"พระบรมราชโองการ" กับ "พระราชโองการ" คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร? และ "พระปฐมบรมราชโองการ" หมายความว่าอย่างไร?



พ่อริดหนา พ่อริด...เมื่อวาน "พระบรมราชโองการ" / วันนี้ "พระราชโองการ" / ส่วน วันหน้า (วันฉัตรมงคล) ใช้ว่า "พระปฐมบรมราชโองการ"

📌 "พระบรมราชโองการ" กับ "พระราชโองการ" คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร? และ "พระปฐมบรมราชโองการ" หมายความว่าอย่างไร? 📌

ที่นี่มีคำตอบ!!!





คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

คำถาม   คุณคิดว่าใครพูดผิด?

1.  พ่อเดช  พูดว่า  "พระราชโองการ"
2.  แม่การะเกด  พูดว่า  "พระราชโองการ"
3.  พ่อริด  พูดว่า  "พระบรมราชโองการ"
4.  พ่อริด  พูดว่า  "พระราชโองการ"

คำตอบ   คือ..........................

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



คำถาม?

📌 "พระบรมราชโองการ" กับ "พระราชโองการ" คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร? 📌

ถ้าเป็นคําราชาศัพท์ ในสมัยปัจจุบัน ต้องตอบว่า 

พระบรมราชโองการ
เป็น คําราชาศัพท์ หมายถึง คำสั่ง
ใช้กับพระมหากษัตริย์ที่ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว
(ซึ่งจะเรียกขานพระนามพระมหากษัตริย์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

พระราชโองการ
เป็น คําราชาศัพท์ หมายถึง คำสั่ง
ใช้กับพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
(ซึ่งจะเรียกขานพระนามพระมหากษัตริย์ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยไม่มี พระบาท นำหน้า)


-------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่าง





ดูเพิ่มเติมได้ที่

https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/117/T_0001.PDF



คำถาม?
 
📌 "พระบรมราชโองการ" กับ "พระบวรราชโองการ" คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร? และ "พระบรมราชโองการ" เริ่มขึ้นในสมัยใด? 📌

(ซ้าย) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, (ขวา) พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

 
        คำว่า “พระบรมราชโองการ” หมายถึง คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์ หลายคนคิดว่าเป็นคำที่ใช้กันมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ที่จริงแล้วเพิ่งมาเริ่มใช้ในรัชกาลที่ 4 รัชสมัย “พระจอมเกล้า” โดยมีความเกี่ยวพันกับ “พระปิ่นเกล้า” ซึ่งก่อนหน้านี้ คำว่า “ตรัส” ของพระมหากษัตริย์ จะใช้คําว่า “พระราชโองการ” เท่านั้น ไม่มีคำว่า “บรม” นำหน้า

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

        ที่มาของคำว่า “พระบรมราชโองการ” ต้องย้อนความไปว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (ครองราชย์ พ.ศ. 2394-2411) ทรงสถาปนาพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2394-2404) โดยให้มีพระราชอิสริยยศเทียบ “พระมหากษัตริย์” หรือเป็นพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง ที่ฝรั่งเรียกว่า “Second King” (พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 พระองค์ที่ 2)

        การสถาปนา “พระปิ่นเกล้า” ครั้งนี้ มีความพิเศษแตกต่างจากการสถาปนาพระมหาอุปราชหรือวังหน้า ตามโบราณราชประเพณีเช่นแต่ก่อนมา ทั้งในอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ดังที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่า (จัดย่อหน้าใหม่ และเน้นคำโดยกอง บก. ศิลปวัฒนธรรม)

        นามวังน่า (วังหน้า) ซึ่งเคยเรียกในราชการว่า ‘พระราชวังบวรสถานมงคล’ ให้เปลี่ยนนามเรียกว่า ‘พระบวรราชวัง’ พระราชพิธีอุปราชาภิเศกให้เรียกว่า ‘พระราชพิธีบวรราชาภิเศก’ พระนามที่จาฤกในพระสุพรรณบัตรแบบเดิมว่า ‘พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ พระราชทานพระนามอย่างพระเจ้าแผ่นดินว่า ‘สมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว’

        แลขานคำรับสั่งกรมพระราชวังบวรฯ เคยใช้ว่า ‘พระบัณฑูร’ โปรดให้เปลี่ยนเป็น ‘พระบวรราชโองการ’ เติมคำ ‘บรม’ เป็นฝ่ายวังหลวง แลคำ ‘บวร’ เป็นฝ่ายวังน่าเป็นคู่กัน
 

        การเติม “บรม” หรือ “บวร” เข้าไปในคำว่า “พระราชโองการ” คงเป็นพระบรมราชกุศโลบายในรัชกาลที่ 4 เพื่อแยกให้เห็นความแตกต่าง และไม่ให้สับสนระหว่าง “พระเจ้าแผ่นดินวังหลวง” และ “พระเจ้าแผ่นดินวังหน้า” ดังนั้น คำว่า “พระบรมราชโองการ” จึงเพิ่งเริ่มใช้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2394 เป็นต้นมา

        การที่รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนคำตรัสของพระมหากษัตริย์ จาก “พระราชโองการ” เป็น “พระบรมราชโองการ” คงด้วยพระราชประสงค์เพื่อแยกพระบรมราชอิสริยยศอัน “เทียบเท่า” แต่ “ไม่เท่าเทียม” กัน ระหว่าง “กษัตริย์วังหลวง” กับ “กษัตริย์วังหน้า” นั่นเอง

 
หมายเหตุ : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ...ฯลฯ... จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ถวายพระราชสมัญญาแด่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศถวายพระราชสมัญญา 
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช 

ดูเพิ่มเติมได้ที่

https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17108561.pdf

(ซ้าย) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, (ขวา) พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่มา

https://www.silpa-mag.com/culture/article_35064



คำถาม?
 
📌 "พระปฐมบรมราชโองการ" หมายความว่าอย่างไร? 📌


โปรดอ่านต่อในความคิดเห็นที่ 1

4962221 – 28/11/2566


 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่