
อัลปา ที…“ชาของพ่อ”
ในหลวง ร.๙ พระราชทานชาต้นแรกพันธุ์อัสสัมให้คุณตาจะฟะเพื่อส่งต่อให้ชาวบ้านปลูก
นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จะพระราชทานชาพันธุ์อัสสัมให้ชาวบ้านบนดอยปู่หมื่นปลูกแล้ว ทว่าก็จะมีปัญหาอีกว่า ผลผลิตไม่มีที่ขาย พระองค์ทรงมีพระเมตตามอบเงินทุนให้กับคุณตาจะฟะ ในการเปิดร้านค้าชาวเขา เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการรับผลผลิตของชาวบ้านกระจายสินค้ามาขายในร้านนี้ เพราะพระองค์ทรงเป็นห่วงว่าเมื่อชาวบ้านปลูกชาแล้วจะไม่มีที่ขาย ซึ่งมีชื่อร้านว่า “ร้านค้าชาวเขาในพระบรมราชานุเคราะห์” ซึ่งตอนนี้คุณแม่ริชชี่ เป็นคนดูแลอยู่เพื่อสืบสานปณิธานของพระองค์ท่านที่เคยตรัสกับคุณตาจะฟะว่า “อย่าทอดทิ้งชาวบ้าน”
“ร้านค้าชาวเขาฯ จะรับทุกอย่างของชาวบ้านมาขายแต่ผลผลิตหลักก็คือ “ชา” นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ งานหัตถกรรม เช่น ผ้าทอชุดชาวเขา อีกด้วย เพื่อทำให้ชาวบ้านอยู่ได้ อาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่ทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังรับซื้อชาจากชาวบ้าน ภายใต้ชื่อ “อัลปา ที” แปลว่า “ชาของพ่อ” ขายใน อ.ฝาง ให้นักท่องเที่ยว อนาคตอยากจะพัฒนาตรงนี้ และผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านต่อไป
คุณแม่จะสอนเราอยู่เสมอว่า ครอบครัวเรา อยู่ได้เพราะพระองค์ ท่านทรงมีพระเมตตา เรามีทุกวันนี้ ครอบครัวเราอยู่ได้ทุกวันนี้ เพราะความรักความห่วงใยของพระองค์ท่าน คุณแม่จะสอนให้เรายึดพระองค์ท่านเป็นกำลังใจในการทำความดี รวมถึงการทำงาน และการเป็นนักกีฬาของเรา”
ทว่า นอกจากริชชี่จะเป็นนักแสดงแล้วอีกบทบาทหนึ่งของเธอก็คือนักกีฬาแบดมินตัน โดยปัจจุบันนี้เธอกำลังเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
สานต่อปณิธาน “อย่าทอดทิ้งชาวบ้าน”
13 ปีที่คุณตาจะฟะได้ถวายงานรับใช้ในหลวง ร. ๙ กระทั่งในปี 2526 คุณตาจะฟะได้เสียชีวิตลง จากการถูกลอบยิง
“คุณตามีลูกทั้งหมด 11 คน ลูกๆ ของคุณตาจึงขอสานต่อถวายงานรับใช้พระองค์ท่านมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากที่คุณตาจะฟะเสียชีวิต คุณลุงของริชชี่จึงได้กราบทูลในหลวงตอนที่ท่านเสด็จฯ มาดอยปู่หมื่น ว่า คุณตาได้เสียชีวิตแล้ว พระองค์ทรงตรัสแสดงความเสียใจกับคุณลุง และลูกของคุณตาทุกคนที่ไปไปรับเสด็จฯ “จะฟะ เป็นคนดี เราอยากให้ลูกหลานของจะฟะ เป็นคนดีเหมือนจะฟะ และอย่าทอดทิ้งชาวบ้าน อยากให้ช่วยดูแลชาวบ้านต่อไป”
จากนั้นลูกของคุณตาทุกคนก็ได้นำความรู้ ความสามารถ ทุกอย่างที่มีกลับไปทำงานที่ไร่ชาต่อ ทำตามที่พระองค์ท่านตรัสไว้กับครอบครัว ว่า อย่าทิ้งชาวบ้าน
ตอนนี้คุณลุงริชชี่ เจริญ ไชยกอ เป็นผู้นำดูแลชาวบ้านบนดอยปู่หมื่น พัฒนาเรื่องชา และมีโครงการเยอะมากที่พัฒนาอยู่ตอนนี้ เพราะยังต้องถวยรายงานสมเด็จพระเทพฯ อยู่ พระองค์ไม่เคยทิ้งชาวบ้านยังติดตามความเป็นอยู่โดยตลอด
ลูกคุณตาทุกคนได้สานต่อคุณตา อย่างคุณน้า ทำมูลนิธิคริสเตียนเปี่ยมรัก คอยดูแลเด็กชาวเขา เด็กที่ด้อยโอกาส โดยคุณน้าจะเลี้ยงดูจนโต ส่วนคุณน้าอีกคน ก็ทำโรงแรมใน อ.ฝาง เป็นลักษณะโฮมสเตย์ พานักท่องเที่ยวไปเรียนรู้ใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้านที่อยู่บนดอยปู่หมื่น ปลูกชา เก็บชา นอกจากนี้ โรงแรมของคุณน้า ยังช่วยเหลือเด็กในท้องถิ่นให้มาทำงานที่โรงแรมมีอาชีพและรายได้อีกด้วย
ส่วนน้าชาย อีกคนก็เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านชา คุณน้าจะพยายามศึกษาเรียนรู้พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องชาตามปณิธานของในหลวงที่ท่านทรงมอบไว้ให้ดอยปู่หมื่น รวมถึงช่วยดูแลชาวบ้านบนดอยปู่หมื่น
ชาวบ้านในหมู่บ้านเราอาจจะไม่ได้ดีที่สุด แต่เราสามารถพูดได้เลยว่า ความเป็นอยู่ของชาวบ้านตอนนี้ที่ดอยปู่หมื่นดีกว่าหลายหมู่บ้าน นอกจากนี้ ดอยปู่หมื่นยังเป็นโมเดลให้กับหมู่บ้านอื่นๆอีกด้วย เพราะหมู่บ้านเรามีความแข็งแรงในชุมชน และหากหมู่บ้านไหนอยากจะเรียนรู้ เช่น เรื่องการปลูกชา การท่องเที่ยวในชุมชน สามารถมาศึกษาหมู่บ้านเราเป็นโมเดลได้ เราจะให้ความรู้ และช่วยเหลือหมู่บ้านอื่นๆได้ด้วย
ทุกวันนี้ความเป็นอยู่บนดอยปู่หมื่นดีขึ้นมาก เพราะชาวบ้านได้เปลี่ยนจากการทำไร่เลื่อนลอย และปลูกฝิ่น มาปลูกชาแทน นอกจากนี้ พระองค์ยังเสด็จฯ ไปในหมู่บ้านละแวกใกล้เคียงในโซนภาคเหนือ โดยมีคุณตา ทำหน้าที่เป็นล่าม เพราะคุณตา พูดได้ทั้งภาษาจีน ภาษาท้องถิ่น และภาษาไทย คุณตาจึงเป็นเหมือนผู้นำที่จะนำชาวบ้านจากหลายๆหมู่บ้านให้เปลี่ยนจากการปลูกฝิ่นมาปลูกชา”
ริชชี่คือเด็กน้อยในชุดสีฟ้า และพี่สาวริชชี่ในชุดลาหู่
แม้เธอจะไม่ได้มีโอกาสรับเสด็จฯ พ่อหลวงอย่างคุณตา และคุณแม่ เพราะเกิดไม่ทันในช่วงที่ท่านเสด็จฯ มาที่ดอยปู่หมื่น แม้พระองค์จะไม่ได้เสด็จฯ บนดอยปู่หมื่นแล้ว แต่พระองค์ไม่เคยทอดทิ้ง เพราะสมเด็จพระเทพฯ ทรงสานต่องานที่ท่านทำ เธอจึงมีโอกาสได้ถวายรายงาน“สมเด็จพระเทพฯ” สร้างความปลื้มใจให้กับเธอยิ่งนัก
“เพราะพระองค์จะไม่เสด็จในที่ซ้ำๆ เพราะสถานที่นั้นพระองค์ท่านได้เข้าถึงแก้ไขช่วยเหลือปัญหาชาวบ้านได้แล้ว จึงต้องเสด็จไปในทั่วประเทศไทย ในพื้นที่ที่ชาวบ้านยังรอการช่วยเหลืออยู่ แต่ริชชี่ได้มีโอกาสได้รับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายรายงานความคืบหน้าของการพัฒนาหมู่บ้าน”
เธอเล่าย้อนไป 20 ปี ในการรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพฯ เป็นครั้งแรก เป็นภาพแห่งความสุขของ ด.ญ.ริชชี่ ในวัย 2 ขวบ ซึ่งเป็นความประทับใจและจดจำมาจนบัดนี้
“ช่วงเด็กๆ ตอนยังไม่เข้าโรงเรียนริชชี่ก็ไปดอยปู่หมื่นบ่อย ตามคุณแม่ไปตลอด จึงมีโอกาสได้รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพราะคุณแม่ คุณลุง คุณน้า ต้องถวายรายงานตลอด
ตอนนั้นประมาณ 2 ขวบ จำบรรยากาศได้ว่า ทุกคนนั่งรอ มีธงกระดาษ พวกเราก็โบกธง เป็นภาพที่ติดตาเรา ทุกวันนี้ยังฝังอยู่ในใจ วันที่รับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ ทุกคนมารอท่านด้วยความรัก ถึงแม้จะร้อนแค่ไหน เราทุกคนก็มีความสุขที่ได้นั่งรอท่าน”
ริชชี่รับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ และถวายรายงานพร้อมมอบชา ในปี 2555
ต่อมาปี 2555 เธอได้มีโอกาสไปรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ อีกครั้ง ถวายรายงานเรื่องการปลูกชาตามพระราชดำริของในหลวงให้สมเด็จพระเทพฯ และถวายชาให้กับพระองค์ด้วย
บุญของชีวิต! “ริชชี่” นางเอกเลือดลาหู่...ทั้งตระกูลถวายงานรับใช้ใกล้ชิด”พ่อหลวง”
ภาพการทรงงานหนักเสด็จพระราชดำเนินยังท้องถิ่นทุรกันดารทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ยังติดตรึงอยู่ในใจพสกนิกรชาวไทย ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ยากเข้าถึงเช่น “ชาวเขา” ต่างได้ชีวิตใหม่ พระองค์ทรงพลิกพื้นดินจากการทำไร่เลื่อนลอยให้เป็นที่ทำกินเลี้ยงครอบครัวเฉกเช่นปัจจุบัน
เช่นเดียวกับครอบครัวของ ริชชี่- อรเณศ ดีคาบาเลส นางเอกสาววัย 22 ปีแห่งช่องวิกน้อยสี แน่นอนไม่มีใครทราบเลยว่า เธอมีเชื้อสาย “ลาหู่” กระทั่งทาง จ.เชียงใหม่ ได้เชิญครอบครัวของเธอมาร่วมถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ศาลากลางเชียงใหม่ โดยทางจังหวัดจะคัดเลือกเฉพาะชาวเขาที่เคยได้ถวายงานพระองค์เท่านั้น นั่นก็คือครอบครัวของเธอ ที่เคยถวายงานรับใช้ในหลวง ร. ๙ อย่างใกล้ชิด หลายคนถึงกับเซอร์ไพรส์!
ที่สุดในชีวิต! จากรุ่นสู่รุ่น ถวายงานรับใช้ “พ่อหลวง”
เผ่าลาหู่ถวายสักการะในหลวง ร.9
ด้วยนามสกุล “ดีคาบาเลส” ของเธอ ที่ดูจะเป็นฝรั่ง จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่า ริชชี่ เป็นนางเอกลูกครึ่งที่มีเชื้อสายไทย ฟิลิปปินส์ สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ และสเปน แต่ไม่เคยมีใครทราบมาก่อนแน่นอนว่า เธอมีเชื้อสาย “ลาหู่” อีกด้วย เพราะคุณแม่ ชฎาพร ไชยกอ ซึ่งเป็นคุณแม่ของเธอ สืบเชื้อสายมาจากเผ่าลาหู่ ใช้ชีวิตบนดอยปู่หมื่นใน อ.ฝาง มาตั้งแต่เกิด โดยนามสกุล “ไชยกอ” เป็นนามสกุลของชนเผ่าลาหู่นั่นเอง
“ไม่มีใครรู้มาก่อนเลยว่าริชชี่มีเชื้อสายลาหู่ เราไม่เคยปิดบัง เพราะริชชี่คิดว่าตัวเองเป็นคนไทย สัญชาติไทย เลยไม่ได้ลงลึกรายละเอียด ริชชี่ภาคภูมิใจในเชื้อสายตนเอง ชนเผ่าลาหู่อพยพทางจากทิเบตตอนใต้ เข้าตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทยในแถบภาคเหนือกว่า 120 ปีแล้ว คุณทวด หรือปู่หมื่น ได้อพยพมาอยู่ประเทศไทย โดยเผ่าลาหู่จะอยู่กันตามบริเวณภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.แม่ฮ่องสอน
คุณแม่ริชชี่เป็นคน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ใช้ชีวิตแบบชาวเขาทั่วไปบนดอยปู่หมื่น ปู่หมื่นเป็นคุณทวดของคุณแม่ เป็นผู้นำบนดอย หมู่บ้านเราจึงชื่อว่า “ดอยปู่หมื่น” จากนั้น “คุณตาจะฟะ” จึงสืบสานต่อการเป็นผู้นำดอยปู่หมื่นนับแต่นั้นมา
แต่สำหรับตัวริชชี่เองเกิดในตัวเมืองเชียงใหม่ เรียนที่เชียงใหม่ แต่ตอนเด็กช่วงปิดเทอมคุณแม่จะพาขึ้นดอย พาไปเรียนรู้การปลูกชา เก็บชา เพราะคุณแม่กับพี่น้องทุกคนทำงานเกี่ยวกับไร่ชาตามพระราชดำริของพ่อหลวง
จำได้เลยว่า เมื่อ 20 ปีก่อนทางขึ้นดอยลำบากมาก ดินสีแดง ถนนขรุขระ ทุรกันดาร เวลาจะขึ้นไปต้องใช้รถโฟร์วีลต้องมีโซ่ล็อกล้อกันล้อหลุด เพราะดินโคลนเละเทะ” ริชชี่ เล่าย้อนภาพจำวัยเด็กถึงเส้นทางสุดโหดทางขึ้นดอยปู่หมื่น
ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯ มาที่ดอยปู่หมื่นครั้งแรก เมื่อปี 2513 พระราชทานแกะ ไก่ แพะ ให้คุณตาจะฟะ ซึ่งเป็นคุณตาของริชชี่ เพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้าน ทรงสอนให้รู้จักเลี้ยงสัตว์ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ครั้นพระองค์ทรงทราบว่าชาวบ้านดอยปู่หมื่นทำไร่เลื่อนลอยกันเยอะ และมีการปลูกฝิ่น ซึ่งผิดกฎหมาย พระองค์ทรงเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี 2515เพื่อพระราชทานชา “พันธุ์อัสสัม” ต้นแรกให้กับคุณตาจะฟะ เพื่อส่งต่อให้ชาวบ้านปลูก และผลไม้เมืองหนาว ทดแทนการปลูกฝิ่น” ริชชี่กล่าวอย่างภาคภูมิใจในตระกูลของเธอที่ได้ถวายงานรับใช้ในหลวง ร.๙ อย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ คุณแม่ของเธอยังเล่าด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ท่านจะเสด็จคู่กันตลอด เป็นคู่บุญบารมี จะเห็นในภาพที่ออกสื่อคุณแม่ริชชี่รับเสด็จฯ ตอนนั้นคุณแม่ทูลถวายงานกับพระองค์ท่าน เมื่อพระราชินีทรงทอดพระเนตรเห็น ทรงตรัสว่า “อ้าว นั่นลูกสาวของจะฟะนี่” จากนั้นพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาที่คุณแม่เป็นภาพประทับใจซาบซึ้งของครอบครัวมาก
คุณแม่เล่าเหตุการณ์ในวันนั้นให้ฟัง ริชชี่รู้สึกภูมิใจมากที่ได้ใกล้ชิดท่านขนาดนี้ ซาบซึ้งมาตลอดที่ครอบครัวเรามีโอกาสได้ถวายงานรับใช้ท่าน เราเห็นสิ่งที่ครอบครัวเราทำยิ่งรู้ประวัติความเป็นมาในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านต่อครอบครัว เรายิ่งรู้สึกตื้นตันสุดภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิต”
อัลปา ที…“ชาของพ่อ”
ในหลวง ร.๙ พระราชทานชาต้นแรกพันธุ์อัสสัมให้คุณตาจะฟะเพื่อส่งต่อให้ชาวบ้านปลูก
นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จะพระราชทานชาพันธุ์อัสสัมให้ชาวบ้านบนดอยปู่หมื่นปลูกแล้ว ทว่าก็จะมีปัญหาอีกว่า ผลผลิตไม่มีที่ขาย พระองค์ทรงมีพระเมตตามอบเงินทุนให้กับคุณตาจะฟะ ในการเปิดร้านค้าชาวเขา เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการรับผลผลิตของชาวบ้านกระจายสินค้ามาขายในร้านนี้ เพราะพระองค์ทรงเป็นห่วงว่าเมื่อชาวบ้านปลูกชาแล้วจะไม่มีที่ขาย ซึ่งมีชื่อร้านว่า “ร้านค้าชาวเขาในพระบรมราชานุเคราะห์” ซึ่งตอนนี้คุณแม่ริชชี่ เป็นคนดูแลอยู่เพื่อสืบสานปณิธานของพระองค์ท่านที่เคยตรัสกับคุณตาจะฟะว่า “อย่าทอดทิ้งชาวบ้าน”
“ร้านค้าชาวเขาฯ จะรับทุกอย่างของชาวบ้านมาขายแต่ผลผลิตหลักก็คือ “ชา” นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ งานหัตถกรรม เช่น ผ้าทอชุดชาวเขา อีกด้วย เพื่อทำให้ชาวบ้านอยู่ได้ อาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่ทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังรับซื้อชาจากชาวบ้าน ภายใต้ชื่อ “อัลปา ที” แปลว่า “ชาของพ่อ” ขายใน อ.ฝาง ให้นักท่องเที่ยว อนาคตอยากจะพัฒนาตรงนี้ และผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านต่อไป
คุณแม่จะสอนเราอยู่เสมอว่า ครอบครัวเรา อยู่ได้เพราะพระองค์ ท่านทรงมีพระเมตตา เรามีทุกวันนี้ ครอบครัวเราอยู่ได้ทุกวันนี้ เพราะความรักความห่วงใยของพระองค์ท่าน คุณแม่จะสอนให้เรายึดพระองค์ท่านเป็นกำลังใจในการทำความดี รวมถึงการทำงาน และการเป็นนักกีฬาของเรา”
ทว่า นอกจากริชชี่จะเป็นนักแสดงแล้วอีกบทบาทหนึ่งของเธอก็คือนักกีฬาแบดมินตัน โดยปัจจุบันนี้เธอกำลังเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
สานต่อปณิธาน “อย่าทอดทิ้งชาวบ้าน”
13 ปีที่คุณตาจะฟะได้ถวายงานรับใช้ในหลวง ร. ๙ กระทั่งในปี 2526 คุณตาจะฟะได้เสียชีวิตลง จากการถูกลอบยิง
“คุณตามีลูกทั้งหมด 11 คน ลูกๆ ของคุณตาจึงขอสานต่อถวายงานรับใช้พระองค์ท่านมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากที่คุณตาจะฟะเสียชีวิต คุณลุงของริชชี่จึงได้กราบทูลในหลวงตอนที่ท่านเสด็จฯ มาดอยปู่หมื่น ว่า คุณตาได้เสียชีวิตแล้ว พระองค์ทรงตรัสแสดงความเสียใจกับคุณลุง และลูกของคุณตาทุกคนที่ไปไปรับเสด็จฯ “จะฟะ เป็นคนดี เราอยากให้ลูกหลานของจะฟะ เป็นคนดีเหมือนจะฟะ และอย่าทอดทิ้งชาวบ้าน อยากให้ช่วยดูแลชาวบ้านต่อไป”
จากนั้นลูกของคุณตาทุกคนก็ได้นำความรู้ ความสามารถ ทุกอย่างที่มีกลับไปทำงานที่ไร่ชาต่อ ทำตามที่พระองค์ท่านตรัสไว้กับครอบครัว ว่า อย่าทิ้งชาวบ้าน
ตอนนี้คุณลุงริชชี่ เจริญ ไชยกอ เป็นผู้นำดูแลชาวบ้านบนดอยปู่หมื่น พัฒนาเรื่องชา และมีโครงการเยอะมากที่พัฒนาอยู่ตอนนี้ เพราะยังต้องถวยรายงานสมเด็จพระเทพฯ อยู่ พระองค์ไม่เคยทิ้งชาวบ้านยังติดตามความเป็นอยู่โดยตลอด
ลูกคุณตาทุกคนได้สานต่อคุณตา อย่างคุณน้า ทำมูลนิธิคริสเตียนเปี่ยมรัก คอยดูแลเด็กชาวเขา เด็กที่ด้อยโอกาส โดยคุณน้าจะเลี้ยงดูจนโต ส่วนคุณน้าอีกคน ก็ทำโรงแรมใน อ.ฝาง เป็นลักษณะโฮมสเตย์ พานักท่องเที่ยวไปเรียนรู้ใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้านที่อยู่บนดอยปู่หมื่น ปลูกชา เก็บชา นอกจากนี้ โรงแรมของคุณน้า ยังช่วยเหลือเด็กในท้องถิ่นให้มาทำงานที่โรงแรมมีอาชีพและรายได้อีกด้วย
ส่วนน้าชาย อีกคนก็เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านชา คุณน้าจะพยายามศึกษาเรียนรู้พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องชาตามปณิธานของในหลวงที่ท่านทรงมอบไว้ให้ดอยปู่หมื่น รวมถึงช่วยดูแลชาวบ้านบนดอยปู่หมื่น
ชาวบ้านในหมู่บ้านเราอาจจะไม่ได้ดีที่สุด แต่เราสามารถพูดได้เลยว่า ความเป็นอยู่ของชาวบ้านตอนนี้ที่ดอยปู่หมื่นดีกว่าหลายหมู่บ้าน นอกจากนี้ ดอยปู่หมื่นยังเป็นโมเดลให้กับหมู่บ้านอื่นๆอีกด้วย เพราะหมู่บ้านเรามีความแข็งแรงในชุมชน และหากหมู่บ้านไหนอยากจะเรียนรู้ เช่น เรื่องการปลูกชา การท่องเที่ยวในชุมชน สามารถมาศึกษาหมู่บ้านเราเป็นโมเดลได้ เราจะให้ความรู้ และช่วยเหลือหมู่บ้านอื่นๆได้ด้วย
ทุกวันนี้ความเป็นอยู่บนดอยปู่หมื่นดีขึ้นมาก เพราะชาวบ้านได้เปลี่ยนจากการทำไร่เลื่อนลอย และปลูกฝิ่น มาปลูกชาแทน นอกจากนี้ พระองค์ยังเสด็จฯ ไปในหมู่บ้านละแวกใกล้เคียงในโซนภาคเหนือ โดยมีคุณตา ทำหน้าที่เป็นล่าม เพราะคุณตา พูดได้ทั้งภาษาจีน ภาษาท้องถิ่น และภาษาไทย คุณตาจึงเป็นเหมือนผู้นำที่จะนำชาวบ้านจากหลายๆหมู่บ้านให้เปลี่ยนจากการปลูกฝิ่นมาปลูกชา”
ริชชี่คือเด็กน้อยในชุดสีฟ้า และพี่สาวริชชี่ในชุดลาหู่
แม้เธอจะไม่ได้มีโอกาสรับเสด็จฯ พ่อหลวงอย่างคุณตา และคุณแม่ เพราะเกิดไม่ทันในช่วงที่ท่านเสด็จฯ มาที่ดอยปู่หมื่น แม้พระองค์จะไม่ได้เสด็จฯ บนดอยปู่หมื่นแล้ว แต่พระองค์ไม่เคยทอดทิ้ง เพราะสมเด็จพระเทพฯ ทรงสานต่องานที่ท่านทำ เธอจึงมีโอกาสได้ถวายรายงาน“สมเด็จพระเทพฯ” สร้างความปลื้มใจให้กับเธอยิ่งนัก
“เพราะพระองค์จะไม่เสด็จในที่ซ้ำๆ เพราะสถานที่นั้นพระองค์ท่านได้เข้าถึงแก้ไขช่วยเหลือปัญหาชาวบ้านได้แล้ว จึงต้องเสด็จไปในทั่วประเทศไทย ในพื้นที่ที่ชาวบ้านยังรอการช่วยเหลืออยู่ แต่ริชชี่ได้มีโอกาสได้รับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายรายงานความคืบหน้าของการพัฒนาหมู่บ้าน”
เธอเล่าย้อนไป 20 ปี ในการรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพฯ เป็นครั้งแรก เป็นภาพแห่งความสุขของ ด.ญ.ริชชี่ ในวัย 2 ขวบ ซึ่งเป็นความประทับใจและจดจำมาจนบัดนี้
“ช่วงเด็กๆ ตอนยังไม่เข้าโรงเรียนริชชี่ก็ไปดอยปู่หมื่นบ่อย ตามคุณแม่ไปตลอด จึงมีโอกาสได้รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพราะคุณแม่ คุณลุง คุณน้า ต้องถวายรายงานตลอด
ตอนนั้นประมาณ 2 ขวบ จำบรรยากาศได้ว่า ทุกคนนั่งรอ มีธงกระดาษ พวกเราก็โบกธง เป็นภาพที่ติดตาเรา ทุกวันนี้ยังฝังอยู่ในใจ วันที่รับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ ทุกคนมารอท่านด้วยความรัก ถึงแม้จะร้อนแค่ไหน เราทุกคนก็มีความสุขที่ได้นั่งรอท่าน”
ริชชี่รับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ และถวายรายงานพร้อมมอบชา ในปี 2555
ต่อมาปี 2555 เธอได้มีโอกาสไปรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ อีกครั้ง ถวายรายงานเรื่องการปลูกชาตามพระราชดำริของในหลวงให้สมเด็จพระเทพฯ และถวายชาให้กับพระองค์ด้วย