คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
จากการสืบค้นในแหล่งข้อมูลต่างๆ พบข้อมูลจาก Department of Physics University of Illinois at Urbana-Champaign ว่า การละลายของน้ำแข็งในน้ำมันขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมัน ฟองอากาศในก้อนน้ำแข็ง หรือ ก้อนน้ำแข็งลอยหรือจมในน้ำมัน หากน้ำแข็งจมเมื่อน้ำแข็งละลายจะไม่ผสมกับน้ำมัน แต่น้ำแข็งที่ละลายจะเป็นชั้นปกคลุมป้องกันการถ่ายเทความร้อนทำให้ละลายช้าลง หากน้ำแข็งลอย น้ำแข็งที่ละลายแล้วซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำมันจะกลายเป็นฟองอากาศขนาดเล็กและตกลงมาที่ก้นภาชนะ การพาความร้อนจึงไม่เกิดขึ้น เพราะ น้ำที่เย็นกว่าไม่ไหลเวียนขึ้นมา รวมทั้งน้ำมันส่วนใหญ่มีความหนืดมากขึ้นกว่าน้ำ เมื่อน้ำแข็งละลายในน้ำมันจึงเกิดชะลอการถ่ายโอนพลังงานความร้อนน้ำแข็งจึงละลายในน้ำมันช้ากว่าในน้ำ (Junk 2009)
อย่างไรก็ตาม ในเว็บไซต์เดียวกัน พบว่าการทดลองว่าน้ำแข็งละลายในของเหลวชนิดใดได้ดีที่สุด ตัวแปรที่ควรต้องควบคุมได้แก่ อุณหภูมิเริ่มต้นของน้ำและของเหลวชนิดอื่นๆ, รูปร่างของภาชนะ, รูปร่าง น้ำหนัก และอุณหภูมิของน้ำแข็ง รวมทั้ง ปริมาตรของเหลวแต่ละชนิดต้องเท่ากันด้วย (Weissman 2007)
นอกจากนี้ จากงานวิจัยของนักวิจัยจาก School of Mechanical Engineering เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร International Journal of Heat and Mass Transfer พบว่า ความพรุนของน้ำแข็งก็มีผลต่อการละลายของน้ำแข็ง น้ำแข็งที่มีความพรุนมากกว่าจะมี อัตราการละลายเพิ่มขึ้นภายใต้อุณหภูมิเดียวกัน (Gui-Lin Lei et al. 2016)
แนะนำวิธีการค้นคว้าข้อมูล
1.ค้นในฐานข้อมูล science direct ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ (http://www.sciencedirect.com/) เช่น ice and melting หรืออาจลองใช้คำที่กว้างขึ้น เป็นการเพิ่มการค้นหา หรือแคบลงเพื่อจำกัดการค้นหา
2.ค้นคว้าจาก google scholar (https://scholar.google.co.th/ ) เป็นแหล่งค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งสามารถค้นหาบทความที่ถูกอ้างถึง และค้นหาบทความที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลต่างๆ
รายการอ้างอิง
Gui-Lin Lei, Wei Dong, et al. “Numerical investigation on heat transfer and melting process of ice with different porosities.” International Journal of Heat and Mass Transfer. (2016) Abstract from: Science Direct Item: 10.1016/j.ijheatmasstransfer.2016.11.004 Retrieved November 18, 2016.
Junk, Thomas. “ Ice melting in water and oil.” 2009. [Online] Available from: https://van.physics.illinois.edu/qa/listing.php?id=1630 Retrieved November 18, 2016.
Weissman, Mike. “Ice melting rates.” 2007. [Online] Available from: https://van.physics.illinois.edu/qa/listing.php?id=1627 Retrieved November 18, 2016.
อย่างไรก็ตาม ในเว็บไซต์เดียวกัน พบว่าการทดลองว่าน้ำแข็งละลายในของเหลวชนิดใดได้ดีที่สุด ตัวแปรที่ควรต้องควบคุมได้แก่ อุณหภูมิเริ่มต้นของน้ำและของเหลวชนิดอื่นๆ, รูปร่างของภาชนะ, รูปร่าง น้ำหนัก และอุณหภูมิของน้ำแข็ง รวมทั้ง ปริมาตรของเหลวแต่ละชนิดต้องเท่ากันด้วย (Weissman 2007)
นอกจากนี้ จากงานวิจัยของนักวิจัยจาก School of Mechanical Engineering เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร International Journal of Heat and Mass Transfer พบว่า ความพรุนของน้ำแข็งก็มีผลต่อการละลายของน้ำแข็ง น้ำแข็งที่มีความพรุนมากกว่าจะมี อัตราการละลายเพิ่มขึ้นภายใต้อุณหภูมิเดียวกัน (Gui-Lin Lei et al. 2016)
แนะนำวิธีการค้นคว้าข้อมูล
1.ค้นในฐานข้อมูล science direct ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ (http://www.sciencedirect.com/) เช่น ice and melting หรืออาจลองใช้คำที่กว้างขึ้น เป็นการเพิ่มการค้นหา หรือแคบลงเพื่อจำกัดการค้นหา
2.ค้นคว้าจาก google scholar (https://scholar.google.co.th/ ) เป็นแหล่งค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งสามารถค้นหาบทความที่ถูกอ้างถึง และค้นหาบทความที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลต่างๆ
รายการอ้างอิง
Gui-Lin Lei, Wei Dong, et al. “Numerical investigation on heat transfer and melting process of ice with different porosities.” International Journal of Heat and Mass Transfer. (2016) Abstract from: Science Direct Item: 10.1016/j.ijheatmasstransfer.2016.11.004 Retrieved November 18, 2016.
Junk, Thomas. “ Ice melting in water and oil.” 2009. [Online] Available from: https://van.physics.illinois.edu/qa/listing.php?id=1630 Retrieved November 18, 2016.
Weissman, Mike. “Ice melting rates.” 2007. [Online] Available from: https://van.physics.illinois.edu/qa/listing.php?id=1627 Retrieved November 18, 2016.
แสดงความคิดเห็น
ทำไมน้ำแข็งถึงได้ละลายช้าเวลาอยู่ในน้ำมันพืชครับ
จะขอเล่าให้ฟังละกันนะครับ คือผมใส่น้ำแข็ง(ขนาดเท่าๆกัน)ลงไปในแก้ว2ใบ แก้วแรกใส่น้ำ(น้ำธรรมดาที่อุณหภูมิประมาณ28 ํc) แก้วสองใส่น้ำมันพืช(น้ำมันถั่วเหลืองที่อุณหภูมิและปริมาตรเท่าๆกันกับน้ำ) พอหย่อนน้ำแข็งลงไปในแก้ว เมื่อผ่านไป1นาทีแรกน้ำแข็งในแก้วใบแรกเล็กลงมาก ส่วนใบที่2เล็กลงเพียงเล็กน้อย พอผ่านไปอีก1นาทีน้ำแข็งในแก้วใบที่1ละลายหมด ส่วนน้ำแข็งในแก้วใบที่ 2 ก็ยังละลายไปไม่มาก / ผลปรากฏว่าน้ำแข็งที่อยู่ในแก้วใบที่2ที่ใส่น้ำมันพืชต้องใช้เวลาในการละลายนานถึง6นาที
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นครับ ?