“ขาดทุนของเรา คือกำไรของเรา”
ตื้ดตือๆ…เสียงกริ่งประตูหน้าร้านสะดวกซื้อที่เราคุ้นเคยดังขึ้นมาก้องอยู่ในหัว ถ้าผมคิดอยากจะดื่มน้ำมะเขือเทศรสเข้มข้นสักกล่อง มันง่ายมากเลยที่จะหาน้ำผลไม้สดๆมาดื่มดับกระหาย หรือเพิ่มวิตามินแก่ร่างกายที่อ่อนล้า ในยุคที่ความสะดวกสบายวิ่งเข้ามาสะกิดไหล่เราทุกหัวมุมถนน… แต่ก่อนจะเป็นน้ำมะเขือเทศแสนอร่อย หาง่ายสะดวกสบายในวันนี้ จุดเริ่มต้นที่แสนมหัศจรรย์นั้น ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่ได้อัศจรรย์เนรมิตได้ดุจในนิทาน จุดเริ่มต้นที่เต็มไปด้วยความแร้นแค้น ภัยอันตราย ความลำบากยากเข็นนานัปการ หากแต่ผ่านพ้นมาได้นั้นก็ด้วย “ความรัก”ของชายคนหนึ่ง ที่ส่งผ่านความรักอันยิ่งใหญ่ จากพ่อสู่ลูกๆของพระองค์ ในหลวงภูมิพลฯ… มาครับ ถ้าคุณพร้อม เดินตามผมมา ผมจะพาเดินชมพิพิธภัณฑ์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งความรักที่พระองค์มีต่อพสกนิกรของพระองค์ ที่ถึงแม้ห่างไกลมืดมิดติดชายขอบขวานทอง แต่ความสว่างไสวของพระองค์ยังคงส่งมาถึง แล้วท่านจะรู้ว่าทำไมผมถึงรักพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ และรักในหลวงในดวงใจของผมมากมาย
จขกท. มีโอกาสดีอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ได้ร่วมโครงการเดินทางพ่อ Walk of the king พื้นที่ “อ่างขาง” ในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เดือนที่โลกทั้งโลกโศกเศร้าไปพร้อมๆกัน ถึงกระนั้นปณิธานของโครงการ คือต้องสานต่อที่พ่อทำต่อไป เราจึงได้ออกเดินทางด้วยความหวัง ที่จะนำสิ่งที่ได้รับกลับมาเขียน กลับมาเล่าเรื่องราวสิ่งต่างๆที่พ่อทำ การเขียนของผมในครั้งนี้ก็อาจเป็นเพียงแค่ฝุ่นเล็กๆที่ไม่มีใครสนใจ แต่อย่างน้อยมันก็เตือนใจเราให้ไม่ลืมสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศของเราได้ทำเพื่อพวกเราชาวไทย ไม่ว่าสิ่งที่ลืมไปแล้ว ไม่ว่าสิ่งเล็กๆที่ไม่เคยรู้ ผมขออนุญาตถ่ายทอดออกมาจากหัวใจดวงเล็กๆของผมด้วยความเคารพ ความรัก และด้วยความภักดี
การเดินทางในครั้งนี้ทำให้ผมค้นพบสิ่งใหม่ๆที่ไม่เคยรู้มาก่อน สิ่งเดิมๆที่คุ้นตาแต่มองข้ามไปเพราะไม่เข้าใจความหมาย ความลำบากที่พระองค์ทรงพบเมื่อแรกเสด็จ เรื่องเล่าที่ไม่เคยได้ฟัง เรื่องราวมากมายที่พระองค์ทรงเหนื่อยทรงทำเพื่อเรา เล่าทั้งชีวิตก็ไม่มีวันจบ ในวันนี้ผมขออนุญาตเล่าเสี้ยวหนึ่งของการเดินทางในครั้งนี้ที่นี่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง)
พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ ฝาง ตั้งอยู่ในพื้นที่ บ้านยาง ตำบล
อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพูดง่ายๆคือทางผ่านไปดอยอ่างขางนั่นเอง การเดินทางแสนง่ายสะดวกสบาย เพียงขับรถออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าสู่อำเภอฝาง โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 ระยะทางประมาณ 150 กม. ถึงแยกอ่างขางแล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 9 กม. เท่านั้น
แรกพบ
รถตู้จอดเทียบฟุตบาท พวกเราลงจากรถ เบื้องหน้าของเราคือ อาคารทรงไทยประยุกต์ ดูโปร่งๆ เรียบง่าย มีลมเย็นๆพัด อากาศถ่ายเทสะดวก ผมสะดุดตากับป้ายทางเข้า เป็นปูนเปลือยบานใหญ่ดูคล้ายสไตล์ loft โดดเด่นในการใช้สี และแสง ที่สาดเข้ามาทำให้ปูนเปลือยเรียบๆขับสีบรอนซ์ทองของตัวอักษรโดดเด่นขึ้นมา แต่ที่น่าสะดุดตาที่สุดคงจะเป็น เลข ๑ ใช่ครับเลข ๑ ไทย ตอนแรกผมคิดนะว่าคงเป็นโรงแรกสินะเค้าถึงใช้ เลข ๑ แต่หลังจากที่ได้รับความกระจ่าง การค้นพบความหมายโดยนัยที่ซ่อนอยู่นั้นทำให้ผมประทับใจตั้งแต่แรกพบ
น้องมัคคุเทศก์สุดหล่อประจำพิพิธภัณฑ์ ออกมาต้อนรับพวกเราด้วยมิตรไมตรีและตอบความสงสัยไขความกระจ่างว่า เลข ๑ ที่เป็นเหลี่ยมเหมือนหัวน็อตนั้นหมายถึงที่นี่คือโรงงานอุตสาหกรรม วงกลมด้านนอกคือความกลมเกลียวระหว่าง ชุมชน โรงงาน และพิพิธภัณฑ์ สีทองนั้นคือสีของพระมหากษัตริย์ และเลข ๑ ที่เขียนเหมือน ด เด็กนั้น คือเลขทะเบียนรถของในหลวง
ผมอึ้งกับความหมายที่ถูกถอดความอย่างลึกซึ้ง ผมนึกขึ้นในใจว่านี่ขนาดแค่ทางเข้านะยังมีความหมายถึงเพียงนี้ ข้างในจะขนาดไหนกัน สิ่งหนึ่งที่สอนผมจากเรื่องนี้ตรงกับ พระบรมราโชวาทตอนหนึ่ง ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 24 กรกฎาคม 2540
“บัณฑิตแต่ละคนในที่นี้เชื่อว่าต่างได้รับการศึกษาอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี แต่ในด้านการศึกษาสังเกตนั้นอาจยังย่อหย่อนอยู่บ้าง เพราะมีประสบการณ์ในชีวิตไม่มากนัก
ทุกคนจึงควรจะได้สนใจสังเกตศึกษาเรื่องราว บุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมและเกี่ยวข้องกับตัวเองให้มาก อย่าละเลยหรือมองข้ามแม้สิ่งเล็กน้อย เช่นต้นหญ้า ซึ่งถ้าศึกษาพิจารณาให้ดีก็จะก่อให้เกิดปัญญาได้……”
แผนผังชวนชม
ผมรู้สึกว่าการวางผังของพิพิธภัณฑ์ เป็นการจัดวาง เรียบเรียงเรื่องราวได้อย่างเป็นสากล โดยรวบรวมเรื่องราวจากวันแรกที่ไม่มีอะไร มีแต่ความแร้นแค้น, จุดเริ่มต้น ปัญหา อุปสรรค์ และการพัฒนา, ชีวิต และวิถีชุมชน, การตั้งโรงงานและการถูกทำลาย ไปจนถึง การพัฒนาจนเป็นโรงงานสีเขียว เพื่อความยั้งยืนในอนาคต และสุดท้ายเป็นจุดจำหน่ายสินค้า ทำให้ผมนึกไปถึงความทรงจำ ครั้งเคยเข้าชมพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในญี่ปุ่น การจัดวางนิทรรศการลักษณะคล้ายๆกันนี้ทำให้เรามีความรู้สึกซาบซึ้ง และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว ได้เป็นอย่างดี หรือที่เรียกว่า ดีต่อใจ
ในตัวอาคารประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก สำหรับการจัดแสดง มัคคุเทศก์นำเราเข้าสู่โถงลานอเนกประสงค์ พวกเรารัวShutter อย่างสนุกสนานแบบไร้เหตุผล คงเป็นเพราะความตื่นตาตื่นใจระคนประทับใจกับสถานที่แห่งนี้ จากลานอเนกประสงค์ เราเข้ามายังห้องแรกที่จัดแสดงคือห้อง ชีวิตชายขอบ คำว่า“ชายขอบ” แสดงความหมายถึงชีวิตของชาวไทยภูเขา ในสมัยเมื่อ 50 ปีก่อนได้อย่างชัดเจน
ภายในจัดแสดงวัสดุ อุปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้ ของชาวจีนยูนานที่อพยพเข้ามาในพื้นที่แถบนี้ การเดินทางที่ยากลำบากต้องใช้ม้าเป็นพาหนะ และสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของชาวจีนอพยพในยุคนั้น ในความคิดของผม ห้องนี้เปรียบเป็นตัวแทนของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชน ที่ทำให้ชุมชนตระหนักเข้าถึงประวัติศาสตร์ของตนเอง เข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของตน เพื่อที่จะสามารถพัฒนาตนเองต่อไปได้ในอนาคต
ในห้องนี้พวกเราได้ชมวีดีทัศน์ ชีวิตของชาวเขาชาวจีนอพยพอันแร้นแค้น บนพื้นที่แสนทุรกันดาร มีแนวทิวเขาสลับกับที่ราบ เต็มไปด้วยภูเขาหัวโล้น และไร่ดอกฝิ่นแสนสวยที่รวยไปด้วยอันตราย ชีวิตชายขอบของประเทศไทยที่ไม่มีใครใคร่จะสน จนกระทั่งวันหนึ่ง นกเหล็กปริศนาปรากฏขึ้น บนน่านฟ้าเหนือหุบเขา พร้อมกับชายคนหนึ่งที่ลงมาจากนกเหล็กลำนั้น ที่จะทำให้ชีวิตชายขอบของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล…
จากนั้นเราถูกนำผ่านฝาบ้านไม้ไผ่ที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นบ้านชาวเขา ไปยังส่วนจัดแสดงที่ผม ถือเป็นจุดที่น่าประทับใจยิ่งของพิพิธภัณฑ์ บุคคลในภาพที่มีทุกบ้าน แต่ภาพที่นี่เป็นภาพหาดูได้ยาก ที่น่าประทับใจ ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชครั้งเสด็จทรงงานยังพื้นที่อ่างขาง จุดเริ่มต้นของโครงการหลวง และโรงงานหลวงที่ ๑ ฝาง แห่งนี้
กำเนิดโครงการหลวง
“กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่ง เสด็จลงมาจากฟากฟ้า เสด็จมาพร้อมกับเวทมนต์ที่ฉายแสงส่องสว่าง เมื่อแสงนั้นส่องสว่างไปถึงยังที่ใดความมืดมิดจะพลันมลายหาย แสงนั้นต้องลงที่ใดแม้เม็ดดินที่แห้งแตกระแหงก็พลันกลับกลายเป็นความเขียวชอุ่ม และเมื่อแสงนั้นผ่านไปแห่งหนตำบลใดก็ตามทุกชีวิตที่ได้รับแสงนั้น จะได้รับพระพรส่องสว่างเข้าไปในจิตใจ ให้ทุกชีวิตอยู่เย็นเป็นสุขตลอดกาล”
นิทานเรื่องนี้เป็นนิทานที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่แห่งนี้ อ่างขาง ใครจะเชื่อว่าดินแดนที่เต็มไปด้วยภูเขาหัวโล้นในอดีตจะกลับกลายเป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชเมืองหนาวที่อุดมสมบูรณ์ได้ ไม่มีใครเชื่อยกเว้นแต่เพียงพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเชื่อว่าเป็นไปได้
จากนิทานที่ผมเล่า ราชาจากฟากฟ้าคือในหลวงผู้ทรงเสด็จมาเยี่ยมเยียนชาวไทยภูเขา ในปี 2512 เวทมนต์ของพระองค์คือความรัก ความรักที่ส่องสว่าง ความรักที่สามารถเอาชนะความยากลำบาก ในการพัฒนาพื้นที่ทุรกันดารแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น การปลูกพืชเมืองหนาว ทดแทนการทำไร่ฝิ่น ยาเสพติดที่เป็นอันตรายต่อชาวไทย และนานาประเทศ การแผ้วถางป่า การทำไร่เลื่อนลอย เป็นเหตุให้ต้นน้ำลำธารเสียหาย ส่งผลกระทบไปสู่คนปลายน้ำ ตลอดจนความรักที่พระองค์ทรงมีต่อชาวไทยภูเขา ที่เป็นมนุษย์ที่มีสิทธิ มีเสรีภาพ มีชีวิต เฉกเช่นเดียวกับคนไทยบนพื้นราบ เพราะความรักจึงมีพระราชดำริให้ทำอย่างไร พวกเขาจึงจะอาศัยอยู่บนพื้นที่แห่งนี้ได้อย่างสงบสุขและยั่งยืน
ห้องนี้จัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ จากวันนั้น วันแรกที่พระองค์เสด็จมาตรวจเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขา ภาพพระราชกรณียกิจต่างๆในพื้นที่อ่างขางแห่งนี้ ตั้งแต่การขอให้ชาวบ้านทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาวทดแทนการทำไร่ฝิ่น ไปจนกระทั่งเปลี่ยนภูเขาหัวโล้นไปเป็นป่าไม้เมืองหนาวอันอุดม ตลอดจนเสด็จมาเพื่อตรวจเยี่ยมโครงการหลวงในเวลาต่อมา นับเป็นภาพที่หาชมได้ยากและล้วนชวนให้ประทับใจ
ในหลวงทรงเข้าถึงชีวิตความเป็นอยู่ โดยเสด็จเข้าไปในบ้านของชาวเขาและร่วมเสวยน้ำจัณฑ์ต้มแบบชาวเขาอย่างไม่ถือพระองค์
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
มีเรื่องราวหนึ่งที่น้องมัคคุเทศก์เล่า ผมยังจำได้ดี นั่นคือเรื่อง หมูขาว ครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานหมูพันธุ์ฝรั่งที่มีสีขาว ให้ชาวไทยภูเขา เนื่องจากหมูแม้วสีดำนั้น เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีขนาดเล็ก มีโปรตีนน้อย หากชาวเขาบริโภคแล้วจะขาดสารอาหารไม่เหมาะกับการนำมาบริโภค หมูฝรั่งให้โปรตีนมาก หากนำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์จะเป็นประโยชน์แก่ชาวเขาได้มาก ครั้นต่อมาพระองค์เสด็จกลับมาอีกครั้ง และตรัสถาม ถึงหมูขาวคู่นั้น ชาวเขากลับตอบว่าฆ่ากินไปแล้ว ดังนั้นพระองค์จึงทรงพระราชทานให้อีก 2 คู่ แต่ก็เช่นกัน ปีต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จกลับมา และตรัสถามถึงหมูขาว ชาวเขาก็ตอบว่านำไปฆ่ากินหมดแล้วดังเดิม ด้วยเหตุนี้พระองค์ทรงรับสั่งถามว่าทำไม ชาวเขาจึงทูลว่า หมูขาวตามความเชื่อของชาวเขาคือหมูผี เพราะมันกินจุเหมือนผี แถมยังชอบขโมยกินพืชพันธุ์ที่ชาวเขาปลูกอีกด้วย และหมูขาวชาวเขาจะไม่นิยมนำไปขอสาวกันเพราะไม่เป็นมงคล จากเรื่องเล่านี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการกำเนิด หลักการทรงงานที่ถือเป็นหลักปฏิบัติเรื่อยมา และเป็นสิ่งที่หน่วยงานต่างๆน้อมนำมาปฏิบัติ คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” นั่นเอง
...หน้ากระดาษหมด แต่เรื่องราวยังไม่จบนะครับ...
[CR] หนึ่งกล้อง สองเท้า…ก้าวตามพ่อ ตอน เดินช้าพาชม พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง)
ตื้ดตือๆ…เสียงกริ่งประตูหน้าร้านสะดวกซื้อที่เราคุ้นเคยดังขึ้นมาก้องอยู่ในหัว ถ้าผมคิดอยากจะดื่มน้ำมะเขือเทศรสเข้มข้นสักกล่อง มันง่ายมากเลยที่จะหาน้ำผลไม้สดๆมาดื่มดับกระหาย หรือเพิ่มวิตามินแก่ร่างกายที่อ่อนล้า ในยุคที่ความสะดวกสบายวิ่งเข้ามาสะกิดไหล่เราทุกหัวมุมถนน… แต่ก่อนจะเป็นน้ำมะเขือเทศแสนอร่อย หาง่ายสะดวกสบายในวันนี้ จุดเริ่มต้นที่แสนมหัศจรรย์นั้น ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่ได้อัศจรรย์เนรมิตได้ดุจในนิทาน จุดเริ่มต้นที่เต็มไปด้วยความแร้นแค้น ภัยอันตราย ความลำบากยากเข็นนานัปการ หากแต่ผ่านพ้นมาได้นั้นก็ด้วย “ความรัก”ของชายคนหนึ่ง ที่ส่งผ่านความรักอันยิ่งใหญ่ จากพ่อสู่ลูกๆของพระองค์ ในหลวงภูมิพลฯ… มาครับ ถ้าคุณพร้อม เดินตามผมมา ผมจะพาเดินชมพิพิธภัณฑ์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งความรักที่พระองค์มีต่อพสกนิกรของพระองค์ ที่ถึงแม้ห่างไกลมืดมิดติดชายขอบขวานทอง แต่ความสว่างไสวของพระองค์ยังคงส่งมาถึง แล้วท่านจะรู้ว่าทำไมผมถึงรักพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ และรักในหลวงในดวงใจของผมมากมาย
จขกท. มีโอกาสดีอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ได้ร่วมโครงการเดินทางพ่อ Walk of the king พื้นที่ “อ่างขาง” ในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เดือนที่โลกทั้งโลกโศกเศร้าไปพร้อมๆกัน ถึงกระนั้นปณิธานของโครงการ คือต้องสานต่อที่พ่อทำต่อไป เราจึงได้ออกเดินทางด้วยความหวัง ที่จะนำสิ่งที่ได้รับกลับมาเขียน กลับมาเล่าเรื่องราวสิ่งต่างๆที่พ่อทำ การเขียนของผมในครั้งนี้ก็อาจเป็นเพียงแค่ฝุ่นเล็กๆที่ไม่มีใครสนใจ แต่อย่างน้อยมันก็เตือนใจเราให้ไม่ลืมสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศของเราได้ทำเพื่อพวกเราชาวไทย ไม่ว่าสิ่งที่ลืมไปแล้ว ไม่ว่าสิ่งเล็กๆที่ไม่เคยรู้ ผมขออนุญาตถ่ายทอดออกมาจากหัวใจดวงเล็กๆของผมด้วยความเคารพ ความรัก และด้วยความภักดี
การเดินทางในครั้งนี้ทำให้ผมค้นพบสิ่งใหม่ๆที่ไม่เคยรู้มาก่อน สิ่งเดิมๆที่คุ้นตาแต่มองข้ามไปเพราะไม่เข้าใจความหมาย ความลำบากที่พระองค์ทรงพบเมื่อแรกเสด็จ เรื่องเล่าที่ไม่เคยได้ฟัง เรื่องราวมากมายที่พระองค์ทรงเหนื่อยทรงทำเพื่อเรา เล่าทั้งชีวิตก็ไม่มีวันจบ ในวันนี้ผมขออนุญาตเล่าเสี้ยวหนึ่งของการเดินทางในครั้งนี้ที่นี่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง)
พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ ฝาง ตั้งอยู่ในพื้นที่ บ้านยาง ตำบลอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพูดง่ายๆคือทางผ่านไปดอยอ่างขางนั่นเอง การเดินทางแสนง่ายสะดวกสบาย เพียงขับรถออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าสู่อำเภอฝาง โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 ระยะทางประมาณ 150 กม. ถึงแยกอ่างขางแล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 9 กม. เท่านั้น
แรกพบ
รถตู้จอดเทียบฟุตบาท พวกเราลงจากรถ เบื้องหน้าของเราคือ อาคารทรงไทยประยุกต์ ดูโปร่งๆ เรียบง่าย มีลมเย็นๆพัด อากาศถ่ายเทสะดวก ผมสะดุดตากับป้ายทางเข้า เป็นปูนเปลือยบานใหญ่ดูคล้ายสไตล์ loft โดดเด่นในการใช้สี และแสง ที่สาดเข้ามาทำให้ปูนเปลือยเรียบๆขับสีบรอนซ์ทองของตัวอักษรโดดเด่นขึ้นมา แต่ที่น่าสะดุดตาที่สุดคงจะเป็น เลข ๑ ใช่ครับเลข ๑ ไทย ตอนแรกผมคิดนะว่าคงเป็นโรงแรกสินะเค้าถึงใช้ เลข ๑ แต่หลังจากที่ได้รับความกระจ่าง การค้นพบความหมายโดยนัยที่ซ่อนอยู่นั้นทำให้ผมประทับใจตั้งแต่แรกพบ
น้องมัคคุเทศก์สุดหล่อประจำพิพิธภัณฑ์ ออกมาต้อนรับพวกเราด้วยมิตรไมตรีและตอบความสงสัยไขความกระจ่างว่า เลข ๑ ที่เป็นเหลี่ยมเหมือนหัวน็อตนั้นหมายถึงที่นี่คือโรงงานอุตสาหกรรม วงกลมด้านนอกคือความกลมเกลียวระหว่าง ชุมชน โรงงาน และพิพิธภัณฑ์ สีทองนั้นคือสีของพระมหากษัตริย์ และเลข ๑ ที่เขียนเหมือน ด เด็กนั้น คือเลขทะเบียนรถของในหลวง
ผมอึ้งกับความหมายที่ถูกถอดความอย่างลึกซึ้ง ผมนึกขึ้นในใจว่านี่ขนาดแค่ทางเข้านะยังมีความหมายถึงเพียงนี้ ข้างในจะขนาดไหนกัน สิ่งหนึ่งที่สอนผมจากเรื่องนี้ตรงกับ พระบรมราโชวาทตอนหนึ่ง ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 24 กรกฎาคม 2540
“บัณฑิตแต่ละคนในที่นี้เชื่อว่าต่างได้รับการศึกษาอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี แต่ในด้านการศึกษาสังเกตนั้นอาจยังย่อหย่อนอยู่บ้าง เพราะมีประสบการณ์ในชีวิตไม่มากนัก ทุกคนจึงควรจะได้สนใจสังเกตศึกษาเรื่องราว บุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมและเกี่ยวข้องกับตัวเองให้มาก อย่าละเลยหรือมองข้ามแม้สิ่งเล็กน้อย เช่นต้นหญ้า ซึ่งถ้าศึกษาพิจารณาให้ดีก็จะก่อให้เกิดปัญญาได้……”
แผนผังชวนชม
ผมรู้สึกว่าการวางผังของพิพิธภัณฑ์ เป็นการจัดวาง เรียบเรียงเรื่องราวได้อย่างเป็นสากล โดยรวบรวมเรื่องราวจากวันแรกที่ไม่มีอะไร มีแต่ความแร้นแค้น, จุดเริ่มต้น ปัญหา อุปสรรค์ และการพัฒนา, ชีวิต และวิถีชุมชน, การตั้งโรงงานและการถูกทำลาย ไปจนถึง การพัฒนาจนเป็นโรงงานสีเขียว เพื่อความยั้งยืนในอนาคต และสุดท้ายเป็นจุดจำหน่ายสินค้า ทำให้ผมนึกไปถึงความทรงจำ ครั้งเคยเข้าชมพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในญี่ปุ่น การจัดวางนิทรรศการลักษณะคล้ายๆกันนี้ทำให้เรามีความรู้สึกซาบซึ้ง และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว ได้เป็นอย่างดี หรือที่เรียกว่า ดีต่อใจ
ในตัวอาคารประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก สำหรับการจัดแสดง มัคคุเทศก์นำเราเข้าสู่โถงลานอเนกประสงค์ พวกเรารัวShutter อย่างสนุกสนานแบบไร้เหตุผล คงเป็นเพราะความตื่นตาตื่นใจระคนประทับใจกับสถานที่แห่งนี้ จากลานอเนกประสงค์ เราเข้ามายังห้องแรกที่จัดแสดงคือห้อง ชีวิตชายขอบ คำว่า“ชายขอบ” แสดงความหมายถึงชีวิตของชาวไทยภูเขา ในสมัยเมื่อ 50 ปีก่อนได้อย่างชัดเจน
ภายในจัดแสดงวัสดุ อุปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้ ของชาวจีนยูนานที่อพยพเข้ามาในพื้นที่แถบนี้ การเดินทางที่ยากลำบากต้องใช้ม้าเป็นพาหนะ และสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของชาวจีนอพยพในยุคนั้น ในความคิดของผม ห้องนี้เปรียบเป็นตัวแทนของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชน ที่ทำให้ชุมชนตระหนักเข้าถึงประวัติศาสตร์ของตนเอง เข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของตน เพื่อที่จะสามารถพัฒนาตนเองต่อไปได้ในอนาคต
ในห้องนี้พวกเราได้ชมวีดีทัศน์ ชีวิตของชาวเขาชาวจีนอพยพอันแร้นแค้น บนพื้นที่แสนทุรกันดาร มีแนวทิวเขาสลับกับที่ราบ เต็มไปด้วยภูเขาหัวโล้น และไร่ดอกฝิ่นแสนสวยที่รวยไปด้วยอันตราย ชีวิตชายขอบของประเทศไทยที่ไม่มีใครใคร่จะสน จนกระทั่งวันหนึ่ง นกเหล็กปริศนาปรากฏขึ้น บนน่านฟ้าเหนือหุบเขา พร้อมกับชายคนหนึ่งที่ลงมาจากนกเหล็กลำนั้น ที่จะทำให้ชีวิตชายขอบของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล…
จากนั้นเราถูกนำผ่านฝาบ้านไม้ไผ่ที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นบ้านชาวเขา ไปยังส่วนจัดแสดงที่ผม ถือเป็นจุดที่น่าประทับใจยิ่งของพิพิธภัณฑ์ บุคคลในภาพที่มีทุกบ้าน แต่ภาพที่นี่เป็นภาพหาดูได้ยาก ที่น่าประทับใจ ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชครั้งเสด็จทรงงานยังพื้นที่อ่างขาง จุดเริ่มต้นของโครงการหลวง และโรงงานหลวงที่ ๑ ฝาง แห่งนี้
กำเนิดโครงการหลวง
“กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่ง เสด็จลงมาจากฟากฟ้า เสด็จมาพร้อมกับเวทมนต์ที่ฉายแสงส่องสว่าง เมื่อแสงนั้นส่องสว่างไปถึงยังที่ใดความมืดมิดจะพลันมลายหาย แสงนั้นต้องลงที่ใดแม้เม็ดดินที่แห้งแตกระแหงก็พลันกลับกลายเป็นความเขียวชอุ่ม และเมื่อแสงนั้นผ่านไปแห่งหนตำบลใดก็ตามทุกชีวิตที่ได้รับแสงนั้น จะได้รับพระพรส่องสว่างเข้าไปในจิตใจ ให้ทุกชีวิตอยู่เย็นเป็นสุขตลอดกาล”
นิทานเรื่องนี้เป็นนิทานที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่แห่งนี้ อ่างขาง ใครจะเชื่อว่าดินแดนที่เต็มไปด้วยภูเขาหัวโล้นในอดีตจะกลับกลายเป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชเมืองหนาวที่อุดมสมบูรณ์ได้ ไม่มีใครเชื่อยกเว้นแต่เพียงพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเชื่อว่าเป็นไปได้
จากนิทานที่ผมเล่า ราชาจากฟากฟ้าคือในหลวงผู้ทรงเสด็จมาเยี่ยมเยียนชาวไทยภูเขา ในปี 2512 เวทมนต์ของพระองค์คือความรัก ความรักที่ส่องสว่าง ความรักที่สามารถเอาชนะความยากลำบาก ในการพัฒนาพื้นที่ทุรกันดารแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น การปลูกพืชเมืองหนาว ทดแทนการทำไร่ฝิ่น ยาเสพติดที่เป็นอันตรายต่อชาวไทย และนานาประเทศ การแผ้วถางป่า การทำไร่เลื่อนลอย เป็นเหตุให้ต้นน้ำลำธารเสียหาย ส่งผลกระทบไปสู่คนปลายน้ำ ตลอดจนความรักที่พระองค์ทรงมีต่อชาวไทยภูเขา ที่เป็นมนุษย์ที่มีสิทธิ มีเสรีภาพ มีชีวิต เฉกเช่นเดียวกับคนไทยบนพื้นราบ เพราะความรักจึงมีพระราชดำริให้ทำอย่างไร พวกเขาจึงจะอาศัยอยู่บนพื้นที่แห่งนี้ได้อย่างสงบสุขและยั่งยืน
ห้องนี้จัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ จากวันนั้น วันแรกที่พระองค์เสด็จมาตรวจเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขา ภาพพระราชกรณียกิจต่างๆในพื้นที่อ่างขางแห่งนี้ ตั้งแต่การขอให้ชาวบ้านทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาวทดแทนการทำไร่ฝิ่น ไปจนกระทั่งเปลี่ยนภูเขาหัวโล้นไปเป็นป่าไม้เมืองหนาวอันอุดม ตลอดจนเสด็จมาเพื่อตรวจเยี่ยมโครงการหลวงในเวลาต่อมา นับเป็นภาพที่หาชมได้ยากและล้วนชวนให้ประทับใจ
ในหลวงทรงเข้าถึงชีวิตความเป็นอยู่ โดยเสด็จเข้าไปในบ้านของชาวเขาและร่วมเสวยน้ำจัณฑ์ต้มแบบชาวเขาอย่างไม่ถือพระองค์
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
มีเรื่องราวหนึ่งที่น้องมัคคุเทศก์เล่า ผมยังจำได้ดี นั่นคือเรื่อง หมูขาว ครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานหมูพันธุ์ฝรั่งที่มีสีขาว ให้ชาวไทยภูเขา เนื่องจากหมูแม้วสีดำนั้น เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีขนาดเล็ก มีโปรตีนน้อย หากชาวเขาบริโภคแล้วจะขาดสารอาหารไม่เหมาะกับการนำมาบริโภค หมูฝรั่งให้โปรตีนมาก หากนำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์จะเป็นประโยชน์แก่ชาวเขาได้มาก ครั้นต่อมาพระองค์เสด็จกลับมาอีกครั้ง และตรัสถาม ถึงหมูขาวคู่นั้น ชาวเขากลับตอบว่าฆ่ากินไปแล้ว ดังนั้นพระองค์จึงทรงพระราชทานให้อีก 2 คู่ แต่ก็เช่นกัน ปีต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จกลับมา และตรัสถามถึงหมูขาว ชาวเขาก็ตอบว่านำไปฆ่ากินหมดแล้วดังเดิม ด้วยเหตุนี้พระองค์ทรงรับสั่งถามว่าทำไม ชาวเขาจึงทูลว่า หมูขาวตามความเชื่อของชาวเขาคือหมูผี เพราะมันกินจุเหมือนผี แถมยังชอบขโมยกินพืชพันธุ์ที่ชาวเขาปลูกอีกด้วย และหมูขาวชาวเขาจะไม่นิยมนำไปขอสาวกันเพราะไม่เป็นมงคล จากเรื่องเล่านี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการกำเนิด หลักการทรงงานที่ถือเป็นหลักปฏิบัติเรื่อยมา และเป็นสิ่งที่หน่วยงานต่างๆน้อมนำมาปฏิบัติ คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” นั่นเอง
...หน้ากระดาษหมด แต่เรื่องราวยังไม่จบนะครับ...