คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ที่มาของคำว่า 'พระบาท' มาจากคำว่า “วฺระบาท” ในภาษาเขมรครับ ซึ่งใช้เป็นคำนำหน้าของเขมร คำนี้มีหลักฐานว่าคนไทยรับมาใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุทธยาแล้วครับ ในเอกสารทางราชการสมัยอยุทธยาจะใช้คำว่า "พระบาทสมเด็จ" เกือบตลอด
แต่ที่กษัตริย์อยุทธยาไม่เรียกพระนามที่มี 'พระบาท' นำหน้าโดยทั่วไป ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะคนสมัยหลังเรียกพระนามกษัตริย์อยุทธยาตามที่ปรากฏในพงศาวดารซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีคำว่า 'พระบาท' นำหน้า และอีกอย่างคือน่าจะเพื่อสะดวกต่อการเรียก บางครั้งชื่อเรียกที่เรารู้จักส่วนใหญ่อย่างพระเจ้าเสือ พระเจ้าท้ายสระ พวกนี้เป็นชื่อที่เรียกกันแบบสามัญ ไม่ใช่พระนามทางการ
เมื่อดูหลักฐานอื่นๆที่มีพระนามแบบทางการเช่นกฎหมายสมัยอยุทธยาจะเรียกพระนามกษัตริย์แบบมีพระบาททั้งนั้นครับ บางทีก็ไม่ใช้พระบาทแม้ว่าจะราชาภิเษกแล้ว อย่างเช่น
สุโขทัย
มีกษัตริย์ที่ใช้ 'พระบาท' เช่นในจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาเขมร พ.ศ.๑๙๐๔ ก็เรียกพระญารามราช(พ่อขุนรามคำแหง)ว่า "พฺระบาทกมฺรเดงอญ ศฺรีรามราช" เรียกพระญาฦาไทย(ลิไท)ว่า "พฺระบาทกมฺรเดงอญ ฤไทยราช" เป็นต้นครับ
อยุทธยา
พระเจ้ารามาธิบดี(อู่ทอง) มีเรียกพระนามในพระอัยการฉบับต่างๆว่า "พระบาทสมเดจ์พระเจ้ารามาธิบดีศรีสินธรบรมจักรพรรดิศรบวรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้า"
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระนามในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนว่า "พระบาทสมเดจ์พระบรมไตรโลกนายกดิลก ผู้เปนเจ้าเกล้าภูวมณฑลสกลอาณาจักร อัคบุริโสดมบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว"
ส่วนพระไอยการนาทหารหัวเมืองออกพระนามว่า "พระบาทสมเดจ์พระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว"
กษัตริย์อยุทธยายุคหลังมักใช้พระนามว่า 'เอกาทศรุทร' หมายถึงเทพ ๑๑ องค์ของฮินดู ซึ่งบางครั้งก็สะกด 'เอกาทธรฐ' 'เอกาทศรฐ' หรือ 'เอกาทศรถ' ตามแต่ยุคสมัย ซึ่งนามนี้จะมีพระนามแบบเต็มๆว่า "พระบาทสมเด็จเอกาทศรุทรอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพุทธเจ้าอยู่หัว"
นามนี้ไม่ใช่นามเฉพาะ มีกษัตริย์หลายองค์ที่ใช้พระนามนี้ ทั้งพระเจ้าทรงธรรม พระนารายณ์ พระเจ้าท้ายสระ พระเจ้าบรมโกศ พระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้นแม้แต่กษัตริย์ที่เรารู้จักในชื่อ 'พระเอกาทศรถ' ก็มีหลักฐานอยู่ว่าพระองค์มีพระนามเดิมว่า 'พระราเมศวร' เป็นต้น
อย่างพระนามของพระเจ้าท้ายสระนั้นเป็นพระนามที่เรียกกันแบบสามัญ เพราะพระองค์โปรดประทับที่พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า 'พระที่นั่งท้ายสระ' แต่พระนามแบบทางการของพระองค์ในในศิลาจารึกวัดป่าโมกข์ที่จารึกในพ.ศ.๒๒๗๑ คือ 'พระบาทพระศีรสรรเพชสัมเดจเอกาทศรุทอิศวร บรัมนารถบรัมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระเจ้าประสาททองพระเจ้าช้างเมิยมพระเจ้าช้างเผิอก'
ธนบุรี
พระนามที่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงอย่างเป็นทางการในพระราชสาส์นที่ส่งไปล้านช้าง พ.ศ.๒๓๑๔ คือ 'สมเด็จพระมหาเอกาทุศรุทอิศวรมหากษัตราธิราชบรมนารถบรมบพิตร' หรือ 'พระบาทสมเดจเอกาทศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว' พระราชสาส์นที่ส่งไปล้านช้างใน พ.ศ.๒๓๑๗ ออกพระนามว่า 'สมเด็จพระมหาเอก(า)ทศรธอิศวรบรมนารถบรมบพิตร พระมหานครทวารวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบูรีรมย์อุดมษามีศรีสุพรรณรัตน พระเจ้าปราสาททองเจ้าไชยมหามังคะละรัตนวิสุทธิ เสตกุญไชยบพิตร' กับ 'พระบาทสมเด็จเอกาทศรถอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว' มีทั้ง 'พระบาท' และไม่มีสลับกันไป
แต่ที่กษัตริย์อยุทธยาไม่เรียกพระนามที่มี 'พระบาท' นำหน้าโดยทั่วไป ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะคนสมัยหลังเรียกพระนามกษัตริย์อยุทธยาตามที่ปรากฏในพงศาวดารซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีคำว่า 'พระบาท' นำหน้า และอีกอย่างคือน่าจะเพื่อสะดวกต่อการเรียก บางครั้งชื่อเรียกที่เรารู้จักส่วนใหญ่อย่างพระเจ้าเสือ พระเจ้าท้ายสระ พวกนี้เป็นชื่อที่เรียกกันแบบสามัญ ไม่ใช่พระนามทางการ
เมื่อดูหลักฐานอื่นๆที่มีพระนามแบบทางการเช่นกฎหมายสมัยอยุทธยาจะเรียกพระนามกษัตริย์แบบมีพระบาททั้งนั้นครับ บางทีก็ไม่ใช้พระบาทแม้ว่าจะราชาภิเษกแล้ว อย่างเช่น
สุโขทัย
มีกษัตริย์ที่ใช้ 'พระบาท' เช่นในจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาเขมร พ.ศ.๑๙๐๔ ก็เรียกพระญารามราช(พ่อขุนรามคำแหง)ว่า "พฺระบาทกมฺรเดงอญ ศฺรีรามราช" เรียกพระญาฦาไทย(ลิไท)ว่า "พฺระบาทกมฺรเดงอญ ฤไทยราช" เป็นต้นครับ
อยุทธยา
พระเจ้ารามาธิบดี(อู่ทอง) มีเรียกพระนามในพระอัยการฉบับต่างๆว่า "พระบาทสมเดจ์พระเจ้ารามาธิบดีศรีสินธรบรมจักรพรรดิศรบวรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้า"
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระนามในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนว่า "พระบาทสมเดจ์พระบรมไตรโลกนายกดิลก ผู้เปนเจ้าเกล้าภูวมณฑลสกลอาณาจักร อัคบุริโสดมบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว"
ส่วนพระไอยการนาทหารหัวเมืองออกพระนามว่า "พระบาทสมเดจ์พระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว"
กษัตริย์อยุทธยายุคหลังมักใช้พระนามว่า 'เอกาทศรุทร' หมายถึงเทพ ๑๑ องค์ของฮินดู ซึ่งบางครั้งก็สะกด 'เอกาทธรฐ' 'เอกาทศรฐ' หรือ 'เอกาทศรถ' ตามแต่ยุคสมัย ซึ่งนามนี้จะมีพระนามแบบเต็มๆว่า "พระบาทสมเด็จเอกาทศรุทรอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพุทธเจ้าอยู่หัว"
นามนี้ไม่ใช่นามเฉพาะ มีกษัตริย์หลายองค์ที่ใช้พระนามนี้ ทั้งพระเจ้าทรงธรรม พระนารายณ์ พระเจ้าท้ายสระ พระเจ้าบรมโกศ พระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้นแม้แต่กษัตริย์ที่เรารู้จักในชื่อ 'พระเอกาทศรถ' ก็มีหลักฐานอยู่ว่าพระองค์มีพระนามเดิมว่า 'พระราเมศวร' เป็นต้น
อย่างพระนามของพระเจ้าท้ายสระนั้นเป็นพระนามที่เรียกกันแบบสามัญ เพราะพระองค์โปรดประทับที่พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า 'พระที่นั่งท้ายสระ' แต่พระนามแบบทางการของพระองค์ในในศิลาจารึกวัดป่าโมกข์ที่จารึกในพ.ศ.๒๒๗๑ คือ 'พระบาทพระศีรสรรเพชสัมเดจเอกาทศรุทอิศวร บรัมนารถบรัมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระเจ้าประสาททองพระเจ้าช้างเมิยมพระเจ้าช้างเผิอก'
ธนบุรี
พระนามที่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงอย่างเป็นทางการในพระราชสาส์นที่ส่งไปล้านช้าง พ.ศ.๒๓๑๔ คือ 'สมเด็จพระมหาเอกาทุศรุทอิศวรมหากษัตราธิราชบรมนารถบรมบพิตร' หรือ 'พระบาทสมเดจเอกาทศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว' พระราชสาส์นที่ส่งไปล้านช้างใน พ.ศ.๒๓๑๗ ออกพระนามว่า 'สมเด็จพระมหาเอก(า)ทศรธอิศวรบรมนารถบรมบพิตร พระมหานครทวารวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบูรีรมย์อุดมษามีศรีสุพรรณรัตน พระเจ้าปราสาททองเจ้าไชยมหามังคะละรัตนวิสุทธิ เสตกุญไชยบพิตร' กับ 'พระบาทสมเด็จเอกาทศรถอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว' มีทั้ง 'พระบาท' และไม่มีสลับกันไป
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบเกี่ยวกับความหมายของคำเรียกขานพระนามพระมหากษัติย์
ในอดีตจากที่ได้อ่านผ่านตามา อย่างในสมัยอยุธยา การขานพระนามพระมหากษัตริย์ เช่น
สมเด็จพระรามาธิบดี
สมเด็จพระนเรศวร
เป็นต้น ไม่เห็นขึ้นต้นด้วยคำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ซึ่งถ้าให้เดาเองก็คิดว่าคงมาเริ่มใช้คำนี้ในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะพระนามจะขานตามที่ปรากฏ
แต่ผมอยาทราบว่าทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่าง มีที่มาที่ไปในการใช้อย่างไรครับ